ธุรกิจร้านอาหารคือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักตลอดช่วงวิกฤต COVID-19 และยังคงต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่ๆ ในการฟื้นตัวกลับขึ้นมา โดยเฉพาะทุกร้านอาหารที่ต้องปรับตัวเพื่อตอบรับกับความปกติใหม่ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค นอกจากประสบการณ์ที่จะได้จากการทานอาหารในร้าน การสังสรรค์กับกลุ่มเพื่อน และคุณภาพอาหารที่ดีแล้ว ประเด็นเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยก็จะกลายเป็นสิ่งที่ลูกค้าทุกคนให้ความสำคัญ
ข้อมูลที่เปิดเผยโดยนายเรืองโรจน์ พูนผล ประธานบริษัท KBTG ชี้ว่า มูลค่าของธุรกิจร้านอาหารในปีนี้หดตัวลงกว่า 10% จากปีที่ผ่านมา เหลือราว 3.8 แสนล้านบาท แม้ว่าจะเริ่มมีการคลายล็อกดาวน์และร้านอาหารหลายแห่งก็เปิดบริการตามปกติแล้ว แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ยังคงมีความระมัดระวังในการทานอาหารนอกบ้านอยู่ เพราะอยากหลีกเลี่ยงการสัมผัส
ดังนั้นโจทย์ใหม่ของธุรกิจร้านอาหาร จึงเปลี่ยนไปหลักๆ 3 รูปแบบ
แน่นอนว่าในการตอบโจทย์ทุกข้อให้ครบถ้วน ถือเป็นความท้าทายสำหรับร้านอาหารเล็กใหญ่เป็นอย่างมาก ซึ่งแม้ว่าจะมีผู้เล่นในตลาดที่ให้บริการ food delivery หลายเจ้าที่ช่วยเพิ่มช่องทางในการขาย แต่บริการเหล่านี้ก็ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องราคาค่าส่งและการเก็บค่าธรรมเนียม อีกทั้งยังไม่ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการออกมาใช้บริการที่หน้าร้านอย่างเต็มที่
KBTG ได้เล็งเห็น pain point เหล่านี้และได้ตกผลึกออกมาเป็นแพลตฟอร์ม Eatable เพื่อการสั่งอาหารออนไลน์ทั้งสำหรับการทานที่ร้าน รับกลับบ้าน รวมถึงการจัดส่งถึงบ้าน ด้วยความตั้งใจช่วยเหลือร้านอาหารและลูกค้าให้ได้รับประสบการณ์ที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมใดใด
ระบบของ Eatable จะช่วยลดขั้นตอนของการสัมผัสและพูดคุยกับพนักงานร้านอาหารลงด้วยฟีเจอร์ Dine-in QR Ordering ให้ลูกค้าสแกน QR Code ที่ติดอยู่บนโต๊ะหรือเปิด link ของ Eatable เพื่อเลื่อนดูเมนูและสั่งอาหารที่อัพเดทแบบเรียลไทม์พร้อมไปกับเพื่อนบนโต๊ะได้ โดยสามารถเลือกทานที่ร้านหรือเลือกเวลารับกลับบ้านได้ โดยไม่ต้องเสียเวลารอหน้าร้าน
สำหรับผู้ที่ต้องการสั่งให้จัดส่งแบบเดลิเวอรี ก็สามารถสั่งผ่าน Online Order Link ที่ร้านค้าโชว์ไว้ในช่องทางต่างๆ ของร้าน เช่น ใน LINE Offical Account หรือ Facebook Fanpage โดยลูกค้าสามารถคลิกดูเมนู และสั่งอาหารได้ทันที
เมนูออนไลน์ที่มีอยู่ ส่วนใหญ่มักให้ลูกค้าเลือกดูรายการอาหารเป็นรายชื่อและข้ามขั้นตอนความรู้สึกร่วมไป แต่ Eatable ได้คำนึงถึงข้อนี้ โดยได้ออกแบบให้แพลตฟอร์มมีลูกเล่นสนุกๆ โดยร้านค้าสามารถออกแบบ Inspirer Menu ของตัวเองด้วยการแชร์เรื่องราวของรายการอาหาร อัพรูปภาพสวยๆ ที่สปาร์คจอยและสร้างแรงบันดาลใจ ให้ลูกค้ารู้สึกมีส่วนร่วม
อีกหนึ่ง Pain point ที่เป็นข้อจำกัดของวงการเดลิเวอรีคือค่าส่งที่แพงและค่า GP ที่ทำให้ร้านอาหารรู้สึกไม่คุ้มกับการเข้าสู่แพลตฟอร์ม KBTG ได้เพิ่มทางเลือกนี้กับลูกค้า โดยมีระบบ Express Links เชื่อมต่อกับแอป express service หลายเจ้า (Grab, Lalamove, SKOOTAR, ร้านจัดส่งเอง) เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกเจ้าที่คุ้มค่าที่สุด พร้อมกับระบบช่วยคำนวนส่วนลดอัตราค่าส่งที่เหมาะสม เป็นไกด์ไลน์ให้ร้านค้าพิจารณาลดค่าส่งในระบบที่ลูกค้าสามารถอยู่รอด และลูกค้ารู้สึกไม่ต้องเสียค่าส่งแพงเกินไป
นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ 1-Click Copy Address ให้ร้านค้าสามารถ copy ที่อยู่ลูกค้าที่ปักหมุดอยู่ มาใส่ในแอปส่งของต่อได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาลากหมุดหาโลเคชั่นเอง
การก้าวเข้าสู่สังเวียนร้านอาหารของ KBTG ครั้งนี้คือการต่อยอดจากวิสัยทัศน์ของธนาคารกสิกรไทยที่ต้องการช่วยเหลือลูกค้าธนาคารและผู้ประกอบการให้สามารถอยู่รอดได้จากวิกฤต COVID-19 จากคำกล่าวของคุณเรืองโรจน์ ธนาคารกสิกรต้องการเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการมอบอำนาจทางเงินและเทคโนโลยีให้กับลูกค้า ธนาคารพร้อมเข้าไปอยู่ในทุก touch point ของลูกค้าทุกคน ด้วยการแทรกซึมอยู่ในบริการหลากหลายรูปแบบที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การพัฒนา ‘ขุนทอง’ แชทบอทไลน์ที่ช่วยจัดการทวงเงินและหารค่าอาหารในกลุ่มเพื่อน, แอปพลิเคชัน CU Nex สำหรับนิสิต อาจารย์และบุคลากรในจุฬา, แอปพลิเคชัน TAGTHAi แอปการท่องเที่ยว, GrabPay Wallet และ Loan Book บนแอป Shopee ดังนั้น Eatable จึงกลายเป็นก้าวต่อไปในการช่วยส่งเสริมประสบการณ์ธุรกิจร้านอาหารให้ครบวงจร โดยในเดือนกันยายน 2563 จะทำการเชื่อมต่อกับบริการชำระเงินของธนาคารด้วย
พร้อมกันนี้ยังเตรียมเปิดตัวบริการ Dian Cai (เตี่ยนไช่) บริการสั่งอาหารบน WeChat ในช่วงปลายปีนี้ เพื่อพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจีน เมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ
สำหรับในช่วงนี้ Eatable พร้อมให้เจ้าของร้านอาหารที่สนใจทดลองเข้าร่วมรุ่น Public Beta สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ที่ https://eatable.kasikornbank.com
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด