MIT City Science กับการออกแบบ Eco-City โซลูชันเมืองที่เป็นมิตรและไม่ทำร้ายโลกไปมากกว่านี้ | Techsauce

MIT City Science กับการออกแบบ Eco-City โซลูชันเมืองที่เป็นมิตรและไม่ทำร้ายโลกไปมากกว่านี้

รู้จัก MIT City Science กลุ่มนักวิจัยที่เชื่อผลักดันแนวคิด  Eco-City การออกแบบจัดการเมือง สามารถขับเคลื่อนพฤติกรรมของผู้คน เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต รวมถึงควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในอนาคต พร้อมนำเสนอโซลูชันเมืองในอนาคตที่เป็นมิตรกับระบบนิเวศและไม่ทำร้ายโลกไปมากกว่านี้

MIT City Science กับการออกแบบ Eco-City เมืองที่เป็นมิตรและไม่ทำร้ายโลกไปมากกว่านี้ปัจจุบันแนวทางการจัดการปัญหา Climate Change ถูกขับเคลื่อนกันในระดับชุมชนหรือพื้นที่ท้องถิ่น (Community-Scale) มากขึ้นควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหวในภาคนโยบายระดับรัฐบาล การขับเคลื่อนจากระดับชุมชนเป็นอีกทางที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นได้ในระยะสั้น เห็นปัญหาและผลลัพธ์ที่ชัดเจนกว่าการรอการเปลี่ยนแปลงจากระดับสถาบันใหญ่

โดย เมือง มีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 67-72% ของการปล่อยทั่วโลก อ้างอิงข้อมูลจาก IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) กล่าวคือ กระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม กิจกรรมในชีวิตประจำวัน การสัญจรของผู้คน ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา Climate Change 

นี่คือ แนวคิดกลุ่ม MIT City Science

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่มีเป้าหมายใหญ่ คือ การสร้างเมืองที่ทุกคนอยากเห็นในอนาคต "เมืองที่ทำให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เมืองที่ไม่ทำเป็นตัวการทำลายโลก" 

พวกเขามองว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ไม่เพียงช่วยแบ่งเบาภาระด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังปรับปรุงประสิทธิภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเมืองต่างๆ 

งานของพวกเขา คือ การสร้างเมืองที่เต็มไปด้วยการวิจัยพัฒนาด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีและวิทยาการด้านต่างๆ  เพื่อเชื่อมโยงวิถีชีวิตและการทำงานของผู้คนเข้ากับระบบของเมืองอย่างเหมาะสม เตรียมรับมือผลกระทบจากอดีต ปัจจุบัน ความท้าทายการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว และความเป็นไปได้ด้านต่างๆ ในอนาคต

กรณีศึกษา Kendall Square

ตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา MIT ได้ลงทุนในพื้นที่บริเวณรอบๆ วิทยาเขตเพื่อนำเอาอุตสาหกรรมและวิชาการมารวมกัน โดยโครงการ Kendall Square Initiative คือ พื้นที่ซึ่งถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่นวัตกรรมเสมือนเมืองทดลอง และอำนวยความสะดวกในการวิจัยและโอกาสในการทำงานร่วมกันระหว่างภาคอุตสาหกรรม, MIT, โรงพยาบาลในท้องถิ่น และสถาบันการศึกษาอื่นๆ ประกอบไปด้วยอาคารสำนักงาน แล็ป ร้านค้า ร้านอาหาร ที่อยู่อาศัย หอพักนักศึกษา MIT Museum และ สำนักงานใหญ่ของ MBTA 

cr. Cambridge Redevelopment Authority

MIT-Kendall Square มีเป้าหมายเพื่อหาโซลูชันเมืองที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในอนาคต รวมถึงอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นและความเสี่ยงของน้ำท่วม  

โดยเครื่องมือ กระบวนการต่างๆ จะถูกประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อนำเสนอสำหรับข้อเสนอ City Science’s future city proposal และยังเป็นแผนแม่บทในการออกแบบนโยบายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับเมืองอื่นๆอีกด้วย

Luis Alberto Alonso Pastor นักวิทยาศาสตร์การวิจัยในกลุ่ม City Science จาก MIT Media Lab  เล่าถึงโซลูชัน ต่างๆ ที่ค้นพบจากการทดลองวิจัยใน Kendall Square ซึ่งทีมสามารถยกระดับวิถีชีวิตผู้คนที่อยู่อาศัยในเมือง สร้างชุมชนคาร์บอนต่ำ Zero-carbon Cities ที่สามารถลด Carbon Footprint ผ่านการออกแบบเมืองและเทคโนโลยีอัจฉริยะ  ตลอดจนโมเดลเมืองในอนาคตที่จะขับเคลื่อนด้วยข้อมูล องค์กรปกครองตนเองแบบกระจายอำนาจหรือ DAO และกรอบการทำงานของชุมชนแห่งนวัตกรรม  

Hyper-LOCAL Solutions to Global Challenges

Land Use : การมีพื้นที่ใช้สอยขนาดกะทัดรัดแต่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพของการเป็นที่อยู่อาศัย ส่งเสริมให้ทุกคนที่อาศัยและทำงานใน Kendall สามารถอยู่ในระยะที่สามารถเดินได้ระหว่างบ้านและที่ทำงาน พร้อมส่งเสริมให้คนทำงานรูปแบบ Hybrid work เพื่อลดการเดินทาง (Live work symmetry) สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมใกล้เคียง เพื่อให้คนสามารถทำสิ่งที่เป็นสำหรับชีวิตประจำวันในระยะที่เดินได้ (Walkable access to amenities) 

