เทคโนโลยีกับการช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของโลกอย่างรวดเร็ว | Techsauce

เทคโนโลยีกับการช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของโลกอย่างรวดเร็ว

โดย ฟิลิปป์ เดอลอร์ม รองประธานกรรมการบริหาร ด้านการบริหารจัดการพลังงาน, Schneider Electric

เรากำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่ง เพราะปัจจุบันสิ่งที่คนบนโลกส่วนใหญ่ล้วนเห็นชัดเจนเหมือนกันคือ โลกเรากำลังเสื่อมถอยลงซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งหากเราไม่รีบดำเนินการอย่างรวดเร็วในตอนนี้ เพื่อฟื้นฟูความเป็นสีเขียวให้กลับคืนมา โลกและชีวิตทั้งหลายบนโลกใบนี้ก็จะถูกทำลายลงอย่างกู่ไม่กลับด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

แม้ว่าจะมีความคืบหน้าให้เห็นอยู่บ้าง แต่เราก็ยังห่างไกลจากแนวทางในการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น การทำลายล้างทั้งสภาพความเป็นอยู่และชีวิตต่างๆ กำลังเกิดขึ้นด้วยเหตุการณ์ด้านสภาพอากาศที่เลวร้ายที่เกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ ทั้งน้ำท่วม อากาศหนาวจัด คลื่นความร้อนและพายุ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือภัยคุกคามครั้งใหญ่ที่สุดที่มนุษย์เคยพบเห็นมา ซึ่งหากปราศจากการดำเนินการแก้ไขอย่างทันท่วงที โลกก็จะร้อนขึ้น 4.1 – 4.8 องศาเซลเซียสภายในสิ้นศตวรรษนี้

มอบผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงในเวลาที่กำหนด

ด้วยเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เราจำต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินการและโซลูชันที่สร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้ ในเวลาที่สั้นที่สุด อีกทั้งสร้างศักยภาพในระบบเศรษฐกิจเพื่อฟื้นฟูและก้าวต่อไปได้ การดำเนินการที่ว่าคือ

  • กำจัดของเสียตลอดวงจรชีวิต
  • เร่งนำระบบไฟฟ้ามาใช้เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่ช่วยกำจัดก๊าซเรือนกระจก
  • ลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลและทักษะต่างๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพ
  • ส่งเสริมความร่วมมือกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อดำเนินตามแผนฟื้นฟูหลังโควิด

การกำจัดของเสียตลอดวงจรชีวิตเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศคือปัญหาด้านพลังงานที่สำคัญสุดเป็นอันดับหนึ่ง เพราะ พลังงานมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกถึง 80 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเราพยายามที่จะเปลี่ยนโลกไปสู่การขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่เร็วที่สุดในการหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการกำจัดของเสีย 

มีเพียงหนึ่งในสามของพลังงานที่ผลิตได้ทั้งหมด ที่จะถูกแปลงเป็นพลังงานที่มีประโยชน์ไว้ใช้ในภาคขนส่ง อุตสาหกรรม อาคาร และอุปกรณ์ต่างๆ ส่วนที่เหลือคือพลังงานที่สูญหายไปหรือเสียไปกับกระบวนการผลิตและการส่งต่อ เมื่อพูดถึงอาหารและแฟชั่นเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของเราของเสีย ขยะพลาสติก ของเสียมักจะถูกมองข้ามและถูกด้อยค่าในส่วนของแผนงานและการลงทุนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะลดลงไปได้ครึ่งหนึ่งหากสามารถกำจัดพลังงานที่สูญหายและของเสียได้

เทคโนโลยีมีอยู่แล้ว ที่จะช่วยแก้ปัญหาท้าทายต่างๆ และเพื่อให้ก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว

การกำจัดของเสีย อย่างแรกคือเราต้องรู้ว่าทำไมจึงเกิดของเสีย เกิดที่จุดไหนและเกิดขึ้นได้อย่างไร เราสามารถวัดการใช้พลังงานได้อย่างแม่นยำด้วยเซนเซอร์ มิเตอร์ และการมอนิเตอร์ โดยสามารถนำซอฟต์แวร์มาใช้ในการออกแบบ บริหารจัดการและช่วยให้ใช้พลังงานได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะมีแสงสว่าง ความร้อนและพลังงานในที่ๆ ต้องการและในเวลาที่ต้องการ รวมถึงประหยัดพลังงานได้ในเวลาที่ไม่ได้ใช้งาน ไม่ว่าสัดส่วนการผสมผสานพลังงานสะอาดจะเป็นอย่างไรก็ตาม ไฟฟ้าก็ยังคงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับการกำจัดก๊าซเรือนกระจก ในขณะที่ระบบดิจิทัลจะช่วยให้เราติดตามและตรวจสอบการใช้พลังงานเพื่อกำจัดของเสีย

การใช้แนวทางแบบองค์รวมทำให้เราเห็นถึงโอกาสมหาศาลในการรับมือและช่วยไม่ให้เกิดของเสียตลอดทั่วทั้งวงจรชีวิตของอาคารต่างๆ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงอุตสาหกรรมทั้งหลาย การออกแบบที่ฉลาดยิ่งขึ้นตั้งแต่แรกเริ่มด้วยการใช้เครื่องมือจำลองสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงการใช้วิธีการก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพและการจัดหาวัสดุในพื้นที่หรือวัสดุแบบที่นำกลับมาใช้ซ้ำให้มากขึ้น ดำเนินการในไซต์งานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งบังคับใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นแนวทางปฏิบัติที่ใช้ได้เห็นผลในปัจจุบันและควรนำมาใช้งานอย่างครอบคลุม

ซอฟต์แวร์และพลังงานสีเขียวแบบกระจายศูนย์ช่วยสร้างประสิทธิภาพ

การปล่อยของเสียที่เป็นมลพิษจากการผลิตไฟฟ้าจากถ่านฟอสซิลและการเดินทางระยะไกลของพลังงานที่มาจากกริดจนถูกนำไปใช้นับเป็นสัดส่วนใหญ่ของพลังงานที่สูญหาย ดังนั้นพลังงานหมุนเวียนไม่ใช่แค่เป็นแหล่งพลังงานสะอาดเท่านั้น แต่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะให้ประสิทธิภาพได้มากกว่า และสามารถอยู่ใกล้กับจุดที่มีการใช้งานได้มากขึ้น ช่วยลดการสูญหายของพลังงานเพราะอยู่ใกล้แหล่งใช้งาน

กริดพลังงานอัจฉริยะที่กระจายศูนย์และไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจะกลายเป็นหัวใจของการปฏิรูปสู่ net zero ผนวกกับการใช้ซอฟต์แวร์มาช่วยสร้างศักยภาพและทำให้มีความเสถียร ซึ่งจะทำให้มีการผลิตและใช้พลังงานในพื้นที่ได้ในราคาที่ย่อมเยามากขึ้น ประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญโดยอย่างยิ่งสำหรับอาคารต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุด และจะกลายเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากเราเห็นว่ามีการติดตั้งไมโครกริดที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานลมและแสงอาทิตย์มากขึ้น การนำยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EVs มาใช้ ล้วนเป็นการขับเคลื่อนไปสู่บ้านและสำนักงาน net zero ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ดังนั้นดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของเศรษฐกิจดิจิทัล ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าช่วยกำจัดก๊าซเรือนกระจกในทันทีได้อย่างไร เราต้องลงทุนในโซลูชันที่มีอยู่แล้วเพื่อฟื้นฟูความเขียวให้กลับมาในขณะที่เรายังคงดำเนินรอยตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง

ทำไมไฟฟ้าถึงเป็นแหล่งพลังงานที่ดีที่สุดสำหรับอนาคตที่สะอาด?

ในการแข่งกับเวลา ไฟฟ้าคือแนวทางที่ให้ความคุ้มค่ามากที่สุด ปลอดภัยที่สุด และเร็วที่สุดในการกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากสังคมที่เราอยู่ จากมุมมองที่นำมาปฏิบัติได้จริงของโลกที่พัฒนาแล้ว หมายความว่าการกระจายไฟฟ้านั้นมีอยู่แล้ว การนำพลังงานเชื้อเพลิงที่เป็นทางเลือกมาใช้ตามบ้านเรือน สำนักงานและพื้นที่สาธารณะต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมนั้นต้องอาศัยเวลานานนับทศวรรษ เป็นเวลาหลายปีที่เราจะยังไม่เห็นว่ามีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากพลังงานถ่านหินที่เรายังต้องพึ่งพาในการให้ความร้อนและป้อนให้กับประชาชน

ในขณะที่ไฟฟ้าอาจจะยังไม่ใช่คำตอบของทุกความท้าทาย (อุตสาหกรรมหนัก การเดินทางระยะไกล) แต่ก็เป็นแหล่งพลังงานที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าถูกผลิตมาอย่างสะอาด ในราคาถูก พร้อมกับการลงทุนอย่างต่อเนื่องในพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานไฮโดรเจน

ปัจจุบัน ยังมีเรื่องที่พูดกันอยู่เยอะเกี่ยวกับความต้องการที่จะหา “โซลูชันที่ตอบโจทย์ได้ทุกอย่าง” เพื่อมาแก้โจทย์ท้าทายเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และเปลี่ยนความเสียหายที่เราเผชิญกันอยู่ให้กลับสู่สภาพที่ดีดังเดิม ในขณะที่ผู้คนตั้งความหวังไว้ที่ไทม์แมชชีน ผมเชื่อว่าโซลูชันที่ตอบโจทย์ได้ทุกสิ่งจริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่เสียเวลาและควรเลิกคิด ไฟฟ้าซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดสามารถตอบโจทย์การใช้งานส่วนใหญ่ได้ นั่นคือสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญกันในตอนนี้

ความร่วมมือกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนคือใบเบิกทาง

หน่วยงานรัฐบาลทั่วโลกต้องมั่นใจว่าได้ทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อช่วยองค์กรธุรกิจและผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้ทางเลือกสีเขียว และเมื่อหน่วยงานเหล่านี้ดำเนินการเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด เราก็จะมีโอกาสที่นานทีจะเกิดสักครั้งในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศไปพร้อมกับการสร้างศักยภาพในฟื้นฟูความเป็นสีเขียวให้กลับคืนมาได้ อย่างไรก็ตาม เราต้องดำเนินการอย่างรับผิดชอบด้วยความรวดเร็ว ลงทุนในโซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยปรับปรุงวิถีการใช้ชีวิตได้ดีขึ้น ช่วยให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานได้และยกระดับไปสู่การมีบทบาทในสนามเมื่อมีโอกาส

การพิจารณาถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับบริษัทที่มีเงินทุนไม่มากในการลงทุนแหล่งพลังงานหมุนเวียน ตัวอย่างเช่น เจ้าของอาคารควรมีบทบาทในการรับผิดชอบเรื่องการสร้างประสิทธิภาพให้กับผู้เช่า เรื่องนี้จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินการและประสิทธิภาพสำหรับทั้งอาคารที่สร้างใหม่และที่ปรับปรุงใหม่ ซึ่งเป็นการแข่งขันด้านคาร์บอนที่ผู้เป็นเจ้าของอาคารจะต้องมองหากันมากยิ่งขึ้นเพื่อทำให้บ้านหรือที่ทำงานมีความดึงดูดใจมากขึ้น  

การนำดิจิทัลมาช่วยสร้างศักยภาพ จะทำให้องค์กรธุรกิจสามารถเริ่มดำเนินการตอบสนองหนึ่งในแนวคิด ESG ที่ท้าทายที่สุด นั่งคือการติดตามและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่เป็น Scope 3 เช่นการขนส่งและการกระจายสินค้า  บรรดาองค์กรอย่าง Walmart ได้สร้างพลังงานหมุนเวียนที่ช่วยให้ซัพพลายเออร์เข้าถึงได้มากขึ้น ช่วยเร่งการกำจัดก๊าซเรือนกระจกในระบบนิเวศได้ครอบคลุมมากขึ้น ความเคลื่อนไหวนี้คือส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นพยายามใน Project Gigaton ของผู้ประกอบการค้าปลีกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในซัพพลายเชนให้ได้หนึ่งพันล้านเมตริกตันภายในปี 2030

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘KBTG Techtopia: A BLAST FROM THE FUTURE' ชวนท่องโลกเทคโนโลยีสุดล้ำ ไปกับรถไฟสายพิเศษ

เผยความพิเศษของ 'KBTG Techtopia: A BLAST FROM THE FUTURE' 1 Day Event แห่งปี 2024 กับการโชว์เทคสุดล้ำ, Speakers มากกว่า 50 คน มาแชร์ความรู้และเทรนด์ใหม่ๆ ผ่าน 3 เวทีใหญ่ และเวิร์กช...

Responsive image

จากเทคโนโลยี AI สู่ IA เพื่อมนุษย์ ในมุมมองของ “Pattie Maes”

เทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาชีวิตได้อย่างไร? มาดูแนวคิดในการออกแบบและทดสอบอุปกรณ์ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไปกับคุณ Pattie Maes นักวิจ...

Responsive image

สนามบินคันไซ 30 ปีไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย ตั้งแต่เปิดให้บริการตั้งแต่ 1994 จนปัจจุบัน

30 ปีไม่มีพลาด สนามบินนานาชาติคันไซของญี่ปุ่นรักษาสถิติ ‘ไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย’ เลยสักครั้ง นับตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 1994 จวบจนปัจจุบัน...