NIA SCB ชวนรู้จัก Intellectual Property ภายใน 5 นาที เครื่องมือคุ้มครองและสร้างมูลค่าให้กับนวัตกรรม | Techsauce

NIA SCB ชวนรู้จัก Intellectual Property ภายใน 5 นาที เครื่องมือคุ้มครองและสร้างมูลค่าให้กับนวัตกรรม

ในช่วงที่ผ่านมา แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมได้รับการพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง แต่ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือการจัดการนวัตกรรมหลังคิดค้นและกำลังจะออกสู่ตลาด ซึ่งเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการนวัตกรรมหนีไม่พ้นกระบวนการด้าน “ทรัพย์สินทางปัญญา” หรือ “Intellectual Property” ที่ถือเป็นมาตรฐานการคุ้มครองนวัตกรรมที่ทั่วโลกยึดถือ รวมถึงช่วยให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่ผู้ประกอบการหลายรายอาจยังรู้เรื่องนี้ไม่มากพอจึงยังใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ 

ถือเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับผู้ประกอบการบ้านเราไม่น้อย เมื่อสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และ SCB ได้จับมือกันเปิดหลักสูตร  Innovation Base Enterprise หรือ IBE สำหรับส่งเสริมความรู้แก่ผู้ประกอบการนวัตกรรมชาวไทย ซึ่งความรู้ที่ว่านี้ครอบคลุมถึงเรื่อง “ทรัพย์สินทางปัญญา” ด้วย โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มาร่วมให้ความรู้ในประเด็นดังกล่าว Techsauce มีโอกาสได้ร่วมเข้าฟังจึงขอสรุปประเด็นให้ทุกท่านได้ติดตามกัน

ทรัพย์สินทางปัญญา ประกอบด้วยอะไรบ้าง

เมื่อพูดถึงทรัพย์สินทางปัญญา หลายคนจะนึกถึงคำว่าสิทธิบัตรหรือลิขสิทธิ์ ซึ่งสร้างความสับสนให้กับหลายคนด้วยชื่อและคุณสมบัติบางอย่างที่คล้ายกัน ซึ่ง ดร.กริชผกา ชี้แจ้งว่าจริงแล้ว ทรัพย์สินทางปัญญา มีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่

  1. ลิขสิทธิ์ (Copyright)
  2. สิทธิบัตร (Patent)
  3. เครื่องหมายการค้า (Trademark)

ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันในรายละเอียดดังนี้

ลิขสิทธิ์ (Copyright)

  • เป็นสิทธิ์คุ้มครองความเป็นเจ้าของของงานสร้างสรรค์ทั้งหมด เช่น งานศิลปะ งานดนตรี วรรณกรรม งานเขียน ปัจจุบัน รวมถึง Software เพราะมองว่าสร้างขึ้นด้วยการเขียน
  • ลิขสิทธิ์เป็นของผู้ที่สร้างสรรค์งานทันที เมื่อมีการแสดงออกมา
  • อายุการคุ้มครอง 50 ปี นับจากปีที่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต หรือปีที่บริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ผลิตผลงาน เมื่ออายุครบจะตกเป็นทรัพย์สินสาธารณะ (Public Domain)
  • จดทะเบียนได้ทุกที่ ได้รับการคุ้มครองจากทั่วโลก

สิทธิบัตร (Patent)

  • เป็นสิทธิ์คุ้มครองความเป็นเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ มี 2 แบบ คือการออกแบบ หมายถึงการประดิษฐ์รูปลักษณ์ภายนอก และการประดิษฐ์ หมายถึงการประดิษฐ์ระบบภายใน
  • แม้ Software จะเป็นลิขสิทธิ์ แต่หากมีผลทางเทคนิค สามารถจดเป็นสิทธิบัตรได้
  • สิทธิบัตรจะได้รับการคุ้มครองเมื่อจดทะเบียนเท่านั้น 
  • การจดสิทธิบัตรต้องจดก่อนเผยแพร่หรือเปิดเผยเสมอ หากมีการเผยแพร่ก่อนจดสิทธิบัตร จะตกเป็นของสาธารณะทันที
  • อายุการคุ้มครองจะมีอายุนับจากวันที่ยื่น สิทธิบัตรการออกแบบอยู่ที่ 10 ปี สิทธิบัตรการประดิษฐ์อยู่ที่ 20 ปี ทั้งนี้สิทธิบัตรสามารถขอต่ออายุการคุ้มครองได้
  • สิทธิบัตรได้รับการคุ้มครองเฉพาะในประเทศที่จดทะเบียนเท่านั้น

เครื่องหมายการค้า (Trademark)

  • เครื่องหมายการค้าแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องหมายสำหรับสินค้า ,เครื่องหมายสำหรับบริการ และ เครื่องหมายรับรองคุณภาพ
  • เครื่องหมายการค้ามีอายุคุ้มครอง 10 ปี ต่ออายุได้ สามารถใช้ก่อนและจดทะเบียนทีหลังได้
  • เครื่องหมายรูปแบบเดียวกัน สามารถจดได้หลายแบบ แต่ต้องจดแยก
  • เครื่องหมายการค้าจะจดทะเบียนและให้ความคุ้มครองในประเภทสินค้าเดียวเท่านั้น เว้นแต่เครื่องหมายนั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นที่แพร่หลาย เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถคัดค้านการจดประเภทอื่นได้
  • หากไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นเพื่อการค้า ไม่ถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า เช่นใช้เพื่อบอกคุณสมบัติของสินค้าของเรา

ข้อได้เปรียบของ “ทรัพย์สินทางปัญญา”

  • ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า สามารถตีมูลค่า และนับในบัญชีทรัพย์สินของบุคคลกับธุรกิจได้
  • เจ้าของสามารถหารายได้จาก “ทรัพย์สินทางปัญญา” ได้ เช่น การขายสิทธิ์ การให้ผู้ใช้จ่ายเงินเพื่อใช้ความรู้ในสิทธิบัตร
  • เป็นการป้องกันนวัตกรรมของเราจากคนอื่น โดยเฉพาะคู่แข่ง เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน

หลักการที่ถือว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเบื้องต้น

  • ทำให้คนสับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าหรือสิทธิบัตรการออกแบบ
  • ผลิตสินค้าหรือเสนอบริการโดยใช้สิทธิบัตรของเรา ทั้งที่เหมือนและคล้าย
  • มีเจตนาตั้งใจละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

ข้อพึงสังเกตในการใช้สิทธิบัตร

  • เราสามารถหาแนวคิดในการสร้างนวัตกรรมจากการดูทรัพย์สินทางปัญญาได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการสร้างนวัตกรรมที่ซ้ำกับคนอื่นด้วย
  • เมื่อคิดค้นนวัตกรรมได้แล้ว ให้คิดถึงการจดทะเบียนสิทธิบัตรก่อนเสมอ
  • ทรัพย์สินทางปัญญาคือสิ่งที่ธุรกิจต้องตระหนัก และต้องรู้จักจัดการให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ธุรกิจ โดยเฉพาะหากมีเป้าหมายจะทำธุรกิจยังต่างประเทศ ต้องศึกษากระบวนการจดสิทธิบัตรในประเทศนั้นๆ
  • สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการจดสิทธิบัตรมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากเป็นเมืองท่า มีสินค้าผ่านไปมาระหว่างประเทศมากมาย การจดสิทธิบัตรที่สิงคโปร์ช่วยให้บริษัทยับยั้งสินค้าต้องสงสัยที่ผ่านมายังสิงคโปร์ได้

ทั้งหมดนี้ คือความรู้เบื้องต้นในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ผู้ประกอบการธุรกิจควรรู้ สำหรับหลักสูตร  Innovation Base Enterprise หรือ IBE จะยังดำเนินไปถึงเดือนมีนาคม 2563 ซึ่ง Techsauce จะขอสรุปเนื้อหาที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านจากโปรแกรมหลักสูตรนี้ให้ได้ติดตามกันในโอกาสต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวสัมมนาหลักสูตรที่น่าสนใจ ได้ที่ https://scbsme.scb.co.th

#SCBNIA #SCBIBE #SCBSME #SCBWITHPURPOSE

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...