โจทย์สำคัญและการสเกลของ Startup จากงาน Huawei Spark Founder Summit 2022 | Techsauce

โจทย์สำคัญและการสเกลของ Startup จากงาน Huawei Spark Founder Summit 2022

ท่ามกลางยุคสมัยที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ถ้าถามว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนวัตกรรมในปัจจุบัน คำตอบคงหนีไม่พ้น “สตาร์ทอัพ (Startup)” ผู้มีบทบาทในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ปัญหาของผู้ใช้งานรวมถึงทำให้ชีวิตของใครหลาย ๆ คนดีขึ้น 

แต่รู้ไหมว่า อะไรคือสิ่งที่ท้าทายและยากที่สุดในการทำสตาร์ทอัพ? 

Leo Jiang ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล กลุ่มธุรกิจคลาวด์ และปัญญาประดิษฐ์ของหัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และผู้ก่อตั้ง The Spark Program ได้กล่าวถึงแง่มุมที่สำคัญเกี่ยวกับ Huawei Spark แพลตฟอร์มที่ช่วยให้การสเกลอัพของเหล่าสตาร์ทอัพรวดเร็วและเติบโตอย่างก้าวกระโดดไปสู่ตลาดโลก ในหัวข้อ “Huawei Spark – the Platform for Tomorrow’s Scale-ups” ณ งาน Huawei Spark Founder Summit 2022 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ในวันที่ 20-21 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งมีองค์กรและสตาร์ทอัพกว่า 1,000 ราย และนักลงทุนอีกกว่า 100 รายเข้าร่วมงาน

“Scale Up” สิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับสตาร์ทอัพ

เป็นที่รู้กันดีว่าการทำสตาร์ทอัพนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งานมากที่สุด และสามารถใช้งานได้จริง จึงมีหลายเรื่องที่ท้าทายในวงการนี้ 

หลายคนอาจจะคิดว่าการแข่งขันในวงการสตาร์ทอัพด้วยกันเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุด แต่ Leo Jiang กล่าวว่า “ความท้าทายที่เป็นสากลที่สุดสำหรับสตาร์ทอัพทุกรายคือการสเกลอัพหรือขยายธุรกิจออกสู่ตลาด” ด้วยเหตุนี้เอง Huawei Spark จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยบ่มเพาะเหล่าสตาร์ทอัพให้สามารถสเกลอัพเติบโตไปอย่างก้าวกระโดดได้อย่างรวดเร็วและเชื่อมต่ออย่างเต็มรูปแบบในโลกแห่งความอัจฉริยะในฐานะเพื่อนและพาร์ทเนอร์ 

Huawei Spark – the Platform for Tomorrow’s Scale-ups

Huawei Spark คือแพลตฟอร์มระดับโลกของ Huawei ที่จะมาช่วยเร่งการเติบโต (Accelerate) ของสตาร์ทอัพทั่วโลก ด้วยเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งเปิดให้ใช้งานทั้งในทวีปเอเซียและลาตินอเมริกาและมีเป้าหมายที่จะเปิดตัวในอีกสามตลาดทั้ง ยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง โดย Leo Jiang ได้กล่าวว่า “ เราได้ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลทั้งฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และประเทศไทย และบริษัทร่วมทุนระดับโลกกว่า 30 แห่ง เพื่อสร้างแพลตฟอร์มนี้ให้รองรับสตาร์ทอัพทั่วโลก” ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา Huawei Spark ได้ช่วยให้เกิดการลงทุนในสตาร์ทอัพกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐในกว่า 100 สตาร์ทอัพ 

Leo Jiang กล่าวว่า “เราไม่สามารถทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้นได้เพียงแค่ข้ามคืน แต่การที่เราได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐบาลและบริษัทร่วมทุนทำให้เรามีวันนี้ ดังคำพูดที่ว่า ไปคนเดียวไปได้ไว แต่ไปด้วยกันไปได้ไกล” 

นอกจากนี้ Huawei Spark ยังได้รับรางวัล “Technology Excellence Award 2022” จากรัฐบาลสิงคโปร์ และจะมีการเปิดตัว Incubation Program ขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคมนี้ โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากรัฐบาลสิงคโปร์อีกด้วย

