รู้หรือไม่ว่าปัญหาโลกร้อนและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงสุดขั้วส่งผลกระทบที่ลึกซึ้งต่อทัศนคติการใช้ชีวิตของคนวัยหนุ่มสาวโดยเฉพาะ Generation Z ที่รู้สึกกังวลเกี่ยวกับอนาคตของตนเองจนถึงวางแผนอาชีพและที่อยู่อาศัยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่หนักหน่วงมากขึ้น คนรุ่นใหม่จำนวนมากไม่ต้องการมีลูก เพราะไม่ต้องการให้เด็กต้องเกิดมาในโลกที่กำลังจะแตกสลาย มากไปกว่านั้นมีการนำเสนอความเห็นที่ว่าเด็กรุ่นใหม่มีความเชื่อว่าปัญหาสภาพอากาศจะกลายเป็นวิกฤตขั้นสูงสุดหรือหมายถึงจุดจบของมนุษยชาติด้วยเช่นกัน
Zahra Biabani นักศึกษาด้าน Enviromental Sceience & Enviroment Sociology นักขับเคลื่อนประเด็นสภาพอากาศและหนึ่งในสมาชิกและผู้ก่อตั้งกลุ่ม Eco-Tok ร่วมแชร์บนเวที TED’s Talk "The Eco-Creators Helping the Climates Through Social Media" เกี่ยวกับประสบการณ์ในการนำเสนอความรู้และเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Climate Education) บนแพลตฟอร์มโซเชียลยอดนิยม Tiktok เพื่อขับเคลื่อนประเด็นด้านสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม ด้วยความเชื่อที่ว่าเราทุกคนสามารถช่วยเหลือและฟื้นฟูโลกของเราได้ หลังจากตนรู้สึกหมดไฟในฐานะนักเคลื่อนไหวเช่นเดียวกัน
กลุ่ม Eco-Tok คือ การรวมตัวของเยาวชนทั่วโลกที่ร่วมกันนำเสนอคอนเทนต์เกี่ยวกับ Climate Education เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านวิดิโอ ภาพอินโฟกราฟิค มีมส์ โดยปัจจุบันกลุ่ม Eco-Tok ประกอบไปด้วยเยาวชน 19 คน มีผู้ชมทั่วโลกกว่า 4 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ชมวัย Gen Z ไปจนถึงกลุ่ม Millennials
Biabani กล่าวว่า ถึงแม้ประเด็นเรื่องพลังงานได้รับความสนใจจากท้องถิ่นหรือหน่วยงานระดับชาติ แต่ความร่วมมือดังกล่าวไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง คนรุ่นใหม่ต่างพูดคุยกันถึงเรื่องนี้ด้วยความสิ้นหวัง บางรายเกิดความเครียดจากการรับชมข่าวสารที่เกี่ยวกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า Climate Anxiety จนถึงขั้นมีความเชื่อที่ว่า เราไม่สามารถช่วยโลกได้ ช่วยไปก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง จึงขอไม่ไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดีกว่า ต่างประเทศเรียกแนวคิดนี้ว่า “Climate Doomism” นอกจากนี้ยังมีแนวคิด “Climate Denialism” ที่มีการพูดถึงมาเป็นเวลานานที่เชื่อว่าการแข่งขันกันของอุตสาหกรรมน้ำมันหรือก๊าซเป็นเวลาหลายทศวรรษนั้นได้พิสูจน์ให้เห็นว่าธุรกิจขนาดใหญ่เหล่านี้ยังให้น้ำหนักกับผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่าเจตนาจะรักษาสิ่งแวดล้อม
การศึกษาวิจัย Pew ในปี 2021 พบว่า 69% ของ Gen Z รู้สึกกังวลเกี่ยวกับอนาคตมากขึ้นจากการดูสื่อเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถึงแม้การนำเสนอข้อเท็จจริงของปัญหาที่ดูหนักหนานั้นจะกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องปัญหาโลกร้อนในสังคม แต่ก็ล้มเหลวในการสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการกระทำจริงๆ ในวงกว้าง
สิ่งเหล่านี้ทำให้เธอฉุกคิดบางอย่างและหันกลับมามองว่าในทุกวันนี้เราจมในข่าวสารแง่ลบจำนวนมาก สำนักข่าวต่างรายงานหัวข้อข่าวสดใหม่ทุกวันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มากไปกว่านั้นข่าวสารเหล่านี้ถูกนำไปขยายต่อในโซเชียลมีเดียที่ท่วมท้นไปด้วยข้อมูล ขณะเดียวกันที่เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกใช้มาตรการล็อคดาวน์ ได้กระตุ้นให้เกิดการใช้แอพลิเคชันที่หลากหลายและ Tiktok เป็นหนึ่งช่องทางที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ทั่วโลก ในช่วงเวลานั้นได้จระกายให้เธอ Biabani ลองใช้ Tiktok เพื่อในการสื่อสารอีกครั้ง
Climate Optimism เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความหวัง เมื่อสิ่งต่างๆ รู้สึกสิ้นหวัง เป็นสิ่งที่ค้ำจุนเราอย่างยั่งยืน
Biabani พบว่า กระแสตอบรับจากหลังจากสร้างคอนเทนต์แรกของเธอที่ชื่อว่า Weekly Earth Wins เป็นไปในทิศทางที่ค่อนข้างดี สร้างผลลัพธ์ที่ Impact ต่อมุมมองและความรู้สึกของผู้ชมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สามารถบรรเทาความวิตกกังวล ลดความเครียดที่มีต่อวิกฤตได้ (Mitigate Climate Anxiety) ทำให้เธอตั้งใจผลิตคอนเทนต์เพื่อนำเสนอประเด็นต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
Biabani เรียกสิ่งที่เธอกำลังทำอยู่ว่า “Climate Optimism” กล่าวคือ การมองประเด็นปัญหาสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมในแง่บวก บนพื้นฐานแนวคิดที่เชื่อว่าเราสามารถช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูให้โลกของเราให้กลับมาแข็งแรงได้ โดยเธอไม่เห็นด้วยว่าการขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าวด้วยการสื่อสารที่แข็งกร้าว หรือมีมุมมองที่โกรธเกรี้ยวว่าจะช่วยขับเคลื่อนประเด็นได้อย่างยั่งยืน เธอเชื่อว่าเราจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศหรือวิกฤตของโลกได้หากเราไม่มีความหวังว่าเราทุกคนสามารถสร้างการปลี่ยนแปลงได้
อ้างอิงข้อมูลจาก
The Environmentalists of TikTok
Gen Z, Millennials Stand Out for Climate Change Activism, Social Media Engagement With Issue
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด