True 5G Tech Talk : ยกระดับการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำด้วยเทคโนโลยี 5G | Techsauce

True 5G Tech Talk : ยกระดับการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำด้วยเทคโนโลยี 5G

True 5G จัดสัมมนา 5G พลิกโฉมประเทศไทย True 5G Tech Talk ครั้งที่ 2 หัวข้อ Education หรือการศึกษา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยร่วมกับ Huawei ASEAN Academy และ Techsauce  เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ ดร. เดวิด กาลิเปอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท SDGx, ผู้อำนวยการบริษัท Yunus Center Future lab  คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารบริษัท StartDee และ                    ดร.เนตรชนก วิภาตะศิลปิน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านความเป็นเลิศทางธุรกิจและการศึกษา บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมพูดคุยถึงอนาคตของการศึกษาไทยในยุคที่เทคโนโลยี 5G จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับวงการการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร. เดวิด กาลิเปอร์ ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดจากวิกฤต COVID-19 รวมถึงให้มุมมองเกี่ยวกับอนาคตของการศึกษาไทยโดยเชื่อมกับเทคโนโลยี 5G ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของเทคโนโลยี 5G ที่จะเข้ามาช่วยเหลือ และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องของความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาการศึกษา 

อนาคตการศึกษา The Future of Education is Already Here

          ดร. เดวิด ได้แชร์มุมมองเกี่ยวกับอนาคตของการศึกษาไทย  โดยเชื่อมกับเทคโนโลยี 5G รวมถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดจากวิกฤต COVID-19   ระบบการศึกษากำลังประสบปัญหาครั้งใหญ่จากการแพร่ระบาดของไวรัส และนักเรียนทุกคนก็จำเป็นต้องเรียนออนไลน์ จากสถานการณ์นี้ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เข้ามาเสริมภาคการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ต่อไปได้ ทั้งปัญญาประดิษฐ์ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลทางปัญญา รวมถึงการประมวลผลแบบคลาวด์

เราอยู่ในจุดที่ต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วยในระบบการศึกษาแล้ว และไม่ใช่เรื่องในอนาคตอีกต่อไป การศึกษาจะไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่นักเรียน  นักศึกษา แต่รวมไปถึงวัยทำงานและคนทั่วไปที่ต้องการจะเพิ่มทักษะ ทำให้เรื่องของการศึกษาเป็นภาพที่ใหญ่และกว้างมาก 

สิ่งที่เรียกว่า new normal ไม่ได้เพิ่งเกิดในยุคนี้ แต่เป็นการปรับตัวตามยุคสมัยที่มีมาตั้งนานแล้ว คือวิวัฒนาการของระบบอินเทอร์เน็ตที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตในแต่ละยุคสมัยจนปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตมากขึ้น หลายคนอาจมองว่าเทคโนโลยีทำให้งานน้อยลง แต่จริง ๆ แล้วเทคโนโลยีอาจกำลังสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพที่มากขึ้น เพราะทำให้กระบวนการต่าง ๆ ง่ายขึ้น  

สิ่งสำคัญ คือ การปรับตัวของมนุษย์ เพราะไม่ใช่แค่เทคโนโลยีเท่านั้นที่มีทักษะที่ซับซ้อน แต่มนุษย์ก็ควรมีทักษะหลากหลาย เพื่อจะเรียนรู้และรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือ การพัฒนาตัวเอง  ทั้งในแง่ของการศึกษา และทักษะอื่น ๆ ของคนวัยทำงาน เพราะการเรียนรู้เป็นหนึ่งใน life-long-mission ของทุกคน   มิฉะนั้นในอนาคตก็อาจจะเป็นในแบบที่หลายคนกลัว คือ เทคโนโลยีพัฒนามากจนกลายเป็นหุ่นยนต์ที่ทำได้ทุกอย่าง ในทางกลับกัน มนุษย์ไม่พัฒนาอะไร และมีจำนวนน้อยลงทุกวัน

การเปลี่ยนแปลงในมิติของหลักสูตรการศึกษา

ในอดีตอาจมีวิธีการเรียนรู้แบบหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานและเหมาะสำหรับทุกคน แต่ปัจจุบันไม่ใช่ทุกหลักสูตรที่จะเหมาะสมกับการเรียนรู้ของทุกคน ทุกคนควรมีโอกาสที่จะเรียนรู้ทักษะที่เหมาะกับตัวเอง เพราะฉะนั้นภาคการศึกษาควรเพิ่มความยืดหยุ่นและความคล่องตัวให้มากขึ้น 

เช่น Startup สาย EdTech ที่เติบโตจนได้ ยูนิคอร์นอย่างรวดเร็วจนน่าประหลาดใจ บริษัทเหล่านี้ มีจุดสังเกตที่คล้ายกันคือ มีบุคลากรจำนวนไม่มาก และไม่ได้มีทรัพยากรมหาศาลอย่างองค์กรใหญ่ ๆ แต่มีการปรับตัวที่คล่องแคล่วทำให้เกิดการ scale up ได้ง่าย

การเปลี่ยนแปลงของคนในยุคดิจิทัลเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนต่างๆของร่างกาย

●   สมอง แน่นอนว่ายุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อประสบการณ์การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน คนสมัยใหม่อย่าง Gen X และ Gen Y ต้องมีความคล่องตัวในเรื่องเทคโนโลยีมากกว่าคนในยุคสมัยเดิม

●   หัวใจ   แต่ละคนมีความรักในการปรับตัว ชื่นชอบที่จะได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่แปลกใหม่และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่แตกต่าง 

●   มือ  เปรียบได้กับความใจร้อน มือไว ต้องการอะไรที่รวดเร็ว ทำให้เราเห็นบริการที่รวดเร็วอย่าง online logistics กันมากขึ้นในยุคนี้ 

●   ขา เทียบกับความภักดีของผู้ใช้บริการ หรือการสร้าง customer’s loyalty ในแง่ของการตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่จะวิ่งหนีไปได้อย่างรวดเร็วหากไม่มีการบริการที่ตอบโจทย์

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว ถ้าเรายังไม่เริ่มปรับตัวตอนนี้ อาจสายเกินไป

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ วิธีการในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดเทคโนโลยีอย่าง 5G ซึ่งจะเข้ามาส่งเสริมในทุก ๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหุ่นยนต์ในอนาคต รวมไปถึง smart city และการพัฒนาการศึกษาที่จะช่วยเอื้อให้การเรียนออนไลน์เป็นไปได้สะดวก สนุก และล้ำหน้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเรียนรู้แบบ on demand            ที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา โมเดลใหม่นี้จะเป็นการปรับเปลี่ยนตามต้องการโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และในส่วนของการเรียนรู้สำหรับผู้คนที่มีความต้องการพิเศษก็จะเป็นไปได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และยังสามารถสร้างหุ่นยนต์ 5G ที่คอยช่วยเหลือผู้พิการในแต่ละการเรียนรู้อีกด้วย

ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการศึกษา 

ดร.เดวิด  มองว่า  ญี่ปุ่น  เป็นประเทศที่มีความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีอยู่แล้ว การนำเทคโนโลยีมาใช้ในส่วนของการศึกษาจึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ และ สิงคโปร์ ด้วยความที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ทำให้การใช้ WiFi หรือใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลายได้ไม่ยากนัก สำหรับ ประเทศไทย มีแนวโน้มการพัฒนาที่ดี เห็นได้จากนักเรียนจำนวนมากขวนขวายหาความรู้ทาง YouTube ถือเป็นตัวอย่างในการเรียนรู้ด้วยตนเอง หากมีการร่วมมือขององค์กรใหญ่อย่างทรูที่เข้ามาพัฒนา 5G ก็จะเกิดการเติบโตได้ไม่ยาก

การปฏิสัมพันธ์ที่หายไปเมื่อต้องเรียนออนไลน์ 

ทางแก้ไขที่เป็นไปได้คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน เช่น การใส่แว่นตาแบบ VR ที่ช่วยให้เห็นห้องเรียนแบบเสมือนจริง เพื่อเรียนในห้องวิทยาศาสตร์และจับหลอดทดลองได้จริงๆ ก็จะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีไปอีกแบบ 

รูปแบบของการเรียนรู้แบบเฉพาะบุคคล 

นักเรียนแต่ละคนสามารถเสิร์ช google ระหว่างเรียนได้ ถือเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง การเรียนรู้แบบโต้ตอบได้ของครูกับนักเรียนน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดในสถานการณ์นี้ ซึ่งการวัดผลของการเรียนรู้ดังกล่าว ก็คือการใช้ระบบ AI มาคอยทดสอบ อาจทำกิจกรรมผ่านการเล่นเกมส์ หรือทำควิซเพื่อมองหาช่องว่างจากการสอน ทั้งในระหว่างการสอนและหลังการสอน ไม่ต้องรอให้ถึงการสอบปลายภาคเพื่อประเมินผล

ดร.เดวิด มองว่า 5G คือพื้นฐานของทุกอย่าง และการเรียนรู้ไม่ใช่แค่เรื่องที่จบในโรงเรียน ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ และ 5G จะทำให้เกิดสิ่งนั้น ซึ่งการเรียนรู้ของทุกคนก็ขึ้นอยู่กับการสอนของผู้สอนด้วย ดังนั้น 5G จึงเป็นการปฏิสัมพันธ์แบบ 2 ทางที่จะสร้างพื้นที่ให้ทุกคนสามารถยกระดับและเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงใน              5 ปีนี้

ในช่วงเสวนาที่หยิบยกประเด็นอนาคตของการศึกษาที่มีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี 5G  โดยคุณพริษฐ์ วัชรสินธุ และ ดร.เนตรชนก วิภาตะศิลปิน ได้ให้มุมมองในประเด็นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและปัญหาการศึกษาอื่นๆ ด้วยเทคโนโลยี 5G ไว้อย่างน่าสนใจ

Landscape Sector ที่น่าสนใจของ EdTech ในไทย

ดร. เนตรชนก พูดถึงภาพรวม EdTech ในประเทศไทย พบว่า นวัตกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ live-long-learning และเพิ่มช่องทางการเรียนรู้มากกว่าในห้องเรียน ยกตัวอย่างเช่น data-driven culture ที่ธุรกิจมากมายต้องการนำข้อมูลมาขับเคลื่อนธุรกิจ หรือแม้แต่ประเมินสถานการณ์ ในขณะเดียวกันการศึกษาต้องมีการประเมินผลการเรียน เพื่อดูว่านักเรียนควรจะเพิ่มเติมอะไร และอีกเรื่องคือ virtual ทั้ง VR, AR,MR ที่สร้างสถานการณ์จำลอง โลกเสมือนจริงที่มาอยู่ใกล้ตัว  และยังเหมาะกับสถานการณ์โควิดในปัจจุบันด้วย

5G คือ สัญญาณความเร็วสูงที่จะช่วยเรื่องการเชื่อมต่อในด้านการศึกษา แยกเป็น 2 ประเด็น คือ  Remote Learning ที่ทำให้ความรู้กระจายไปในพื้นที่ห่างไกลได้มากขึ้น และ การพัฒนาเรื่องคอนเทนต์  เพราะการเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น การสร้างแรงบันดาลใจต่าง ๆ ก็ดีขึ้นเช่นกัน เช่น  ทรู ได้นำเทคโนโลยีช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่ห่างไกล โดยการเปิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ติดตั้งสัญญาณ 5G , VR 5G smart handset และมีบุคลากรอย่าง ICT Talent เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้และดูแลส่วนที่สำคัญที่สุดอย่าง ‘กระบวนการใช้’ ให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมอบกระบวนการการใช้ที่ดี  ใช้ให้ถูกต้อง ใช้ให้เกิดประโยชน์  อย่าง ICT Talent  ที่จะไปคอยดูแลให้ทุกๆ ส่วน เพราะสุดท้ายการนำไปใช้ก็สำคัญที่สุด

คุณพริษฐ์ มองว่า  EdTech ในภาพรวม แบ่งภูมิทัศน์เป็น 2 แกน คือ what และ who รวมทั้งสามารถแบ่งตามจุดประสงค์การเรียนรู้คือ ภาคบังคับ และการเรียนรู้นอกห้องเรียนหรือนอกระบบ อย่างการ upskill และ reskill  โดย 2 แกนนี้ประกอบไปด้วย 4 ประเภท 

  1. การช่วยนักเรียนสำหรับการเรียนตามหลักสูตร 
  2. ช่วยคุณครูตามหลักสูตร 
  3. ช่วยนักเรียนนอกหลักสูตร ที่รวมถึงคนที่ต้องการพัฒนาสกิล 
  4. ส่วนของผู้สอนนอกหลักสูตร 

ทุกส่วนมีแนวโน้มที่จะโตในแวดวง EdTech มากขึ้น แต่ส่วนที่ยังต้องพึ่งการจัดการของกระทรวงศึกษา คือ

การยกระดับของการเรียนรู้ในห้องเรียน เพื่อให้มีความจำเป็นในการหาความรู้จากการเรียนพิเศษลดลง เพราะฉะนั้นส่วนที่เทคโนโลยีจะช่วยเสริมได้มากคือ การเรียนรู้ตามหลักสูตรในห้องเรียน และอีกส่วนก็คือการเรียนรู้นอกหลักสูตร   การเข้าสู่สังคมสูงวัย  เป็นอีกเหตุผลที่ควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาทางการศึกษา

อย่างไรก็ตาม ก่อนลงลึกถึงเทคโนโลยี 5G ต้องมองก่อนว่า อินเทอร์เน็ตคือกุญแจสำคัญสู่การเข้าถึงการเรียนซึ่งเทคโนโลยี 5G มีความเร็วที่มากขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมาช่วยเสริมสร้างจินตนาการใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น

โปรเจกต์ที่สนับสนุนการศึกษาจากเทคโนโลยี

ดร.เนตรชนก  กล่าวว่า องค์กรมีความตั้งใจในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ทั้งโครงการทรู           ปลูกปัญญา และการนำคอนเทนต์ต่าง ๆ ผ่านทรูวิชั่นส์ เพื่อมอบโอกาสให้กับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเกือบ 6,000 โรงเรียนทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชัน TruePookpanya , TruePookpanya channel และ school tour            ที่พยายามลิ้งค์ให้เกิด ecosystem ที่ใกล้ตัวทั้งคุณครูและนักเรียน  รวมถึงโครงการ CONNEXTED ที่ร่วมมือกับภาครัฐที่มียุทธศาสตร์หลัก 5 ข้อ คือ

      1.  transparency หรือความโปร่งใส ไม่ว่าจะใครในสังคมก็สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างทั่วถึง 

      2.   market mechanism หรือกลไกความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม 

       3.  high quality principle and teacher พาผู้สอนเข้าสู่องค์ความรู้อย่างง่ายดาย 

       4.  child centric and curriculum เด็กเป็นศูนย์กลาง 

       5.  digital infrastructure เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ในพื้นที่ต่างจังหวัดที่จะสามารถเข้าถึงคอนเทนต์  

ออนไลน์ได้อย่างทั่วถึง 

คุณพริษฐ์  กล่าวว่า   บริษัทเริ่มต้นจากการที่เป็น Startup ที่ต้องการช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงการศึกษาที่ดี   ที่มีอยู่ 3 กำแพง 

1. คุณภาพการศึกษาไทย ที่ตามหลังประเทศอื่นอยู่ แม้จะมีเวลาในห้องเรียนนานที่สุดประเทศหนึ่ง

2. ความเหลื่อมล้ำ โรงเรียนที่มีชื่อเสียงคนก็จะแห่ไปเรียน แต่โรงเรียนขนาดเล็กกลับขาดแคลนทั้งครูผู้สอน

และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ 

3. การหาความรู้นอกห้องเรียนจากการเรียนพิเศษเมื่อไม่เข้าใจ ทำให้ต้องเสียเงินในส่วนนี้เพิ่ม

      ทั้ง 3 กำแพงนี้  จึงเป็นสิ่งที่ StartDee ต้องการทำลาย เพื่อทำให้การศึกษาที่ดีอยู่ในสมาร์ทโฟน เหมือนเป็น 

netflix ของการศึกษา ทุกอย่างครบทุกหลักสูตรในแอปเดียว พร้อมนำเทคโนโลยี AI มาสร้างความสะดวกในการเรียนรู้ สนุก และยังสามารถประเมินเพื่อปรับรูปแบบแบบ personalized มากขึ้น

มุมมองเรื่องการ monetize ถ้า Startup อยากเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในสาย EdTech 

มีหลายครั้งที่องค์กรทำโมเดลธุรกิจไม่ตรงจนต้องปรับ แล้วกลายเป็นว่าไปโฟกัสการ upskill แทน 

คุณพริษฐ์ กล่าวว่า ถือเป็นโจทย์ที่ค่อนข้างยาก เพราะคนที่เข้ามาทำส่วนนี้ก็ไม่สามารถคิดค่าบริการสูงจึงต้องพยายามเข้าถึงคนให้มากขึ้น ต้องหาสมดุลที่ธุรกิจไปต่อได้และไม่เบี่ยงเบนจากเจตนาเดิม แต่เมื่อสอบถามความต้องการ พบว่าเด็กต้องการสูตรและเคล็ดลับที่ทำให้ได้คะแนนดี ถึงแม้มันจะต้นทุนน้อยและดีกับธุรกิจแต่เราต้องไม่ลืมโฟกัสกับสิ่งที่ต้องการในเบื้องต้น และโมเดลตอนนี้เป็น affordable subscription  ปัจจัยที่สำคัญ อย่างแรกคือ scale คือเข้าถึงคนจำนวนมากได้หรือไม่ และปัจจัยที่สองคือการ renew ซึ่งเป็นการวัดความพึงพอใจจากการใช้งาน

มาตรฐานการสอนของครู ทั้งเรื่องความรู้และการ interact ในการใช้เทคโนโลยี

ดร.เนตรชนก มองว่า  บุคลากรครูสำคัญมากอยู่แล้ว สิ่งสำคัญสุดคือการมอบอุปกรณ์ เพื่อให้เกิดการใช้เวลาน้อยที่สุดแต่ได้ประโยชน์มาก

คุณพริษฐ์ กล่าวว่า  ครูจากหลายแห่งต้องประสบกับปัญหาในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสอน จึงควรมีการ upskill และสร้างความเข้าใจว่าการสอนออนไลน์ไม่เหมือนห้องเรียน และโจทย์ต่อมา คือหลังจากนี้ จะแบ่งบทบาทครูกับเทคโนโลยียังไง เพื่อให้ครูทำสิ่งที่เทคโนโลยีทำได้น้อยลง และทำในสิ่งที่เทคโนโลยีทำไม่ได้มากขึ้น อีกแนวคิดที่ดีก็คือห้องเรียนกลับด้าน คือในการเรียน 1 ชั่วโมงแทนที่จะบรรยายด้านเดียว ก็อัดวิดีโอให้เด็กดูที่บ้าน และใช้เวลานี้ในการทำกิจกรรมที่เอื้อให้มีการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ทำยังไงให้ครูมีเวลากับนักเรียนมากที่สุด และลดเวลาจากการให้เทคโนโลยีมาช่วยในส่วนนี้

ฝากถึงคนที่สนใจอยากนำเทคโนโลยี 5G เข้ามาช่วยในเรื่องการศึกษา

ดร.เนตรชนก กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น เพราะการศึกษาคือหน้าที่ทุกๆคน เรื่อง EdTech ก็เป็นตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตสูงมาก และสุดท้ายเทคโนโลยีก็คือดาบสองคม ต้องมีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จึงจะมีคุณค่าสูงสุด 

คุณพริษฐ์ กล่าวว่า ประเด็นแรกคืออยากให้โฟกัสนักเรียน ไม่ใช่เทคโนโลยี เข้าใจว่าเค้าเจอปัญหาอะไรแล้วนำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาให้ตรงจุด อีกอย่างหนึ่งคืออยากให้ตีความการศึกษาให้กว้าง มองให้เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ ไม่ใช่แค่ตามหลักสูตร ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมที่จะหาความรู้ตลอดเวลา ขี้สงสัย ตั้งคำถาม และใช้เทคโนโลยีหาคำตอบ4

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...