บทสรุป TMA Top Talk 2018: Blockchain และ Digital Currency กับวิวัฒนาการที่ไปไกลกว่า Financial | Techsauce

บทสรุป TMA Top Talk 2018: Blockchain และ Digital Currency กับวิวัฒนาการที่ไปไกลกว่า Financial

หากพูดถึงนวัตกรรมที่ร้อนแรงที่สุดในเวลานี้ คงหนีไม่พ้นเทคโนโลยี Blockchain และ Digital Currency ซึ่งมีผลต่อหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะด้านการเงินที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจและธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทยหรือ CPMG จึงได้เลือก Blockchain และ Digital Currency เป็นเนื้อหาหลักของงานสัมมนา TMA Top Talk ครั้งที่ 1 ประจำปี 2018 ในหัวข้อ “Blockchain and Digital Currency Innovation: Financial Evolution”

โดยงานสัมมนาครั้งนี้ได้คุณโรนัลด์ ทรักเกอร์ (Mr. Ronald M. Trucker) ประธานและผู้ก่อตั้งของ Australian Digital Commerce Association (ADCA) และ Global Blockchain Forum (GBF) ผู้ผลักดันนวัตกรรม Blockchain และ Digital Currency ในประเทศออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาแนะนำและทำความเข้าใจนวัตกรรมนี้อย่างลึกซึ้งพร้อมกับนำเสนอตัวอย่างการใช้งานจริงที่เกิดขึ้น ซึ่ง Techsauce ขอสรุปให้ทุกท่านได้ติดตามกัน

วิวัฒนาการของเงินสู่การเป็น Digital Currency

คุณโรนัลด์ ได้เกริ่นนำถึง Concept ของ Bitcoin และ Blockchain โดยอ้างอิง White Paper ของ Satoshi Nakamoto ว่า Bitcoin เป็นระบบแลกเปลี่ยนอิเล็กทรอนิกแบบ Peer-to-Peer โดยคุณสมบัติหลักคือการกระจายความน่าเชื่อถือจากศูนย์กลาง การทำธุรกรรมไม่จำเป็นต้องขออนุญาตและถูกควบคุมโดยบุคคลที่ 3 จึงคล่องตัวและเปิดกว้างศักยภาพด้านการแลกเปลี่ยนในระยะยาว

การแลกเปลี่ยนเงินเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ เพราะเราค้นพบหลักฐานงานเขียนที่เก่าแก่ที่สุดเป็นบันทึกการแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งเรามีวิวัฒนาการด้านการแลกเปลี่ยนทรัพยากรมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้กระดูก โลหะ กระดาษ บัตรพลาสติก จนการเข้ามาของอินเทอร์เน็ต ทำให้เราแลกเปลี่ยนเงินที่หน่วยเงินบนออนไลน์ไม่สามารถจับต้องได้ เกิดเป็นสิ่งที่ถูกเรียกรวมๆ ว่า Digital Currency

การทำธุรกรรมออนไลน์ที่ต้องพึ่งการเคลมความน่าเชื่อถือจากบุคคลที่ 3 เป็นข้อจำกัดในการพัฒนานวัตกรรมอย่างชัดเจน เพราะธุรกรรมออนไลน์ไม่ได้จำกัดอยู่ที่เงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญอื่นๆ ด้วย อันที่จริงแล้ว Bitcoin ถูกสร้างเพื่อโดยมีแนวคิดกระจายความน่าเชื่อถือหรือ Decentralise concept for Trust เป็นหลัก โดยมีเทคโนโลยี Blockchain เป็นส่วนผลักดันอยู่เบื้องหลัง

การกระจายศูนย์หรือ Decentralise ของ Digital Currency ยังไปไกลกว่าแค่ความน่าเชื่อถือระหว่างมนุษย์ โดยทำให้สิ่งของสามารถทำธุรกรรมได้ไม่ต่างจากคน ทั้งส่วนของการถือครองและแลกเปลี่ยน นี่จึงเป็นคุณสมบัติเด่นที่ทำให้ Digital Currency มีบทบาทในยุค Internet of Thing เช่น ตู้ขายน้ำที่ไม่เพียงแต่รับ Digital Currency เพื่อขายน้ำ แต่ยังสามารถสั่งซื้อสินค้าและจ่ายเงินด้วยตัวเองได้เมื่อสินค้าหมด

ยุคสมัยแห่ง Blockchain เพิ่งเริ่มต้น เหมือน Internet ในปี 1991

จากการนำเสนอของคุณโรนัลด์ ระบุว่า Bitcoin ไม่ได้เป็นเริ่มต้นจากการเป็นเงิน เงินตรา หรือผลิตภัณฑ์ แต่เริ่มต้นจากการเป็นแนวคิดสร้างความน่าเชื่อถือแบบกระจายศูนย์ ดังนั้น Bitcoin จึงสามารถทำได้มากกว่าแค่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอย่างที่เราใช้เงินกันในปัจจุบัน รวมถึง Cryptocurrency อื่นๆ เองก็มีความสามารถมากกว่านั้นเช่นกัน

การใช้ Bitcoin ในฐานะของเงินตราเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น เพราะอันที่จริงภายใน Bitcoin ประกอบด้วยกล่องเปล่าที่สามารถบรรจุข้อมูล 100,000,000 Unit โดยเราสามารถรรจุข้อมูลเพื่อใช้ในธุรกรรมต่างๆ ได้ เช่น การบรรจุข้อมูลตัวเราและรหัสผ่านสำหรับการใช้รถยนต์ ทำให้เมื่อเราจ่าย Bitcoin Unit นั้นให้รถยนต์ ก็จะสามารถใช้รถยนต์นั้นได้ทันที โดยไม่ต้องมีคนเป็นผู้รับรองการใช้เงินของเราแม้แต่น้อย

คน สิ่งของ ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จะสามารถแลกเปลี่ยนระหว่างกันด้วย Cryptocurrency ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง ทุกธุรกรรมของทุกคนบันทึก แก้ไขย้อนหลังไม่ได้ และส่งผ่านอัตโนมัติ สิ่งนี้คือวิสัยทัศน์ของคุณโรนัลด์

แต่อย่างไรก็ตาม ยุคสมัยของการใช้ Blockchain เพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น คุณโรนัลด์เปรียบเหมือนกับการตั้งไข่ของอินเทอร์เน็ตเมื่อปี 1991 ที่ทุกกิจกรรมออนไลน์เวลานั้นมีความยุ่งยาก การส่งอีเมลใช้เวลาเป็นสัปดาห์ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีกระบวนการซับซ้อน ไม่ต่างจาก Blockchain เวลานี้ที่เข้าใจยาก เป็นนามธรรม การทำธุรกรรมบนนวัตกรรมนี้ที่ควรจะรวดเร็วกลับช้าและติดขัด

เมื่อเวลาผ่านไป อินเทอร์เน็ตพัฒนาเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของโลก ธุรกรรมสำคัฯส่วนหนึ่งถูกยกขึ้นไปทำบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งคุณโรนัลด์เชื่อว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับ Blockchain ในอนาคตเช่นกัน

แก้ปัญหาด้านข้อมูลอัตลักษณ์ด้วยคุณสมบัติ Distribution

การประยุกต์ใช้เป็นหน่วยเงินเป็นเพียงประโยชน์ส่วนหนึ่งของ Bitcoin และ Blockchain เท่านั้น เพราะเทคโนโลยีนี้สามารถนำมาใช้จัดเก็บข้อมูลด้านอัตลักษณ์บุคคลได้ ซึ่งมีประโยชน์กับภาคสังคมอย่างมาก

ตัวอย่างแนวคิดการใช้ Blockchain เพื่อเก็บข้อมูลด้านอัตลักษณ์ที่เกิดประโยชน์สูงสุด คือการนำมาใช้เก็บข้อมูลพื้นฐานของประชาชนเพื่อดำเนินธุรกรรมต่างๆ กับรัฐ โดยหน่วยงานรัฐจะนำข้อมูลของประชาชนใส่ไว้ในระบบ Blockchain โดยประชาชนสามารถยืนยันข้อมูลเพื่อทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านลายนิ้วมือจึงมีความปลอดภัยสูง

นอกจากนี้ รัฐยังไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลของประชาชนไว้ที่ศูนย์กลางซึ่งเสี่ยงต่อการเจาะและขโมยข้อมูลจากระบบ เพราะ Blockchain มีคุณสมบัติในการกระจายชุดข้อมูลหรือ Distribution ที่ทุกคนจะถือบัญชีเดียวกันและอัพเดทข้อมูลเหมือนกันทั้งหมด ข้อมูลที่ปลอมแปลงจึงมักผิดแผกไปจากชุดที่ถูกต้องของคนทั้งหมดจึงตรวจสอบได้ง่าย ส่วนตัวข้อมูลยังถูกเข้ารหัสอีกครั้งด้วยวิธีการ Hashing จึงไม่สามารถเข้าถึงแบบผิดวิธีได้โดยง่าย

คุณโรนัลด์กล่าวว่าข้อมูลด้านอัตลักษณ์เป็น Toxic Asset หรือทรัพย์สินที่ถือไว้แล้วก่อผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้น หากรัฐต้องจัดการข้อมูลส่วนนี้ก็เป็นการเสียผลประโยชน์ด้านเวลา ทรัพยากร และบุคลากรอย่างชัดเจน การนำ Blockchain มาใช้เพื่อจัดการข้อมูลด้านอัตลักษณ์จึงมีประสิทธิภาพทั้งด้านความปลอดภัยและการบริหารงานที่ดีขึ้นไปพร้อมกัน

กรณีศึกษาจาก Australia: Startup ด้าน Blockchain กับ Bitcoin และมาตรการที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน

ในฐานะที่เป็นผู้ผลักดันการใช้ Blockchain และ Digital Currency ในออสเตรเลีย คุณโรนัลด์ได้พูดถึง Startup ใน Blockchain Ecosystem รวมถึงมาตรการสนับสนุนที่รัฐบาลออสเตรเลียดำเนินการเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้อย่างเต็มที่

ปัจจุบันในออสเตรเลียมี Startup ที่พัฒนาเทคโนโลยี Blockchain ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมหลาย ซึ่งคุณโรนัลด์ยกตัวอย่างไว้ดังนี้

  • Uproov ผู้พัฒนานวัตกรรม Timestamp แบบ Real Time สำหรับ Digital Asset ช่วยยืนยันความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน Digital อย่างแม่นยำผ่าน Blockchain
  • Agridigital ผู้พัฒนา Blockchain สำหรับ Supply Chain ภาคการเกษตร ช่วยให้งานของเกษตรกรง่ายขึ้น
  • Air Pocket แอปพลิเคชั่นทางการเงินที่ช่วยให้ทำธุรกรรมโดยไม่ต้องผ่านคนกลางด้วย Blockchain
  • Civic Ledger แอปพลิเคชั่นจัดการธุรกรรมด้านสาธารณูปโภคของเมืองและท้องถิ่นที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ด้วยบัญชีแบบ Distribution
  • Power Ledger Platform ซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานแบบ Peer-to-Peer เน้นที่พลังงานทดแทนเป็นหลัก โดยมี Liquidity ที่สูงด้วยการใช้ Cryptocurrency

สำหรับการสนับสนุนของประเทศออสเตรเลียในเบื้องต้นเกิดมาจากการที่รัฐบาลอยากหาวิธีเก็บภาษีที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยขึ้น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ซึ่ง Blockchain เป็นหนึ่งในทางเลือกที่รัฐบาลออสเตรเลียศึกษา และสนับสนุนให้ทดลองใช้ในภาคส่วนต่างๆ แต่กระนั้น การรับเทคโนโลยีมาใช้ต้องอาศัยการปรับตัว และการปรับตัวต้องใช้เวลา คุณโรนัลด์กล่าวว่าการทำให้คนๆ หนึ่งเข้าใจเป็นเรื่องง่าย แต่การปรับความคิดองค์กรหรือหน่วยงานทั้งหมดที่มีคนทำงานอยู่ราว 50,000 คนอย่างหน่วยงานรัฐฯ หรือภาคธนาคารให้เข้าใจตรงกันนั้นเป็นความท้าทายอย่างมาก

เมื่อถามถึงสถานการณ์ในเอเชียแปซิฟิก คุณโรนัลด์ให้ความเห็นว่า ภูมิภาคนี้มีตัวอย่างการใช้งาน Blockchain ที่หลากหลายแล้วในปัจจุบัน ไม่ว่าจะระบบ Payment ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนหรือสิงคโปร์ ดังนั้น ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ รวมถึงไทยสามารถนำตัวอย่างการใช้งานเหล่านี้มาเรียนรู้และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละประเทศได้ง่ายกว่า ซึ่งตอนนี้ประเทศฟิลิปปินส์ก็เตรียมจัดตั้งหน่วยงานด้าน Blockchain ระดับชาติเพื่อหาทางใช้เทคโนโลยีนี้ในประเทศแล้ว

คุณโรนัลด์ได้ทิ้งท้ายด้วยคำพูดของ Steve Jobs ที่ว่า “It’s not a faith in technology, it’s a faith in people.”  ซึ่งหมายความถึงนวัตกรรมจาก Blockchain จะเติบโตจากการศรัทธาในประโยชน์ของผู้คน ไม่ใช่ศรัทธาที่มีในตัวเทคโนโลยี นับเป็นการปิดท้ายงานที่ทำให้เห็นถึงแนวทางที่เราจะพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain ในอนาคตที่ดีไม่น้อยเลยทีเดียว

ขอขอบคุณสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...