เจาะลึก 3 สิ่งที่สตาร์ทอัพจะได้รับหลังเข้าร่วมโครงการของ Huawei Spark

ประการแรกในเรื่องของ การเข้าสู่ตลาด (Go to Market) Leo Jiang กล่าวว่า “ Huawei Spark มี Go to Market Program ที่จะช่วยให้เหล่าสตาร์ทอัพเจาะตลาดทั้งในประเทศจีน เอเซียและทั่วโลก ” Huawei Spark จึงได้จัด “Spotfire Program” ขึ้นมา

Leo Jiang ยังได้กล่าวถึงประการที่สอง การทำการค้า (Commercialisation) ไว้ว่า “เราได้สร้าง Spotfire Program ขึ้นมาเพื่อให้ขั้นตอนของการเจรจาค้าขายไปจนถึงการทำ PoC เป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น”

ส่วนประการที่สาม การหาเงินลงทุน (Fundraising) “เราตระหนักว่าในบางช่วงของการทำสตาร์ทอัพต้องใช้เงิน เราจึงได้สร้างเครือข่ายกับ VC และนักลงทุนทั่วโลกเพื่อช่วยให้การลงทุนระหว่างสตาร์ทอัพเองและ VC เป็นไปอย่างราบรื่น” Leo Jiang กล่าว

Spark Ignite อีกหนึ่งโอกาสแห่งการไปสู่ตลาดโลก

นอกจากการมีแพลตฟอร์ม Huawei Spark เพื่อช่วยให้การสเกลอัพของสตาร์ทอัพเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นแล้ว ยังจัดการแข่งขัน “Spark Ignite” เพื่อช่วยสนับสนุนและเร่งยกระดับสตาร์ทอัพสร้างนวัตกรรมชั้นยอดสู่ตลาดโลกขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2020 ซึ่งในปี 2022 มีสตาร์ทอัพจำนวน 1,500 รายจาก 120 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน

ในปีนี้เรายังเริ่มเห็นถึงความหลากหลายมากยิ่งขึ้นในวงการสตาร์ทอัพทั้งในเรื่องของเชื้อชาติ และเพศของผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขัน โดย 10 ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันมากที่สุดได้แก่ อินเดีย ไนจีเรีย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สหราชอณาจักร ปากีสถาน บังกลาเทศ แอลจีเรีย และมาเลเซียตามลำดับ และมีผู้ก่อตั้งเพศหญิงเข้าร่วมการแข่งขัน Spark Ignite 2022 มากขึ้นเกือบสองเท่าจากปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีเพราะมีผู้สนใจวงการสตาร์ทอัพที่หลากหลายทั้งเพศและเชื้อชาตินั่นเอง

Huawei Cloud อีกหนึ่งสุดยอดเทคโนโลยีช่วยเหล่าสถาปนิกแห่งโลกอนาคต

Huawei Cloud เป็นระบบคลาวด์สาธารณะเพียงระบบเดียวที่ให้คุณเข้าถึง Ecosystem ที่แตกต่างกันสองระบบ คือ Huawei DevCloud (Cloud App Ecosystem) สำหรับธุรกิจหรืออุตสาหกรรม และสองคือ HMS core (Consumer & Mobile Devices Ecosystem) 

โดย Leo Jiang กล่าวว่า “ Huawei DevCloud เป็นร้านค้าครบวงจร ใช้แพลตฟอร์ม DevOps ที่มีทุกสิ่งสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ มี solution เดียวตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานซึ่งเปิดให้ใช้งานแล้วในประเทศสิงคโปร์” 

“ส่วน HMS ย่อมาจาก Huawei Mobile Service ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้นักพัฒนาสร้างแอปพลิเคชันที่ดีขึ้น เนื่องจากมี SDK หรือชุดเครื่องมือที่สามารถใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่กำหนดเป้าหมายไปยังแพลตฟอร์มที่เฉพาะเจาะจง ช่วยให้สร้างแอปพลิเคชันได้ในอุปกรณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ แท็บเล็ต นาฬิกา หรือแม้แต่ในรถยนต์” 

“และเมื่อนำสิ่งนี้มารวมกับความสามารถของ Huawei Cloud คุณจะสามารถเผยแพร่แอปพลิเคชันบน Huawei Cloud ได้โดยตรง”

ส่อง 3 สตาร์ทอัพ ผู้เป็น “The Game Changers” จาก Spark Program

3 สตาร์ทอัพ : School Bright, Scantist และ Sentient.io จาก Spark Program ยังได้กล่าวว่า Huawei Spark และ Huawei Cloud ทำให้เขาได้รับการสนับสนุนและโอกาสมากมายจากสมาชิกทั่วโลกซึ่งรวมไปถึงการระดมทุนในระยะเวลาอันสั้น การสร้างพันธมิตร และการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วโลกอีกด้วย

นรินทร์ คูรานา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร School Bright แพลตฟอร์มนำเสนอ solution การจัดการโรงเรียนดิจิทัลที่เชื่อมโยงระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียน ได้กล่าวว่า “ทั่วโลกกำลังพูดถึงแนวคิดของการศึกษาแบบเปิดและแพลตฟอร์มในแง่ของการศึกษาดิจิทัลในประเทศไทย เราใกล้เคียงที่สุดที่จะทำให้แนวคิดในฝันนี้เป็นจริง เพราะฉะนั้น School Bright ไม่ใช่แค่ธุรกิจ แต่เป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวกในสังคม เราจะจับมือกับ Huawei เพื่อเปลี่ยนอุตสาหกรรมการศึกษาไปด้วยกัน”

Liu Yang ผู้ร่วมก่อตั้ง Scantist แพลตฟอร์มให้บริการการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และจัดการช่องโหว่ของ Open Source ให้แก่องค์กร กล่าวว่า “เราสร้าง End-to-End Open Source ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการจัดการความเสี่ยงโดยเริ่มจากผลลัพธ์ซึ่งช่วยให้สามารถเลือกส่วนประกอบ Open Source ที่ดีและปลอดภัยได้ โดยสามารถสแกนช่องโหว่ในแอปพลิเคชันอย่างรวดเร็วและไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยใด ๆ ซึ่ง Spark Program เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เราระดมทุนได้ในเวลาอันสั้น สร้างพันธมิตร และส่งเสริมการขายในภูมิภาคนี้ได้มากยิ่งขึ้น”

Christopher Yeo ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sentient.io สตาร์ทอัพที่นำเสนอโมเดล AI พร้อมใช้งานเพื่อให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์นำเทคโนโลยี AI ไปใช้ได้เร็วขึ้น ได้กล่าวว่า “เราได้สร้างแพลตฟอร์มที่มีอัลกอริธึม และชุดข้อมูลสาธารณะจำนวนมาก อีกทั้งยังมีอัลกอริธึมการฝึกอบรมฟรีเพื่อให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์หรือที่ยังไม่ชำนาญด้าน AI สามารถใช้งาน AI ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยทีม Spark Program ทำให้เขาสามารถเข้าถึงทรัพยากรมากมายที่จำเป็นและยังได้รับโอกาสทางธุรกิจมากมายจากสมาชิกทั่วโลกอีกด้วย”

โอกาสในการสร้างสตาร์ทอัพยูนิคอร์นแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในมุมมองขององค์กร Patrick Cao ประธาน GoTo ซึ่งเป็นบริการขนส่งแบบออนดีมานด์ อีคอมเมิร์ซ การจัดส่งอาหาร และโลจิสติกส์ ตลอดจนบริการทางการเงิน กล่าวว่า “ฉันคิดว่ามีโอกาสอีกมากสำหรับการสร้างสตาร์ทอัพไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตามในภูมิภาค คุณมีฐานลูกค้าที่มีคุณค่าที่กำลังมองหาผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และหรือโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ เพราะฉะนั้นแม้จะต้องผ่านการเดินทางที่ยากลำบาก แต่ถ้าคุณมีความฝัน มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน และมีภารกิจที่น่าทึ่ง คุณก็รู้ว่าไม่มีอะไรหยุดคุณได้”

Zhang Yutong กรรมการผู้จัดการ GSR Ventures ได้กล่าวถึงโอกาสของสตาร์ทอัพในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในแง่ของนักลงทุนว่า “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วย 10 ประเทศที่มี GDP รวมกันถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้นหากเราคิดเกี่ยวกับภูมิภาคนี้เป็นประเทศเดียว นั่นจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก 5 แห่ง รองจากสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเยอรมนีใน GDP ที่เติบโตเร็วกว่าประเทศข้างต้นทั้งหมด ซึ่งนักลงทุนทั่วโลกต่างก็สนใจ สู่ศักยภาพของภูมิภาคนี้เพราะปกป้องจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สงครามในยุโรป และอื่น ๆ”

เธอยังกล่าวอีกว่ามีธุรกิจ 3 กลุ่มที่น่าจับตามอง ได้แก่ ด้านซอฟต์แวร์ เนื่องจากบริษัทซอฟต์แวร์ในเอเชียมีกลุ่มผู้มีความสามารถด้านวิศวกรรมที่มีทักษะสูงมากในราคาที่ไม่แพง ด้านต่อมาคือ Fintech โดยในอนาคตการบริหารความมั่งคั่ง เทคโนโลยีการประกันภัย การจำนองดิจิทัล Crypto เทคโนโลยีการกำกับดูแลจะเป็นคลื่นลูกต่อไปของ Fintech Unicorn ส่วนด้านสุดท้ายคือ Consumption Upgrade อย่างการ Live Stream ขายของ และการขายปลีกแบบออฟไลน์

ในแง่ของหน่วยงานรัฐบาลประเทศสิงคโปร์ Justin Ang ผู้ช่วยประธานบริหาร Infocomm Media Development Authority (IMDA) ได้กล่าวถึงการสนับสนุนสตาร์ทอัพในสิงคโปร์ว่า “ความพยายามส่วนใหญ่ของเราตอนนี้มุ่งเน้นไปที่วิธีที่เราช่วยให้สตาร์ทอัพเอาชนะอุปสรรคในระยะเริ่มต้น ซึ่งก็คือการเข้าถึงความต้องการ การเข้าถึงเงินทุน และการปรับปรุงคุณภาพของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับโลก โดยมีโปรแกรมอย่าง Spark Program ที่ช่วยในการบ่มเพาะสตาร์ทอัพโดยเฉพาะอีกด้วย”

Muhammad Neil El Himam รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งอินโดนีเซีย ได้กล่าวถึงโอกาสสำหรับสตาร์ทอัพในประเทศว่า “ เราเป็นหมู่เกาะ ประเทศที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากมายและมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแอ่งน้ำ ทำให้ประชาชนเหมือนอยู่คนละเกาะ และสิ่งเหล่านี้สร้างปัญหาในด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ การเงินการธนาคาร ซึ่งเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับสตาร์ทอัพที่มีความกระตือรือร้นจริง ๆ ที่จะทำแก้ปัญหาเหล่านั้น และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราในฐานะรัฐบาลจึงพยายามส่งเสริมสตาร์ทอัพ”

สำหรับสนับสนุนสตาร์ทอัพในประเทศไทย คุณกษมา กองสมัคร ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และความมั่นคง (Digital Policy and Security) แห่งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Promotion Agency หรือ DEPA) กล่าวว่า “สตาร์ทอัพของประเทศไทยในตอนนี้ยังมีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับสิงคโปร์และอินโดนีเซีย เราสนับสนุนและช่วยเหลือสตาร์ทอัพในช่วงระยะแรกเริ่มโดยส่งเสริมการศึกษา เงินทุนสนับสนุน และจัดโปรแกรมที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยพัฒนาพวกเขาจนกระทั่งพวกเขาเติบโตขึ้นเป็นสตาร์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งบทบาทของ DEPA คือการส่งเสริมสตาร์ทอัพที่อยู่ในระดับเริ่มต้นเพื่อช่วยเขาพัฒนาจนเป็นที่ต้องการของ VC เพื่อระดมทุนในการพัฒนาต่อไป ”

ในการสร้างสตาร์ทอัพขึ้นมา เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเราไม่สามารถเดินไปเพียงคนเดียวได้ อย่างที่ Leo Jiang ได้กล่าวไว้ว่า

“คุณคือสถาปนิกแห่งโลกอนาคต แต่สถาปนิกที่ดีที่สุดก็ต้องการคนที่จะมาช่วยเหลือและสนับสนุนพวกเขาเช่นกัน”


บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...