“อย่าทำอะไรที่สวนทางความเชื่อของคน” นี่คือประโยคที่คุณทอย นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของไทยย้ำในวิธีทำการตลาด และชี้ว่านักการตลาดจะได้แต้มต่อก็ต่อเมื่อเข้าใจวิธีการทำงานของสมอง ในบทความนี้ Techsauce จึงอยากพาทุกคนมาเจาะลึกเนื้อหาจาก Session Behavioral Design for Better Marketing จากงาน Marketing Insight & Technology Conference 2024
หรือการออกแบบพฤติกรรมการตลาดที่ดีกว่าด้วย เศรษศาสตร์พฤติกรรมหรือ Behavioral Economics โดยคุณทอย กษิดิศ สตางค์มงคล จาก DataRockie
Choice Architecture คือ การออกแบบทางเลือกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้คน โดยคุณทอยได้ยกตัวอย่าง 3 สถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบโลกได้แก่
ทั้งสามเหตุการณ์มีจุดร่วมกันคือ ทุกคนมีทางเลือกที่จะทำได้ตามใจต้องการ และเราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของคนได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องบังคับ เพียงแค่ทำให้ "ทางเลือก" ที่เราต้องการเสนอ ดูน่าสนใจและเข้าถึงได้ง่าย หรือให้มันตอบโจทย์มากกว่าทางเลือกอื่นๆ
ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี Choice Architecture ที่มีจุดมุ่งหมายเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีหลักการทำงานอยู่ทั้งหมด 4 ข้อ ได้แก่
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือ Behavioral Economics เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองทั้งสองส่วนที่มีผลในการตัดสินใจ
คุณทอยอธิบายว่า การตัดสินใจของมนุษย์ใช้สมอง 2 ระบบ ได้แก่
คนส่วนใหญ่มักคิดว่า System 1 และ 2 ทำงานแยกกัน แต่ในความเป็นจริง ทั้งสองระบบทำงานประสานกันตลอดเวลา ซึ่งนักการตลาดจะต้องเข้าใจการทำงานของสมองทั้งสองส่วน เพื่อที่จะออกแบบกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับการตัดสินใจให้ได้
อย่างไรก็ตามคุณทอยย้ำว่า “คนเราจะเลือกในสิ่งที่ตนเองชอบมากที่สุด” ดังนั้นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ต้องทำอันดับแรกๆ ก็คือการเข้าไปเป็น Top of Mind ของผู้บริโภคให้ได้เพราะยิ่งคุ้นเคยกับแบรนด์ไหนมากที่สุด ก็จะเลือกซื้อสิ่งนั้นมากเท่านั้น เนื่องจากมนุษย์จะใช้สมอง System 1 ในการตัดสินใจ แม้ว่าสมองส่วน System 2 จะมีเหตุผลในการพิจารณามากแค่ไหน ในฐานะผู้บริโภคก็จะเลือกในสิ่งที่ตนเองชอบมาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ
ต้องจดจำให้ได้แค่เพียงแวบเดียว: อย่างที่กล่าวไปว่าทั้งสองระบบทำงานควบคู่กัน ถึงแม้เราจะใช้ System 2 เวลาเราโฟกัสกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ System 1 ที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้จำนวนมากก็จะจดจำสิ่งที่อยู่รอบข้างได้เสมอ ดั้งนั้นแบรนด์จะต้องทำให้คนสามารถจำได้แม้แค่มองเพียงแวบตาเดียว
เพราะ Branding นั้นสำคัญ: System 1 ยังมี concept ที่เรียกว่า Framing หรือการตีกรอบการตัดสินใจเมื่อพิจารณาจากสิ่งรอบข้างที่แม้จะจับต้องไม่ได้ เช่น Oppo กับ Samsung แม้ System 2 จะพิจารณาถึงความสามารถ ข้อดีข้อด้อยแบบมีเหตุผลรองรับก็ตาม System 1 จะมองแค่แบรนด์ที่ครอบเอาไว้ ทำให้ตัดสินใจจากสิ่งที่ตัวเองชอบมากกว่า
ประสบการณ์ที่ได้รับมากกว่าเงินที่จ่ายไป: หรือที่เรียกว่า Neuro-Logic of Decision Making ทุกการตัดสินใจของเราขึ้นอยู่กับสมการง่าย ๆ คือ “ผลตอบแทน - ความเจ็บปวด ต้องมากกว่า 0” หรือความรู้สึกของ Value เพราะคนเราจะเลือกในสิ่งที่ได้ Reward มากกว่า Pain เสมอ แบรนด์จะต้องทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าพวกเขาได้รับประโยชน์มากกว่าสิ่งที่เสียไป
แต่ในบางครั้ง Reward ที่ได้ มักจะมาในรูปแบบที่ไม่เห็นผลในตอนนี้ เช่น การออกกำลังกาย เพราะทำวันนี้จะได้แค่ Pain อย่างเดียว แต่จะเห็นผลเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งทำให้การออกกำลังกายเป็นเรื่องยากสำหรับทุกคน
แต่ถ้าสามารถสร้าง Immediate Reward ได้ทันทีและสามารถผลัก Pain ออกไปในอนาคตได้ จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกแบรนด์ของเราได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น การผ่อนรถยนต์ เพราะสร้าง Reward ด้วยการได้ของก่อน แต่ผลัก Pain ไปเป็นการผ่อนระยะยาว เป็นต้น
เล่นกับการคาดหวังและทำให้เกินคาดเสมอ: การที่จะขายของแพงแต่ให้คนมองว่ามันถูก นอกจากเรื่องของ ‘คุณภาพ’ แล้ว รูปแบบการสื่อสารเป็นสิ่งที่แบรนด์สามารถเล่นได้ เช่น Apple เปิดตัว iPad ด้วยการประกาศว่าจะขายในราคาไม่เกิน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ แน่นอนว่าความคาดหวังของคนต่อแบรนด์อย่าง Apple เดาเอาไว้ไม่น่าต่ำกว่า 999 - 799 ดอลลาร์สหรัฐฯ
แต่สุดท้าย Apple เปิดตัว iPad ด้วยราคา 499 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในความเป็นจริง ราคา iPad รุ่นนั้นเทียบเท่าโน๊ตบุ๊คและคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งและที่ใช้งานได้น้อยกว่าด้วย แต่เมื่อราคามันต่ำกว่าที่ผู้คนคาดการณ์ไว้ สมองจึงรู้สึกว่า iPad เปิดตัวด้วยราคาที่ถูกนั่นเอง
สุดท้ายนี้คุณทอยได้สรุป 3 สิ่งสำคัญที่นักการตลาดจะต้องเข้าใจได้แก่
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด