3 สาว 3 สไตล์ แนวคิดผู้ประกอบการหญิงคนเก่งบนเส้นทางสตาร์ทอัพ | Techsauce

3 สาว 3 สไตล์ แนวคิดผู้ประกอบการหญิงคนเก่งบนเส้นทางสตาร์ทอัพ

เชื่อหรือไม่ว่า จากสถิติของสมาคม VC ไทย พบว่า “ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ” หรือ Startup Founders ในประเทศไทยในปี 2016 มีผู้หญิงเพียง 6.7% เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยมาก  เส้นทางการทำงานในสายสตาร์ทอัพนี้อาจจะยังมีผู้หญิงอยู่ไม่มากนัก แต่เราก็มีโอกาสได้พบปะพวกเธออยู่บ้าง เพราะมีหลายคนที่เคยมาร่วมงาน Techsauce Summit 2016 ของเราในบทบาทต่างๆ ซึ่งแต่ละคนก็ทำให้เราประทับใจในความสวย ความสามารถ และพลังอันเหลือล้น จนอยากจะมาแชร์แนวคิดแบบผู้ประกอบการ 3 สาวที่เราหยิบมาเล่าให้ฟังในวันนี้ เชื่อว่าพลังความคิดและไลฟ์สไตล์ของพวกเธอน่าจะทำให้ไฟนักธุรกิจในตัวของคุณลุกพรึบขึ้นมาได้เลยล่ะ

แนวคิดในการทำงานของ CEO และ Co-founder สาวเก่ง

women-entrepreneur-jui2คนแรก... คุณจุ๊ย - Co-founder และ COO สาวแห่ง Globish พัฒนาการศึกษาด้วยคอนเซปต์ อังกฤษแนวใหม่ใครๆ ก็พูดได้

คุณจุ๊ย ชื่นชีวัน วงษ์เสรี เริ่มทำ Globish หลังเรียนจบได้ไม่นาน เป็นสถาบันสอนภาษาอังกฤษผ่านสื่อออนไลน์แนวใหม่ที่เน้นให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้ฝึกสื่อสารภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ เพื่อพัฒนาและยกระดับการศึกษาของไทย โดยไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์ของกระทรวงใดๆ ให้ยุ่งยาก  นอกจากเธอจะได้เข้าร่วม Pitch บนเวทีในงานของเราแล้ว ธุรกิจของเธอยังมีดีกรีเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับเงินลงทุนจากรายการ “เสือติดปีก” อีกด้วย

รู้จักตัวเองและเด็ดขาดในการเลือกเส้นทางของตัวเอง - แม้เธอจะเรียนสายศิลป์มาและสอบเข้าคณะอักษรศาสตร์ที่จุฬาฯ แต่เมื่อรู้ตัวเองว่าไม่ใช่ เธอก็ตัดสินใจเปลี่ยนสายไปเรียนที่ธรรมศาสตร์ในด้านการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ และเมื่อเรียนจบมาทำงานบริษัทได้ 4 เดือน แล้วรู้สึกได้ถึง Passion อันแรงกล้าในตัวเองที่อยากจะทำงานด้านการศึกษา เธอก็ลาออกมาทำ Globish ทันที  หลายๆ ครั้งในชีวิต ถ้าไม่ตัดสินใจเด็ดขาดและเชื่อมั่นมากพอ ก็คงไม่สามารถสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้

อยากให้ผู้หญิงกล้าหาญ ลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อตัวเอง - เธอเชื่อว่าผู้หญิงสามารถลุกขึ้นมากำหนดชีวิตและเส้นทางของตัวเองได้ และไม่อยากให้ผู้หญิงเราถูกจำกัดเพราะไม่ได้รับการศึกษาที่ดี หรือต้องอยู่ภายใต้แรงกดดันของสังคมหรือครอบครัวเท่านั้น

women-entrepreneur-bell

คนที่สอง...คุณเบล - CEO สาวแห่ง Freshket แพลตฟอร์มเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรไทย ได้ใจเกษตรกรยุคใหม่

คุณเบล พงษ์ลดา พะเนียงเวทย์ คือ Founder และ CEO สาวมาแรงกับแพลตฟอร์มสำหรับวงการเกษตรไทยที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ผลิตซึ่งก็คือเกษตรกร กับผู้ซื้อหรือบรรดาร้านอาหารต่างๆ ที่ชื่อว่า Freshket  คุณเบลมีประสบการณ์การลงไปลุยงานด้วยตัวเองที่น่าสนใจ  และนอกจากเธอจะคว้ารางวัลชนะเลิศจาก dtac accelerate batch 4 แล้ว เธอยังเป็นผู้ชนะใจกรรมการในการประกวด Pitching Early Stage ในงานของเราด้วย

ความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง – Freshket ก่อตั้งขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะทำให้ราคาสินค้าเกษตรมีความเป็นธรรม ทำให้เกษตรกรได้ราคาขายที่สมเหตุสมผล และไม่ถูกกดราคาเหมือนในอดีต ทำให้เธอมุ่งมั่นและทุ่มเทกับทุกขั้นตอนอย่างจริงจัง โดยค่อยๆ สร้าง Solution ตั้งแต่ฝั่ง Supplier แล้วจับคู่ให้มาเจอกับเกษตรกร จนเกิดเป็นโมเดล Marketplace ที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้โดยตรง

จะสำเร็จได้ ต้องลงไปคลุกคลีกับมันจริงๆ - นอกจากพื้นฐานครอบครัวที่ทำอาชีพเป็นผู้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรแล้ว เธอยังเคยลองทำอาชีพเป็นคนกลางหรือ Supplier ส่งผักสด ซึ่งประสบการณ์ในช่วงนั้นทำให้เธอมองเห็นว่าขั้นตอนการทำงานแบบเดิมๆ นั้นยุ่งยากและไม่มีประสิทธิภาพ จึงได้เกิดไอเดียรวบรวม Supplier จากหลายๆ แหล่ง ทำให้ผู้รับซื้อมีตัวเลือกมากขึ้น และตัวเกษตรกรก็ได้มีช่องทางในการจัดจำหน่ายเพิ่มขึ้นมา

women-entrepreneur-june-tsคนที่สาม...คุณจูน - สาวเก่งจาก Harvard Business School ผู้ก่อตั้ง Grab ในไทย แก้ปัญหาแท็กซี่ที่ทุกคนพบเจอ

และสำหรับคนสุดท้าย เธอเคยมาปรากฏตัวในฐานะกรรมการสาวสวยในการแข่งขัน Pitching ของสตาร์ทอัพเฉพาะผู้หญิงในงานของเรา เธอก็คือ คุณจูน จุฑาศรี คูวินิชกุล ผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจ Grab แอปเรียกแท็กซี่ในไทย โดยเธอเป็นผู้บริหารช่วงแรกจนถึงปี 2558 ที่ผ่านมา และปัจจุบันเป็นผู้ให้คำปรึกษาผ่านทีมบริหาร  ล่าสุดตอนนี้เธอยังบริหาร Holding Company ที่ชื่อ Metta Group ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวไปพร้อมๆ กันด้วย

อย่ากลัวปัญหา เพราะไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ – เธอมองว่างานทุกอย่างและคนทุกคนย่อมมีปัญหา ถ้าคุณมีไอเดียแล้ว ก็ลุยเลย เพียงแค่ทำใจรับทุกปัญหา อย่าลืมว่าเรามีวิธีไปถึงจุดมุ่งหมายได้หลายวิธี เมื่อลองวิธีนี้ไม่ได้ผลก็เปลี่ยน ถ้ายังไม่ได้อีกก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสำเร็จ

อย่าลืมที่จะเรียนรู้เทคนิคในการสื่อสาร - เธอได้เห็นและเรียนรู้มาจากสมัยเรียนว่าศิลปะในการสื่อสารนั้นสำคัญและมีผลต่อการทำธุรกิจมากกว่าที่คิดไว้

“ยิ่งมองในมุมมองของโลกธุรกิจแล้ว เราต้องเจอคนมากมายไม่ว่าจะลูกน้อง ผู้รับจ้างและลูกค้า เราไม่สามารถทำธุรกิจคนเดียวได้ เราจะพิชิตกลยุทธ์ในการสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างไร การจะโน้มน้าวหรือกระตุ้นคนให้มาในทางเดียวกับเราทำได้อย่างไร”

