มาตรฐานความปลอดภัยที่ใช้ตรวจสอบผู้ให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลมีอะไรบ้าง? | Techsauce

มาตรฐานความปลอดภัยที่ใช้ตรวจสอบผู้ให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลมีอะไรบ้าง?

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ความปลอดภัย” เป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนทุกประเภท โดยเฉพาะด้านคริปโทเคอร์เรนซีหรือการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการก็เร่งพัฒนาให้แพลตฟอร์มมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้ใช้บริการวางใจในการฝากสินทรัพย์ของพวกเขา

ไม่นานมานี้มีข้อมูลจาก Cer.live แพลตฟอร์มจัดอันดับและรับรองความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (Cybersecurity Ranking and CERtification Platform) ดำเนินการโดยทีมนักวิจัยที่มีทักษะสูง ได้ประเมินความปลอดภัยของเอ็กซ์เชนจ์ชั้นนำทั่วโลกมาแล้วกว่า 270 แห่ง ได้ระบุถึงมาตรการความปลอดภัยที่ใช้วิเคราะห์และวัดระดับผู้ให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยมีปัจจัยหลัก 7 ข้อ ลองมาดูกันว่า กว่าที่จะได้รับการรับรองว่า “ปลอดภัย” จากแพลตฟอร์ม Cer.live ต้องผ่านการทดสอบอะไรบ้าง

Server Security

การสร้างความปลอดภัยให้กับระบบเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นระบบที่มีความสำคัญและมี Service หลากหลายรูปแบบ มีการรองรับ User มากมายที่ต้องทำการเชื่อมต่อกับระบบเซิร์ฟเวอร์นี้ ยกตัวอย่างเช่น มีการรับรอง Secure Sockets Layer และ Transport Layer Security (SSL/TLS) ซึ่งเป็น Protocol ที่ใช้สำหรับเข้ารหัสและป้องกันข้อมูลในขณะที่มีการส่งข้อมูลกันข้ามระบบอินเทอร์เนต วิธีสังเกตว่าแพลตฟอร์มหรือเว็บไซต์ของ Exchange ไหนที่มีการใช้งาน SSL/TLS จะดูได้จาก URL ที่จะมีคำขึ้นต้นว่า https (Hypertext Transfer Protocol Secure) นั่นเอง

User security

ความปลอดภัยในฝั่งของผู้ใช้งานเองก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่เจ้าของบัญชี/กระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลเองต้องป้องกันและดูแลอย่างรอบคอบและระมัดระวัง ป้องกันและสร้างความปลอดภัยให้กับบัญชีมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การสนับสนุนให้ผู้ใช้งานเปิดใช้ระบบ 2FA (Two-factor Authentication) ที่มีการยืนยันตัวตน 2 ชั้น ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั่งการแนะนำและกำหนดให้ผู้ใช้งานสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง (อักษรตัวเล็กและใหญ่ อักขระพิเศษ ความยาวมากกว่า 12 ตัวอักษร) ก็เปรียบเสมือนได้สร้างกำแพงหลายชั้นไว้ป้องกันภัยที่ต้องการจะลุกล้ำเข้าถึงสินทรัพย์ของเราได้

Penetration Test

การผ่านการทดสอบ Penetration Test หรือ PenTest ที่เป็นการทดสอบความปลอดภัยโดยวิศวกรความปลอดภัยมืออาชีพที่ได้ทำการเลียนแบบการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อระบุจุดอ่อนในระบบของแพลตฟอร์มนั้น ๆ  แม้ว่าการทดสอบจะไม่สามารถสร้างความเสียหายได้จริง ๆ ก็ตาม แต่วิศวกรด้านความปลอดภัยจะใช้เครื่องมือและข้อมูลเดียวกันกับที่ผู้ไม่ประสงค์ดีใช้โจมตีที่เหมือนจริงมากที่สุด



Proof of Funds

เรื่องการพิสูจน์หลักฐานการเงินนี้มีความสำคัญมาก เป็นตัวชี้วัดที่ทำให้เห็นสภาพคล่องของ Exchange ซึ่งผู้ใช้เองจะมีความคาดหวังว่าพวกเขาจะสามารถเข้าถึงและถอนเงินออกจากการแลกเปลี่ยนได้ตลอดเวลา โดยหลักฐานที่ต้องแสดงให้เห็นว่า Exchange นั้นมีความสามารถและความพร้อมด้านเงินทุนในการดำเนินกิจการอยู่จริง บนแพลตฟอร์ม cer.live นั้นจะมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องมียอดคงเหลือมูลค่าเกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับเหรียญ ETH และ BTC ทั้งบนกระเป๋าออนไลน์ Hot wallet และ Cold Wallet กระเป๋าเงินเย็นไว้เป็นคลังเก็บ Crypto โดยไม่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต หากผ่านหลักเกณฑ์นี้ก็จะได้รับเครื่องหมายว่า Exchange นั้นมี Proof of Funds

Bug bounty

Bug Bounty หรือ การล่าบั๊ก เป็นวิธีการรับรายงานข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยจากแฮกเกอร์และนักวิจัยด้านความปลอดภัยอิสระก่อนที่อาชญากรไซเบอร์จะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เหล่านั้นจริง ๆ บนแพลตฟอร์มของ cer.live มีวิธีการแยกต่างหากสำหรับการประเมินคุณภาพของตัวชี้วัดนี้ ยกตัวอย่างเช่นมีการเผยแพร่โปรแกรม Bug Bounty บนเว็บไซต์ของ Exchange

  • อนุญาตให้ใช้การทดสอบแบบ Intrusive Testing

  • ครอบคลุมระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด

  • มีโครงสร้างในขอบเขต/นอกขอบเขตและกฎของโปรแกรมที่ชัดเจน

  • มี Hall of frame ให้กับนักล่า Bug Bounty

  • มีสถิติที่ชัดเจนเกี่ยวกับรายงาน, การมอบรางวัล และ ข้อตกลง SLA

ISO 27001

การได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลซึ่งช่วยให้องค์กรต่าง ๆ จัดการและปกป้องทรัพย์สินทางข้อมูลเพื่อให้มีความปลอดภัย จะช่วยสร้างมาตรฐานในการพัฒนาด้านการเพิ่มระบบความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้นไป 

ประโยชน์ของมาตรฐาน ISO/IEC 27001 คือช่วยระบุความเสี่ยงจะเกิดขึ้นทั้งข้อมูลรั่วไหลหรือการถูกโจมตีและเข้าควบคุมการจัดการเพื่อลดความเสียงองค์กรของคุณ นำความยืดหยุ่นเข้ามามีบทบาทในการควบคุมหรือพัฒนาธุรกิจของคุณ สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าข้อมูลของพวกเขาปลอดภัย และแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามที่กำหนดสากลและได้รับการรับรองจากมาตรฐานระดับโลก เห็นถึงความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ

Funds Insurance

หนึ่งในตัวชี้วัดสร้างความอุ่นใจให้กับเจ้าของสินทรัพย์ที่เราเก็บไว้ใน Exchange นั่นก็คือการมีกองทุนประกัน ซึ่งถือว่าเป็นการบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่งของ Exchange หากเกิดเหตุไม่คาดฝันหรือความเสียหายกับสินทรัพย์โดยทางบริษัทประกัน, ผู้ดูแลเก็บรักษาสินทรัพย์หรือผู้รับฝากทรัพย์สินจะเป็นผู้ดูแลและชดใช้หากได้มีการทำสัญญากันไว้ โดยวงเงินคุ้มครองก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครอง

แต่การได้รับมาตรฐานความปลอดภัยก็ใช่ว่าจะปราศจากความเสี่ยงแบบ 100% เพราะการทำธุรกรรมออนไลน์ทุกรูปแบบย่อมมีภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ๆ มาให้เห็นกันเสมอ การระมัดระวังอาจจะต้องเริ่มมาจากตัวผู้ใช้งานด้วยที่ต้องศึกษาหาวิธีดูแลป้องกันสินทรัพย์ของเราให้ปลอดภัย และควรลงทุนในจำนวนสินทรัพย์ที่เราสามารถยอมรับความเสี่ยงได้หากเกิดมีการสูญหายไป


อ้างอิง: cer.live, Bitkub Security, CloudHM, Investoedia

บทความโดย: www.bitkub.com/blog


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...