OpenAI เผยสูตรลับถาม ChatGPT ให้ได้คำตอบที่ดีกว่าเดิม | Techsauce

OpenAI เผยสูตรลับถาม ChatGPT ให้ได้คำตอบที่ดีกว่าเดิม

ใครเคยเจอปัญหาถาม ChatGPT แต่ได้คำตอบไม่ครบหรือไม่ตรงกับที่ถามไปบ้าง ?

ไม่ใช่เพราะมันไม่ฉลาด แต่อาจเป็นเพราะเราเอง ‘ตั้งคำถาม’ ไม่ดีพอ ทาง OpenAI จึงได้แจกสูตรถาม ChatGPT ให้ได้คำตอบที่ดีกว่าเดิมและตรงประเด็น รวมถึงครอบคลุมทุกข้อสงสัย มีด้วยกันอยู่ 6 วิธี 

6 เคล็ดลับถาม ChatGPT ให้ได้คำตอบที่ดีกว่า

1. เขียนคำสั่งให้ชัดเจน

ไม่ว่า ChatGPT จะเก่งแค่ไหน แต่ก็อ่านใจคนไม่ได้  เราอยากได้คำตอบแบบไหนก็ควรระบุไปให้ชัดเจน มีความเฉพาะเจาะจง และมีรายละเอียดมากพอ เช่น สไตล์การเขียนที่ต้องการ (งานเขียนวิชาการ, คำแนะนำ ฯลฯ), ความยาวของคำตอบ, หรือแม้เแต่การแบ่งบรรทัดและย่อหน้า

ทาง OpenAI เน้นย้ำว่า ยิ่งคำสั่งชัดเจนและละเอียดมากเท่าไร ChatGPT ก็จะเข้าใจและตอบตรงตามในสิ่งที่คุณต้องการมากขึ้นเท่านั้น คุณภาพของชุดคำสั่งจึงสำคัญต่อการได้คำตอบที่ดี เพราะเป็นตัวกำหนดตัวบริบทและขอบเขตของคำตอบ

2. มีคำตอบหรืออ้างอิงจากแหล่งอื่นร่วมด้วย

การเขียน prompt ที่ดี นอกจากเขียนให้เข้าใจง่ายและตรงประเด็นแล้ว ชุดคำสั่งควรมีข้อมูลที่อ้างอิงจากแหล่งอื่นประกอบด้วย จะทำให้คำตอบที่ได้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ไม่ใช่มาจาก ChatGPT อย่างเดียว

3. ย่อยคำสั่งออกมาทีละส่วน

การย่อยคำสั่งออกมาทีละส่วน หมายถึง การถามคำถามที่ไม่ซับซ้อนเกินไป เช่น การถามทีละคำถามตามวัตถุประสงค์และลำดับความสำคัญ ไม่เช่นนั้น ChatGPT จะตัดสินใจเองว่าส่วนใดมีความสำคัญ และอาจส่งผลให้มันตอบในสิ่งที่เราไม่ต้องการมากกว่าสิ่งที่ต้องการ

4. ให้เวลามันหาคำตอบ

การตั้งคำสั่งที่ยุ่งยากก็ควรให้เวลาหาคำตอบด้วยเช่นกัน อย่าเพิ่งรีบด่วนสรุป ควรวิเคราะห์คำตอบร่วมเองด้วย สามารถถามย้ำเพื่อเช็คคำตอบอีกครั้งได้เพื่อป้องกันความผิดพลาดและได้คำตอบที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. การใช้เครื่องมืออื่น ๆ เข้ามาช่วย

การเขียนคำสั่ง prompt เราสามารถเพิ่มตัวเลือกให้กับโมเดลได้ โดยใช้เครื่องมือภายนอกเป็นตัวช่วยให้ได้คำตอบที่หลากหลายเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น การใช้ Code Interpreter การอัปโหลดข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถิติและตัวเลข สามารถช่วยเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และการใช้โค้ด เป็นต้น

6. การทดสอบและวัดผลคำตอบ

การทดสอบและวัดผลคำตอบเพื่อปรับปรุงแก้ไขจะได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยวัดผลจากการทำ A/B Test ของชุดคำสั่ง เช่น คำสั่งแรกถามโดยไม่ใช้ข้อมูลอ้างอิง แต่คำถามที่ 2 ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือมาเทียบกัน 

จากนั้นลองตรวจสอบว่าคำตอบจากชุดคำสั่งไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน วิธีนี้จะช่วยให้ได้คำตอบที่ถูกต้องและครอบคลุมที่สุด

อ้างอิง: forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดตัว 7 สตาร์ทอัพ FinTech ในงาน Money20/20 Asia เสริมแกร่งอุตสาหกรรมการเงินในภูมิภาค

Money20/20 Asia ผู้จัดงานงานฟินเทคโชว์สุดยิ่งใหญ่เปิดตัวบริษัทสตาร์ทอัพทั้ง 7 ที่เชื่อว่าจะผลักดันพร้อมปฏิวัติโลกของการเงิน...

Responsive image

เจาะรากความสำเร็จ Samsung แชโบลตระกูลสำคัญ จากพ่อค้าปลาแห้ง สู่ผู้คุมเศรษฐกิจเกาหลีใต้

ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปเจาะว่าทำไมร้านของชำ Samsung ในเมืองเล็ก ๆ ถึงสามารถเติบโตจนกลายมาเป็นผู้คุมเศรษฐกิจของประเทศได้ แท้จริงแล้วมันมาจากความของเก่งของ Lee Byung-chul อย่างเ...

Responsive image

บทสรุป Accelerate Impact with PRUKSA Season 2 สานต่อความสำเร็จ ส่งต่อความยั่งยืนเพื่อสังคม

บทสรุปสุดท้ายตลอดเส้นทาง ของโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA Season2 ที่สานต่อความสำเร็จ ส่งต่อความยั่งยืนเพื่อสังคม ในวัน Demo Day...