รู้จัก Braze แพลตฟอร์มเชื่อมต่อลูกค้ากับแบรนด์ เบื้องหลังการสร้าง Customer Engagement ด้วย Data ในแบรนด์ดัง | Techsauce

รู้จัก Braze แพลตฟอร์มเชื่อมต่อลูกค้ากับแบรนด์ เบื้องหลังการสร้าง Customer Engagement ด้วย Data ในแบรนด์ดัง

ว่ากันว่าทุกวันนี้แบรนด์ส่วนใหญ่ต่างต้องแข่งขันกันแบบสุดขีด เพื่อช่วงชิงทั้ง Data และพื้นที่ออนไลน์เพื่อทำให้ลูกค้าสนใจ ยิ่งในช่วงการระบาดของ COVID-19 ได้เข้ามาทำให้อัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตในการบริโภคและใช้บริการสินค้าของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้แบรนด์ต่าง ๆ ทั่วโลกจึงก้าวเข้ามาในโลกการตลาดแบบออนไลน์เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลมหาศาลที่เหล่าลูกค้าได้ส่งต่อในโลกอินเทอร์เน็ต 

ซึ่ง Braze ถือเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่เข้ามาช่วยให้หลายแบรนด์ทั่วโลกทำงานด้านการตลาดได้ง่ายขึ้น ผ่านการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Customer Engagement และวิเคราะห์ Data ที่มีอยู่จำนวนมากให้เป็นประโยชน์ ทำให้ธุรกิจสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Braze แพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ทั้งแบรนด์และผู้บริโภคยุคใหม่  

ที่ผ่านมา Braze ได้ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์ที่ลูกค้าชื่นชอบ ผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถประมวลผลข้อมูลลูกค้าแบบ Realtime เพื่อทำให้แบรนด์สื่อสารและสร้างแคมเปญทางการตลาดได้อย่างทันถ่วงที และยังสามารถพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

เนื่องจากในอดีตการทำงานการตลาดผ่านช่องทางซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลายถือเป็นเรื่องยุ่งยาก นี่คือเหตุผลที่  Braze ต้องการจะสร้างแพลตฟอร์มที่ทำงานง่ายสามารถทำได้ผ่านเพียงช่องทางเดียว แต่มีความสามารถในการสร้างประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจงตามความต้องการของลูกค้า และยังช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างไม่ต้องเสียเวลาไปกับกระบวนการอื่น ๆ โดยครอบคลุมไปถึงกลุ่มผู้ใช้งานทางสมาร์ทโฟนซึ่ง Braze ก็ได้พัฒนาด้านการตลาดผ่านการเข้าไปปรากฏอยู่บนแอปพลิเคชันมากกว่า 7,000 แอปฯ ทั้งบน iOS และ Android อีกทั้งทำงานร่วมกับแบรนด์มือถือชั้นนำทั่วโลก

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกับตลาดออนไลน์ที่เบ่งบานอย่างต่อเนื่อง

ในระหว่างช่วงการระบาดของ COVID-19 นั้น มองมาที่ฝั่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) เราได้เห็นศักยภาพของตลาดออนไลน์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วของภูมิภาคนี้ โดยหากเจาะลึกไปเพียงแค่ส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) จะเห็นว่ามีผู้ใช้งานใหม่กว่า 60 ล้านคนที่เข้าร่วม Digital Economy โดยตั้งแต่มีการเริ่มระบาดของ COVID-19 มีผู้ใช้งานกว่า 20 ล้านคนที่เข้ามาในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 ซึ่งคาดว่าปัจจัยหลักมาจากการที่ผู้คนในภูมิภาคนิยมการใช้งานสมาร์ทโฟนเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีประชากรประมาณ 70 ล้านคนและเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการใช้อุปกรณ์ออนไลน์และ Social media ที่สูงที่สุดในโลก ทำให้สัดส่วนพฤติกรรมการซื้อขายสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพิ่มขึ้นจาก 42  เปอร์เซ็นต์ในปี 2019 เป็น 60 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2020 รวมถึงกว่า 68 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานอยู่ในโลกออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ 

นอกจากนี้ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าคนไทยใช้งาน Social media สูงถึง 81.2 เปอร์เซ็นต์ เรียกว่ามีส่วนร่วมในพฤติกรรมออนไลน์ที่สูงมาก ทำให้การเติบโตทางการบริโภคออนไลน์ของไทยสูงเช่นกัน และยังมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตนานขึ้นถึง 22 นาที ส่งผลให้เวลาเฉลี่ยออนไลน์เพิ่มขึ้นเกิน 9 ชั่วโมง 

โดยในปี 2021 ถือเป็นปีที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความคึกคักที่สุดในด้านการจับจ่าย อีกทั้งยังน่าจับตามองอย่างมากในการลงทุน ซึ่งหากจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้นแบรนด์ทั้งหลายจำเป็นจะต้องยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการสร้างความประทับใจเพื่อให้เกิดลูกค้าประจำ รวมถึงมอบคุณค่าที่ลูกค้ามองหาและสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อการบริโภคสินค้า 

Activate Accelerate และ Ace ตัวชี้วัดในการก้าวเข้าสู่การทำการตลาดที่ดี 

นอกจากนี้ทาง Braze ยังชี้ให้เห็นถึง 3 ขั้นตอนที่แบ่งการทำตลาดของแบรนด์ในแต่ละช่วงคือ 1) Activate แบรนด์ที่เริ่มต้นสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าโดยผ่านช่องทาง หรือวิธีการแบบใดวิธีการหนึ่งแบบจำกัด จะทำให้ผู้บริโภคมีอายุการใช้งานของผู้ใช้โดยเฉลี่ยยาวนานขึ้น 3.1 เท่า ต่อด้วย 2) Accelerate การที่แบรนด์มีช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภค 2 ช่องทาง ทำให้การใช้งานเฉลี่ยของผู้ใช้ยาวนานขึ้น 69 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับแบรนด์ที่ใช้วิธีช่องทางเดียว และ 3) Ace การที่แบรนด์สร้างความมีส่วนร่วมกับลูกค้าผ่านการข้ามแพลตฟอร์มและเน้นไปที่สร้างประสบการณ์อันหลากหลายให้กับลูกค้า จะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่เพียงอายุการใช้งานของผู้ใช้โดยเฉลี่ยยาวนานขึ้น 3.1 เท่า แต่ยังมีอายุเฉลี่ยการใช้งานยาวนานขึ้นอีก 30 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับแบรนด์ที่ใช้เพียงสองช่องทาง จากเกณฑ์ตัวชี้วัดนี้จะเห็นได้ว่าหลายแบรนด์ยังคงติดอยู่ในช่วงเริ่มต้น และหากสามารถพัฒนาไปสู่ขั้นถัดไปได้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการขายสินค้าและบริการ 

นี่คือความท้าทายของบริษัทส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่จะต้องผลักดันกลยุทธ์ขององค์กรให้เป็นแบบองค์รวม (Holistic Strategy) เพื่อยกระดับความร่วมมือระหว่างฝ่ายหรือทีมต่าง ๆ ในองค์กรให้ทำงานสอดประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดในประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญกับการจัดหาหลายช่องทางอย่างจริงจัง แต่ยังคงพบปัญหาหลัก ๆ คือ 26 เปอร์เซ็นต์เป็นเรื่องการรวบรวมข้อมูลด้วยระบบปัจจุบันถือว่ามีความยาก และ 24 เปอร์เซ็นต์มีความกังวลกับการมีช่องทางที่ซับซ้อนและหลากหลาย การมีตัวช่วยที่มีความเชี่ยวชาญจึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและอุดรอยรั่วและช่องโหว่ต่าง ๆ ได้ 

