ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นปี 2020 ทั่วทั้งโลกต่างประสบปัญหาจากโรคระบาดอย่าง COVID-19 ที่ส่งผลกระทบไม่ใช่แค่ในมิติของสาธารณสุขเท่านั้น แต่เป็นมิติของเศรษฐกิจก็พังทลายลงไปด้วย ทั่วโลกต้องมีการปิดประเทศ กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักทำให้หลายธุรกิจต้องมีการปิดตัวไปตาม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็กก็ตาม ดังนั้นจึงมีเพียงสิ่งเดียวที่ยังคงประคับประคองในช่วงเวลาเช่นนั้นได้ คือ กระแสเงินสด แต่ก็ใช่ว่าทุกบริษัทจะมีกระแสเงินสดสำรองในวิกฤตที่ยาวนานเช่นนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่เป็นปัญหาหนักที่สุดก็ คือ SME ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีสายป่านสั้นกว่าบริษัทขนาดใหญ่ค่อนข้างมาก รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลพนักงานที่จะต้องแบกรับล้วนแล้วแต่เป็นต้นทุนทั้งสิ้น
โดยหนึ่งในปัญหาที่น่ากังวล คือ ความเสี่ยงในการเลิกจ้างงาน เนื่องจาก SME ถือเป็นกระดูกสันหลังของการจ้างงาน หากมีคนตกงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากย่อมส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจที่อาจจะพังทลายได้ ซึ่งที่ผ่านมาเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าหลายธุรกิจต่างพากันปรับตัวในเรื่องของการจ่ายเงินเดือนพนักงาน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของธุรกิจ โดยบางบริษัทก็ตัดสินใจลดจำนวนพนักงานลง บางบริษัทก็ขอความร่วมมือในการที่ให้พนักงานลางานโดยไม่รับเงินเดือน หรือบางบริษัทก็มีการจ้างพนักงานตามความจำเป็นและจ่ายเงินเป็นรายวัน
ปัจจุบัน นับว่าหนึ่งปีผ่านไปกับวิกฤต COVID-19 เนื่องจากหลายประเทศได้มีการคิดค้นวัคซีนและได้มีการทยอยฉีดให้กับประชากรโลกในบางประเทศแล้ว ส่งผลให้ในหลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาในหลาย ๆ ประเทศ แต่สำหรับประเทศไทยนั้น การแพร่ระบาดได้กลับมาอีกระลอก และดูเหมือนว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ค่อนข้างยาก จากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังนั้นสำหรับภาคธุรกิจแล้วจึงต้องมีการปรับกระบวนการเปลี่ยนการทำงานอีกครั้งเพื่อรับมือกับสถานการณ์วิกฤต โดยเฉพาะการบริหารจัดการพนักงาน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ดำเนินธุรกิจไปต่อได้
ที่ผ่านมาในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกแรกในประเทศไทย หลายธุรกิจต่างก็ได้มีการปรับตัวกันแบบชนิดที่เรียกว่า ไร้กระบวนท่า เพื่อเอาตัวรอดจากวิกฤต ซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จหรือวิธีการตายตัวที่จะการันตีได้ว่าเดินไปในทิศทางไหน หรือทำอย่างไรถึงถูกต้อง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราต่างก็ได้เรียนรู้วิธีการมากมาย โดยเฉพาะการดูแลพนักงานในยามวิกฤตโรคระบาดเช่นนี้
ในยามที่มีโรคระบาดนั้นการดูแลบริหารจัดการไม่ให้พนักงานในองค์กรติด COVID-19 ถือเป็นสถานการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับองค์กร เพราะถ้าหากมีพนักงานหนึ่งคนที่ได้รับเชื้อด้วยลักษณะของการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและอัตราการติดต่อกันง่ายของเชื้อไวรัสจะส่งผลให้พนักงานคนอื่น ๆ ในบริษัทกลายเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงไปด้วย ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องใส่ใจในเรื่องสุขภาพ และความปลอดภัยจากโรค
นอกจากนี้หลายองค์กรยังได้มีสวัสดิการเพิ่มเติมอย่างการทำประกัน COVID-19 ในกรณีฉุกเฉินให้กับพนักงานด้วย ดังนั้นในช่วงวิกฤตเช่นนี้บริษัทจึงต้องมีการลงทุนสำหรับดูแลพนักงานเป็นพิเศษ รวมถึงความปลอดภัยในสถานที่ทำงานที่จะต้องปลอดโรคและปฏิบัติตามมาตรการของภาครัฐในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสอย่างเคร่งครัด
