ถอดรหัส AIS Business Direction 2024 เจาะลึก 5 แกนเทคโนโลยีที่ช่วย Transform ธุรกิจไทยอย่างยั่งยืน | Techsauce

ถอดรหัส AIS Business Direction 2024 เจาะลึก 5 แกนเทคโนโลยีที่ช่วย Transform ธุรกิจไทยอย่างยั่งยืน

ในโลกธุรกิจที่หมุนเร็วด้วยแรงขับเคลื่อนจากเทคโนโลยี องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวรับ Digital Transformation เพื่อความอยู่รอดและการเติบโตอย่างยั่งยืน AIS Business ในฐานะผู้นำด้าน Digital Life Service Provider เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ประกาศวิสัยทัศน์แผนธุรกิจปี 2024-2025 ภายใต้แนวคิด ‘Sustainable Business for Sustainable Nation’ พร้อมเดินหน้าสร้างรากฐานธุรกิจ และประเทศที่ยั่งยืนผ่าน 5 ขุมพลังดิจิทัล นั่นคือ

  1. 5G Ecosystem
  2. Intelligent Network and Cloud
  3. AI and Data Analytics
  4. Digital Platform and APIs
  5. Industry Transformation

Techsauce มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษกับ คุณภูผา เอกะวิภาต รักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กรบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ซึ่งได้เผยถึงแนวคิดเบื้องหลังวิสัยทัศน์นี้ว่า


เมื่อพูดถึงธุรกิจ ผมมองว่ามี 2 เรื่องหลัก เรื่องแรกคือการทำอย่างไรให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นความเร็ว ความสะดวก ความประหยัด หรือประสบการณ์ใหม่ ๆ ส่วนเรื่องที่สองคือการทำอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างผลกำไร บริหารความเสี่ยง ดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อม AIS Business มุ่งมั่นที่จะตอบโจทย์ทั้ง 2 มุมมองโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญ


ปี 2024 ยังคงเป็นปีที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย  ผลกระทบจากสถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์ส่งผลโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงเศรษฐกิจไทย ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้  การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ Business Model รูปแบบใหม่กลายเป็นสิ่งจำเป็น  องค์กรต่างๆ ต้องเร่ง Transform สู่ดิจิทัลเพื่อเสริมศักยภาพ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และก้าวสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน 

แต่คำถามสำคัญคือ องค์กรจะ Transform อย่างไรให้ทันยุคที่ Digital ไปไกลแล้ว ?

จาก Digital Transformation สู่ Digital Evolution: ก้าวข้ามขีดจำกัดของการเปลี่ยนแปลง

คุณภูผา เปิดเผยว่า 70% ของลูกค้าองค์กรมีงบประมาณสำหรับการทำ Digital Transformation ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของภาคธุรกิจ ซึ่งกระบวนการ Digital Transform จะมีอยู่ทั้งหมด 2 ระดับใหญ่ๆ คือ

  1. ระดับสำรวจและค้นหา - องค์กรอยู่ในช่วงของการศึกษา มองหาเทคโนโลยีและโซลูชั่นที่เหมาะสม  
  2. ระดับลงมือทำ - องค์กรเริ่มนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ 


ซึ่งการทำ Digital Transformation นอกจากจะเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ดิจิทัลแล้ว บางครั้งยังทำให้เกิดการ Expand ธุรกิจเก่า รวมถึงสร้าง Business Model ใหม่ๆ อีกด้วย

ตัวอย่างเช่น AIS Business ได้นำ ‘AI Voicebot’ มาใช้ใน Call Center เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และยกระดับการบริการลูกค้าในเครือข่าย ต่อมา AIS Business ได้พัฒนา AI Voicebot ให้เป็นบริการใหม่ ที่ลูกค้าองค์กรสามารถนำไปใช้งานได้  

