“การทำงาน” ในปัจจุบัน ไม่ได้หมายถึงการเข้าออฟฟิศอีกต่อไป ในยุคที่หลายบริษัทเริ่มปรับวิธีการทำงานมาอยู่บนโลกดิจิทัล เทรนด์การทำงานนอกออฟฟิศก็กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น ลองมาดูเหตุผลกันว่าทำไม
ความท้าทายอย่างหนึ่งของบริษัทในยุคดิจิทัลคือการหา talent ที่ใช่มาร่วมงานด้วย โดยเฉพาะคนเก่งๆ ที่มีทักษะเฉพาะด้านที่มีจำนวนน้อย ซึ่งเป้าหมายของชีวิตและสิ่งที่คนรุ่นใหม่เหล่านี้มองหาในตัวงานก็ไม่ใช่แค่เรื่องความมั่นคงที่บริษัทใหญ่ๆ ให้ได้ แต่คือตำแหน่งที่มีความยืดหยุ่น ท้าทาย และ ให้คุณค่าบางอย่างในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ การทำงาน 8 ชั่วโมงในห้องสี่เหลี่ยมตลอดวัน ก็ไม่ใช่สิ่งที่น่าดึงดูด การได้มีชีวิตที่บาลานซ์นอกเหนือเวลาทำงานกลายเป็นสิ่งสำคัญพอๆ กับผลประโยชน์ด้านอื่นๆ
จากผลสำรวจของ International Workplace Group หรือ IWG ที่ได้สอบถามพนักงานบริษัทกว่า 15,000 คนจากหลากหลายอุตสาหกรรมใน 80 ประเทศ ช่วงปี 2019 พบว่ากว่า 74% มองเรื่องความยืดหยุ่นในการเข้าทำงานเป็นความปกติในรูปแบบใหม่ หรือ new normal
ขณะที่ 80% ของคนทำงานในสหรัฐอเมริกา เลือกปฎิเสธงานที่ไม่ให้ความยืดหยุ่นในการทำงาน
บริษัทต่างๆ เริ่มมีการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยบริษัทในอเมริกากว่า 83% เริ่มนำนโยบายที่ให้ความยืดหยุ่นในการเข้าทำงานมาใช้มากขึ้น เพราะนอกจากพนักงานที่จะได้รับผลประโยชน์จากการทำงานที่บ้าน ตัวบริษัทและสังคมเองก็ได้รับประโยชน์หลายๆ ด้านเช่นกัน
องค์กรทั่วโลกต่างตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการเข้ามาของเทคโนโลยี ทำให้ทุกที่ต้องปรับปรุงโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ ทั้งการพัฒนานวัตกรรมและวิธีการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดผ่านการใช้เครื่องมือ แพลตฟอร์มต่างๆ หรือ แม้แต่การสร้างสถานที่ทำงานให้เป็น space ที่มีบรรยากาศผ่อนคลาย สะดวกสบาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง
การทำงานจากข้างนอกหรือทำงานจากบ้านก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมใหม่ โดยบางแห่งยังเพิ่มทางเลือกให้พนักงาน สำหรับการ work from home ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือ ให้ทำงานจากสถานที่ใดที่หนึ่ง หรือแม้กระทั่ง การอนุญาตให้พนักงานผ่านออนไลน์อย่างเดียว ระหว่างเดินทางท่องเที่ยวไปด้วยก็ได้
การทำงานนอกออฟฟิศ มีส่วนช่วยให้พนักงานเกิดความรู้สึกสบาย มีสุขภาพที่ดีขึ้น ไม่เป็นโรค office syndrome เกิด work-life balance ทีดี ส่งผลให้สามารถสร้างสรรค์งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้นด้วย
โดย 85% ของธุรกิจในผลสำรวจของ IWG กล่าวว่า การทำงานนอกออฟฟิศช่วยเพิ่ม productivity ได้จริง ขณะที่ 63% ของพนักงานกล่าวว่ามีผลงานดีขึ้นถึง 21%
อีกหนึ่งงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Standford ร่วมกับมหาวิทยาลัยปักกิ่งที่ได้ศึกษาพนักงาน 242 คนของบริษัทท่องเที่ยวขนาดใหญ่ของประเทศจีน พบว่า ผลงานของกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานแบบรีโมท สามารถเพิ่มประสิทธิผลได้กว่า 13.5%
ทั้งนายจ้างและพนักงานสามารถประหยัดเวลาและเงินได้จากการที่ไม่ต้องเดินทางผ่านขนส่งสาธารณะที่เต็มไปด้วยผู้คนในช่วงเวลาเร่งด่วน ทุกคนมีเวลาเพิ่มขึ้นในการหาสถานที่นั่งทำงานที่เหมาะสมและเริ่มงานได้ทันที ไม่ว่าจะทำงานในร้านกาแฟ co-working space หรือที่บ้าน พนักงานสามารถโฟกัสกับงานได้มากขึ้นและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อได้ทำงานในสถานที่ที่มีความเงียบสงบ
ขณะที่ผู้ประกอบการก็ประหยัดค่าใช้จ่ายภายในออฟฟิศและค่าอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้บริษัทยังสามารถขยายออกต่างประเทศได้รวดเร็วขึ้น งานวิจัยของ IWG ชี้ว่าพนักงานเลือกทำงานนอกออฟฟิศเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและบริหารจัดการความเสี่ยงด้วย
การเดินทางจากนอกเมืองเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศทุกวัน ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศมากมาย เห็นได้ชัดโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ซึ่งการลดการเดินทางลงไม่เพียงแต่จะช่วยให้พนักงานประหยัดค่าเดินทาง แต่ยังเป็นการช่วยรักษ์โลกอีกทางหนึ่งด้วย
ในปี 1996 สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายอากาศสะอาด ตั้งเป้าลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากปล่อยมลพิษของรถยนต์ด้วยการกระตุ้นให้คนใช้รถคันเดียวกันในการไปสถานที่เดียวกัน (Carpooling) การเพิ่มขนส่งสาธารณะ การลดวันทำงาน และ การทำงานที่บ้าน
ในประเทศอังกฤษมีการประมาณการจากบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม The Carbon Trust ว่าประเทศจะสามารถลดมลพิษที่เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 3 ล้านตันต่อปี และประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 3 ล้านปอนด์จากการที่บริษัทต่างๆ ให้พนักงานทำงานที่บ้าน
แม้การทำงานแบบรีโมทจะมีข้อดีหลายประการ แต่มันก็มาพร้อมกับความท้าทายบางอย่างเช่นกัน เช่น การขาดปฎิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานที่อาจส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมบางอย่างได้
การทำงานโดยปราศจากการพบเจอผู้คน ทำให้พนักงานต้องมีวินัยสูงมาก และต้องควบคุมตนเองเพื่อให้ทำงานให้สำเร็จลุล่วงให้ได้ โดยแต่ละคนอาจมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป ในการกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน ดังนั้น เจ้านายหรือนายจ้างจึงควรหาเวลาติดต่อสื่อสารกับพนักงานอยู่เสมอ รวมถึงการคุยแบบเห็นหน้ากันอย่างน้อย 1 ครั้งต่ออาทิตย์ เพื่อไม่ให้พนักงานรู้สึกโดดเดี่ยว
ความล้มเหลวของการทำงานนอกออฟฟิศมักเกิดจากการที่พนักงานไม่ได้คิดริเริ่มอะไรใหม่ๆ และไม่คิดพัฒนาตัวเอง ได้แต่ทำงานแบบเป็น routine เหมือนเดิมทุกวัน ซึ่งนำไปสู่ความเบื่อหน่ายในตัวงาน จนกระทั่งต้องลาออกไปเพื่อตามหางานที่มีความท้าทายมากกว่าแทน
นอกจากนี้ ความรู้สึกของการเป็นเจ้าของโปรเจกต์ก็เป็นสิ่งสำคัญ พนักงานควรได้ทำงานตั้งแต่ริเริ่มโปรเจกต์ไปจนจบ เพื่อให้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของงานและความสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า การทำงานจากบ้านไม่ได้เหมาะกับทุกคน บางคนอาจต้องการพลังงานจากการทำงานร่วมกับคนอื่นที่ออฟฟิศ ดังนั้น ก่อนที่จะเลือกให้ใครทำงานนอกออฟฟิศ จึงควรพิจารณาถึงคาแรกเตอร์คนๆ นั้นอย่างดีเสียก่อน ไม่อย่างนั้นอาจต้องเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
คนที่เหมาะกับการทำงานนอกสถานที่ ควรเป็นคนที่มีพละกำลังเหลือเฟือสำหรับการทำงานเวลานานๆ ด้วยตัวเอง และเป็นคนที่มีความรับผิดชอบมากพอ แม้ปราศจากการควบคุมโดยหัวหน้างาน รวมถึงมีทักษะในการสื่อสารผ่านช่องทางดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ การส่งข้อความ หรือผ่าน video call
การทำงานนอกออฟฟิศนั้นเติบโตขึ้นควบคู่กับการพัฒนาของเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งช่วยให้ทีมต่างๆ สามารถสื่อสารกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และยังสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี แม้จะอยู่ห่างไกลกัน
หนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีบทบาทสำคัญในช่วงที่ทุกคนต้อง work from home ก็คือ “Lark” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสัญชาติสิงคโปร์ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์ในการทำงานอย่างหลากหลาย เช่น Messenger, Online Docs and Sheets, Cloud Storage, Calendar และ Video Conferencing รวมอยู่ในที่เดียว
ที่สำคัญเวอร์ชั่นที่ออกมาให้ใช้ฟรี ยังรวมฟีเจอร์ Video Calls แบบ unlimited ที่สามารถแชร์หน้าจอขั้นสูง ด้วยความจุ 200 GB บนคลาวด์
นอกจากจะอำนวยความสะดวกในการทำงานแบบรีโมทหรือออนไลน์แล้ว Lark ยังได้รับการยอมรับจากองค์การ UNESCO ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่เอื้อประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และอาจารย์ด้วย
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะทิ้งออฟฟิศและ “ไปทำงาน” ที่บ้านหรือร้านกาแฟอย่างสบายใจ
เริ่มต้นใช้งาน Lark ได้ฟรี ง่ายๆ เพียงสมัครและดาวน์โหลดได้ที่ https://www.larksuite.com/en_sg/pricing?tracking_code=7010o000002Gq2QAAS
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด