Priceza กับวิธีการ ‘ก้าวกระโดด’ จากการร่วม Google Launchpad Accelerator | Techsauce

Priceza กับวิธีการ ‘ก้าวกระโดด’ จากการร่วม Google Launchpad Accelerator

ในวงการ Startup ไทย 'Priceza' เป็นอีกชื่อหนึ่งที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี กับเว็บไซต์เปรียบเทียบราคาอันดับต้นของไทย และในปีนี้ Priceza ได้ถูกเลือกเข้าร่วมโครงการ  'Google Launchpad Accelerator' รุ่นที่ 5 Batch Nov 2017  ที่ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Techsauce ได้เป็นสื่อเดียวในไทย ที่ Google ได้เชิญไปที่งาน The kickoff for the next class of Launchpad Accelerator ซึ่งเราได้ไปร่วมพูดคุยกับ คุณไว ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา CEO ของ Priceza ที่เดินทางไปร่วมโครงการด้วยตัวเองถึงสำนักงานใหญ่ของ Google ที่ซิลิคอน วัลเลย์

จากงาน Google Launchpad ที่ซานฟรานซิสโก ไปรู้จักโปรแกรมนี้ได้อย่างไร

ครั้งแรกจากคุณเอม ส่งอีเมล์มาว่ามีโปรแกรม Google Launchpad ซึ่งเปิดรับประเทศไทยเข้าไปร่วมด้วย เข้าไปดูก็มีให้กดสมัครเยอะและไม่มีเวลาเตรียม จนเห็น Wongnai ไปเข้าร่วม เห็นสตาร์ทอัพอื่นๆ ไปเข้าด้วย ก็เห็นว่าโปรแกรมน่าสนใจดีและดูว่ามันน่าจะเข้ากับเรา  

บริษัทเราไม่เคยเข้า Accelerator ที่ไหนมาก่อน เราคิดว่าเราอยู่ในช่วงที่โตแล้ว อาจจะไม่ได้ต้องการ Mentor แต่เมื่อเห็นโปรแกรมของ Google Launchpad  มันอยู่ในช่วงที่จะ Scale up ไปมากกว่าที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงสนใจและตามข่าวมาเรื่อยๆ จนมาถึง Batch ที่มี QueQ และ Piggipo ไป ซึ่งก็มีนักลงทุนมาถามเราว่าสนใจไหม ถ้าสนใจก็ไปสมัคร ตอนนั้นเวลาก็ไม่ค่อยดี จนมาถึง Batch นี้ ก็เลยลองสมัครเป็นครั้งแรก และได้ไปเข้าร่วมเลย  

ก่อนไปก็ไม่ได้เตรียมอะไรเลย ซึ่งตอนนั้นมีแจ้งมาว่าจะนัดสัมภาษณ์ เราก็มีถามคุณโจ้ QueQ (อ่านสัมภาษณ์ของ QueQ ได้ที่นี่) และคุณบอย Skootar ว่าเขาถามอะไรบ้าง เพื่อให้รู้ว่าเขาคาดหวังอะไร เราก็เตรียมตัวไปว่าเขาจะถามอะไร คุยรอบเดียว จากนั้นรอประมาณ 2 สัปดาห์ เขาก็แจ้งมาว่าเราได้  

จากที่เขาเปลี่ยนจาก Mobile เป็น AI ในขั้นตอนการสัมภาษณ์ เขาได้ถามเกี่ยวกับ Priceza ว่าใช้ AI อะไรไหม

ไม่รู้สึกว่าเค้าเน้นคำถามในจุดนี้เลย สิ่งที่เขาถามคือ เขาเน้นตัวเลขเราว่า Scale อย่างไร แผนการเติบโตเป็นอย่างไร และเขาจะมาช่วยสนับสนุนเราอย่างไร เหมือนเขากำลังหาสิ่งที่เราต้องการกับสิ่งที่เขาจะให้เรามันแมทช์กันไหม

ตอนนั้นเขาถามเรามากกว่าว่าจะให้เขาสนับสนุนเรื่องอะไร เราคิดว่าน่าให้สนับสนุนเรื่อง Mobile  Technology ไม่ว่าจะเป็น AMP, PWA ที่เราทำอยู่แล้ว และมันก็เป็นเทคโนโลยีที่ Google ลงทุนพัฒนามันขึ้นมา เราก็อยากจะเรียนรู้ และได้ People Operation, AR, Culture ซึ่งก็น่าจะตรงกับเขา  

อธิบายภาพรวมคร่าวๆ หน่อยว่าหลังจากผ่านกระบวนการต่างๆ แล้ว ไปเข้าโปรแกรม 6 เดือนแล้วจะเป็นอย่างไรต่อ

หลังจากที่เราเข้าไปร่วมกับโปรแกรมนี้เสร็จ ได้มา 2 คน คือ SSM (Startup Success Manager) และ Ankle mentor ซึ่ง SSM เป็นคนของ Google ชื่อว่าจอยซ์ แต่เขาใช้เวลา 20% มาทำตัวนี้ เขาบอกว่าชอบโปรเจคในลักษณะนี้ รุ่นนี้คือรุ่นที่ 3 แล้ว เขามีหน้าที่เหมือนผู้จัดการทีม คอยยืนยันว่าเราเข้าไปร่วมในโปรแกรมแล้ว และเราสำเร็จในสิ่งที่อยากจะได้จากโปรแกรม ถือว่าช่วยได้มาก อีกคนคือ Ankle mentor เหมือนเป็น mentor หลัก เราะเราเข้าไปโปรแกรมนี้มี mentor ที่เราวนคุยไปเรื่อยๆ ประมาณ 20-30 คน แต่จะมีหนึ่งคนที่ได้รับมอบหมายให้อยู่กับบริษัทเรา ชื่อว่า Marcus ซีโก เป็น XCOO ของ singga และเคยเป็นพาร์ทเนอร์กับ Y Combinator ด้วย เข้าไปวันแรกก็ได้คุยกัน เขาถามถึง OKR ของบริษัทว่าคืออะไร และเกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันแรก เขาแนะนำว่า OKR ของเราเยอะไป จะไม่มีจุด focus จึงพยายามปรับจนเหลือ 3 ข้อ พวกเราก็เห็นด้วยในสิ่งที่เขาแนะนำ ว่า OKR บางข้อมันซ้ำซ้อนกัน ซึ่งเราสามารถยุบให้มันเหลือ 3 ข้อได้ ทำให้ทีมสามารถ focus ได้มากขึ้น

ใน 2 สัปดาห์นั้นเราไปอยู่ที่ซานฟราน ซึ่งโปรแกรมจริงๆ มัน 6 เดือน วิธีการคือเขาจะให้เราดำเนินต่อไปกับ  SSM และ Ankle mentor ในทุกเดือนว่าเราทำตาม OKR ไหม ตอนแรกเราเข้าใจว่าตั้ง OKR เพื่อโปรแกรมนี้โดยเฉพาะ แต่จริงๆ คือเขาจะดู OKR ของบริษัทและดูว่าสิ่งที่เราตั้งไว้จะสามารถบรรลุผลได้ตามที่ตั้งไว้ๆไหม?  

ตอนนี้กลับมาได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งยังไม่ได้คุยอะไรต่อกับ Ankle Mentor คิดว่าน่าจะได้อัพเดททุกเดือนว่าเป็นอย่างไรบ้าง เขาก็จะคอยดูว่าเราทำได้ไหม ติดอะไรไหม และ feedback

ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ซานฟรานซิสโก เขาให้ความรู้หรือฝึกอะไรเราบ้าง

ในช่วง 2 สัปดาห์นั้นก็มีคุยกับ mentor, talk และ workshop ใน 1 วันก็จะมีทั้ง 3 อย่างสลับกันไป ซึ่งมีประโยชน์มาก หลังจากนั้นเราก็มานั่งคุยกัน จัดลำดับว่าเราจะทำอะไรบ้าง ซึ่งเขาแนะนำเราให้จัดลำดับว่าอะไรคือสิ่งที่เราจะทำหรือไม่ทำใน 6 เดือนนี้ ก็เป็นการจัดลำดับที่ชัดเจน

เขามีการจัด workshop อย่างหนึ่งที่ดีมาก คือให้เราพับกระดาษเป็น 4 ช่อง และค่อยๆ ถามคำถาม เช่นอะไรเป็นสิ่งสำคัญที่คุณอยากจะทำใน 6 เดือนนี้ อะไรคือสิ่งที่คิดว่าคุณจะทำให้ไม่ไปทำในคำถามแรก และคุณยึดถือคุณค่าอะไรในการไปทำสิ่งอื่นมากกว่าในคำถามแรก เมื่อทำ workshop เสร็จก็คุยกับ mentor และ SSM ว่า OKR ของบริษัทเราเป็นอย่างไร จนเขาให้ feedback กลับมาว่าโอเคแล้ว

“สิ่งที่หนึ่งที่ได้จากการคุย Mentor มันทำให้เรารู้ว่าเริ่มแรกเราเข้าใจ OKR แล้ว แต่จริงๆ แล้วเราไม่เข้าใจเลย ไม่คิดว่าการตั้ง OKR ขึ้นมาจะมีความซับซ้อนได้มากถึงขนาดนี้ วันแรกๆ ที่เข้าร่วมโปรแกรมจะมีการเทรนเรื่อง OKR ด้วย ซึ่งจากการคุยกับ Marcus ทำให้เปลี่ยนมุมมองเรื่อง OKR ไปเลย สิ่งที่เราทำมาในอดีตมันไม่ถูกต้อง”

หลังจากกลับมา เนื่องจากเรามีการปรับ OKR ของบริษัทแล้วบางส่วน งานแรกๆ ที่ทำคือการปรับทีม OKR จากนั้นก็มีไปดู individual OKR ร่วมด้วย ก็พบว่าการตั้ง individual OKR ของทีมยังไม่ถูก เรียกว่าปรับ OKR ครั้งหนึ่งก็ปรับเยอะเหมือนกัน

นอกเหนือจาก OKR แล้ว มีด้านอื่นที่ได้มาด้วยไหม

เรื่อง Startup Growth Mindset มี session หนึ่งที่ทีมได้เข้าไปฟัง และน่าจะสร้างผลกระทบกับคนในทีมได้เยอะ คือเรื่อง Stage of Growth โดย Haim Habot ว่าการที่เราจะทำสตาร์ทอัพ ต้องบอกด้วยว่าอยู่ stage ไหน เดิมทีเราเข้าใจว่าเราอยู่ในวงการ เราก็คิดว่าเรารู้ดีอยู่แล้ว แต่เขามี framework บางอย่างที่เรานำมาปรับใช้และทำให้ชัดมากขึ้น เขาบอกว่าสตาร์ทอัพแบ่งออกเป็น 4 stage

  • Stage 1: Jungle ในช่วงนี้คือยังหาไอเดียอยู่ Product-Market Fit ยังไม่สมบูรณ์ มีแต่สมมติฐาน
  • Stage 2: Village เริ่ม validate สมมติฐาน เริ่มหา Product-Market Fit ได้แล้ว ในระหว่างที่จะกระโดดจากช่วงนี้ไป city ได้ ต้องมี Product-Market Fit 5 ข้อ ซึ่งง่ายและทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้

ข้อแรกคือ Problem ว่ามี pain ระดับไหน

ข้อสองคือ Solution ไปแก้ pain ได้มากหรือน้อยแค่ไหน มีคู่แข่งไหม เขาต้องแก้ปัญหาหรือทนกับปัญหานี้ได้ การเพิกเฉยต่อปัญหานั้นเป็นทางเลือกของเขาไหม

ข้อสามคือ sustainable ถ้าคุณมีข้อหนึ่งและสองแต่ไม่มีสามก็อาจจะทำเป็นธุรกิจไม่ได้

ข้อสี่คือ Market size ใหญ่แค่ไหน

ข้อห้าคือวิธีการ Scale

  • Stage 3: City
  • Stage 4: World Domination

ในมุมมองของคุณ คุณคิดว่า Google น่าจะได้อะไรจากตรงนี้

เขาน่าจะได้ Loyalty advocate คือคนที่จะสนับสนุนแบบจงรักภักดี เขาลงทุนโดยที่เราเองยังตั้งคำถามว่าเขาลงทุนไปเพื่ออะไร เพราะฉะนั้นด้วยการลงทุนแบบนี้ Google เองก็ได้คนที่เป็น Royalty เขาต้องการสร้างคนที่ส่งเสริมแบรนด์หรือภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาว  

คำแนะนำสตาร์ทอัพในเมืองไทยที่ต้องการสมัคร โปรแกรมนี้เหมาะกับใคร และต้องเตรียมตัวอย่างไร

ถ้าบริษัทใหญ่ในระดับหนึ่ง สิ่งที่เขาให้กับเรามันสร้างผลกระทบได้เยอะตามขนาดขององค์กร อย่างเช่นเขาปรับกระบวนการคิด OKR ของเรา แล้วมีผลกระทบต่อองค์กรและคนกว่า 100 คน  แต่ถ้าเป็นบริษัทเล็กๆ เข้าไป ซึ่งอาจจะยังไม่รู้ Product-Market fit ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะสตาร์ทอัพที่เข้ามาควรจะมี Product-Market fit และเงินทุนที่ต้องการ Scale แล้วระดับหนึ่ง เพราะโปรแกรมนี้ไม่ได้ให้เงินทุนแต่ให้ความรู้ ให้ mentor ที่สามารถให้ความรู้เราได้  ถ้าสนใจอยากสมัครก็ควรตามข่าวว่าโปรแกรมนี้เขาจะรับสมัครอีกเมื่อไร เตรียมตัวอย่างน้อย 1 เดือนก็น่าจะดี

ใน 6 เดือนข้างหน้านี้ Priceza มีอะไรที่จะให้ทุกคนได้ติดตามดูบ้าง

ไม่แน่ใจว่าจะสามารถทำให้มีอะไรเกิดขึ้นภายใน 6 เดือนนั้นไหม แต่คิดว่า Efficient ของเราจะทำงานได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าทรัพยากร วัฒนธรรม Operation Team ของเราสามารถทำได้ถูกจุดมากขึ้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...