คุณภูผา มองว่า Digital Transformation อาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะต้องมองไปถึง ‘Evolution’ ซึ่งคือการก้าวข้ามขีดจำกัดของการเปลี่ยนแปลง ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดย AIS Business พร้อมที่จะเป็น Digital Partner ที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ บรรลุเป้าหมายของ Digital Transformation โดยนำเสนอ service ที่ผ่านการทดสอบ และพิสูจน์แล้วว่าใช้งานได้จริง 

องค์กรต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก แต่สามารถนำ service ของ AIS Businessไปใช้ได้ทันที  

5G Ecosystem: ขุมพลัง 5G อัจฉริยะ กับสิ่งที่ ‘ดีกว่า’

“เทคโนโลยี 5G มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะเป้าหมายของการทำธุรกิจคือการสร้างสิ่งที่ดีกว่า รวดเร็วกว่า และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่ง 5G ตอบโจทย์ทั้งหมดนี้ 5G ช่วยให้เราสื่อสารได้เร็วขึ้น ส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจในยุคดิจิทัล”  คุณภูผา กล่าว


ตัวอย่างความสำเร็จของ AIS 5G ที่เห็นได้ชัดคือ ‘Midea’ ซึ่งเป็นโรงงานผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ และเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่นำเทคโนโลยี AIS Dedicated 5G Private Network ไปใช้งาน

“เรามีลูกค้ารายหนึ่งชื่อ Midea เป็นบริษัทจากประเทศจีน เขาสร้างโรงงานขนาดใหญ่กว่า 160,000 ตารางเมตร และต้องการใช้หุ่นยนต์ในการผลิต ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และเสถียร  5G จึงเป็นคำตอบ  เพราะช่วยให้ Midea สามารถควบคุมหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้แบบ real-time ทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น” คุณภูผา อธิบาย

นอกจาก Midea แล้ว AIS Business ยังมี Reference customers อีกหลายรายที่ประสบความสำเร็จในการใช้ 5G เช่น สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี (SAT) ที่ใช้ 5G ควบคุมหุ่นยนต์ หรือ SCG ที่ใช้ 5G ในธุรกิจเหมือง เป็นต้น

สิ่งที่ AIS ให้ความสำคัญคือมาตรฐาน (standard) และคุณภาพ (quality) ของ 5G เราใช้มาตรฐานเดียวกับที่ใช้ในต่างประเทศ ลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่า 5G ของ AIS พร้อมสำหรับการใช้งานจริง 


AIS Business ยังมี ‘Paragon Platform’ ที่เป็นแพลตฟอร์มรวบรวมโซลูชัน อาทิ 5G Network Orchestrator, MEC, Edge, Cloud, Application Ecosystem ซึ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถนำ 5G ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในตอนนี้มีมากกว่า 17 บริษัทที่นำไปใช้แล้ว เช่น Mitsubishi Electric,  Schneider Electric และ AI and Robotic Ventures 


Intelligent Network and Cloud: ขุมพลังแห่งโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ


Infrastructure  คือสิ่งสำคัญ เหมือนอากาศที่ขาดไม่ได้


โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เช่น เครือข่าย 5G, Cloud, Data Center เป็นรากฐานสำคัญของทุกสิ่ง AIS Business เล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ จึงมุ่งมั่นลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ การลงร่วมลงทุนกับ Gulf และ Singtel เพื่อจัดตั้ง GSA Data Center ศูนย์ข้อมูลที่ทันสมัย ใช้พลังงานสะอาด ที่เตรียมเปิดตัวในปี 2025 ไปจนถึงการให้บริการ ‘AIS Cloud X’ ซึ่งเป็น Cloud Service ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ


AIS Cloud X เป็น Digital Transformation รูปแบบหนึ่งของเรา เราต้องการสร้างการให้บริการ Cloud ให้มีมาตรฐานระดับโลกอยู่ในประเทศไทย อยู่ภายใต้กฎหมายไทย และใช้เงินบาท เพื่อให้ธุรกิจไทยคล่องตัว และมั่นใจ


ความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) คือหัวใจสำคัญของบริการ Cloud คุณภูผา กล่าวถึงความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบน Cloud ไว้ว่า

“การเลือกใช้ Cloud สิ่งที่หลายคนมองข้ามคือต้นทุนในการดูแลรักษา Cloud ให้ปลอดภัย การป้องกัน Hacker หรือ Cyberattack ต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การลงทุนเพื่อให้ Cloud ปลอดภัย และทันสมัยอยู่เสมอ ต้องใช้เทคโนโลยีและเงินทุนมหาศาล”

AIS Cloud X ให้ความสำคัญกับ Data Security, Privacy และ Sovereignty เป็นอย่างมาก ด้วยการเป็นรายเดียวในประเทศไทยที่ร่วมมือกับ ‘Oracle’ ผู้นำระดับโลกด้าน Cloud และ Infrastructure ที่มีชื่อเสียงมายาวนานในด้านประสิทธิภาพ และความเสถียรของระบบเพื่อให้บริการ Hyperscale Cloud ที่อยู่ในประเทศไทย อยู่ใน Data Centers ของ AIS และให้บริการอยู่ภายใต้กฏหมายไทย  

“Oracle มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่แล้วในฐานะผู้ให้บริการ Database Service สำหรับองค์กร โดยเฉพาะกลุ่ม  Enterprise ที่ต้องการระบบที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้งานหนัก และระบบความปลอดภัยขั้นสูง” 

การที่ AIS นำเทคโนโลยีของ Oracle Cloud มาให้บริการในประเทศไทย  จึงเป็นการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี 

AI and Data Analytics: ขุมพลังแห่งปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล

คุณภูผา กล่าวถึงความสำคัญของ ‘AnalyticX’ ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตในยุคดิจิทัล  

“เราเห็นข้อมูลมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ เพราะเราคือ Telco ที่มีข้อมูลไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา สิ่งสำคัญคือการนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับลูกค้า”


เราให้ความสำคัญกับ Data Privacy เป็นอย่างมาก

คุณภูผา ย้ำว่า “เราใช้เทคนิค Data Anonymization เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และมุ่งเน้นการนำเสนอ Data Insight ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ โดยไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของลูกค้า”

AIS Business เน้นย้ำว่าจะให้ความสำคัญกับ ‘Privacy First’ เป็นหลัก ความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้าต้องมาก่อน ข้อมูลเหล่านี้บริษัทจะไม่สามารถ Track กลับไปได้ว่าเป็นข้อมูลจากผู้ใช้คนไหน เพราะสิ่งที่ AIS Business นำเสนอผ่านการวิเคราะห์ด้วย AnalyticX คือ ‘Insight เชิงลึก’ เพื่อบอกถึงสถิติที่น่าสนใจ ไม่ใช่ข้อมูลของลูกค้า

คุณภูผา ยกตัวอย่างการใช้ AnalyticX  ว่า “สมมติว่าลูกค้าต้องการ renovate ร้านค้า เขาอาจจะอยากรู้ว่าลูกค้าเดิมของเขาอยู่ที่ไหน มีไลฟ์สไตล์แบบไหน มีรายได้เท่าไหร่  AnalyticX สามารถตอบโจทย์นี้ได้ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจาก Telecom Traffic ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุข้อมูลส่วนบุคคล แต่เราสามารถบอกได้ว่าคนกลุ่มไหนอยู่ที่ไหน ชอบทำอะไร เดินทางอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ลูกค้าเข้าใจลูกค้าของเขา และวางแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

AIS Business มองว่า AnalyticX ยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน Digital Transformation ของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่นโยบาย Cloud First กำลังได้รับความสนใจ โดยหัวใจสำคัญของการนำ AnalyticX  ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในภาครัฐ คือ ‘ความร่วมมือ’ (Co-creation) ระหว่าง AIS Business และหน่วยงานต่างๆ 

นอกจากนี้ AIS Business ยังมีโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และ Data Scientist ที่พร้อมทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อพัฒนาบริการให้กับประชาชน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการทำความเข้าใจ ‘เป้าหมาย’ ของการนำไปใช้ ต้องตอบให้ได้ว่าผลลัพธ์ที่แท้จริงของโครงการคืออะไร อะไรคืออิมแพคที่ต้องการสร้างให้กับประชาชน

Digital Platform and APIs: ขุมพลังแห่งการเชื่อมต่อ

AIS Business มีการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล และ Open APIs เพื่อเชื่อมต่อระบบต่างๆ โดยหนึ่งในนั้นคือ ‘CPasS’ (Communications Platform as a Service) ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถ Integrate ระบบสื่อสาร เข้ากับแอปพลิเคชัน และระบบต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย


ไปรษณีย์ไทย 1505 เป็นตัวอย่างความสำเร็จของการนำ CPaaS มาใช้แก้ปัญหา โดย AIS Business ช่วยให้ไปรษณีย์ไทยสามารถใช้เบอร์กลางในการติดต่อลูกค้า ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้องค์กร และช่วยลดปัญหาลูกค้าไม่รับสายเนื่องจากกังวลว่าเป็นเบอร์มิจฉาชีพ

“ไปรษณีย์ไทยให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอย่างมาก เขาต้องการสร้างความสะดวกสบายในการส่งของ  และ CPaaS ตอบโจทย์นี้ได้อย่างดี โดยช่วยให้ไปรษณีย์ไทยสามารถใช้เบอร์กลางในการติดต่อลูกค้า  แทนที่จะใช้เบอร์ส่วนตัวของพนักงาน ทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าเป็นการติดต่อจากไปรษณีย์ไทยจริงๆ”  คุณภูผา อธิบาย

AIS Business เล็งเห็นว่า CPaaS สามารถต่อยอดจากความสำเร็จของไปรษณีย์ไทย 1505 ไปสู่การใช้งานในหน่วยงานอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การทำงานแบบ Work Anywhere กำลังได้รับความนิยม  

คุณภูผา ยกตัวอย่างให้ฟังว่า CPaaS จะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ โดยที่เบอร์ติดต่อยังคงเป็นเบอร์เดียวกัน ไม่ว่าจะทำงานที่บ้าน หรือที่สำนักงาน ลูกค้าก็สามารถติดต่อได้ที่เบอร์เดิม ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเรื่อง Privacy ของพนักงานที่โดยปกติแล้วจะใช้เบอร์ส่วนตัวโทรหาลูกค้า หากใช้ CPaaS จะสามารถโทรหาลูกค้าด้วยเบอร์ส่วนตัว แต่แสดงเป็นเบอร์ออฟฟิศได้ ซึ่งจะช่วยให้ Identity ขององค์กรชัดแจน และสร้างความน่าเชื่อถือ

AIS Business ขยายภาพพลังแห่งการเชื่อมต่อไปใช้เสริมในด้านความปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น การเสริมความปลอดภัยให้ระบบ  OTP เพื่อลดความเสี่ยง หากโทรศัพท์มือถือถูกแฮ็ก หรือติดตั้งมัลแวร์ OTP อาจถูกขโมย และนำไปใช้ในทางที่ผิดได้  

โดย AIS Business ช่วยให้แอปพลิเคชันสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ เช่น แอปฯ กำลังทำงานอยู่บนมือถือเครื่องนี้จริงหรือไม่? อยู่ที่โลเคชั่นนี้จริงหรือไม่? เบอร์มือถือนี้เพิ่งเปิดเบอร์ใหม่หรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ AIS Business มีการพัฒนาระบบมารองรับแล้ว ถือเป็น Use Case ที่สามารถนำ Open APIs ไปประยุกต์ใช้ได้

