จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่สิ้นสุดลง เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลก ราคาน้ำมัน ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสงครามรัสเซียยูเครนที่มีทีท่าว่าจะยืดเยื้อ ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกให้มีความตึงเครียดมากขึ้น รวมถึงยังส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างปฏิเสธไม่ได้
ด้วยสถานการณ์ความไม่แน่นอนเหล่านี้ จึงเป็นปัจจัยเร่งให้มีการเปลี่ยนผ่านก้าวสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้นทั้งในระดับโลก หรือในประเทศไทยเองก็ตาม โดยในงานสัมมนา THE WISDOM : GAME CHANGER แก้เกมการลงทุน ปรับทัพรับดอกเบี้ยเปลี่ยนทิศ ที่จัดขึ้นโดยเดอะวิสดอม ธนาคารกสิกรไทย มีการพูดคุยถึงประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ยุค Digital Economy ที่มองว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และผลักดันเศรษฐกิจไทยเติบโตก้าวกระโดด และการเติบโตของเทคโนโลยี Blockchain ที่สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการเงินการลงทุนอย่าง Digital Token ที่สร้างความหลากหลายและเพิ่มทางเลือกให้กับนักลงทุนได้มากขึ้น
ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ต้องยอมรับว่าในปีนี้ ก่อนที่จะเกิดสงครามรัสเซียยูเครน เศรษฐกิจโลกมีโอกาสในการฟื้นตัวได้ดี มีการขยายตัวจากปีที่แล้วซึ่งมีฐานต่ำ แต่เมื่อมีสงครามเกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อหลายประเทศทั่วโลก สำหรับเศรษฐกิจไทยที่ยังคงพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก หากสงครามที่เกิดขึ้นจำกัดอยู่เพียงแค่รัสเซีย และยูเครน จะไม่ได้ส่งผลกระทบกับไทยมาก แต่ถ้าหากมีการกระจายสู่หลายประเทศทั่วโลกก็ย่อมส่งผลกระทบมากเช่นกัน
ขณะที่การบริโภคในประเทศยังคงน่าเป็นห่วงจากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนภาคเอกชนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และสถานการณ์ความไม่แน่นอนของสงครามก็ทำให้นักลงทุนไม่กล้าที่จะลงทุนเพิ่มเช่นกัน ดังนั้นการก้าวเข้าสู่ Digital จึงเป็นเทรนด์สำคัญของเศรษฐกิจไทย และเป็นเทรนด์สำคัญของโลกเช่นกัน
ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานแรก ๆ ของประเทศ ที่มีส่วนผลักดันในการก้าวเข้าสู่ดิจิทัล ผ่านการมีระบบ PromptPay และการจ่ายเงินผ่าน QR Code ถือว่านำหน้าหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก และในระยะต่อไปจะมีการปรับโครงสร้างของระบบการเงินในอนาคต เพราะเรามองว่าดิจิทัลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ โดยเรารองรับด้วยการเปิดกว้าง 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่
Open Competition ในประเด็นนี้มักจะมีการพูดถึง Virtual Bank ที่หมายถึง ธนาคารที่ไม่มีสาขาและตั้งในอินเทอร์เน็ต ดำเนินการบนระบบดิจิทัล
Open Infrastructure การที่ผู้คนสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ได้ เช่นเดียวกับระบบ Promptpay ที่ทำให้สามารถโอนเงินโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
Open Data การเปิดให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลได้มากที่สุด เพราะข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน ใครก็ตามที่มีข้อมูลมากย่อมมีความได้เปรียบ หรือแม้แต่สถาบันการเงินเองก็ตาม ถ้ามีข้อมูลลูกค้าดี ก็จะสามารถประเมินลูกค้าได้ดีขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น”
นอกจากนี้ ดร.ดอน ยังกล่าวอีกว่า “จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นเป็นวิกฤตก็จริง แต่มีโอกาสด้วย เห็นได้จากความเปลี่ยนแปลงในการเข้าสู่ดิจิทัลของผู้คนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การทำงาน การเรียน การค้าขาย และการใช้ Mobile Banking”
จากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าคนไทยมี Adoption กับดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายและการลงทุน โดยในช่วงโควิด -19 ที่ผ่านมาได้เห็นการเข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ อย่างการลงทุนใน Digital Asset อย่าง Cryptocurrency มากขึ้นเช่นกัน ธนาคารกสิกรไทยได้เห็นถึงเทรนด์การเติบโตของเทคโนโลยี Blockchain และ Cryptocurrency จึงได้มีการตั้ง Kubix ซึ่งเป็น ICO portal ที่ให้บริการระบบในการเสนอขายดิจิทัลโทเคน เป็นทางเลือกใหม่ให้กับธุรกิจและนักลงทุน
คุญอภิญญา เรืองทวีคูณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คิวบิกซ์ ดิจิทัล แอสเสท จำกัด ในเครือ KBTG กล่าวว่า “สำหรับ Digital Token นั้น ได้มีการออกแบบการลงทุนในรูปแบบใหม่ขึ้นมา 3 รูปแบบด้วยกัน
รูปแบบแรก คือ สิ่งที่นำมา Tokenize หรือนำมาสร้างเป็น Token กล่าวคือ การนำสินทรัพย์ในรูปแบบต่าง ๆ มาทำให้อยู่ในรูปแบบของหลักทรัพย์ เช่น การนำโครงการต่าง ๆ การสร้างภาพยนตร หรือการขยายแฟรนไชส์ มาระดมทุนในรูปแบบนี้ได้ ทำให้สิ่งที่ Token นำเสนอนั้นจะมีความแตกต่างจากรูปแบบที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน
รูปแบบที่สอง คือ การออกแบบผลตอบแทน เมื่อสินทรัพย์อยู่ในรูปแบบ Token Digital หรืออยู่บนระบบ Blockchain แล้ว การเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ จะทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถออกแบบรูปแบบผลตอบแทนที่อาจจะมีลักษณะคล้าย Bond ที่มีเงินปันผล หรือถ้าตัว Token ไป List อยู่บนตลาดรองก็จะมีโอกาสสร้าง Capital Gain ได้ หากโครงสร้างดังกล่าวนั้นมีการ Generate ผลตอบแทนขึ้นมา และที่สำคัญ Digital Token สามารถที่จะดึงเอาสิทธิประโยชน์ของโครงการที่ Token ได้มีการนำเสนองมาเป็นสิทธิประโยชน์แก่ผู้ถือ Token ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เรานำโรงแรมมา Tokenize ผลตอบแทนที่จะได้นอกจากในรูปแบบของเงินปันผลแล้ว ยังสามารถนำสิ่งที่เป็นสิทธิประโยชน์ของตัวโครงการ อาจเป็นสิทธิ์ในการเข้าพักที่มอบให้กับผู้ถือ Token ได้ หรือหากเป็นห้างสรรพสินค้า ผู้ถือ Token ก็จะได้รับสิทธิ์ส่วนลดต่าง ๆ ที่ดึงมาเป็นอรรถประโยชน์เพิ่มเติมได้ ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นการผสมผสานรูปแบบผลตอบแทนให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
รูปแบบที่สาม คือ การเข้าถึงตัว Token สำหรับผู้ที่จะมาร่วมลงทุน จะถูกนำเสนอในรูปแบบ แพลตฟอร์มที่เป็น Digital Experience ทั้งหมด ตั้งแต่การเข้ามาเปิดบัญชี การทำความรู้จักกับ Token ตลอดจนการลงทุน
Digital Token จึงถือเป็นมิติใหม่ ที่มีความน่าตื่นตาตื่นใจ และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่จะระดมทุนและนักลงทุน ซึ่งตรงนี้จะเป็นส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยในยุค Digital ให้สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดเป็นอย่างมาก”
Digital Asset ถือเป็นคำที่กว้างมาก ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีวิธีการกำกับดูแลที่แตกต่างกันไป สำหรับประเทศไทยเองทางสำนักงาน ก.ล.ต. ได้มีการแบ่ง Digital Asset เป็น 2 ประเภท ได้แก่ Cryptocurrency และ Digital Token ซึ่งทั้งสองแบบนี้มีการ Backup โดยใช้เทคโนโลยี Blockchain ทั้งสิ้น
โดย คุญอภิญญา ได้มีการอธิบายเพิ่มเติมว่า “Cryptocurrency เป็นสินทรัพย์มีความน่าตื่นเต้นและน่าสนใจ โดยจะมีความเป็นพลวัต มีเหรียญต่าง ๆ มากมาย และมี Storyline ที่น่าตื่นเต้นบนโลกดิจิทัลทั้งหมด แต่สำหรับ Digital Token นั้นเป็นเหมือนการนำเทคโนโลยี Blockchain และ Cryptocurrency มาประยุกต์ใช้ แต่ในพื้นฐาน หรือ Underlying คือ การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ หรือ Securitization เพราะฉะนั้นจะมีความ Traditional มากกว่า ซึ่งสามารถมองได้ว่า Digital Token เป็นเหมือนจุดเชื่อมระหว่าง Digital Economy ที่ใหม่อย่างโลก Crypto กับ Traditional Asset ปัจจุบัน
โดยในประเทศไทยให้มองง่าย ๆ ว่า Digital Token เป็นเหรียญที่ออกโดยบริษัทซึ่งผ่านการอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว เพราะฉะนั้นผู้ออกเหรียญก็จะเป็นบริษัทในไทย ซึ่งในการลงทุนนั้นก็ให้ดูที่วัตถุประสงค์ของการออกเหรียญ อาจจะเพื่อการระดมทุน หรือสร้างมาเพื่อให้อรรถประโยชน์ต่าง ๆ กับผู้ลงทุน โดย Digital Token ก็จะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
Investment Token เป็น Token ที่ผู้ออกเหรียญจะมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุน เพื่อมาร่วมลงทุนในโครงการที่นำเสนอ นักลงทุนที่ถือ Token ประเภทนี้ก็จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุน ถ้าเทียบกับการลงทุนในรูปแบบดั้งเดิม ก็จะมองได้ว่าเหมือนกับการเปลี่ยนรูปแบบสิ่งที่ถือจาก ยูนิตกองทุน หรือ ยูนิตหุ้น เป็นการถือครอง Token แทน ซึ่งนักลงทุนสามารถพิจารณาโดยใช้หลักการเดียวกับการลงทุนแบบเดิมได้ ส่วนในมุมของผู้ออกเหรียญ วิธีนี้ก็ถือเป็นช่องทางการระดมทุนในอีกรูปแบบหนึ่ง
Utility Token เป็นการสร้าง Token ประเภทที่ให้ผู้ถือมีสิทธิ์ที่จะได้รับสินค้าและบริการที่ผู้ออกเหรียญนำเสนอ คล้ายกับการเปลี่ยนคูปอง วอยเชอร์ต่าง ๆ ที่ผู้ที่ถือ Token สามารถแลกรับสิทธิ์จากผู้ที่ออกเหรียญได้"
จากการก้าวเข้ามาสู่การเพิ่มตัวเลือกการลงทุนให้กับนักลงทุนและธุรกิจของ KUBIX โดย KBTG ในครั้งนี้ ถือเป็นทางเลือกที่เพิ่มขึ้นในการลงทุนรูปแบบใหม่ เพื่อตอบรับกับยุคดิจิทัลและความผันผวนทางเศรษฐกิจจากหลายปัจจัยที่เกิดขึ้น
โดย Digital Token สามารถมองได้ว่าเป็นอีกทางเลือกของนักลงทุนในการพิจารณาเพื่อกระจายความเสี่ยง เพิ่มความหลากหลายให้กับ Portfolio ได้ และในอีกมุมหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ Kubix ต้องการนำเสนอคือ การลงทุนแบบมีไลฟ์สไตล์ เพิ่มความสนุกในการลงทุน ผสมผสานความน่าสนใจของโครงการให้ผู้ลงทุนเข้ามามีส่วนร่วมได้ ที่ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนรูปแบบอื่นที่มากกว่าเงิน อย่างไรก็ตาม Digital Token ถือเป็นอุตสาหกรรมใหม่ ที่ต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการกำกับดูแล ดังนั้นผู้ลงทุนจำเป็นต้องศึกษาข้อมูล และทำความเข้าใจอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะเข้ามาลงทุน
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด