“Sea Insight Future Focus” เสวนาพิเศษเพื่อขยายมุมมอง Digital Transformation | Techsauce

“Sea Insight Future Focus” เสวนาพิเศษเพื่อขยายมุมมอง Digital Transformation

Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน อาทิ 
การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และแอร์เพย์ (AirPay) จัดงานเสวนาพิเศษ “Sea Insight Future Focus” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดมุมมองให้องค์กร สังคมโดยรวม และคนไทย ก้าวทันกับ ‘Digital Transformation’ หรือปรากฏการณ์ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว นำโดย ดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist แห่ง Sea (Group) และคุณสุทธิชัย หยุ่น ผู้ก่อตั้งบริษัท กาแฟดำ จำกัด

พร้อมกันนี้ ยังมีการเปิดเวทีในหัวข้อ “Shaping the Future: Discovering Essential Skills for Future Workforce” เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับทักษะใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ปรับตัวเข้าสู่การทำงาน การศึกษา และการใช้ชีวิตท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคส่วนร่วมอภิปราย ประกอบด้วย ดร.ศรุต วานิชพันธุ์ Director of Sea (Thailand), คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์ สหโอสถ จำกัด, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการพัฒนานิสิตและนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณชยุตม์ สกุลคู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แทคท์ โซเชียล คอนซัลติ้ง จำกัด ท่ามกลางผู้สนใจจากแวดวงธุรกิจ เทคโนโลยี สตาร์ทอัพ และการศึกษา ร่วมเข้าฟังอย่างคับคั่ง

เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันปรับองค์กร ปลุกสังคม รับปรากฏการณ์ ‘Digital Transformation’

ปัจจุบัน ‘Digital Transformation’ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในสังคมการทำงานและในกลุ่มคนรุ่นใหม่ หลักสำคัญของ ‘Digital Transformation’ คือ การมุ่งเน้นนำ ‘Digital Technology’ ไม่ว่าจะเป็น ‘Cloud’, ‘Big Data’, ‘Internet of Things’ (IoT) และเทคโนโลยีอื่นๆ มาปรับใช้กับทุกส่วนของธุรกิจ ตั้งแต่กระบวนการทำงาน ไปจนถึงการกำหนดเป้าหมายการเติบโตในอนาคต เพื่อให้ธุรกิจปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ประเทศไทยเองก็มีความพยายามปรับตัวเพื่อขานรับกับ ‘Disruption’ ที่เกิดขึ้น โดยภาครัฐพยายามผลักดันนโยบาย ‘Thailand 4.0’ เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจในระดับมหภาคให้เป็น ‘Value–Based Economy’ หรือ ‘เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม’

ภาคเอกชน บริษัทต่างๆ พยายามนำเอาเทคโนโลยีเข้ามายกระดับการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุดยิ่งขึ้น โดยข้อมูลจาก ‘Dell Technologies’ และ ‘Intel’ ระบุว่าในประเทศไทยมีองค์กรดิจิทัลแบบเต็มตัว (Digital Leader) ที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ประมาณ 7% นอกจากนี้ ยังมีองค์กรที่มีแผนงานดิจิทัลแบบจริงจังและมีการลงทุนด้านนวัตกรรม (Digital Leader: Digital Adopter) ประมาณ 40% รวมถึงองค์กรที่กำลังปฏิรูปสู่ดิจิทัลอย่างระมัดระวัง มีการวางแผนด้านนวัตกรรมในอนาคต ประมาณ 23% ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังอยู่ในจุดที่เข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มตัว

ดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist แห่ง Sea (Group) กล่าว “ในฐานะผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ Sea มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยในภูมิภาคของเราให้มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยี ผ่านบริการและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจากบริษัทในเครือได้แก่ การีนา ช้อปปี้ และแอร์เพย์ เราต้องปรับตัวเพื่อขานรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทำให้เราตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเข้ามาของเทคโนโลยี ปัจจุบันนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างได้ถูกผลัดเปลี่ยนเข้าสู่สังคมแบบดิจิทัล เรียกได้ว่าทุกๆ สิ่งถูก ‘Disrupt’ ด้วยกระบวนการทางดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนในสังคมไม่มากก็น้อยทั้งในแง่ของการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน รวมไปถึงการดำเนินธุรกิจต่างๆ การเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองและการปรับตัวให้เข้ากับการผลัดเปลี่ยนเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบนี้ จะทำให้การใช้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นมาเติมเต็มชีวิตให้เกิดความสะดวกสบายได้มากยิ่งขึ้น จึงเป็นที่มาของการจัดงานเสวนารอบพิเศษ ‘Sea Insight Future Focus’ ขึ้น โดยเป็นการนำเสนอมุมมองและสำรวจแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเข้ามาของเศรษฐกิจดิจิทัลและการรับมือกับ Disruption และเทรนด์ใหม่ๆ พร้อมกันนี้ เรายังอยากให้ทุกท่านมาร่วมกันหาคำตอบว่าทำอย่างไรเราจึงจะปรับตัวให้มีความรู้ความสามารถเท่าทันการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อให้ก้าวข้ามขีดจำกัดและเปิดศักยภาพใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง และ “Transform” ตลอดเวลา “คน” กลายเป็น ฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาองค์กร

อย่างไรก็ตาม “รายงานปลดล็อคโลกเศรษฐกิจในยุคแห่งการปฏิรูปด้วยดิจิทัล” จาก ‘Microsoft’ และ ‘IDC Asia Pacific’ พบว่า แม้กว่า 82% ขององค์กรในประเทศไทยได้เริ่มเดินหน้าปรับองค์กรสู่ ‘Digital Transformation’ แล้ว ความท้าทายในการก้าวเข้าสู่
ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบที่ภาคธุรกิจและผู้ประกอบการต้องพบในอนาคตคือ การขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์ และปัญหาช่องว่างของทักษะ ซึ่งเกิดจากความไม่พร้อมด้านความเข้าความเข้าใจในเทคโนโลยีและด้านทักษะที่จำเป็นในการปรับตัวให้ก้าวทันกับ
ความเปลี่ยนแปลงจากปรากฏการณ์ ‘Digital Transformation’

ดร.ศรุต วานิชพันธุ์ Director of Sea (Thailand) กล่าวเสริมว่า “เราคงบอกอย่างชัดเจนไม่ได้ว่าในอีก 10 – 20 ปีข้างหน้า รูปแบบการศึกษาซึ่งเป็นพื้นฐานหนึ่งของการใช้ชีวิต รวมไปถึงสังคมจะมีการเปลียนแปลงไปมากมายอย่างไร แต่สิ่งที่แน่นอนมากที่สุดที่ควรจะเกิดขึ้นคือการเตรียมความพร้อมรับมือต่อสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น เรื่องของเทคโนโลยีส่งผลดีอย่างเป็นรูปธรรมมากมายแม้ว่าในบางครั้งเราจะพบกับอุปสรรคในการปรับตัว ดังนั้นองค์กรและสถาบันการศึกษาต่างๆ ต้องหันมาให้ความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนตลาดแรงงาน ที่สำคัญอย่างยิ่งคือการอบรมทักษะ ที่จำเป็นให้แก่บุคลากรไทย ทั้ง ‘Learning Skills’ เช่น การคิดวิเคราะห์และความสร้างสรรค์ที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ที่เข้ามาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ‘Literacy Skills’ เช่น การทำความเข้าใจข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีที่ใช้บริหารจัดการข้อมูล และ ‘Life Skills’ เช่น การต่อยอดสิ่งเดิมๆ ให้สอดรับกับสถานการณ์ใหม่ๆ ความเป็นผู้นำ และ Passion ในการริเริ่ม ทุ่มเท ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการปรับตัวไปตามสภาวะเศรษฐกิจ ตลาดแรงงาน วิถีการทำงาน และสังคมโลกที่เปลี่ยนผันไปอย่างรวดเร็วบนโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล”

“ในมุมมองของ Sea เรามุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่ปั้นบุคลากรให้เปี่ยมด้วยทักษะแห่งอนาคต มี Sea ทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ช่วยเพิ่มโอกาสและพัฒนาศักยภาพให้แก่บุคลากร โดยมีการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อยู่ในกระบวนการทำงานอย่างเต็มรูปแบบและยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริหารจัดการงานและความยืดหยุ่น ด้านการริเริ่มตัดสินใจลองผิดลองถูกแก่พนักงาน (Decentralization) ภายใต้คำแนะนำของหัวหน้าในสายงานและแนวทางการทำงานเข้าสู่ส่วนกลางขององค์กร (Centralization) นอกจากนี้เรายังให้ความสำคัญกับ การสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาความสามารถของเยาวชน อาทิ การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อพัฒนาหลักสูตรด้านการผลิตและบริหารธุรกิจ Digital Entertainment การมอบโอกาสให้นักศึกษาเข้ามาฝึกงานในองค์กรของเราเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์จริง ตลอดจนกิจกรรม CSR และการสนับสนุนด้านทุนการศึกษา ทั้งนี้  เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันกับทุกภาคส่วนได้อย่างยั่งยืน ในการก้าวไปข้างหน้าในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ” 
ดร.ศรุต กล่าวสรุป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...