เมื่อพูดถึง Startup สาย FinTech แน่นอนว่าประเทศที่ทุกคนจะมุ่งไปย่อมเป็นสิงคโปร์ แต่ที่หลายคนอาจไม่รู้เลยคือ ฮ่องกงเป็นอีกที่หนึ่งที่ให้การสนับสนุน Startup อย่างมาก รวมทั้ง Startup สาย FinTech ทั้งในด้านของพื้นที่ทำงาน การที่ภาครัฐให้การสนับสนุนตั้งแต่วันแรกจนไปถึงวันที่จะเปิดตัวเพื่อออกสู่ตลาด เรียกได้ว่ามีระบบ Ecosystem ที่แข็งแรง ซึ่งทีมงาน Techsauce ก็ได้เดินทางไปกับ Startup ไทยใน 'โครงการศึกษาลู่ทางการค้าและเจรจาธุรกิจที่ฮ่องกงของผู้ประกอบการ Startup ไทย' ที่ดำเนินโดยภาครัฐคือสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด
ทีมงาน Techsauce ได้ร่วมเดินทางไปกับ Startup ไทย ได้แก่ Refinn , Anywhere 2 go , Skootar , TakeMeTour ,Taladinvoice ,Market Anyware ,Smart One Logistics รวมถึง DURIAN CORP และสมาคมฟินเทคประเทศ โดยเยือนสถานที่สำคัญ 4 แห่งที่เป็น Ecosystem ที่สำคัญของ Startup ฮ่องกง ได้แก่ HKPC , Cyberport , HKTDP และ Science Park
“เรามีเทคโนโลยี มีอุปกรณ์เครื่องมือทุกอย่างที่นี่ ลองพูดชื่อมา ไม่มีอะไรที่เราไม่มี” คุณ Willy Lynประธานของ HKPC ได้กล่าวกับ Startup ไทยที่มาเยี่ยมชมงาน ซึ่งน่าจะอธิบายถึง HKPC ได้เป็นอย่างดี
Hong Kong Productivity Council หรือ HKPC ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1967 เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุน SMEs หรือผู้ประกอบการที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มขีดความสามารถในโรงงานหรือการนำนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อต่อยอดให้แก่สินค้าและบริการ ภารกิจของ HKPC คือการส่งเสริมด้านการผลิต และการให้การสนับสนุนแบบบูรณากับบริษัทในฮ่องกงเพื่อใช้ประโยชน์มีประสิทธิภาพมากขึ้นของทรัพยากร เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการ และเพื่อเพิ่มการแข่งขันระหว่างประเทศ และมีเป้าหมายร่วมกันกับหน่วยงานอื่นในการผลักดันฮ่องกงสู่ Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ
เราได้เดินเยี่ยมชมหลายส่วนภายใน HKPC ได้เห็นเครื่องมือต่างๆ ที่ทำให้เห็นโลกอนาคตที่ชัดเจนขึ้น ทั้งการลดคน เปลี่ยนหุ่นยนต์มาทำงานแทน เปลี่ยนบทบาทของคนไปดูหน้าจอ การออกแบบการนำรถยนไฟฟ้ามาใช้งานอย่างครบวงจร ซึ่งปัจจุบันในฮ่องกงมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้านับหมื่นคันแล้ว ดังนั้นจึงจะพูดถึงรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้อง Ecosystem เช่น รูปแบบของการชาร์จรถ ถ้าเป็นที่เราเคยเห็นๆกัน คือการหยิบท่ออันใหญ่ๆมาชาร์จเสียบกับรถ แต่ที่ฮ่องกงมีการแบบจุดชาร์จไร้สาย คือเพียงแค่เลื่อนรถเข้าที่จอด ก็เกิดการชาร์จพลังงานขึ้นแล้ว หรือการออกแบบอุปกรณ์การชาร์จที่เหมาะกับผู้หญิงเป็นต้น
นอกจากนี้ยังมี อาณาจักรของ 3D printing ที่เรียกว่าอาณาจักรเพราะว่า 3D printing ของที่นี่ ไม่ได้ทำแค่รูปแบบเล็กๆ แต่มีการวิจัย การทำคุณภาพของการผลิตเป็นรูปด้วยพลาสติกเหล็ก แม้กระทั่งช็อกโกแลต มีทั้งการผสมเครื่องให้เข้ากัน ทำให้เราได้เห็นว่ามันสามารถขึ้นแบบได้หลายๆอย่าง ทั้งการการจำลองอวัยวะมนุษย์ซึ่งทำ ทำให้คนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ช่วยลดขั้นตอนการผลิต
GOGOVAN บริการด้าน Logistic ซึ่งเป็น Startup ยูนิคอร์นของฮ่องกง เป็นหนึ่งใน Startup ที่บ่มเพาะมาจากที่นี่ Cyberport ชุมชนนวัตกรรมดิจิทัล ที่บริหารงานโดยบริษัท Hong Kong Cyberport Management Company Limited ของรัฐบาลฮ่องกง
สถานที่ที่สองที่เรามาเยือนนี้เรียกได้ว่า เป็นไฮไลท์ของการเดินทางในครั้งนี้ เริ่มต้นจากพื้นที่ที่มีความยิ่งใหญ่ ด้วยเนื้อที่ ประมาณ 120,000 ตารางฟุต อยู่ติดริมทะเล ภายในประกอบไปด้วยส่วนเช่าของสำนักงาน พลาซ่า โรงหนัง โรงแรม ร้านอาหารจำนวนมาก รวมทั้งพื้นที่ที่เรียกว่า Smart Space ที่ Startup หลายคนเห็นแล้วต้องร้องว้าว! และอยากนั่งทำงานที่นี่ แต่นั่นไม่ใช่หัวใจหลักที่ทำให้ Startup ที่ร่วมเดินทางมาครั้งนี้กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “อยากมาเปิดบริษัทที่ฮ่องกง” แต่เป็น ‘โครงการบ่มเบาะ Startup’
Cyberport Incubation Programme เป็นโครงการบ่มเพาะ Startup ที่สำคัญแห่งหนึ่งของฮ่องกง โดยโปรแกรมมีระยะเวลา 2 ปี พร้อมกับมีเงินทุนในระดับที่แตกต่างกันถึง 330,000 ดอลลาร์ฮ่องกง พร้อมกับมีพื้นที่ Smart Space ที่ให้ Startup นั่งทำงาน โดยโปรแกรมนี้มีเงื่อนไขว่า บริษัทดังกล่าวต้องจดทะเบียนในฮ่องกง
Cyberport ได้โชว์ตัวเลขให้เราเห็นว่า ผู้ที่สำเร็จโครงการหรือที่เรียกว่า Graduate สามารถ Graduate ได้ถึง 95% และที่ผ่านมามี 35% ที่สามารถ Exits ได้ภายใน 7 ปี ซึ่งเป้าหมายของ Cyberport คือต้องการผลักดันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลให้กลายเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฮ่องกง โดยมุ่งสร้างกลุ่มเทคโนโลยีดิจิทัลสำคัญ ได้แก่ FinTech, eCommerce, IoT/Wearables และ Big Data/AI เพื่อส่งเสริมการพัฒนาฮ่องกงสู่การเป็น 'เมืองอัจฉริยะ' โดยในบรรดาเทคโนโลยีที่กล่าวมานั้น กลุ่ม FinTech ได้เติบโตจนกลายเป็นชุมชนที่แข็งแกร่งซึ่งมีบริษัทมากกว่า 200 แห่ง
คุณพรพิมล ปฐมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Refinn หนึ่งใน Startup ที่ร่วมเดินทางมาครั้งนี้ ได้ให้ความเห็นว่า “จากที่เราพูดกันว่า Startup จะตายกันไป 90% รอดแค่ 10% แต่ที่นี่ทำให้เห็นว่าหากมีความตั้งใจจากหน่วยงานราชการ ซึ่งสำคัญมาก คือที่นี่ไม่ได้ดำเนินการโดยภาครัฐ แต่สนับสนุนโดยภาครัฐในการสร้างสถานที่ แต่ว่ารายได้นั้นมาจากการที่ Cyberport ต้องหารายได้เอง จากการปล่อยให้เช่า มีโรงแรม มีทำพลาซ่า แล้วมีโปรแกรมที่มาประกอบภาพออกมาว่าควรจะทำอย่างไรให้คน Startup ได้เติบโต สามารถที่จะ Pitch ในตลาดได้”
HKTDC หรือ Hong Kong Trade Development Council หรือ องค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง เป็นหน่วยงานที่ช่วยส่งเสริมการขยายโอกาสสำหรับภาคธุรกิจ ทั้งในภูมิภาคเอเชียและพันธมิตรทางธุรกิจทั่วโลก โดยผ่านเวทีทางธุรกิจในฮ่องกง ที่นี่เปรียบเสมือนการนำจิ๊กซอของ Ecosystem ในการผลักดัน Startup ที่ฮ่องกงมาต่อให้ครบ โดยมีโปรแกรม HKTDC Startup Program ในการนำ Startup ออกสู่ตลาด ซึ่งโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการ Workshop การเปิดโอกาสให้เข้าร่วมงาน Fairs ต่างๆเพื่อให้ Startup ได้โชว์ของ เพื่อจะได้พบกับนักลงทุนหรือ VC
หลังจากการดูงานที่ฮ่องกงในครั้ง บรรดา Startup หลายทีมได้พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อยากให้เมืองไทยเป็นแบบนี้บ้าง
“ในไทยเรามี Accelerator ขึ้นมาเยอะมาก มีความพยายามผลักดันในหลายภาคส่วน แต่ไม่มีคนที่จับทุกหน่วยงานมาร่วมมือกัน เรื่องของ Startup มันไม่ใช่แค่ไทย ที่ฮ่องกงเค้าตระหนักเรื่องนี้มา 5 ปี และมันก็อยู่ในแผนพัฒนาของประเทศด้วย ฉะนั้นมันก็เป็นมหภาคพอสมควรในการที่รัฐบาลจะเข้ามาช่วยวางแผนว่าจะให้เกิดขึ้นอย่างไร เปรียบเสมือน hardware แต่คุณก็ต้องมี Software ที่ดี ทำให้ Center นี้มีเนื้อหาที่ดี และบุคลากรที่มีความรู้ ความตั้งใจ และต้องมีประสบการณ์ ไม่ใช่แต่นำคนมาประกอบแล้วแบ่งเป็นห้องๆ ในที่สุด co - working space มันไม่ใช่แค่ coffee shop มันควรจะเป็นที่ที่เค้านั่งแล้วได้สร้างไอเดีย แล้วได้ใช้ความสามารถร่วมกัน ก็เป็นภาพร่วมที่อยากเห็นว่าประเทศไทยน่าจะมีโมเดลที่ไปต่อได้” คุณพรพิมลกล่าว
คุณพีรภูมิ ปราบอริพ่าย CEO บริษัท Smart One Logistics ได้กล่าวว่า "การดูงานในครั้งนี้ได้มองเห็นถึง 'โอกาส' ของกลุ่มธุรกิจ SME / Startup ที่จะสามารถผลักดันธุรกิจของตัวเองให้ scale up ได้ หากได้รับการผลักดันและการสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในเรื่องเงินลงทุนและการจับคู่ทางธุรกิจ"
คุณโอฬาร วีระนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง DURIAN CORP อีกหนึ่งกำลังสำคัญในการช่วยประสานและรวบรวมผู้ประกอบการในครั้งนี้ ให้ความเห็นว่า “จากการดูงานในครั้งนี้ เราได้เห็นการร่วมมือกันอย่างแนบแน่นเป็นระบบ ระหว่างภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ทั้งยังเห็นโอกาสมากมายในการต่อยอดธุรกิจระหว่างไทย-ฮ่องกง ออกไปได้ในหลายมิติ เราเชื่อมั่นในศักยภาพของ SMEs & Startup ไทย ว่าหากมีการพัฒนาและส่งเสริมกันอย่างจริงจัง โดยมีหน่วยงานภาครัฐของไทย เช่น สสว. สถานกงศุล และหน่วยงานต่างๆ ช่วยประสานการเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง เคาะประตูให้เกิดการ Business Matching ร่วมกันระหว่างไทยและฮ่องกง สิ่งนี้จะเป็นการ Implement นโยบายเรื่องของ Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นต้นแบบที่ดีในการเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ที่มีศักยภาพต่อไปในอนาคตได้อย่างรวดเร็ว”
ทั้งนี้คุณอัครพงศ์ ศรีสุพรรณดิฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด
คุณอสิ ม้ามณี กงสุลใหญ่ ฮ่องกง ผู้สนับสนุนให้เกิดโครงการในครั้งนี้ ได้ให้การต้อนรับคณะ Startup จากไทย พร้อมกล่าวทิ้งท้ายสำหรับโครงการที่เกิดขึ้นว่า "อย่างที่ทราบกันว่าฮ่องกงเป็นเมืองท่องเที่ยว แต่เดิมเรามองและมุ่งเน้นไปเรื่องของวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว แต่ตอนนี้รัฐบาลไทยมีนโยบายเรื่องของ Thailand 4.0 การผลักดันเศรษฐกิจด้วยดิจิทัล และเราก็เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ พร้อมกับให้ความสำคัญกับกลุ่ม Startup ที่เป็นคนยุคใหม่ในการช่วยกันผลักดันประเทศ และคิดว่าจะมีการจัดโครงการแบบนี้ต่อเนื่องไปอีก"
แม้ว่าฮ่องกงจะขึ้นชื่อเรื่องของการเป็นเมืองท่องเที่ยว แต่ก็เห็นได้ว่ารัฐบาลฮ่องกงนั้นเล็งเห็นความสำคัญของกลุ่มคนที่จะผลักดันเศรษฐกิจและช่วยขับเคลื่อนประเทศ นั่นคือ SMEs และ Startup ซึ่งประเทศไทยเองนั้นก็โชคดีที่รัฐบาลไทยเห็นความสำคัญของ Startup แต่การจะเป็น Ecosystem ที่แข็งแรงได้นั้น จะต้องมีการจับมือกันของหลายภาคส่วนเพื่อต่อจิ๊กซอนี้ให้ครบ ซึ่ง Startup จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีทีม การสร้าง Ecosystem นี้ก็คงจะสร้างโดยใครเพียงคนเดียวไม่ได้เช่นกัน
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด