เอเชียร่วมใจ หารือประเด็น AI สร้างสมดุลการพัฒนา AI และความถูกต้อง | Techsauce

เอเชียร่วมใจ หารือประเด็น AI สร้างสมดุลการพัฒนา AI และความถูกต้อง

ในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดด การหาแนวทางที่สมดุลระหว่างการสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการบังคับใช้กฎระเบียบที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี เราอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องตัดสินใจว่าจะพัฒนา AI อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่ละเลยถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

บทความนี้ Techsauce จะมาสรุป Session: AI Growth Policy: Finding Balance of Innovation and Regulation จากงาน Techsauce Global Summit 2024 ที่จะพาคุณไปสำรวจกรอบการกำกับดูแล AI ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกำลังกลายเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรม AI ที่มีศักยภาพ พร้อมทั้งเจาะลึกกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ AI ที่สามารถช่วยให้บริษัทและสตาร์ทอัพในภูมิภาคนี้สามารถเติบโตได้อย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน

โดยมี ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, Mahadhir Bin Aziz ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ขององค์กร Malaysia Digital Economy Corporation (MDEC), Teddy Lui ซีอีโอ HKAI Lab, William Tjhi หัวหน้าฝ่าย Research AI ประเทศสิงคโปร์, และ Justin C. หัวหน้าฝ่าย Business Development e27 มาร่วมแชร์ความรู้ด้าน AI Growth Policy

กรอบการกำกับดูแล AI ใน SEA ในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง ?

Justin C. เปิดเวทีด้วยคำถามเบสิคถึงสถานะปัจจุบันของกฏระเบียบและกรอบการกำกับดูแล AI ของแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ไทย (ดร.ชินวัฒน์ ชินาประยูร), สิงคโปร์ (William Tjhi),  มาเลเซีย (Mahadhir Bin Aziz), และฮ่องกง (Teddy Lui)

ดร.ชินาวุธ เริ่มพูดถึงกรอบการกำกับดูแล AI ในประเทศไทย โดยเน้นย้ำว่าประเทศไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของกฎระเบียบด้าน AI ปัจจุบันไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลอยู่บ้าง แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำในด้าน AI สิ่งสำคัญคือประเทศไทยต้องมีส่วนร่วมมากขึ้นในชุมชน AI และทำงานร่วมกับประเทศอื่นๆ เพื่อสร้างมาตรฐานและข้อบังคับด้าน AI ในระดับโลก

William Tjhi เผยถึงแนวทางของสิงคโปร์ในการควบคุมดูแล AI ซึ่งคล้ายกับแนวทางของประเทศไทย โดยสิงคโปร์มุ่งเน้นไปที่แนวทางปฏิบัติในภาคอุตสาหกรรม William พูดถึงโครงการต่างๆ เช่น AI Singapore และโครงการต่างๆ เช่น Verify และ Rootshot เป็นต้น ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่ามีการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ นอกจากนี้ เขายังเน้นย้ำว่ากฎระเบียบต่างๆ ได้รับการออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่น เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี AI

Mahadhir Bin Aziz กล่าวว่า ในระยะเริ่มแรกของมาเลยเซีย เรากำลังดำเนินการจัดทำแผน AI ระดับชาติโดยมุ่งเน้นไปที่แนวทางด้านจริยธรรม นอกจากนี้เขายังชี้ว่าการทำงานร่วมกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอื่นเพื่อพัฒนา AI อย่างมีความรับผิดชอบนับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

เพราะเราไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้เพียงลำพัง ดังนั้นเราจึงปรับแนวทางให้สอดคล้องกับโครงการและการหารือในระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน ในระดับโลก มาเลเซียจึงตั้งเป้าที่จะสร้างแนวทางปฏิบัติที่มีกรอบระบุว่าควรจำกัดในเรื่องใดและส่งเสริมนวัตกรรมใด

Teddy Lui ชี้ว่าสำหรับฮ่องกงกรอบการกำกับดูแล AI จำเป็นต้องมีแนวทางที่เอื้อให้นักพัฒนาสามารถพัฒนา AI ได้อย่างสะดวกและไม่ทำให้การพัฒนาล่าช้าลง หนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้ามากในด้านกฎระเบียบด้าน AI ก็คือ จีน โดยเริ่มจากกฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในปี 2016 ตามมาด้วยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในแต่ละปีจะมีการนำกฎระเบียบใหม่ๆ มาใช้เนื่องจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของ AI จีนเฝ้าติดตามภูมิทัศน์ของ AI อย่างใกล้ชิด

มุมมองด้านปัจจัยการพัฒนา AI ในภูมิภาค

Justin C. ถามถึงประเด็นปัจจัยการพัฒนา AI ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากมุมมองของผู้บรรยายแต่ละประเทศ 

ดร.ชินาวุธ ให้ความคิดเห็นว่าต้องเพิ่มการใช้งาน AI ให้มากขึ้นและสนับสนุนให้ SMEs นำ AI มาปรับใช้กับธุรกิจ เพื่อที่จะส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นได้ในภูมิภาค นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงการสร้างแคตาลอกดิจิทัลของผลิตภัณฑ์ AI หรือฐานข้อมูลที่ครอบคลุมซึ่งรวบรวมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ AI เพื่อให้ธุรกิจต่างๆ ใช้เทคโนโลยีนี้ได้ง่ายขึ้น

William Tjhi ให้มุมมองว่า AI ต้องบูรณาการเข้ากับโครงสร้างของสังคม ไม่ใช่แค่ในเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เน้นย้ำถึงการแก้ไขอคติต่อ AI และจำเป็นต้องร่วมมือกันทั้วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสิงคโปร์มีแนวทางเปิดกว้างในการเชิญชวนให้มีการร่วมมือกับประเทศใกล้เคียง

ด้าน Mahadhir Bin Aziz เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายบุคลากรภายในอาเซียนและความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศ แบ่งปันความรู้ ทรัพยากร และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในด้าน AI จากโครงการระดับภูมิภาค รวมถึงมุมมองที่หลากหลายด้านกฎระเบียบและนวัตกรรม AI

สุดท้าย Teddy Lui เสนอเห็นถึงความสำคัญของการแบ่งปันความรู้และเทคโนโลยีทั่วภูมิภาค ด้วยการทำให้ AI เข้าถึงทุกพื้นที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะการลงทุนใน AI ยังเต็มไปด้วยโอกาสและความสามารถในการเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริการด้านดิจิทัล อย่างเช่นที่ Alibaba ได้วางรากฐานการพัฒนาระบบนิเวศ AI ทั้งในประเทศจีนและฮ่องกง

การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้าน AI

ดร.ชินาวุธ ได้แบ่งปันว่าภูมิภาคต่างๆ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน ได้ร่วมมือกันในการกำกับดูแล AI ผ่านกรอบงานต่างๆ เช่น GTAI และ OECD แล้ว ซึ่งการแบ่งปันแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะ เพราะปัจจุบันในบางพื้นที่ไม่มีแรงงานที่มีทักษะเพียงพอ ดังนั้น จึงมีความสำคัญที่ประเทศเหล่านี้จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อฝึกอบรมผู้คนจากภูมิภาคต่างๆ

ด้าน William Tjhi ชี้ว่าการเรียนรู้จากมุมมองที่แตกต่างกันนั้นมีความสำคัญทั้งในการสร้างและจัดการ AI ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัฒนธรรมที่แตกต่างกันมากมายทำให้การใช้ AI เป็นเรื่องยาก แต่มีหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์เหล่านี้

ก่อนหน้านี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังมีการเคลื่อนย้ายบุคลากรด้าน AI ภายในอาเซียน เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ร่วมมือกัน เช่น การประชุมสุดยอด AI ในเจนีวา ที่แสดงให้เห็นมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการควบคุมและใช้ประโยชน์จาก AI

Teddy Lui เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกด้านเทคโนโลยีและปรับให้เข้ากับตลาดในท้องถิ่น เช่น ประเทศไทย ซึ่งแม้จะมีความท้าทายแต่ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน AI และการเติบโตของตลาด และจำเป็นในการสร้างนวัตกรรมด้านพลังงานและการผลิตข้อมูลที่เพียงพอเพื่อสนับสนุนการพัฒนา AI 

สุดท้าย ดร.ชินาวุธ เชื่อว่า AI ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพที่จะปรับปรุงโลกของเราได้อย่างมาก ด้าน William Tjhi  ก็สนับสนุนให้เรามอง AI เป็นพลังระดับโลกที่สามารถนำผู้คนมารวมกันได้ เทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่ต้องกลัว แต่เป็นเครื่องมือที่เราสามารถใช้ให้เป็นประโยชน์

ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ก็ตาม การเข้ามาของ AI ถือเป็นเรื่องของทุกคนทั่วโลก เป็นเกมส์ที่เราทุกคนต้องลงไปเล่นอยู่ดี - William Tjhi 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Ingram Micro ช่วยให้คุณทำงานแบบ Productive ได้อีก ด้วย AI ของ Microsoft และ Poly by HP

บทความนำเสนอเครื่องมือที่มีการติดตั้งเทคโนโลยี AI เข้าไป เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น การประชุมราบรื่นขึ้นผ่านโซลูชันของ Microsoft 365 Copilot และ Poly by HP จากงาน 'BETTER...

Responsive image

เปิดมุมมอง เมื่อการตลาดรวมเข้ากับเทคโนโลยี กับ Jeff Titterton CMO จาก Stripe

เปิดมุมมอง เมื่อการตลาดรวมเข้ากับเทคโนโลยี กับ Jeff Titterton CMO จาก Stripe...

Responsive image

AI ดมกลิ่นจาก osmo นวัตกรรมจมูกดิจิทัลเปลี่ยนโลก

หากเรามี AI ที่สามารถดมกลิ่นและแยกแยะกลิ่นต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ โลกเราจะเปลี่ยนไปอย่างไร? นี่คือโจทย์ที่ Alex Wiltschko และทีม osmo กำลังพยายามพัฒนา...