Industry Transformation: ขุมพลังการยกระดับภาคอุตสาหกรรม


AIS Business มีความมุ่งมั่นผลักดัน Digital Transformation ในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก เช่น การผลิต, ขนส่งและโลจิสติกส์, อสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก, SME, รวมถึงองค์กรสาธารณะและภาครัฐ เพื่อสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ยกระดับประสิทธิภาพและสร้างโอกาสใหม่ๆ โดยให้ความสำคัญกับองค์กรทุกระดับ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

จึงเป็นที่มาของ ‘AIS EEC Evolution Experience Center’ หรือ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจ AIS EEC โดยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เทคโนโลยีโครงสร้างดิจิทัล 5G และ  Platform พร้อมสัมผัสประสบการณ์ ทดลอง ทดสอบการใช้เทคโนโลยีกับการ Transform ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมได้เสมือนจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ย้ำให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของ AIS Business อย่างชัดเจนว่า ต้องการสร้างรากฐาน และเป็น ‘เพื่อน’ ที่จะคอยพาธุรกิจ หน่วยงาน และประเทศพัฒนาเติบโตไปอย่างยั่งยืน

“AIS EEC เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยเร่ง Adoption ในด้าน Digital Transformation การที่เรามีศูนย์ มี Sandbox ในการทดสอบ มี Demo มีของจริงให้จับ แสดงว่าจะต้องเกิด Opportunity ในการประยุกต์ใช้ได้เร็วขึ้น เพราะลูกค้าจะได้เจอผลลัพธ์ และสัมผัสของจริงด้วยตนเอง ซึ่ง Opportunity ที่ว่านี้ คือทั้งฝั่งของลูกค้าในการที่จะเอาเทคโนโลยีไปใช้กับ End customers และยังเป็น New opportunity สำหรับพาร์ทเนอร์” คุณภูผา กล่าวเสริม

ยิ่งไปกว่านั้น AIS Business  ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล  จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะทำงานพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC HDC) และ 8 ศูนย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นเลิศด้านอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ 'ผลิตและพัฒนาบุคลากร ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและ 5G  ตอบสนองเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)'  เพื่อยกระดับศักยภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและ 5G ให้พร้อมรับมือกับความท้าทายในยุคดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วย

  1. ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน Automation 
  2. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยว 
  3. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านยานยนต์ไฟฟ้า 
  4. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านพาณิชย์นาวี 
  5. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านแมคคาทรอนิกส์ 
  6. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอากาศยาน 
  7. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์
  8. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี Digital AI & 5G ภายใต้ 6 เครือมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ, วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ, สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และสถาบันไทย-เยอรมัน


สู่เป้าหมาย Sustainable Business for Sustainable Nation

คุณภูผา อธิบายเสริมว่า หากมองย้อนกลับมาที่ AIS Business ตอนนี้ ถือว่ามีของที่จำเป็นทางด้าน Infrastructure ที่จะช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ โดยให้ความสำคัญไปที่ ‘Co-creation’ ซึ่งการร่วมมือกันจะช่วยให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกันทั้งประเทศ ตามแนวคิด ‘เศรษฐกิจแบบร่วมกัน 

“สำคัญตรง Co-creation ไม่ว่ายังไงเราก็ต้องทำไปด้วยกัน เพราะว่าไม่อย่างนั้นนวัตกรรมก็หยุดแค่นี้ เราเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐาน และดิจิทัลเทคโนโลยี เรารู้เสมอว่าโตคนเดียวไม่ได้ และเราไม่ได้รู้ทุกอย่าง เราต้องการความเก่งจากลูกค้า เก่งจาก Partner เก่งจาก Ecosystem เราถึงอยู่ด้วยกันได้”

ตอกย้ำ AIS Business ในฐานะตัวเลือกสำคัญของธุรกิจ และหน่วยงาน

หลายบริษัทอาจมองว่าการทำ Digital Transformation ด้วยตัวเองเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่คำถามสำคัญคือ การ Transform นั้นจะนำไปสู่ผลลัพธ์อะไร? 

คุณภูผา มองว่า เป้าหมายของการ Transform คือ ‘การสร้าง S-curve ใหม่’ คือการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืน แต่การลงทุนนั้นต้องเกิดขึ้นในจังหวะที่เหมาะสม ไม่ใช่เมื่อธุรกิจกำลังย่ำแย่ เพราะเมื่อถึงจุดนั้น อาจจะสายเกินไป การลงทุนที่ดีที่สุดคือการลงทุนในช่วงที่ธุรกิจกำลังเติบโต เพื่อมองหา S-curve ใหม่ และสร้างโอกาสในอนาคต

AIS ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัล สร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่า AIS เป็นองค์กรที่ไม่หยุดนิ่ง กล้าที่จะลอง กล้าที่จะล้ม และเรียนรู้จากความผิดพลาด เพื่อนำมาพัฒนาบริการใหม่ๆ

AIS เชื่อว่า ความท้าทายของ Digital Transformation คือ การหา ‘Why’ ที่ชัดเจน องค์กรต้องรู้ว่าต้องการอะไร ต้องการแก้ปัญหาอะไร และต้องการสร้างโอกาสอะไร

“เราเป็นบริษัทที่มีโอกาสได้ลองของเยอะ ผิดพลาดได้ พังได้ จนได้ของที่ดีเสร็จแล้วก็เอาออกมาใช้งานได้จริง เราก็เลยเอาอันนี้มาได้เป็น Business ใหม่ ถ้าลูกค้ารู้แล้วว่า Why ฉันต้องการอะไร How กับ What อยู่ตรงนี้ แล้วถ้าปัญหาตรงกัน ก็ใช้เทคโนโลยีของ AIS Business ได้เลย เราช่วยลูกค้าให้แก้ปัญหาตรงนั้นได้รวดเร็วมากกว่า”  คุณภูผา กล่าวทิ้งท้าย

การร่วมมือกับพันธมิตร นับว่าเป็นทางลัดสู่ Digital Transformation ที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ AIS Business พร้อมที่จะเป็น Digital Partner ที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ ค้นหา Why ที่ชัดเจน นำเสนอ Solution ที่ตรงกับความต้องการ และช่วยให้ Digital Transformation ประสบความสำเร็จในยุคที่ดิจิทัลกำลังไปไกล

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ใครคือ SIAM AI CLOUD ? บริษัทเทคไทยที่ NVIDIA เลือก ด้วยอายุจดทะเบียนเพียง 10 เดือนกับ 19 วัน

บทความนี้จะพาไปสำรวจเบื้องหลังความสำเร็จของ SIAM AI CLOUD ทำไมไทยที่ก่อตั้งมาไม่ถึงปีถึงสามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนในวงการเทคโนโลยีจนดึงตัวแม่ทัพใหญ่ของ NVIDIA มาไทยได้ !...

Responsive image

10 ไฮไลท์นวัตกรรมเทคโนโลยีสุขภาพไต้หวัน ก้าวล้ำนำอนาคตในงาน Taiwan Expo 2024

10 นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ไฮไลท์จาก Taiwan Healthcare Pavilion ที่จะมาปฏิวัติวงการแพทย์ในทุกมิติ จากงาน Taiwan Expo 2024...

Responsive image

ส่องเส้นทางเทคฯ KBTG จากยุคปรับตัว สู่ผู้นำ Agentic AI กับยุทธศาสตร์ Human-First x AI-First พลิกโฉมธุรกิจ

เจาะลึกกลยุทธ์ KBTG กับการนำไทยเข้าสู่ยุค Agentic AI 2025 ผ่าน Human-AI Integration เพื่ออนาคตที่ล้ำลึกและยั่งยืน...