กรณีศึกษาลูกค้าของ Braze ที่สำเร็จจากการเข้าใจลูกค้า

ทาง Braze ได้ยกตัวอย่างลูกค้าสำคัญที่ได้มีการพัฒนาต่อยอดด้านการตลาดร่วมกับ Braze  จนสามารถประสบความสำเร็จในการเพิ่มความมีส่วนร่วมของลูกค้า ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ Pomelo แบรนด์ที่มีความนิยมอย่างมากในภูมิภาคเอเชียในฐานะผู้ค้าปลีกแฟชัน ถึงแม้จะเป็นที่นิยมแต่บริษัทก็ยังจำเป็นต้องสร้างกลยุทธ์ที่ส่งเสริมให้เกิดโปรโมชันที่ออกแบบสำหรับลูกค้าแต่ละคน (Personalized Promotion) ผ่านโครงการ Refer-A-Friend และ โครงการสร้างความร่วมมือต่าง ๆ โดย Pomelo ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการตลาดอัตโนมัติจาก Braze เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมการขายที่ใช้ Data ผลลัพธ์ที่ได้คือ Pomelo สามารถเพิ่มอัตราส่วนของการเข้าชมเนื้อหาในเว็บไซต์ได้ถึง 300 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการเปิดเนื้อหาเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ 

"ที่ Pomelo เรามุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดแก่ลูกค้ามาโดยตลอด และเราตระหนักดีว่าสิ่งนี้เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจเส้นทางของลูกค้า และด้วย Braze รวมถึงพันธมิตรของเรา เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม และเรายังคงอยากจะสานต่อความร่วมมือนี้ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครและมีความเข้าใจในความต้องการของลูกค้าแต่ละคนต่อไป"  Anthony Lim, Engagement Marketing Manager, Pomelo กล่าว 

นอกจากฝั่งธุรกิจแฟชันแล้ว ในอุตสาหกรรมบริการอาหาร ทาง Braze ก็ได้ให้ทำงานร่วมกับแบรนด์ Burger King ด้วย ซึ่งต้องการดึงดูดลูกค้าผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยต้องการส่งเสริมการใช้แอปบนโทรศัพท์มือถือและกระตุ้นการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นผ่านการสร้างนวัตกรรมและไอเดียที่น่าสนใจ อย่างแคมเปญ “Whopper Detour” ทาง Burger King ได้นำพฤติกรรมของผู้บริโภคในร้านค้าคู่แข่งมาศึกษาและออกแบบโปรโมชันใหม่ โดยร่วมมือกับ Braze ในการสร้างระบบเทคโนโลยีที่สามารถส่งช้อความแบบเฉพาะเจาะจงไปยังลูกค้าผ่านช่องทางที่หลากหลายในเวลาที่เหมาะสม จนทำให้บริษัทประสบความสำเร็จในการดึงดูดผู้ใช้งานใหม่กว่า 3.2 ล้านคนให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน Burger King และพบว่ามีผู้ใช้งานรายเดือน (MAU) เพิ่มขึ้น 53.7 เปอร์เซ็นต์ สำหรับแอปพลิเคชันมือถือ อีกทั้งจำนวนผู้ใช้ที่แชร์ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่กับ Burger King ยังเพิ่มขึ้นเป็น 143 เปอร์เซ็นต์

สำหรับผู้ที่สนใจอยากศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้าง Customer Engagement และการทำการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพสามารถติดตามและดาวน์โหลดข้อมูลที่น่าสนใจได้ที่ Braze 2022 Global Customer Engagement Review


บทความนี้เป็น Advertorial 


 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะรากความสำเร็จ Samsung แชโบลตระกูลสำคัญจากพ่อค้าปลาแห้ง สู่ผู้คุมเศรษฐกิจเกาหลีใต้

ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปเจาะว่าทำไมร้านของชำ Samsung ในเมืองเล็ก ๆ ถึงสามารถเติบโตจนกลายมาเป็นผู้คุมเศรษฐกิจของประเทศได้ แท้จริงแล้วมันมาจากความของเก่งของ Lee Byung-chul อย่างเ...

Responsive image

บทสรุป Accelerate Impact with PRUKSA Season 2 สานต่อความสำเร็จ ส่งต่อความยั่งยืนเพื่อสังคม

บทสรุปสุดท้ายตลอดเส้นทาง ของโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA Season2 ที่สานต่อความสำเร็จ ส่งต่อความยั่งยืนเพื่อสังคม ในวัน Demo Day...

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...