Buildings :  การปรับปรุงอาคารเชิงลึกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานอาคาร (Deep energy retrofit the building) การใช้หุ่นยนต์ทางสถาปัตยกรรมจัดสรรอาคาร การออกแบบสร้างห้องขนาดกะทัดรัด อเนกประสงค์ และปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ (High-performance architecture) รวมถึงการสร้างให้บริเวณใกล้เคียงที่อยู่อาศัยเป็นย่านที่มีความหลากหลายมากขึ้น (Hyper efficient places of living)

Mobility : ลดระยะทางเฉลี่ยนต่อวัน ลดการพึ่งพารถยนต์ และส่งเสริมทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเดิน บริการขนส่งสาธารณะ  การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) การส่งเสริมให้ใช้งานพาหนะขับขี่ขนาดเล็ก (Lightweight community-scale mobility) ทั้งอัตโนมัติและไม่อัตโนมัติ เช่น การแชร์จักรยาน (Bike-sharing) บริการขนส่งสาธารณะขนาดเล็กที่รองรับในระยะทางสั้นๆ 

Diet : ส่งเสริมการผลิต การแปรรูปวัตถุดิบจากท้องถิ่นมากขึ้น (Local manufacturing) รวมถึงการมองหาทางเลือกการรับประทานรูปแบบอื่นๆ เช่น การลดปริมาณเนื้อสัตว์ไปสู่อาหารที่มีส่วนประกอบจากพืช (Plant-based food) การรับประทานอาหารมังสวิรัติ (Low carbon diet & Local robotic farm) 

Energy : วางเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Net-zero serves) นอกเหนือจากการผสมผสานพลังงานไฟฟ้าแล้วต้องจัดหาพลังงานทางเลือกอื่นๆ (Low-carbon high-density community power) ที่ยั่งยืนและมีคุณสมบัติหมุนเวียนใช้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ แบตเตอรี่นิวเคลียร์ การใช้พลังงานที่ไม่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ การกักเก็บพลังงาน โครงข่ายพลังงานอัจฉริยะ (Grid decarbonization) 


นอกจากนี้ Kendall Square ยังถูกใช้เป็นแผนแม่บทนำร่องสำหรับเมืองอื่นๆ ที่กำลังสร้างใหม่หรือฟื้นฟูใหม่ ทั่วโลก อย่างล่าสุดเมือง Kharkiv ที่ได้รับความเสียหายหนักจากสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียก็มีแผนฟื้นฟูเมืองโดยมี Kendall Sqare เป็นต้นแบบอีกด้วย อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MIT KENDALL SQUARE INITIATIVE PROJECT : Sustainability Strategies


---------

MIT City Science 

หน่วยวิจัยที่ค้นคว้าหาโซลูชันเพื่อจัดการความท้าทายของเมืองและประเทศ ด้วยวิสัยทัศน์ที่ตั้งใจเปลี่ยนเมืองให้รองรับความหลากหลายของระบบนิเวศแบบ Human scale ecosystems บนฐานคิดและทำงานแบบสหวิทยาการและสอดคล้องกับปรัชญาของ Media Lab เพื่อสร้างแนวทางที่มีประสิทธิภาพและความยั่งยืนจากนวัตกรรมเชิงนิเวศน์สำหรับเมือง ครอบคลุมตั้งแต่ Urban planning, City simulation, Building design and construction, Big data analysis, Architectural robotics, Urban indicators, Urban mobility, Energy consumption simulation, Innovation district, Smart housing, Smart materials อ่านเพิ่มเติมที่ City Science Looking beyond smart cities

Luis Alberto Alonso Pastor  นักวิทยาศาสตร์การวิจัยในกลุ่ม City Science จาก MIT Media Lab ผู้เชี่ยวชาญและดูแลหัวหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวกับเครือข่ายวิทยาศาสตร์เมือง หรือ City Science Network of Collaborative Cities และยังเป็นผู้ประสานงานและตรวจสอบโครงการแล็ปเมืองจำลอง Andorra Living Lab 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AI จะเป็น ‘ผู้กอบกู้’ หรือ ‘ผู้ทำลาย’ การ์ตูนญี่ปุ่น

เมื่อประตูสู่วัฒนธรรมและเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นอย่าง อนิเมะและมังงะกำลังถูก AI แทรกแซง อนาคตของวงการนี้จะเป็นยังไง ?...

Responsive image

เจาะลึกเทรนด์ Spatial Computing จุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับองค์กรยุคใหม่

Spatial Computing คือเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนจริงและโลกจริงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัล ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการฝึกอบรมและ...

Responsive image

ถอดกลยุทธ์ ‘ttb spark academy’ ปั้น Intern เพิ่มคนสายเทคและดาต้า Co-create การศึกษาคู่การทำงานจริง

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เห็น Pain Point ว่าประเทศไทยขาดกำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Workforce) และธนาคารก็ต้องการคนเก่ง Tech & Data จึงจัดตั้ง ‘ttb spark academy’ เพื่อปั้น ...