นวัตกรรมองค์กร : ทำไมการเปิดประตูสู่นวัตกรรมองค์กรจึงเป็นสถานการณ์ที่ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย | Techsauce

นวัตกรรมองค์กร : ทำไมการเปิดประตูสู่นวัตกรรมองค์กรจึงเป็นสถานการณ์ที่ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย

สำหรับ Panel ด้านนวัตกรรมองค์กรในงาน Techsauce Global Summit 2017 เป็นวงเสวนาที่ผลัดกันแชร์ประสบการณ์และแสดงความคิดเห็นโดย  ดุสิต ชัยรัตน์ Corporate Venture Capital Fund Manager ของ AddVentures, Oko Davaasuren, Regional Director of Startup Programs, Techstars, ฐากร ปิยะพันธ์, Krungsri Consumer & Head of Digital Banking and Innovation, Bank of Ayudhaya PLC., แชมป์-ปุณยธร สุทธิพงษ์ชัย Managing Partner, CREATIVE VENTURES โดยมี Susie A Ruff, CEO & FOUNDER, RUFF & CO เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

Susie A Ruff, CEO & FOUNDER, RUFF & CO

Susie A Ruff กล่าวเปิด Panel ด้วยคำถามที่ว่า อะไรคือแรงบันดาลใจของบริษัทของคุณในการเริ่มต้นนวัตกรรมองค์กร?

ดุสิต : การเดินทางของ SCG ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อกลางปีที่ผ่านมา จริงๆ แล้ว SCG เองเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงด้านการเป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรมและมองเห็นโอกาสมากมายจากภายนอกองค์กร SCG จึงมี CVC เข้ามาและเริ่มต้นสร้างหน่วยงานด้านนวัตกรรมภายในองค์กร เพื่อดึงดูดนวัตกรรมจากภายนอกเข้ามาด้วย

Oko : Techstars เริ่มต้นเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาจากการเป็น Corporate Accelerators แล้วก็ได้ทำงานกับโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพของไมโครซอฟท์ในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเราทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ กว่า 30 องค์กรทั่วโลก และเราเพิ่งมีโปรเจ็กต์ใหม่ที่ร่วมกับ Accelerator อย่าง Amazon Alexa และที่อื่นๆ เช่นในปารีส ดูไบ แล้วเราก็ยังมีกิจกรรมขนาดเล็กและโปรแกรมความร่วมมือต่างๆ ทั่วโลกด้วย

Oko Davaasuren, Regional Director of Startup Programs, Techstars

บริษัทใหญ่ๆ มองหาความร่วมมือกับสตาร์ทอัพมากขึ้นเรื่อยๆ คุณแชมป์...แล้วคุณมองในมุมของสตาร์ทอัพว่าอย่างไร

แชมป์ : ผมเริ่มต้นจากการทำ 2-3 สตาร์ทอัพเองและรู้ว่ามันยาก แล้วก็เริ่มจากการมองว่ามีอะไรที่เป็นโมเดล วิสัยทัศน์ตรงไหนของบริษัทกับสตาร์ทอัพที่จะเข้ากันได้ และอะไรที่ล้ำสมัย (breakthrough) ที่จะสามารถเชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสหรัฐได้ ซึ่งผมคิดว่าเป็นการนำเทคโนโลยีมาสู่เอเชีย อะไรที่สหรัฐมีแล้วนำมาปรับใช้ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ และสตาร์ทอัพจำนวนมากในสหรัฐก็สนใจที่เข้าจะเข้ามาในตลาดอาเซียนอยู่แล้ว จริงๆ แล้วมันก็คือการหาพาร์ทเนอร์ที่เข้าคู่กัน เป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

คุณฐากรละคะ มีวิธีผลักดันนวัตกรรมในองค์กรอย่างไร

ฐากร : นวัตกรรมเกิดขึ้นได้ 2 ทาง นวัตกรรมภายนอก กับ นวัตกรรมภายใน ซึ่งเสาหลักหรือ Pillar ที่เรากำหนดเป็นกลยุทธ์องค์กรในการเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมคือ วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม ซึ่งคือการนำนวัตกรรมภายนอกมาใช้และมีการเปลี่ยนแปลงจากภายในด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงภายในเป็นอะไรที่ยากที่สุด แต่ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ เริ่มตั้งแต่ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร บอร์ดบริหาร หน่วยงานด้านนวัตกรรม ผู้จัดการก็ต้องเปลี่ยนและเลิกทำบางอย่างที่เป็นแบบเดิมๆ ด้วย

ดุสิต : สรุปแล้วก็คือการที่เรานำนวัตกรรมภายนอกมาปรับใช้และหลอมรวมเข้ากับแก่นขององค์กร ขึ้นอยู่กับว่าเราทำได้เร็วแค่ไหน

ดุสิต ชัยรัตน์ Corporate Venture Capital Fund Manager, AddVentures

แล้วทำอย่างไรถึงจะเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เกิด ‘วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม’ และเกิดกลยุทธ์ Disruptive Innovation ได้?

ดุสิต : นวัตกรรม จริงๆ แล้วมันไม่ได้เริ่มจากเทคโนโลยี แต่ควรเริ่มจากปัญหาที่ลูกค้าพบ และเราเริ่มคิดว่าจะทำออย่างไรกับมัน ซึ่งปัจจุบัน SCG ก็มี startups กว่า 800 โปรเจ็กต์ที่น่าจะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนตรงนี้

ฐากร : บทบาทหลักของผมคือการขับเคลื่อน ให้กำลังใจตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงไปจนถึงระดับล่าง ให้ทุกคนเข้าใจว่านี่เป็นเรื่องเร่งด่วน หากเราไม่ปรับตัวต่อไปเราอาจจะหายไปเลยก็ได้ เช่น กว่าโครงการของแบงก์โครงการหนึ่งจะได้รับการอนุมัติก็ต้องใช้เวลา 3-4 เดือน และกว่าจะได้เริ่มดำเนินการจริงๆ ก็ปาเข้าไป 7-8 เดือนแล้ว การใช้เวลามากขนาดนี้ทำให้เราไม่สามารถแข่งขันได้ ดังนั้น งานหลักของผมคือการสร้าง Communication Gateway คือ จะทำอย่างไรให้คนกว่าสองหมื่นคนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง และเปิดโอกาสให้เสียงจากด้านล่างได้เสนอความคิดเข้ามา มันเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก

Oko : มุมมองของ Accelerator และ VC คือ ต้องการรู้ว่าใครทำอะไรตลอดแนวไปป์ไลน์บ้าง ต้องการรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ และการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมองค์กรไม่ใช่การสร้างมูลค่าเพิ่มอีกต่อไป แต่มันเป็นทางเดียวที่จะอยู่รอด เราจึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมในองค์กร

แชมป์ : ผมขอยกตัวอย่างว่า ถ้าเราตั้งทีมที่มีสมาชิกแค่ 5 คน เราจะไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้ามากกว่านั้นทุกอย่างก็จะเริ่มช้าลง ดังนั้นผู้นำทีม คือคนสำคัญที่จะเป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างโลกเก่าและโลกใหม่ เชื่อมต่อระหว่างโลกภายนอกและภายใน โดยซีอีโอมีบทบาทสำคัญ และจะต้องเป็นคนที่ขับเคลื่อน ซึ่งต้องใช้เวลากับการนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมในองค์กร

จากประสบการณ์แล้ว ดิฉันว่าจะต้องให้พวกเขามีส่วนร่วมใน Training และ Workshop ให้เวลาสัก 3-6 เดือน พวกเขาก็จะเข้าใจมากขึ้น

Oko : มีหลายๆ วิธีและกลไกที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมองค์กรขึ้น แต่อย่างน้องต้องใช้เวลา 3-5 ปี และอย่างน้อยต้องมี 5-7 กลยุทธ์ที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมองค์กรพื้นฐานได้ (Fundamental Cultural Innovation)

(คนกลาง) ฐากร ปิยะพันธ์, Krungsri Consumer & Head of Digital Banking and Innovation, Bank of Ayudhaya PLC.

มี Framework หรือโมเดลอะไรที่พวกคุณใช้ในการทำให้เกิดนวัตกรรมองค์กรไหม?

ฐากร : พูดตรงๆ ว่าผมเองไม่มี Framework อะไร เพียงแค่คิดว่าอะไรที่ทำแล้วดี แล้วก็โฟกัสไปที่การสื่อสาร ซึ่งปกติแล้ว องค์กรขนาดใหญ่จะมีการสื่อสารแบบบนลงล่าง เสียงจากด้านล่างก็มักจะไปไม่ถึงด้านบน เป้าหมายของผมคือ สร้างการสื่อสารระหว่างด้านบนและล่างให้มีประสิทธิภาพ โดยเรามี Krungsri Ignite ให้ทุกคนแชร์ไอเดียผ่าน App เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการสื่อสาร ซึ่งเราค่อยๆ ทำ และเรียนรู้จากความผิดพลาดทีละเล็กละน้อย

แล้วคุณว่ามีความแตกต่างระหว่างการทำงานในออฟฟิศแบบทั่วไปกับออฟฟิศที่มีนวัตกรรมล้ำสมัยไหม และจำเป็นจะต้องย้ายออฟฟิศไหม?

ดุสิต : เรายังอยู่ใน complex เดียวกับ SCG แต่ไม่ได้อยู่ตึกเดียวกัน มีถนนตัดผ่านตรงกลาง ออฟฟิศของเราเคยเป็นโกดังเก่า ซึ่งเราต้องการอะไรที่ทำให้เรายังรู้สึกถึงความเป็น SCG แต่ก็ใหม่พอที่จะทำให้รู้สึกเป็นอิสระ

ฐากร : มันไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด แล้วแต่ว่าคุณได้ทำสิ่งใหม่ๆ หรือเปล่า เพราะสำหรับผม การสร้างนวัตกรรมเริ่มจากภายในองค์กร

Oko : เรื่องโลเกชัน จริงๆ แล้วก็สำคัญ เนื่องจากเราสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดนวัตกรรมองค์กร ดึงดูดให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ได้

พวกคุณมีกรอบระยะเวลา (Timeframe) ที่ตายตัวไหมในการทำให้เกิดนวัตกรรมองค์กร มีบางท่านกล่าวว่า 3-5 ปี คุณต้องมีผลลัพธ์ไปนำเสนอภายใต้กรอบระยะเวลาที่กำหนดไหม?

ดุสิต : เราไม่มี Timeframe แน่นอน ตราบเท่าที่เรามุ่งหน้าไปยังทิศทางที่ถูกต้อง ผู้บริหารของเรามีความอดทนเพียงพอที่จะให้เราได้ทดลองและเรียนรู้

Oko : สำหรับ Accelerator ในระยะเวลาประมาณ 3 ปี เราก็จะเห็น Return

ฐากร : มันแล้วแต่ว่าคุณทำงานอย่างไร ถ้าปกติจาก A ไป B ใช้เวลา 5 ปี แต่ถ้าได้เทคโนโลยีมาช่วยอาจจะใช้เวลาเพียง 2-3 ปี สำหรับแบงก์ ถ้าเรารีบลงมือปฏิบัติเร็ว ผลก็จะได้เร็วเกินคาด แต่สำหรับมุมมองของ Investor อาจจะต้องการผลลัพธ์ที่เร็วกว่านั้น

แชมป์ : ระยะเริ่มต้นคงใช้เวลาประมาณ 5 ปี แต่ผลที่ได้รับตลอดระยะเวลาอาจจะมีมากกว่า Return ที่เป็นตัวเงิน ซึ่งเราสามารถกลั่น Value ต่างๆ จากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีได้

แชมป์-ปุณยธร สุทธิพงษ์ชัย Managing Partner, CREATIVE VENTURES

แล้วความท้าทาย ความล้มเหลว หรือปัญหาละคะ?

ดุสิต : ความยากอยู่ตรงที่การหาคนที่จะมาเริ่มต้น

Oko : บริษัทต้องการเห็นผลทันที ต้องการเห็น Return ทันที นี่แหละคือปัญหา

ฐากร : ความท้าทายคือ คุณจะทำมันไปได้นานเท่าไหร่โดยที่ไม่ล้มเลิกเสียก่อน เพราะคุณต้องเผชิญหน้ากับคอมเพลนท์ต่างๆ คุณต้องมีพลังมากเพียงพอในทุกๆ วัน

แชมป์ : ข้อแรกเลย คุณต้องกำหนดคำนิยามว่า อะไรที่เกี่ยวข้องกับองค์กรของคุณ นิยามนี้จะต้องไม่แคบเกินไปและกว้างเกินไป มันต้องตรงประเด็น สองคือ คุณต้องแน่ใจว่าการปฏิบัติจริง ไม่ได้ไปติดตรงไหนตลอดเส้นทางบนลงล่าง เช่น เรื่องไม่ได้ไปค้างที่ฝ่ายกฎหมาย และข้อสามคือ ต้องทำเหมือนกับที่ตั้งใจทำในวันแรก ซึ่งมันต้องใช้พลังงานมากๆ

ยกตัวอย่างเคสที่ประสบความสำเร็จ

ฐากร : ใน Innovation Project ของเรา พนักงานได้แชร์ไอเดียมากมาย เขาดีใจที่เสียงของพวกเขามีคนได้ยินและรับฟัง และพวกเขาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า น่าจะมีโปรเจกต์นี้นานแล้ว

Oko : สำหรับเรามีเรื่องราวความสำเร็จนับพันเรื่องที่เราสามารถช่วยเหลือ Startups ได้

ดุสิต : ตอนนี้เรายังห่างไกลจากคำว่าสำเร็จ แต่ผมดีใจที่เมื่อมองตาเพื่อนร่วมงานและรู้สึกมั่นใจว่า เราสามารถทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างเป็นอิสระ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...