คุยกับดร.ต้า-วิโรจน์ จาก Skooldio ว่าด้วยเรื่องการสร้าง Digital Leadership ในองค์กรไทย | Techsauce

คุยกับดร.ต้า-วิโรจน์ จาก Skooldio ว่าด้วยเรื่องการสร้าง Digital Leadership ในองค์กรไทย

ในช่วงที่ผ่านมานี้คำคุ้นหูที่สุดในหลายองค์กรคงหนีไม่พ้นคำว่า Digital Transformation หันไปทางไหนก็พูดกันแต่ว่าเราต้องปรับองค์กร ต้องเตรียมให้พร้อมเพื่อรับกระแสการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีองค์กรแค่บางส่วนเท่านั้นที่สามารถทำได้ จนกระทั่งสถานการณ์ COVID-19 ได้เกิดขึ้น เรียกว่าเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้หลายองค์กรรู้ซึ้งถึงความจำเป็นของการ Transformation เป็นจุดพลิกสำคัญที่ทำให้องค์กรต้องกลับมาวิเคราะห์ ทบทวนตัวเองและเริ่มตั้งเป้าใหม่เพื่อเป็นองค์กรแห่งอนาคต และแน่นอนว่าที่ผ่านมาเส้นทางการทำ Digital Transformation ของแต่ละองค์กรไม่ได้ราบรื่นแบบในตำรา 

วันนี้เราเลยขอชวน ดร.ต้า-วิโรจน์ จิรพัฒนกุล Co-Founder & Managing Director, Skooldio และอดีต Data Scientist แห่ง Facebook, HQ, Silicon Valley มาร่วมพูดคุยและตอบคำถามในเรื่องการปรับตัวองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัล ในฐานะบุคคลที่เรียกได้ว่าสัมผัสชีวิตการทำงานมาทั้งในองค์กรไทยและต่างชาติ รวมถึงยังมีบทบาทเป็นผู้ร่วมจัด Workshop Upskill ด้านดิจิทัลให้กับหลายองค์กรในไทยอีกด้วย 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Digital Transformation 

ดร.ต้าเผยว่าความเข้าใจผิดส่วนใหญ่คือเรามักเข้าใจว่าการทำ Digital Transformation เป็นแค่การย้ายธุรกิจจาก Offline ไป Online เช่น จากเคยมีหน้าร้านก็ย้ายไปขายบนแพลตฟอร์มแทน เคยทําเอกสารภายในด้วยกระดาษก็ย้ายไปทําออนไลน์ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวไปอาจจะต้องเรียกว่าการทํา Digitization ซะมากกว่า เพราะเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการก้าวไปสู่การ Transform องค์กร แต่ถ้าให้พูดถึงคําว่า Digital Transformation ที่แท้จริง ดร.ต้ามองว่าเป็นเรื่องของการที่เราสามารถปรับรูปแบบธุรกิจเพื่อหาโอกาส สร้าง Value ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า หาแหล่งรายได้ใหม่ที่อาศัยช่องทางออนไลน์และใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยขับเคลื่อน หลายครั้งที่ธุรกิจมักมองว่าสินค้าของเราเป็นอะไรที่จับต้องได้ แค่ซื้อมาขายไปก็ขายได้ดีอยู่แล้ว ทำไมต้องไปเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย แต่หลายธุรกิจทุกวันนี้ได้โอกาสใหม่ ๆ มาจากการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและดิจิทัล จนเติบโตแบบก้าวกระโดดเลยก็ว่าได้ เพราะฉะนั้นเรื่องการทำ Digital Transformation จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม 

ความท้าทายที่องค์กรส่วนใหญ่พบเจอ

ความท้าทายมีอยู่หลายเรื่อง แต่ผู้บริหารมีส่วนสำคัญมาก ถ้าใครเรียน MBA มาในโลกแบบเดิม ก็จะมีเทคนิคในการทําธุรกิจแบบหนึ่ง แต่พอในโลกทุกวันนี้ เราพูดถึงแพลตฟอร์ม เราพูดถึงการทํา Super App และการที่บริษัทยอมหรือกล้าที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อ User เข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์มเยอะ ๆ ก่อน แล้วหวังว่าจะหาเงินในอนาคต นี่คือภาพของโลกธุรกิจใหม่ บางธุรกิจก็ทําแล้วก็ได้ผล บางธุรกิจก็ทําแล้วไม่ค่อยได้ผล  แต่การที่ผู้บริหารยังไม่มีความรู้ความเข้าใจตรงนี้ บางทีทำให้เผลอมองว่าทําไปทําไม เราต้องเสียเงิน อาจจะขาดทุน หรือทําแบบนี้แล้วมันดีกว่าการที่เขาทําแบบเดิมอย่างไร เพราะก็เป็นเจ้าตลาดอยู่แล้ว 

ต้องบอกว่าความไม่รู้บวกกับความมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองเคยทําสําเร็จมาก่อน อาจจะทําให้ไม่ได้เปิดรับ แนวคิดหรือโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ นี่เป็นเหตุผลที่หลาย ๆ ครั้งเราเห็น Startup ลุกขึ้นมา Disrupt บริษัทใหญ่ แล้วบริษัทใหญ่ ๆ ก็เหมือนจะรู้ตัวว่ามันทําได้ แต่ก็ไม่ได้คิดว่าเป็นโอกาสที่น่าสนใจ จึงปล่อยปละละเลยไป สุดท้ายกลายเป็นคนที่เขากล้าคิด  กล้าทํา ลงมือก่อน ได้ประโยชน์ตรงนี้ไป

ธุรกิจธนาคาร ตัวอย่าง Case study ที่ปรับตัวได้อย่างน่าสนใจ

ดร.ต้าได้ยกตัวอย่าง Case study ธุรกิจธนาคารมาพูดถึง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีมานาน และทำหน้าที่ให้บริการทางด้านการเงินพื้นฐานให้กับลูกค้า ซึ่งแน่นอนว่าทุกวันนี้ธนาคารต่าง ๆ ก็ยังคงมีบทบาท รับ ฝาก ถอน โอน แต่ในขณะเดียวกันก็มี Internet Banking และ Mobile Banking เกิดขึ้นด้วย  ซึ่งถือว่าไม่ใช่โมเดลธุรกิจใหม่แต่ก็เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้อย่างดี จนส่งผลให้เกิดการใช้งานเพิ่มขึ้นทำให้ธนาคารเพิ่มบริการในส่วนอื่น ๆ และเริ่มหันมาแตะไลฟ์สไตล์ลูกค้า เรียนรู้พฤติกรรมลูกค้าจนขยับไปสู่การให้บริการต่าง ๆ ยิ่งลูกค้าทำธุรกรรมมากขึ้นก็ยิ่งมีข้อมูล ทำให้รู้จักลูกค้าและก็อาจต่อยอดถึงการปล่อยกู้ และการมอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าธนาคารเริ่มไปสร้าง Value ใหม่ที่ ไม่ใช่แค่ Banking แต่เป็นในมุมส่งเสริมชีวิตลูกค้า 

อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ SCB กับการปั้นแอปฯ Robinhood ถึงจะดูไม่เกี่ยวข้องกับธนาคาร แต่ธนาคารเองก็ได้ข้อมูลสำคัญไป อย่างข้อมูลร้านแผงลอย รายได้ จากไม่เคยมีสลิปเงินเดือน ธนาคารสามารถรู้ได้แล้วว่าวันหนึ่งยอดขายเขาเท่าไหร่ และเกิดเป็น Ecosystem ขนาดใหญ่ของธนาคารที่ไม่ได้โฟกัสแค่ให้บริการธุรกรรมทางการเงิน แต่อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน เราทําให้ชีวิตของลูกค้าและผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดดีขึ้นก็ทําหมดสิ่งที่ผู้นำต้องมี เพื่อพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในการทำ Digital Transformation

สิ่งที่ผู้นำต้องมี เพื่อพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในการทำ Digital Transformation

ดร.ต้าเล่าว่า ในฐานะผู้นำเราต้องเป็นคนที่สร้างวิสัยทัศน์ ตั้งเป้าหมาย เป็นคนกำหนดทิศทาง ซึ่งส่วนหนึ่งของการจะพาทีมไปในทางที่ถูกต้อง ก็ต้องเข้าใจเทคโนโลยีในระดับหนึ่ง หลายครั้งผู้นำหลายคนมักคิดว่า เรามีลูกน้องที่เก่งเรื่องนี้แล้ว เดี๋ยวให้เขามาบอกเราก็พอ แต่ผู้นำเองก็จำเป็นจะต้องเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีเองด้วย เพราะธุรกิจใหม่มีเรื่องเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นการเข้าใจวิธีดำเนินงาน เข้าใจภาพรวมทั้งหมดเพื่อให้ทุกส่วนของบริษัทเชื่อมโยงกันจึงมีความสำคัญ เมื่อมีเป้าหมายชัดเจนแล้ว ความยากถัดไปคือการเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทํางานขององค์กร ทุกองค์กรพูดเรื่องนวัตกรรม มีจัดประกวดเพื่อส่งเสริมเรื่องนี้ 

แต่คำถามคือเวลาน้องเสนออะไรแปลก ๆ มา เรากล้าให้เขาลองเรากล้าให้เขาทําผิด ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดตรงนั้นมากน้อยแค่ไหน ทําอย่างไรให้ผู้นําสามารถปรับ Mindset แทนที่เราจะตั้งคําถามว่า สิ่งนี้มันไม่ Work หรอก สู่คำถามว่าแล้วถ้าจะทำให้ Work ทำอย่างไร แล้วก็หาโอกาส ลองของใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา 

วิธีการบริหารจัดการคนรุ่นใหม่คือเราต้องยอมรับมากขึ้น เขาเก่งกว่าเรา เข้าใจเทคโนโลยีและพฤติกรรมคนรุ่นใหม่มากกว่า ทําอย่างไรให้เราเองจะสามารถทํางานร่วมกันและมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้ทํางานได้อย่างมีความสุข 

เมื่อผู้นําตั้งเป้าหมายที่ถูกต้อง สร้างองค์กรที่ดึงดูดคนเก่ง ๆ เข้ามาทํางาน ก็ต้องมีรูปแบบวิธีทํางานที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม สร้างแนวคิดที่เน้นให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางมากขึ้น เพราะถ้าทุกคนในบริษัทตั้งแต่น้องคอลเซ็นเตอร์ยันผู้บริหารสนใจลูกค้ามากขึ้น นั่นแปลว่าเราจะมองเห็นโอกาสใหม่ ๆ ตลอดเวลา นอกจากนี้ถ้าธุรกิจเรามีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น เราก็จะมี Data มากขึ้น ทำให้มีโอกาสในการทําความเข้าใจลูกค้าและสามารถส่งมอบคุณค่าที่ตอบโจทย์เขาได้จริง ๆ ตอนนี้หลาย ๆ องค์กรก็จะพูดถึง Data-Driven Culture ทําอย่างไรให้ทุกคนตัดสินใจด้วยข้อมูลมากกว่าการใช้ Gut Feeling หรือประสบการณ์ในอดีตเป็นตัวตัดสินใจ

วัฒนธรรมไทยในที่ทำงาน ช่องว่างระหว่างองค์กรไทยและต่างชาติ

เรื่องที่ทุกคนเห็นด้วยตรงกันคือการเปิดรับ Feedback เป็นหนึ่งในวิธีที่จะทําให้คนทํางานเก่งขึ้นและองค์กรแข็งแกร่งขึ้น ใครทํางานดี ไม่ดีต้องกล้า Feedback กันตรง ๆ เราต้องกล้ากลับมาเปิดอกคุยกันในการชี้ปัญหา เพื่อให้ทุกคนร่วมกันแก้ปัญหา ในองค์กรไทยเราไม่ค่อยกล้าทําเท่าไหร่ เราไม่ชอบทำให้ใครเสียหน้า เสียความรู้สึก หรือบางทีเรามีไอเดีย แต่เราก็ไม่อยากข้ามหน้าข้ามตาคนอื่น จะบอกว่า Culture นี้จริง ๆ มีข้อดีเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตน ความถ้อยทีถ้อยอาศัย แต่พอบางทีเยอะเกินจนมาเรื่องงาน มันทำให้เราหยวน ๆ กับทุกเรื่อง แทนที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นตลอดเวลา

รักษาและสร้าง Talent ในองค์กรอย่างไร

สําหรับคนที่ทำงานอยู่ก่อน อย่างแรกเราต้องทําให้เขาเห็นก่อนว่าทําไมเขาถึงต้องเปลี่ยนแปลง ทําให้เขาเห็นว่าตอนนี้คู่แข่งไปถึงไหนแล้ว ตอนนี้เมืองนอกมี Disruption ที่เกิดขึ้นเป็นแบบไหน เพราะถ้าไม่เปลี่ยนตอนนี้ อนาคตเราจะถูกบังคับให้เปลี่ยน เพราะฉะนั้นทําให้เขาเห็นความสําคัญก่อน แบบที่ไม่ใช่ไปสร้างความกลัว แล้วส่งเสริมว่าความรู้ความเชี่ยวชาญที่เขามีจะช่วยให้องค์กรก้าวไปสู่ขั้นถัดไปได้อย่างไร สุดท้ายเลยพอเราสร้างความเข้าใจที่ตรงกันแล้ว ทีมพร้อมแล้ว ก็อย่าลืมเครื่องมือ การให้ความรู้ เพื่อช่วยพนักงานระหว่างทาง พาเขาไปสู่ความสําเร็จ

สำหรับคนรุ่นใหม่เรื่องของการให้อิสระคือส่วนสำคัญ เขามีไอเดียและอยากเห็นมันเกิดขึ้นได้จริง คําถามคือเราให้พื้นที่เขาแค่ไหน ถ้าเขาเสนอมาทุกครั้งแล้วเราก็ปัดไอเดียตกทุกครั้งไม่นานเขาก็จะไม่อยากบอกเรา ไม่อยากเสนอไอเดียดี ๆ อะไรมาให้เรา คนรุ่นใหม่เขาอยากทําอะไรที่มันท้าทาย รู้สึกว่าการที่เจออะไรที่ยากนั้นสนุก อยากจะทําอะไรที่มันยากขึ้นอีก เพราะฉะนั้นการสร้างบรรยากาศ เอาคนเก่ง ๆ มาช่วยกันคิด ช่วยกันทํางานจะเป็นบรรยากาศการทํางานที่สนุกสําหรับคนรุ่นใหม่ 

ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่อยากจะเป็นส่วนหนึ่งของอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเขาเอง เพราะฉะนั้นหลายองค์กรเราอาจจะต้องเริ่มตอบให้ได้ว่าธุรกิจเราสำคัญอย่างไร ถ้าวันหนึ่งมันหายไปมันมีคนเดือดร้อนไหม ถ้าเราอธิบายได้ชัด ๆ ว่าสิ่งที่เราทําอยู่ช่วยให้ชีวิตคนดีขึ้นได้อย่างไร ผมเชื่อว่าคนรุ่นใหม่เขาก็จะอยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งที่เราทําอยู่มายาคติเกี่ยวกับการทำ Digital Transformation แบบไหนถึงเรียกว่าพร้อม 

มายาคติเกี่ยวกับการทำ Digital Transformation แบบไหนถึงเรียกว่าพร้อม

อันนี้อาจจะเป็นความเข้าใจผิด หลายองค์กรหาคําตอบนี้ว่าเราพร้อมหรือยังไม่พร้อม ผมว่าสุดท้ายคําตอบ มันไม่ใช่ YES หรือ NO มันมีแต่ว่าองค์กรเราใช้ Data มากกว่านี้ได้ไหม องค์กรเราคล่องตัวหรือสร้าง Innovation ได้มากกว่านี้อีกไหม โลกของบริษัทเทคโนโลยีนอกจากการคิดของใหม่ตลอดเวลาแล้ว เราต้องคอยคุยกันว่าเราทำอะไรให้ดีขึ้นได้อีกบ้าง เพราะฉะนั้นมันก็จะเกิดการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง หลายคนจะเรียกองค์กรเหล่านี้ว่าเป็น Learning Organization คือเรียนรู้ตลอดทั้งจากลูกค้าและทั้งประสบการณ์ทํางาน ดังนั้นเวลาจะตอบว่าเราพร้อมหรือยัง ปกติผมก็จะถามตัวเองว่าเรารู้สึกว่ามันดีได้มากกว่านี้ไหม มันมีอะไรอีกที่เรายังอยากได้ วันนี้เราทํางานแล้ว มันง่ายหมดละ มีความสุข ไม่เจออุปสรรคอะไรเลย ก็อาจจะพอแล้วก็ได้ แต่ถ้าเรายังเห็นโอกาสอื่น ๆ คิดว่าถ้าเราออกไอเดียใหม่ ๆ ได้มากขึ้น อาจจะมีโอกาสทางธุรกิจอะไรอยู่ ผมว่าอันนี้มันก็จะเป็นจุดที่ทําให้เราคิดว่าอย่างน้อย ๆ ถึงแม้ว่าเราจะดีแล้ว เราก็ดีได้มากขึ้นอีกชวนผู้นำองค์กรเตรียมพร้อมไปกับคอร์ส Digital Leadership Essentials 

ชวนผู้นำองค์กรเตรียมพร้อมไปกับคอร์ส Digital Leadership Essentials

คอร์สนี้ดร.ต้าบอกว่า เป็นหัวข้อที่มีเรื่องอยากจะสอนเยอะ แต่ก็เข้าใจว่า Pain Point ของผู้บริหารหลายคนคือติดเรื่องเวลา เลยเป็นคอร์สที่ขมวดทุกประเด็นสําคัญเข้ามาให้ครบ จบใน 2 วันเพื่อนำไปปรับใช้ได้ทันที รวบรวมตั้งแต่กลยุทธ์จนถึงศัพท์ใหม่ ๆ ที่คนพูดกันในการทําธุรกิจ มีทั้งโมเดลธุรกิจหรือแพลตฟอร์ม การสร้าง Ecosystem ต่อด้วยเรื่องการหาโอกาส ความเข้าใจลูกค้า จะวางตัวองค์กรอย่างไร เราควรทําตามเสียงลูกค้าบอก หรือทําตามสิ่งที่เราอยากทําเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีส่วนของประสบการณ์ทํางานของดร.ต้าจาก Facebook ที่จะมาเจาะลึกว่าการนำ Data มาขับเคลื่อนองค์กรต้องทำอย่างไร 

และที่สำคัญจะมาคุยในเรื่องของคน การทำงานกับคนรุ่นใหม่ กลุ่มคนที่เป็นมนุษย์เทคโนโลยี หลายคนเรียกคนพวกนี้ว่าเป็นมนุษย์ทองคํา คือเก่งมากแต่ก็เรื่องมาก ทําอย่างไรให้เราสามารถทํางานกับเขาได้ดี แล้วก็ให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาทํางานและสามารถปลดปล่อยศักยภาพอย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นภาพรวมคือเราก็จะคุยตั้งแต่วางกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ ๆ การนำ Data มาปรับใช้ในองค์กร ไปจนถึงการสร้าง Culture ในที่ทํางาน แล้วก็การบริหารคนเพื่อให้สุดท้ายแล้วองค์กรจะสามารถสร้างนวัตกรรมและประสบความสําเร็จได้ 

ทั้งหมดนี้คือบทสรุปการสัมภาษณ์ ดร.ต้า ที่อัดแน่นและนำไปใช้ได้จริง สำหรับผู้ที่สนใจอยากเข้าร่วมหลักสูตรสำหรับผู้บริหารยุคใหม่ที่สอนโดยดร.ต้านี้  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://to.skooldio.com/techsauce-DLE2


บทความนี้เป็น Advertorial 



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...