CHULA CARE การมาโรงพยาบาลครั้งต่อไปจะไม่เหมือนเดิม

CHULA CARE การมาโรงพยาบาลครั้งต่อไปจะไม่เหมือนเดิม

ทราบหรือไม่ว่า ใน 1 วัน มีผู้ป่วยนอก 5,000 คน เดินทางมาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ป่วยหนึ่งคน ต้องใช้เวลาในการรอพบแพทย์ ตรวจสอบสิทธิ์ เดินทางไปยังตึกต่าง ๆ ตามขั้นตอนของโรงพยาบาล เราทุกคนทราบดีว่าปัญหาหนึ่งของการมาโรงพยาบาลขนาดใหญ่ คือเวลาที่เสียไปกับการรอคอย จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ต้องการแก้ไขและยกระดับการให้บริการให้กับผู้ป่วย โดยลดเงื่อนไขด้านเวลา

 

นี่จึงเป็นที่มาของการร่วมมือจาก 3 พาร์ทเนอร์ใหญ่คือ รพ.จุฬาลงกรณ์ ธนาคารกสิกรไทย และเมืองไทยประกันชีวิต ที่ร่วมเดินหน้าโครงการ CHULA CARE มีเป้าหมายพัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุนงานบริการทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกสิกรไทยนำจุดแข็งคือประสบการณ์และความเชียวชาญในเรื่องของการให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ขณะที่ เมืองไทยประกันชีวิตเน้นสนับสนุนด้านการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ

โครงการ CHULA CARE ประกอบด้วยอะไรบ้าง

  1. แอปพลิเคชัน CHULA CARE

เทคโนโลยีที่ช่วยเชื่อมโยงผู้ป่วยกับโรงพยาบาลได้เร็วและง่ายที่สุดคือแอปพลิเคชัน โดยแอปฯ จะช่วยให้โรงพยาบาลบริการผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การแจ้งเตือนวันและคิวพบแพทย์ การแจ้งผลการตรวจสอบสิทธิ์ในการรักษา (เช่น ประกันสังคม, ประกันสุขภาพถ้วนหน้า) การแจ้งสถานะใบนำทาง การชำระเงิน แผนที่และการนำทางแบบ Indoor Navigate นอกจากนี้ ยังสนับสนุนตู้ Self-service Kiosk เพื่อความสะดวกในการชำระเงินแก่ผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนอีกด้วย โดยโรงพยาบาลจะเริ่มเปิดให้ดาวน์โหลดแอปฯ ในเดือนตุลาคมนี้

  1. การสร้าง Data Hub

พัฒนาระบบศูนย์รวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ให้โรงพยาบาลนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยธนาคารฯ จะจัดเตรียมระบบคลังข้อมูลพร้อมใช้ รวมทั้งเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อนำไปใช้ได้ตามความต้องการของโรงพยาบาล ทั้งนี้ ข้อมูลทุกอย่างยังเป็นสิทธิของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

  1. การพัฒนาระบบ Telemedicine

หนึ่งในไฮไลท์ของโครงการคือนวัตกรรมอย่าง Telemedicine ที่จะนำมาเริ่มใช้ในการรักษากลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องดูแลอยู่ที่บ้าน เดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลด้วยความลำบาก ด้วยระบบนี้ผู้ป่วยสามารถคุยกับคุณหมอด้วยภาพและเสียงผ่านอุปกรณ์ขณะอยู่ที่บ้าน โดยการรักษาทางไกลนี้จะเริ่มให้บริการผู้ป่วยคลินิกระบบประสาท (Tele Neurology Clinic) ก่อน

  1. การพัฒนาระบบงานด้านทรัพยากรบุคคล (HR) และ Staff Mobile Application

เพื่อรองรับการดูแลบุคลากรของโรงพยาบาลให้ได้รับประสบการณ์ที่ดี เชื่อมโยงการจ่ายค่าตอบแทน และการพัฒนาบุคลากร

  1. การพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในผู้สูงอายุ (Health Promotion and Prevention Program)

ด้วยการติดตาม (Monitor) ข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทั้งจากโรงพยาบาลและที่บ้าน เพื่อให้ทีมแพทย์พยาบาลนำมาวิเคราะห์และจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละคน

  1. การพัฒนาช่องทางการเข้าถึงสื่อการสอนและการสอบ

เพื่ออำนวยความสะดวกให้ญาติ หรือที่ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) สามารถเข้าถึงสื่อการสอน และการสอบในหลักสูตรต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก โดยจะอยู่ในระบบ Digital Platform ทั้งหมด เพื่อให้ข้อมูลความรู้ถูกนำมาใช้ได้ง่ายและเกิดประโยชน์สูงสุด

.นพ. สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรอย่างรวดเร็ว สัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ความต้องการแพทย์ พยาบาล และบุคลากรด้านสาธารณสุข รวมไปถึงสถานพยาบาล ก็มีความต้องการมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาโรงพยาบาลมีการพัฒนากระบวนการให้บริการต่าง ๆ มาโดยตลอด แต่ผู้ป่วยยังไม่ได้รับความสะดวกสบายเท่าที่ควร จึงคิดว่าควรนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยให้มากขึ้น

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ให้ความสำคัญ 3 ด้านกับผู้ป่วยที่มาเข้ารับบริการ

  1. ความสะอาด
  2. ความสะดวก
  3. ความปลอดภัย

คำถามคือ ทำอย่างไรเพื่อจะตอบโจทย์ด้านความสะดวกกับผู้ป่วยได้มากที่สุด? การริเริ่มโครงการนี้จะสามารถลดกระบวนการที่ทำให้คนไข้มาโรงพยาบาล และมีความสะดวกในการได้รับบริการจากโรงพยาบาลมากขึ้น

คุณขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า

ความร่วมมือกันในครั้งนี้ ธนาคารฯ เข้ามาช่วยสนับสนุนการพัฒนาทั้งในส่วนของ Hardware และหาผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมพัฒนาระบบเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพในรูปแบบทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์

“แอปตัวนี้เกิดจาก pain point ของผู้ป่วย และเขียนขึ้นมาเพื่อแก้ pain point ดังกล่าว และจะทำให้การมาโรงพยาบาลครั้งหน้าของคุณจะเปลี่ยนไป”

คุณสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

เมืองไทยประกันชีวิต เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ CHULA CARE เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมความพร้อมและสนับสนุนด้านการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในยุคที่ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย โดยให้การสนับสนุนเทคโนโลยีด้านการดูแลผู้สูงอายุ

นี่เป็นก้าวแรกของการริเริ่มการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้พลิกโฉมในโรงพยาบาล ที่น่าจะเป็นต้นแบบให้โรงพยาบาลอื่น ๆ ต่อไป

บทความนี้เป็น advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...