ที่มาจาก Krungsri Guru

คุณจูนยังได้พูดถึงหลักการที่เธอใช้ในการจัดการความคิดอีกมากมาย รวมถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้เรียนรู้จาก Harvard Business School สถาบันที่รายล้อมไปด้วยบรรดาคนเก่ง ซึ่งช่วยให้เธอมีมุมมองในการบริหารจัดการธุรกิจในมือของตัวเองได้ดี อย่างเช่น The Art of Convincing หรือ หลักในการคิดโมเดลธุรกิจ รวมอยู่ในคอนเท้นต์ดีๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับสตาร์ทอัพและผู้ที่สนใจทำธุรกิจอีกหลายๆ คนกับบทความ ออร์แกไนซ์ความคิดอย่างไรให้ชนะ บทเรียนจาก Harvard โดย Krungsri Guru อีกด้วย

women-entrepreneur-grab-krungsri-guru

 หลากหลายแง่มุมของผู้หญิงกับวงการสตาร์ทอัพ

นอกจากแนวความคิดของสาวไทยในฐานะผู้ประกอบการที่น่าสนใจแล้ว ในวงการสตาร์ทอัพต่างประเทศก็มีการเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนผู้หญิงที่ทำสตาร์ทอัพ และยังมีโครงการดีๆ สำหรับผู้หญิงอยู่ไม่น้อย

เราเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับ บริษัทเว็บไซต์แต่งรูปออนไลน์ในต่างประเทศแห่งหนึ่ง ชื่อว่า บริษัท Pic Monkey ที่ออกตัวว่าจะเลือกลงทุนในบริษัทที่มีผู้ร่วมก่อตั้งเป็นผู้หญิงอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติ และสร้างความสมดุลในวงการ เพราะมองว่าบริษัทที่มี CEO เป็นผู้หญิงมักถูกเมินจากนักลงทุน ทำให้พลาดโอกาสต่างๆ ในการพัฒนาธุรกิจไป

500-women

ส่วนเมื่อปี 2015 บริษัท 500 Startups นำโดย CEO หญิงมากมาย เช่น Rashmi Sinha CEO หญิงแห่ง SlideShare ก็เคยวางแผนลงทุนเพิ่มเติมกับสตาร์ทอัพที่มีผู้หญิงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 10% ของบริษัทนั้นๆ โดยมีชื่อโปรเจกต์ว่า 500 Women ซึ่งเป็นการสนับสนุนผู้หญิงด้วยกัน เพื่อลดความกดดันจากสังคมที่มีผู้ชายมากกว่าอย่างซิลิคอนวัลเลย์ โดยภายในระยะเวลา 1 ปี จะลงทุนประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กับสตาร์ทอัพภายกลุ่มของตนจำนวน 10 รายที่มีคุณสมบัติดังกล่าว

นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีการจัดการแข่งขัน Thailand Women Entrepreneurs Startup Competition 2016 โดยความร่วมมือของหลายสถาบันร่วมกับสถานทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย บนเวทีในงาน Techsauce Summit 2016 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งผู้เข้าแข่งขันต้องมีคุณสมบัติเป็น เจ้าของกิจการที่เป็นเพศหญิงเท่านั้น โดยธุรกิจจะต้องเกี่ยวข้องกับไอทีและการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างสร้างสรรค์  ซึ่งผู้ชนะในครั้งนั้นก็คือ คุณจิ๋ว สาวน้อยวัยเพียง 22 ปี ผู้ก่อตั้งบริษัท Techfarm เพื่อผลิตและพัฒนาเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพน้ำ “Len-Nam” สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำนั่นเอง

จากแนวคิดของสาวๆ ที่เราพูดถึง รวมกับกระแสการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับผู้หญิงในวงการผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพทั่วโลก ทำให้เราได้เห็นพลังหญิงรุ่นใหม่ไฟแรงซึ่งมีส่วนในการขับเคลื่อนธุรกิจสตาร์ทอัพ และได้เห็นว่าผู้หญิงสมัยนี้ ไม่ใช่เพียงดูดีจากภายนอกเท่านั้น แต่ยังเก่ง ฉลาด มีความคิด และก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในธุรกิจกันได้อย่างสวยงามด้วย  ทีมงานก็อยากจะสนับสนุนให้สาวๆ ทั้งหลายมีความมั่นใจและสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ต่อไป ซึ่งเราจะคอยเกาะติดข่าวสารและนำมาแนะนำให้รู้จักกันอีกแน่นอน

และนอกเรื่องราวน่าสนใจสไตล์ Life Coach ของคุณจูน สาวเก่งผู้ก่อตั้ง Grab แล้ว ก็ยังสามารถติดตามสาระดีๆ ทั้งด้านการเงิน การลงทุน และอีกมากมายได้ที่  Krungsri Guru โดยธนาคารกรุงศรีได้อีกด้วยค่ะ :)

 

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...