สรุป Key Takeaways จากงาน MEGA TECH FORUM 2022 by Techsauce ในหัวข้อ Digital Business Building and Tech Trends in the New Normal โดยคุณ Pipavin Sodprasert Partner จาก McKinsey & Company
-ในการยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 ความท้าทายหลังที่บริษัทต้องเผชิญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อย่างแรก คือ Demand ที่ลดลงอย่างมาก อย่างที่สอง การขาดแคลนวัสดุ และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน อย่างที่สาม การขาดแคลนแรงงานและ Productivity ที่ลดลง
-จากแนวโน้มดังกล่าวจะส่งผลให้การยอมรับในอุตสาหกรรม 4.0 สามารถดำเนินไปได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยเบื้องต้นจะเห็นได้มีว่า เครื่องมือต้นทุนต่ำสำหรับการใช้ชีวิตแบบ New Normal เช่น อุปกรณ์ติดตามสุขภาพของพนักงาน เครื่องมือสำหรับ Remote Working ได้รับการยอมรับสูงสุด แต่เหล่านี้ก็จะตามมาด้วยการใช้งานที่น้อยลง เพราะถือว่าเป็น Quick win solutions สำหรับองค์กรมากกว่า
-ขณะที่ Solutions ที่เกี่ยวข้องกับการวางโครงสร้างพื้นฐาน เช่น Data Lake และ IoT Platform ได้รับการยอมรับในระดับกลางเท่านั้น
-ส่วน Solutions ที่ได้รับการยอมรับในระดับต่ำ จะเป็นสิ่งที่องค์กรต้องมีการลงทุนสูง และจะส่งผลกระทบในระยะยาว เช่น Physical Automation และ นาโนเทคโนโลยี ซึ่งบริษัทต่างๆก็จะมีการมองหาแนวทางในการใช้อุตสาหกรรม 4.0 ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
-การจัดการประสิทธิภาพดิจิทัล การสร้างความสามารถทางดิจิทัล การทดสอบคุณภาพระยะไกล ฟังก์การติดตาม และการทำงานร่วมกันแบบอัตโนมัติระหว่างคนและเครื่องจักร การวางแผนสำหรับความต้องการเปลี่ยนแปลงเฉพาะ ทั้งหมดนี้ คือ แนวโน้มของอุตสาหกรรม 4.0 ที่กำลังเพิ่มขึ้น
10 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะมาสร้างเปลี่ยนโลกธุรกิจ และทำให้ภาพการทำงานในอนาคตเปลี่ยนไป มีดังนี้
-Next-level process automation and virtualization เทคโนโลยีในกลุ่มนี้จะครอบคลุม Industrial Internet of Things หุ่นยนต์ การประยุกต์ใช้ Digital twins และ 3D/4D Printing
-The future of connectivity เทคโนโลยีกลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อที่เร็วขึ้นอย่าง 5G และระบบ IoT ซึ่งจะมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก
-Distributed infrastructure เทคโนโลยีกลุ่มนี้จะเป็นการรวมกันระหว่าง Cloud และ Edge computing ที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มมประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรมากขึ้น
-Next-generation computing เทคโนโลยีกลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับ Quantum computing ที่จะมีการทำงานร่วมกับ ASICs
-Applied AI การนำ AI มาประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Computer Vision NLP&Speed Technology
-The future of programming การเขียนโปรแกรมในรูปแบบเดิมจะถูกแทนที่ด้วย Software 2.0
-Trust architecture โครงสร้างสถาปัตยกรรมไอทีจะต้องถูกออกแบบเพื่อสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์ต่างๆได้
นอกจาก 7 เทรนด์เทคโนโลยีข้างต้นแล้วนั้น ยังมีอีก 3 เทรนด์เทคโนโลยี ที่เป็นแนวโน้มเฉพาะของอุตสาหกรรม ได้แก่ The Bio Revolution Next-generation materials และ Future of clean technologies
-การรุก e-commerce เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า ในเดือนเมษายน 2020 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 มาอยู่ที่ 33% จากเดิมในปี 2019 ที่อยู่ที่ 17% และคาดว่าในปี 2024 มีแนวโน้มเติบโตไปได้ถึง 35%
-จากแนวโน้มต่างๆ เหล่านี้จะมีความหมายเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจ SME ในการเข้ามาเริ่มใช้งาน e-commerce และต้องมีการสร้างระบบนิเวศให้กับผู้ขายเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการมีเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มที่เหมาะสม การสนับสนุนจากภาครัฐบาลและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
-ตลาด e-commerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงสุด คาดว่าในปี 2020-2025 อัตราการเติบโต (CARG) จะอยู่ที่ 21% ต่อปี ซึ่งจะทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจมากมาย
-หากเจาะในประเทศไทยโดยเฉพาะ จะพบมีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อตลาด E-Commerce มากมายที่ค่อนข้างพร้อม ไม่ว่าจะเป็น จำนวนผู้ใช้งาน Digital Banking FinTech E-Wallet โดยจำนวนผู้ใช้งาน Digital Banking จากเดิมที่มีอยู่ 36% ในปี 2017 เติบโตขึ้นเป็น 90% ในปี 2021 ขณะที่การใช้งาน FinTech และ E-Wallet จากเดิมอยู่ที่ 11% ในปี 2017 เติบโตขึ้นเป็น 51% ในปี 2021 เช่นกัน
-ความจำเป็นด้านดิจิทัลที่สำคัญ 2 ประการสำหรับองค์กรในแง่ของการรักษาความปลอดภัยให้ตำแหน่งเดิมและขับเคลื่อนการเติบโตไปสู่อนาคต มีดังนี้
การเติบโตผ่านโอกาสในการสร้างธุรกิจ : เปิดการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่ กระจายผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ไปสู่ตลาดปลายน้ำ และสร้างความหลากหลายให้กับ Ecosystem
การรักษาความปลอดภัยและการ Boost ธุรกิจหลัก : มีการใช้ Salesforce หรือหาวิธีใหม่ๆในการขายและแนวทางการตลาดสำหรับอนาคต การมีห่วงโซ่อุปทานแบบ Agile และ Smart Factory
-ทุก Sector กว่า 10% ขององค์กรมีการเริ่มลงทุนใน Venture Building โดยองค์กรต่างมองว่าการสร้างธุรกิจใหม่เป็นความสำคัญเชิงกลยุทธ์ โดยส่วนแบ่งสูงสุด 3 อันดับแรกจะเป็น ภาคส่วนที่เกี่ยวกับ Consumer, Professional Service และ TMT (High Tech-Media-Telecom)
-แนวโน้มที่ชัดเจนขึ้น คือ ไม่ว่าอุตสาหกรรมใดก็ตาม คู่แข่งของคุณมีส่วนร่วมใน Venture Building มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงจำเป็นมากที่องค์กรที่เป็นผู้บุกเบิกจะต้องรู้สึกว่า การสร้างธุรกิจใหม่ในโลกหลังโควิดเป็นหนทางที่จะสามารถเติบโตได้ในอนาคต โดยวิธีที่จะช่วยให้องค์กรสามารถที่จะยึดครองตลาดได้ตั้งแต่ในช่วงแรก คือ การลงทุนในบริการธุรกิจที่มีอยู่เป็นหลัก
-Venture Building ส่งผลให้เกิดผลตอบแทนที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับกลยุทธ์การเติบโตแบบ Organic อื่น ๆ โดยการเติบโตของรายได้จะสอดคล้องกับระดับการมีส่วนร่วมในนวัตกรรมของบริษัทต่าง ๆ
-องค์กรใหญ่ผู้ครอบครองตลาดสามารถที่จะเป็นผู้ชนะได้ ถ้าหากมีความเร็วมากพอ ยกตัวอย่างเช่น Marcus by Goldman Sachs เปิดตัวธุรกิจสินเชื่อผู้บริโภค ที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก เพราะเป็นการเปิดตัวภายใต้ Goldman Sachs บริษัทใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ครอบครองตลาดแบบดั้งเดิมอย่าง Wholesale Banking และ Investment Banking ถึงแม้ว่ารูปแบบสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค เป็นสิ่งที่ค่อนข้างใหม่ แต่พวกเขาสามารถสร้างแพลตฟอร์มใหม่อย่างสมบูรณ์ เติบโตอย่างรวดเร็วภายในสองปีแรกทันทีที่มีการเปิดตัวในปี 2016 ถือเป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อผู้บริโภคที่เติบโตเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์
-อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า Venture building ถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จมากมาย ดังนั้นวิธีการที่จะทำให้องค์กรสามารถสร้างธุรกิจใหม่ได้มีดังนี้
New DNA : หากคนยังคงเดิม มันจะยากมากต่อการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ ดังนั้นการมีคนใหม่ กระบวนการดำเนินงานใหม่ และเทคโนโลยีใหม่ จึงเป็นเรื่องง่ายกว่าปกติ เมื่อต้องการทำธุรกิจใหม่
New Business Model : ธุรกิจที่กำลังเปิดตัวธุรกิจจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ กลุ่มลูกค้าใหม่ หรือวิธีการแบบใหม่
New Revenue : การมีแหล่งรายได้ใหม่
-ยกตัวอย่าง Amazon ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาได้มีการเปลี่ยนแปลงจากร้านขายหนังสือออนไลน์ สู่การเป็นผู้นำบริการ Cloud ระดับโลก หรือจะเป็น Netflix ที่เริ่มต้นจากบริษัทให้เช่า DVD และตอนนี้ก็กลายเป็นผู้นำด้าน Content ที่มียอด Subscribes กว่า 130 ล้านรายทั่วโลก เหล่านี้คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าหากองค์กรใหญ่ต้องการย้ายอย่างรวดเร็ว การสร้างธุรกิจใหม่อาจเป็นวิธีหนึ่งในการจับการเติบโตใหม่ในอนาคต
Ideate : สร้างและจัดลำดับความสำคัญของแนวคิดทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยเริ่มต้นจากแนวคิดที่ถูกต้อง เพื่อจะเห็นแนวทางในการแก้ Pain Point ได้จริง ๆ รวมถึงการกำหนดกลยุทธ์เพื่อลดความเสี่ยง
Plan : การตรวจสอบแนวคิดใหม่และทดสอบแผนธุรกิจ เพื่อแสดงให้เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวไม่ได้เพียงแค่แก้ Pain Point ได้อย่างตรงจุดเท่านั้น แต่ยังมองเห็นการดำเนินการได้ด้วย
Build : การสร้างผลิตภัณฑ์และเปิดธุรกิจใหม่กับลูกค้าจริง หลังจากนั้นปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และทำให้แน่ใจว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้บริโภคและตลาด
Grow : เริ่มขยายธุรกิจใหม่และเร่งทำให้เห็นว่าองค์กรจะได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมจากการลงทุน
Exit : สร้างแผนการต่อยอดธุรกิจ เพื่อก้าวไปสู่ขั้นตอนต่อไป และการบูรณาการให้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่มีอยู่เดิม
อย่างแรก เมื่อต้องการที่จะเปิดธุรกิจใหม่ จะต้องมั่นใจก่อนว่ามี Sponsor เป็นผู้บริหารระดับวูงหรือเจ้าขององค์กร เพราะนั่นหมายความว่าพวกเขาพร้อมที่จะผลักดันให้ธุรกิจใหม่นี้เติบโตจริง ๆ
อย่างที่สอง จะต้องหา Product-market fit ให้เจอ สิ่งนี้จะมีความสำคัญไม่แพ้กัน ในการดำเนินงานจะต้องมีความคล่องตัวสูง โดยจะต้องสามารถเปิดตัวธุรกิจและทดสอบกับตลาดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะสามารถเรียนรู้และดำเนินการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่อไปได้
อย่างที่สาม ต้องแน่ใจว่ามีทีมที่มีความสามารถสูงในระดับ Top Talent เพราะทีมคือ สิ่งที่จะสร้างความแตกต่าง และเป็นคนที่จะต้องไม่ยอมแพ้ให้กับความล้มเหลวตั้งแต่วันแรก
อย่างที่สี่ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าในการปฏิบัติงานนั้นจะต้องทำตามกระบวนการและโครงสร้างที่ชัดเจน
-สุดท้ายหลุมพรางที่ควรระวังในการสร้างธุรกิจใหม่สำหรับองค์กร คือ อย่างแรก ต้องแน่ใจว่า สมมติฐานหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณเชื่อเมื่อต้องการเปิดตัวธุรกิจใหม่นั้นจำเป็นต้องได้รับการทดสอบกับตลาดอย่างถูกต้อง และต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่าสิ่งนี้จะไม่กลายเป็นบ่อนทำลายความสำเร็จในระยะยาว อย่างที่สอง คือ จำเป็นที่จะต้องมีแผนและวิธีการสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่นี้ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้แน่ใจว่านี่เป็นธุรกิจที่มีคุณค่า ที่ท้ายที่สุดแล้วผู้บริโภคจะต้องจ่ายเงินเพื่อสิ่งนี้อย่างแน่นอน
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด