เจาะลึก MARS Inspect AI ตรวจสภาพรถยุค Next Normal กับการพัฒนา AI สู่มิติใหม่ของวงการ InsurTech | Techsauce

เจาะลึก MARS Inspect AI ตรวจสภาพรถยุค Next Normal กับการพัฒนา AI สู่มิติใหม่ของวงการ InsurTech

เมื่อพูดถึงการทำประกันภัย คนทำประกันหลายคนอาจเคยเจอกับความยุ่งยาก ที่มีขั้นตอนที่ล่าช้า ข้อมูลผิดพลาดบ้าง ข้อมูลไม่ครบถ้วนบ้าง 

แต่จะดีกว่าไหม? ถ้าเราสามารถทำประกันได้เร็วขึ้น มีความแม่นยำ ปลอดภัย ใช้งานง่าย และช่วยให้เราทำได้เร็วขึ้นถึง 10 เท่า

และเพื่อให้เห็นภาพความเปลี่ยนแปลงของประกันภัย ที่ก้าวมาสู่ InsurTech ในบทความนี้ Techsauce จะพาทุกคนไปพบกับ:

  • จุดเริ่มต้นของการนำ Pain point ของลูกค้ามาเป็นโจทย์ และนำเทคโนโลยีมาสร้างผลิตภัณฑ์ ประกันรถเปิดปิด” ที่ลูกค้าแต่ละคนสามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันรถตามที่ขับจริง โดยเลือกเปิดปิดการใช้งานได้เอง แก้ปัญหาการจ่ายเบี้ยประกันราคาแพง 
  • การนำเทคโนโลยี AI มาช่วยแก้ปัญหาของลูกค้า เพื่อตอบโจทย์เรื่อง Speed, Safety และ Accuracy
  • ยกระดับมาตรฐานของการประกันภัยด้วย AI ผ่านความร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัพ MARS พัฒนาโซลูชัน “MARS Inspect” แอปฯ ตรวจสภาพรถด้วย AI เจ้าแรกของไทยที่ตรวจได้อย่างแม่นยำ
  • เจาะลึกการทำงานและโซลูชันของ “MARS Inspect” นวัตกรรม InsurTech จากสตาร์ทอัพที่มีความชำนาญด้าน AI โดยเฉพาะ ว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไรและทำงานอย่างไร

เทคโนโลยีในวงการประกันภัย มาถึงขั้นไหนแล้ว?

ปัจจุบัน ในประเทศไทยได้มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจประกันภัยแล้ว อย่างเช่น การเปิดให้ซื้อและเคลมประกันผ่านช่องทางออนไลน์ การใช้ระบบช่วยคำนวณเบี้ยประกัน และการมีช่องทางที่หลากหลายให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้น เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน

แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทั้ง IoT, Data Analytics รวมไปถึง Artificial Intelligence (AI) ก็ทำให้ในวงการประกันภัยสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย 

โดยเฉพาะ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) ที่เล็งเห็นปัญหาของลูกค้าและนำมาปรับปรุงการออกผลิตภัณฑ์และการให้บริการอยู่ตลอดเวลา ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามายกระดับมาตรฐานของงานประกันภัย ตั้งแต่การให้บริการผ่านระบบออนไลน์ทั้งบนเว็บไซต์ และบนแอปพลิเคชัน Thaivivat รวมไปถึงนำเทคโนโลยี IoT เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การประกันภัยที่ดีที่สุด และเพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และแม่นยำ ตลอดจนคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้าในยุคโควิด-19 ที่ต้องการจะเลี่ยงการพบปะ จึงทำให้มีการนำเทคโนโลยี AI มาช่วยให้ประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าดียิ่งขึ้น ซึ่ง AI เป็นเทคโนโลยีขั้นสูง และนับว่าเป็นประกันภัยเจ้าแรก ๆ ของไทยที่ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีมาออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้จริงอย่างแม่นยำ

แล้ววิวัฒนาการของนวัตกรรมจากไทยวิวัฒน์มีอะไรบ้าง ? ไปเริ่มต้นกันที่…

‘ประกันรถเปิดปิด’ ต้นแบบ InsurTech ที่นำเทคโนโลยีมาตอบโจทย์ลูกค้า

ผลิตภัณฑ์ประกันภัยรูปแบบใหม่ที่เราได้ยินกันมาในช่วงไม่กี่ปีหลังอย่าง “ประกันรถเปิดปิด” ที่นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหาของผู้บริโภคที่ว่า ทำไมต้องเหมาจ่ายเบี้ยประกันเป็นก้อนใหญ่และต้องจ่ายล่วงหน้าเป็นรายปี ? ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ขับรถตลอดเวลาเสียด้วยซ้ำ

ไทยวิวัฒน์จึงเกิดแนวคิด และได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัย นั่นก็คือ “ประกันรถเปิดปิด” เพื่อตอบรับกับความต้องการของลูกค้าที่รู้สึกว่า

  • ต้องจ่ายเบี้ยราคาแพง ด้วยโซลูชันที่ลูกค้าสามารถเลือกเปิดประกันภัยในช่วงเวลาที่ลูกค้าใช้งานรถและปิดในช่วงที่ไม่ใช้ ซึ่งสามารถช่วยลดค่าเบี้ยประกันได้จริงกว่า 70% และยังสามารถเลือกแผน ทั้ง Package หรือ Top-up ได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องจ่ายเบี้ยเป็นก้อนหรือต้องจ่ายล่วงหน้า 
  • ได้รับการคุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมง สามารถแจ้งเหตุต่าง ๆ ได้ตลอดเวลาผ่านแอปพลิเคชันของ Thaivivat 
  • ปิดแล้วไม่ต้องกลัวลืมเปิดประกัน เมื่อนำเทคโนโลยี IoT อย่าง TVI Connect เข้ามาเป็นตัวช่วยอัจฉริยะ ที่ผู้ใช้งานสามารถติดกับรถเพื่อใช้ในการเปิดปิดประกันภัยได้แบบอัตโนมัติตามการสตาร์ทและดับเครื่องยนต์ 

และเพื่อให้เกิดงานบริการที่ครบแบบ End to End จบในที่เดียว ก็ได้มีการต่อยอดความสำเร็จของประกันรถเปิดปิดด้วยการนำเทคโนโลยี AI มายกระดับงานประกันภัย ด้วย MARS Inspect ที่ใช้ AI เพื่อตรวจสอบสภาพรถในการทำประกัน สร้างมาตรฐานใหม่ในวงการประกัน เพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า ใช้งานง่าย ๆ บนโทรศัพท์มือถือ เชื่อมต่อทุกบริการของไทยวิวัฒน์ไว้ในที่เดียว เพื่อลดข้อผิดพลาด สร้างความโปร่งใส รวดเร็ว และปลอดภัยให้ลูกค้าทุกคน

รู้ปัญหาของลูกค้า และแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี AI

การตรวจสภาพรถเป็นขั้นตอนที่สำคัญเมื่อต้องการจะทำประกัน และเชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยเจอกับปัญหา ที่เมื่อถึงเวลาจะต้องตรวจสภาพรถ จะต้องโทรนัดพนักงานล่วงหน้า และเมื่อพนักงานมาถึงก็ต้องรอให้พนักงานตรวจสภาพ ซึ่งในบางครั้งการบันทึกข้อมูลลงในกระดาษของพนักงานอาจไม่ถูกต้อง และทำให้เกิดข้อผิดพลาด หรือถึงขั้นต้องมาตรวจซ้ำอีกครั้ง และยิ่งในยุคที่มีการระบาดของโควิด-19 เช่นนี้ การนัดพบกับบุคคลอื่นก็นับว่าเป็นความเสี่ยงที่หลายคนอยากจะหลีกเลี่ยง

แล้วจะแก้ปัญหาที่เจอซ้ำ ๆ แบบนี้ได้อย่างไร?

โซลูชันของปัญหาเหล่านี้ คือ “MARS Inspect” หรือ “มาตรวจ” แอปพลิเคชันตรวจสภาพรถ ที่นำ AI มาช่วยแก้ปัญหาหลัก ๆ ของการตรวจสภาพรถเพื่อทำประกันภัยได้ ดังนี้

  • ลดเวลาในการตรวจสภาพรถก่อนการทำประกันภัย ให้ลูกค้าสามารถทำประกันได้เร็วขึ้น
  • ไม่ต้องโทรนัด หรือรอพนักงานให้เสียเวลา เพราะลูกค้าสามารถทำการตรวจสภาพรถได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ผ่านแอปพลิเคชัน MARS Inspect ได้ทันที โดย Feature นี้ยังเข้ามายกระดับบริการเดิมอย่าง ‘ประกันรถเปิดปิด’ ให้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น
  • ไม่ต้องกลัวข้อผิดพลาดที่เกิดจากพนักงาน เพราะข้อมูลทุกอย่างจะถูกบันทึกลงบนแอปพลิเคชัน สามารถเรียกดูได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังมี AI ช่วยวิเคราะห์แบบ Real-time ช่วยให้มีความโปร่งใส และเพิ่มความถูกต้องในการบริการ
  • เลี่ยงการพบปะได้เป็นอย่างดี เมื่อไม่ต้องนัดพบกับพนักงาน ความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับผู้อื่นก็ลดลงไปด้วย

เจาะลึกการทำงานของ MARS Inspect มาตรฐานใหม่ของการทำประกัน

MARS Inspect นับเป็นอีกก้าวของ InsurTech ที่พัฒนาโดยบริษัท Startup ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน AI โดยเฉพาะ ภายใต้การสนับสนุนจากไทยวิวัฒน์ ที่ต้องการจะยกระดับงานด้านประกันภัยให้มีความน่าเชื่อถือ เปลี่ยนความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับประกันภัยของคนไทย

โดย MARS Inspect นี้เกิดจากความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญในวงการประกันภัยอย่าง ไทยวิวัฒน์ กับ Oztrobotics และ Plus IT Solutions ผู้เชี่ยวชาญด้าน Computer Vision และ Machine Learning ในการก่อตั้ง Startup ชื่อว่า ‘MARS’ ที่ย่อมาจาก ‘Motor AI Recognition Solution’ ซึ่งเป็นที่แรกของประเทศไทยที่นำ AI มาช่วยในการตรวจสภาพรถ และประสบความสำเร็จใช้งานได้จริง อีกทั้งยังตอบโจทย์กับผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และถูกต้องในยุค Next Normal

  • พัฒนาโมเดลสู่ MASK R-CNN

สำหรับ MARS Inspect หรือ มาตรวจ เป็นแอปพลิเคชันสำหรับตรวจสภาพรถ ที่ยอมรับได้ว่า เป็นแอปฯ ที่ใช้ AI เข้ามาช่วยตรวจและวิเคราะห์สภาพรถได้จริง 100% โดยมีการนำ Deep Learning Model ที่เรียกว่า Convolutional Neural Network (CNN) ซึ่งเป็นโมเดลที่ทาง Google ใช้ในฟีเจอร์ Image Search และ Facebook ใช้ในการจำแนกภาพ ด้วยลำดับการคิดที่ใกล้เคียงกับการตรวจสภาพรถโดยมนุษย์เอง

โดยมีการนำ AI มาเพิ่มประสิทธิภาพของโมเดล CNN โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Vision Transformer คือการเพิ่มความละเอียดและความรวดเร็วในการวิเคราะห์ภาพถ่าย ทำให้มีความแม่นยำมากขึ้นในการตรวจสภาพรถ โดยการแบ่งภาพออกแบบส่วน ๆ และให้ระบบเรียนรู้ที่จะจำแนกส่วนต่าง ๆ ของรถ

ซึ่งทั้งหมดนี้ จะไม่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ได้เลย หากระบบทำงานได้ช้าหรือกินเวลาในการประมวลผลมากเกินไป การพัฒนาโมเดลให้สามารถทำงานได้เร็วเพียงพอจึงเป็นอีกจุดเด่นที่สำคัญของระบบ AI นี้

  • มี Data จริง จากผู้ใช้ประกันของไทยวิวัฒน์

หากคิดว่า จะเชื่อใจข้อมูลจาก AI ได้อย่างไร ต้องบอกเลยว่าทางไทยวิวัฒน์และ MARS ได้มีการรวบรวม Data จริง ๆ จากชิ้นส่วนของรถกว่า 100 ชิ้นส่วน มีภาพการตรวจสภาพรถกว่า 100,000 ภาพ ที่มาจากการเคลมประกันจริงของไทยวิวัฒน์ มาเป็นฐานข้อมูลให้กับ AI โดยจากการใช้งานเพื่อให้ระบบเรียนรู้มากว่า 1 ปี ทำให้ AI บนแอปพลิเคชันมาตรวจ มีความแม่นยำกว่า 90.47% และทำงานแบบ Real-time ตามข้อมูลจริงในปัจจุบัน

  • ออกแบบฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การใช้งานกับทุกเพศทุกวัย

โจทย์ต่อมาคือ หน้าตา (UI) ของแอปพลิเคชัน ที่หากออกแบบมาแล้วหน้าตาไม่น่าใช้งานหรือใช้งานได้ยาก ก็จะทำให้ผู้ใช้ไม่ประทับใจ ผู้พัฒนาจึงได้มีการนำเอาแอปพลิเคชัน MARS Inspect ไปให้กลุ่มลูกค้าบางกลุ่มได้ลองใช้จริง และได้นำเอา Feedback ต่าง ๆ มาปรับปรุงแอปฯ จนมีประสิทธิภาพพร้อมใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น

  • การปรับปรุงการออกแบบ (UX/UI) ให้ใช้งานง่ายและสะดวก รวมถึงฟอนต์ สี และขนาดของตัวอักษร
  • มีระบบตรวจสอบคุณภาพของภาพถ่าย ลดปัญหาถ่ายเบลอ ถ่ายไม่ชัด
  • มีคำแนะนำเป็นภาษาไทยในทุกขั้นตอนการใช้งาน
  • ใช้งานง่าย เพียงทำตามขั้นตอน

ด้วยระบบการทำงานของแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย ที่ผู้ทำประกันสามารถตรวจสอบสภาพรถด้วยตนเองได้ เพียงทำตามขั้นตอนที่แอปพลิเคชัน MARS Inpect บอกให้เราถ่ายรูปรถในมุมต่าง ๆ ระบบก็จะวิเคราะห์ภาพและส่งผลการตรวจสอบไปให้เจ้าหน้าที่แบบ Real-time ที่เพียงทำให้ครบตามขั้นตอน ผู้ทำประกันก็จะสามารถรับ ePolicy ผ่านแอปฯ ได้ทันที

เรียกได้ว่า แม้จะนำเอาเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้งาน แต่มีการออกแบบประสบการณ์การใช้งานและฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานที่หลากหลาย ใช้งานง่าย เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมงานด้านการประกันภัย จากการเข้าหาลูกค้าเพื่อขายประกัน ต่อยอดสู่การเปิดให้ทำธุรกรรมได้บนระบบออนไลน์ และมาสู่ขั้นกว่าของการนำ AI เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งในระยะเวลาไม่กี่ปีมานี้ สิ่งที่เรียกว่า InsurTech ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าในอนาคต ความก้าวหน้าของวงการประกันจะมีมากขึ้นไปกว่าเดิม จะมีทั้งที่ Personalized มากขึ้น ตอบโจทย์มากขึ้น และปลอดภัยมากขึ้นบนการทำงานด้วยเทคโนโลยี

อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าทั้ง Data Analytics, IoT และ AI ที่เรานำมาเล่าให้ฟังนี้ แม้จะสามารถนำมาออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยและสร้างประสบการณ์ใช้งานที่น่าประทับมากขึ้นนี้แล้ว แต่ในอนาคต เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นและการใช้งานผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป การออกแบบผลิตภัณฑ์และรูปแบบของการประกันภัยจะพัฒนาต่อไปอย่างแน่นอน ด้วยโจทย์ใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาท้าทายให้บริษัทประกันภัยต้องออกแบบประกันภัยใหม่ ๆ มาตอบโจทย์ผู้บริโภคอีก ทำให้วงการประกันภัยหรือ InsurTech ก็เป็นอีกวงการที่น่าจับตามอง

และสำหรับผู้ที่สนใจสามารถไปทำความรู้จักกับ “ประกันรถเปิดปิด” เพิ่มเติมได้ที่ https://thaivivat.info/3yld4YG

บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...