ย้อนกลับไปในช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ในช่วงแรก ที่หลายองค์รอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับการต้องออกมาตรการให้พนักงานต้องทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) เนื่องด้วยปัจจัยจากการใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก หรือหลายองค์กรอาจจะยังไม่เคยต้องบริหารจัดการแบบระยะไกลมาก่อน
ดังนั้นหลังจากที่ช่วงเวลาของความเปลี่ยนแปลงผ่านไป เมื่อเกิดวิกฤตอย่างการแพร่ระบาดของไวรัสในประเทศไทย จนทำให้ทางรัฐบาลต้องมีมาตรการและขอความร่วมมือให้ทำงานจากบ้านอีกครั้ง ช่วงเวลาที่ผ่านมาจึงได้มีการอบรมให้ความรู้พนักงานในการใช้เครื่องมืออย่างคล่องแคล่ว รวมไปถึงสร้างความคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีด้วย ส่งผลให้การทำงานนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และกระบวนการไม่มีหยุดชะงัก แม้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
จากวิกฤตในครั้งก่อนหน้านี้ที่ SME หลายรายต่างต้องประสบกับปัญหาที่คาดไม่ถึงกับตกอยู่ในสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้นั้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของคนในองค์กรเป็นอย่างมากที่จะมีความกังวล ตั้งข้อสงสัย ซึ่งจะทำให้เกิดการคาดเดาและอาจจะทำให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาดออกไปได้ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อขวัญและกำลังของพนักงานทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขึ้นอีกระลอก ก็อาจจะส่งผลต่อจิตใจของพนักงานเป็นปกติ SME ที่สามารถปรับตัวและรอดมาได้จากวิกฤตครั้งก่อน จึงต้องเรียนรู้ที่จะหาวิธีในการสื่อสารกับพนักงาน สร้างความเข้าใจ และเรียกความเชื่อมั่น ให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนองค์กรต่อไปได้
ในเรื่องของการบริหารจัดการเงิน ถือเป็นหัวใจหลักที่มีความสำคัญกับธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะส่วนใหญ่แล้วมักจะเต็มไปด้วยกระบวนการที่ซับซ้อนมากมาย รวมไปถึงหลายองค์กรมักจะเสียเวลาไปกับการจัดการเรื่องการเงินมากที่สุด ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกแรก ปัญหาส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับกลุ่มธุรกิจในแง่ของการทำธุรกรรมที่ต้องเกิดขึ้นตลอดเวลา จากการที่เทคโนโลยีที่มาอำนวยความสะดวกในด้านนี้ยังไม่ตอบโจทย์ได้ครอบคลุมที่สุด ดังนั้นสถาบันการเงินเองต่างก็ได้มีการพัฒนาโซลูชันเพื่อมาแก้ Pain Points ของกลุ่มลูกค้าธุรกิจที่ต้องประสบภาวะลำบากในการบริหารจัดการเงินเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถลดขั้นตอนและประหยัดเวลาของลูกค้าธุรกิจได้
ดังนั้นหากธุรกิจ SME ต้องการที่จะทำ Digital Transformation ในองค์กรนั้น อะไรก็ตามที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยได้ โดยไม่ต้องลงทุนควรจะต้องปรับและทำทันทีเพื่อที่ให้องค์กรคล่องตัวที่สุด ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของการจ่ายเงินเดือนพนักงาน ธุรกิจ SME ส่วนใหญ่เมื่อถึงรอบที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้พนักงานมักจะใช้วิธีการแบบเดิม ๆ คือไปจัดการที่ธนาคารโดยตรง หรือบ้างก็ใช้อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งในการโอนหลาย ๆ ครั้งเพราะต้องโอนทีละรายการ เนื่องจากฟังก์ชันที่ไม่สามารถรองรับการใช้งานได้อย่างครอบคลุมความต้องการอย่างแท้จริง ลองคิดดูว่าหากมีพนักงาน 100 คนคุณต้องเสียเวลาเท่าไหร่ในการโอนทีละคนกว่าจะสำเร็จ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นขั้นตอนที่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ทั้งสิ้น ที่สำคัญยังต้องมาคอยเสียค่าธรรมเนียมจุกจิกทุกครั้งในการโอน ซึ่งถ้ารวม ๆ ออกมาอาจจะสามารถนำเงินเหล่านั้นไว้เป็นทุนสำรองในยามวิกฤตได้เลยทีเดียว ดังนั้นสำหรับการปรับตัวของ SME หลังจากนี้จำเป็นที่จะต้องมีโซลูชันจากธนาคารที่ตอบโจทย์ได้ตรงจุด อย่างบริการจ่ายเงินเดือนพนักงานผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ทีทีบี บิสสิเนสวัน ซึ่งเป็นบริการดี ๆ จาก ทีทีบี ที่ช่วยให้ SME บริหารจัดการจ่ายเงินเดือนได้สะดวกกว่า ประหยัดกว่า ปลอดภัยกว่า ประหยัดได้ทั้งต้นทุนและเวลาเพื่อช่วยให้บริหารธุรกิจได้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
ซึ่ง Pain Points หลัก ๆ ที่ SME ต้องเผชิญจะหมดไป เพราะบริการจ่ายเงินเดือนพนักงานผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ทีทีบี บิสสิเนสวัน นั้นจะตัดทุกความกังวล ตัดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป โดยสามารถทำรายการโอนจ่ายได้ทีละหลายรายการในครั้งเดียว ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถโอนเงินเดือนเข้าบัญชีพนักงานได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง (บัญชี ทีทีบี) และสะดวกมากยิ่งขึ้นไม่ต้องกลัวลืม เพราะสามารถเลือกโอนเข้าบัญชี ทีทีบี ได้ทันทีหรือโอนโดยกำหนดวันและเวลาล่วงหน้าได้ ที่สำคัญสามารถตรวจสอบรายงานการโอนได้ย้อนหลังนานสูงสุด 12 เดือน นอกจากนี้เจ้าของธุรกิจบางคนอาจจะยังมีความกังวลในเรื่องของความปลอดภัยเมื่อทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ก็ขอให้มั่นใจได้เลยว่า ปลอดภัยเพราะมีรหัสทำธุรกรรม (OTP) หรือ Hard Token ทั้งยังสามารถกำหนดสิทธิ์ผู้ทำรายการ (Maker) และผู้อนุมัติ (Approver) ได้หลายรูปแบบ
และสิ่งสุดท้ายที่พลาดไม่ได้ก็คือ ช่วยตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เพราะ ฟรี ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและตลอดชีพเมื่อสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ทีทีบี บิสสิเนสวัน รวมถึงฟรี ค่าธรรมเนียมการโอนและสามารถโอนเข้าได้หลายธนาคารพร้อมกันเมื่อใช้บริการจ่ายเงินเดือนพนักงาน (แบบไม่มีประกันกลุ่ม) คู่กับบัญชีธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอีวันแบงก์ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นกว่าเดิม
ทั้งนี้การปรับตัวของ SME ที่หันไปบริหารจัดการการเงินด้วยเทคโนโลยี จะช่วยลดขั้นตอน ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้สามารถไปทุ่มเทกับด้านอื่น เพื่อบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตามแม้ว่าหลังจากนี้การแพร่ระบาดของ COVID-19 สิ้นสุดลง ทั่วโลกสามารถฉีดวัคซีนประชากรได้มากพอจนสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวและดำเนินได้อย่างปกติแล้ว แต่ทุกอย่างก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะหลังจากนี้โลกจะอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอนสูง ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ดังนั้น SME เองก็จะต้องเตรียมพร้อมและสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับธุรกิจ เพื่อที่จะพร้อมรับมือและปรับตัวได้กับทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะการปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีที่จะมาช่วยเสริมประสิทธิภาพและลดต้นทุนให้กับธุรกิจ
สำหรับ SME ใดที่อยากจะหลุดจากการใช้บริการธุรกรรมการเงินแบบเดิม ๆ มาใช้ธุรกรรมการเงินที่ง่ายกว่าและตอบโจทย์ครบทุกความต้องการ ด้วยบริการจ่ายเงินเดือนผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ทีทีบี บิสสิเนสวัน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/ttb/ttb-payroll-plus/index.html หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี โทร . 0 2643 7000
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด