DeepSeek และ Qwen: เมื่อ AI ราคาถูกเปลี่ยนโฉมโลก | Techsauce

DeepSeek และ Qwen: เมื่อ AI ราคาถูกเปลี่ยนโฉมโลก

(บทความนี้เผยแพร่โดย Techsauce โดยอ้างอิงจากบทวิเคราะห์ของคุณสุภาวดี ตันติยานนท์)

สุภาวดี ตันติยานนท์ เป็นนักการตลาดและนักคิดเชิงอนาคต (Futurist) ที่มีประสบการณ์การทำงานในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยมีฐานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เธอมุ่งเน้นการผสานนวัตกรรมดิจิทัลเข้ากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยความหลงใหลในเทคโนโลยี การตลาด และการศึกษาด้านปรัชญาและประวัติศาสตร์ สุภาวดีวิเคราะห์แนวโน้มโลกเพื่อช่วยองค์กรและสังคมปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะการใช้ AI และนวัตกรรมอย่างมีจริยธรรมเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา สุภาวดี ตันติยานนท์ ได้วิเคราะห์แนวโน้มของ AI ที่กำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากการเปิดตัวของ Deepseek ตามด้วย Qwen จากค่าย Alibaba กำลังส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อวงการ AI ไม่ใช่แค่ในแง่ของเทคโนโลยี แต่ยังรวมถึง เศรษฐกิจ ธุรกิจ การทำงาน และระบบนิเวศ AI ทั่วโลก เราเลยลองวิเคราะห์ในแง่มุมต่างโดยเฉพาะผลกระทบกับผู้ใช้ โอกาสทางธุรกิจ และที่สำคัญที่สุดประเทศไทยเองควรจะมีมาตรการอะไรมารองรับ

การแข่งขันในยุค AI ราคาถูก

Deepseek กำลังฉีกกฏการออกแบบทางวิศวกรรม AI ที่ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนนมากเพื่องานที่ล้ำที่สุด ซึ่งผู้เล่นเกมส์นี้ต้องมีทรัพยากรคน เงินทุน และเครื่องมือระดับสูงจำนวนมาก ทำให้ผู้เล่นรายเล็กรายกลาง ทำได้แค่เป็นผู้ตาม คนต่อยอด หรือเป็นได้แค่ผู้ใช้เท่านั้นเอง

Deepseek กลับคิดจากอีกมุม “คิดงานภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดสุดไม่ว่าจะเงินทุน ชิป จำนวนคนทำงาน cloud serverและอีกมากมาย โมเดล AI ที่ถูกลงและทรงพลังขึ้น เมื่อทำได้สำเร็จเป็นที่ประจักษ์กับผู้ใช้ทั่วโลกก็มาแบบไม่ปกติคือเปิดให้ใช้ฟรีแบบหมดเปลือกกับผู้ใช้ทั่วโลก เพราะท่าที่ไม่ conventional แบบนี้ทำให้ Deepseek เปลี่ยนเกมการแข่งขันในระดับโลก และมีผลกระทบกับ Nasdaq ทันที

ผลกระทบกับการแข่งขัน

  • AI-Savvy Workforce จะได้เปรียบ แต่ผู้ที่ไม่มีทักษะด้าน AI อาจถูกแทนที่
  • ประเทศที่ลงทุนใน AI จะได้เปรียบด้านเศรษฐกิจ ขณะที่ประเทศที่ช้ากว่า ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
  • ธุรกิจที่ปรับตัวเร็วจะได้เปรียบ ส่วนธุรกิจที่ล่าช้าจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

                ประเทศไทยต้องเตรียมตัวอย่างไร? อุตสาหกรรมไหนจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ?

การพัฒนา AI (AI Development)

Democratization of AI: AI ถูกลงและเข้าถึงได้มากขึ้น

DeepSeek และ Qwen ลดต้นทุนการพัฒนา AI ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กและนักพัฒนาทั่วไปสามารถเข้าถึง AI ได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ การผูกขาด AI โดยบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ลดลง เปิดโอกาสให้ นักพัฒนาในประเทศต่าง ๆ สามารถสร้างโมเดล AI ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมและภาษาของตนเอง

Open-Source vs Proprietary AI

DeepSeek เป็น Open-Source AI ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถนำไปปรับแต่งและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ Qwen ของ Alibaba อาจเน้น AI-as-a-Service ซึ่งมุ่งใช้ AI ในแพลตฟอร์มของ Alibaba มากกว่าการเปิดให้ชุมชนพัฒนาต่อยอด

การใช้งาน AI (AI Usage)

AI กลายเป็นมาตรฐานของธุรกิจ

AI ถูกใช้ใน ทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่ การตลาด การแพทย์ การเงิน ไปจนถึงการศึกษา ธุรกิจที่ ไม่สามารถปรับตัวใช้ AI ได้จะเสียเปรียบอย่างมาก

งานที่เสี่ยงต่อการถูกแทนที่จะเป็นงานที่ทำเป็น routine และใช้รูปแบบที่ทำเป็นประจำในการทำงาน เช่น Call Center, Data Entry, Content Moderatio และ Administration

การประยุกต์ใช้ AI (Applications)

ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสูงสุด

  • การเงิน วิเคราะห์ความเสี่ยงและวางแผนการลงทุนอย่างแม่นยำ
  • การตลาด วิเคราะห์ วางแผน และสร้างคอนเทนท์อัตโนมัติ ออกแบบเฉพาะลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้
  • Healthcare วิเคราะห์วินิจฉัยจากภาพถ่าย Xray ทางการแแพทย์ จัดการระเบียนข้อมูลสุขภาพ วิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อลดภาระงานเบื้องต้น
  • Manufacturing ควบคุมหุ่นยนต์และสายการผลิต automation และช่วยวิเคราะห์ วางแผนการผลิต การจัดการ 
  • inventoryLegal & Compliance ตรวจสอบเอกสารสัญญาและวิเคราะห์กฏหมาย

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ และอนาคตของงาน

AI-เสริมศักยภาพมนุษย์

ปัจจุบันบทบาทของ AI ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการทำงานหลายด้าน บุคลากรทุกภาคส่วนจำเป็นต้องพัฒนาทักษะเพื่อทำงานร่วมกับ AI อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ AI เพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในองค์กร นักวิเคราะห์ที่ใช้ AI ประมวลผลข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ นักการตลาดที่ประยุกต์ AI มาช่วยวางกลยุทธ์และแคมเปญ รวมถึงนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่นำ AI มาเพิ่มประสิทธิภาพของระบบงานต่างๆ

AI-แทนที่งานเดิม

ในยุคที่ AI มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หลายตำแหน่งงานจะเริ่มถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี เช่น พนักงาน Call Center ที่ปัจจุบันระบบ AI สามารถรับสายและตอบคำถามพื้นฐานของลูกค้าได้ นักแปลภาษาที่เครื่องมือแปลภาษาอัตโนมัติสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำมากขึ้น รวมถึงผู้ช่วยธุรการที่งานประจำหลายอย่างถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติและ AI มากขึ้น 

โครงสร้างธุรกิจในอนาคต

โครงสร้างการดำเนินธุรกิจในอนาคตกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยบริษัทที่นำ AI มาใช้ตั้งแต่เริ่มต้น (AI First) จะได้เปรียบในการแข่งขัน เนื่องจากสามารถสร้างระบบและกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงตั้งแต่แรก นอกจากนี้ เศรษฐกิจแบบกิ๊กและการทำงานอิสระ (GIG Economy) จะเติบโตขึ้น เพราะ AI ช่วยให้ฟรีแลนซ์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกัน รูปแบบการทำงานแบบไฮบริดที่ผสมผสานระหว่างการทำงานที่ออฟฟิศและทำงานจากระยะไกลจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ เนื่องจาก AI ช่วยให้การประสานงานและการทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น

ผลกระทบต่อประเทศไทย

โอกาสและความเสี่ยงของประเทศไทย

ขณะนี้ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งโอกาสใหม่ที่เทคโนโลยี AI มีราคาที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทำให้ธุรกิจ SMEs และ Startup ไทยสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีระดับโลก ขณะเดียวกัน ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการผลิต และการขนส่งโลจิสติกส์ของไทยก็สามารถใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อลดต้นทุนและยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม ระบบการศึกษาไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ AI ให้กับเยาวชนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต

แต่ในขณะเดียวกันเรากำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญในยุค AI โดยเฉพาะในด้านแรงงาน ที่คนไทยจำนวนมากยังขาดทักษะในการทำงานร่วมกับ AI และมีความเสี่ยงที่จะถูกเทคโนโลยีทดแทน นอกจากนี้ เรายังมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ AI และยังขาดกรอบกฎหมายที่ชัดเจนในการกำกับดูแลการใช้งาน AI ที่สำคัญ หากประเทศไทยไม่เร่งลงทุนและพัฒนาด้าน AI อย่างจริงจัง อาจส่งผลให้เสียเปรียบในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมดิจิทัลในระยะยาว ซึ่งจะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม

กลยุทธ์ของไทยในยุค AI

DeepSeek และ Qwen กำลังเปลี่ยนโลกจริงหรือไม่

การปรากฏตัวของ DeepSeek และ Qwen กำลังสร้างปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์เทคโนโลยี AI อย่างมีนัยสำคัญ โดยการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรงกว่ายุค Digital Transformation ด้วยปัจจัยสำคัญหลายประการ

  • ประการแรก ความง่ายในการเข้าถึงและการใช้งานที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ (User-Friendly) ทำให้ผู้คนจำนวนมากสามารถนำ AI ไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคขั้นสูง ส่งผลให้เกิดการใช้งานในวงกว้างและกระจายไปในหลากหลายอุตสาหกรรม
  • ประการที่สอง การเปิดให้ใช้งานฟรีได้ทลายข้อจำกัดด้านต้นทุน ทำให้สตาร์ทอัพ นักพัฒนาอิสระ และองค์กรขนาดเล็กสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี AI ขั้นสูงได้ ซึ่งเดิมเป็นเรื่องที่ต้องใช้งบประมาณมหาศาล การเปิดกว้างนี้นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและการต่อยอดในรูปแบบที่หลากหลาย
  • ประการที่สาม โมเดล AI แบบ  open source เหล่านี้สร้างแรงบันดาลใจให้นักวิจัยและนักพัฒนารุ่นใหม่กล้าที่จะทดลองและคิดนอกกรอบ โดยไม่ถูกจำกัดด้วยทรัพยากรหรือต้นทุน ซึ่งอาจนำไปสู่การค้นพบเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหนือความคาดหมาย

 นอกจากนี้ การแข่งขันในตลาด AI ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการมี Open Source Models ยังกระตุ้นให้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ต้องเร่งพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ใช้งานและระบบนิเวศ AI โดยรวม อย่างไรก็ตาม การเติบโตอย่างก้าวกระโดดนี้ยังมาพร้อมกับความท้าทาย ทั้งในแง่ของการรักษาความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ และการกำกับดูแลการใช้งานที่เหมาะสม ซึ่งทุกภาคส่วนจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป

ฤา AI จะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ

 AI กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะในด้านโอกาสและความสามารถในการแข่งขัน ผู้ที่เรียนรู้และปรับตัวใช้ AI จะได้เปรียบอย่างมีนัยสำคัญ ปรากฏการณ์นี้สะท้อนรูปแบบเดียวกับการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีในอดีต ไม่ว่าจะเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมหรือยุคดิจิทัล ที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Early Adopters) มักจะได้รับประโยชน์และโอกาสมากกว่าผู้ที่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง

 ในระดับธุรกิจ องค์กรที่เร่งปรับตัวและนำ AI มาประยุกต์ใช้จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งด้านประสิทธิภาพการดำเนินงาน การลดต้นทุน และการสร้างนวัตกรรมใหม่ ในขณะที่ธุรกิจที่ช้าในการปรับตัวอาจเสี่ยงต่อการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและถูกทิ้งห่างในที่สุด

หลักการนี้ยังส่งผลในระดับประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยที่กำลังเผชิญความท้าทายสำคัญ การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแรงงานผ่านการ Reskill และ Upskill จึงเป็นเรื่องเร่งด่วน นอกจากนี้ การปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่มีความสามารถในการใช้และพัฒนา AI ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต หากไม่เร่งดำเนินการ ประเทศไทยอาจเสียเปรียบในเวทีการแข่งขันระดับโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

AI จะไม่แทนที่มนุษย์ แต่มนุษย์ที่ใช้ AI จะมาแทนที่มนุษย์ที่ไม่ใช้ AI

 ประเทศใดที่สามารถ ใช้ AI อย่างชาญฉลาด จะเป็น ผู้นำของอนาคต ประเทศไทยจะเลือกเส้นทางไหน ?

บทความนี้เผยแพร่โดย Techsauce โดยอ้างอิงจากบทวิเคราะห์ของคุณสุภาวดี ตันติยานนท์ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไม Deepseek อาจยังไม่ใช่การก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ฟังความเห็น ดร.พัทน์ แห่ง MIT Media Lab

DeepSeek R1 คือ AI จากจีนที่ถูกมองว่าอาจท้าทาย ChatGPT-O1 ของ OpenAI แต่ ดร. พัทน์ ภัทรนุธาพร วิเคราะห์ว่า DeepSeek อาจยังไม่ใช่ "breakthrough" ที่แท้จริง...

Responsive image

ท๊อป Bitkub Group ถกประเด็น ‘อนาคตสินทรัพย์ดิจิทัล & โทเคน’ บนเวที WEF 2025

สรุปประเด็น ‘สินทรัพย์ในอนาคต’ กับการถูกแปลงสภาพการใช้งานไปอยู่ในรูปของ ‘สินทรัพย์ดิจิทัลและโทเคนดิจิทัล’ ที่ คุณท๊อป - จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้ง Bitkub Capital Group Holdin...

Responsive image

สิงคโปร์ ทำอย่างไรให้เป็นยักษ์ใหญ่ Fintech?เมื่อหัวใจของนวัตกรรมคือ ‘คน’

โลกยุคดิจิทัลพาให้หลายวงการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะ Fintech ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีสิงคโปร์เป็นผู้นำด้านการเงินแล้ว นับได้ว่าเป็นศูนย์กลาง Fintech ของภูมิภาค SEA ก็ว่าได...