หรือนี่คือคู่แข่งของ AI ? รู้จักปัญญาชีวะคอมพิวเตอร์ชีวภาพจากเซลล์สมองมนุษย์ | Techsauce

หรือนี่คือคู่แข่งของ AI ? รู้จักปัญญาชีวะคอมพิวเตอร์ชีวภาพจากเซลล์สมองมนุษย์

การพัฒนาอย่างรวดเร็วของ AI และการเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น เช่น การวินิจฉัยทางการแพทย์ การใช้เครื่องจักร ในโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ทำให้เกิดประเด็นคำถามว่า มนุษย์จะเอาชนะความสามารถและความฉลาดของมันได้หรือไม่ หรือจะมีเทคโนโลยีแบบไหนที่สามารถทำให้เราอยู่เหนือกว่า


แม้ AI จะสามารถเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์ได้ในบางอย่างแล้วตอนนี้ แต่ถึงอย่างนั้นสมองของมนุษย์ก็ยังมีความหลากหลายมากกว่า AI ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือความคิดสร้างสรรค์ 

ประเด็นนี้จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์จากนานาประเทศ นำโดย มหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ได้ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ของ “ปัญญาชีวะ” (Organoid Intelligence - OI) คอมพิวเตอร์ชีวภาพจากสเต็มเซลล์ของมนุษย์ พร้อมกับสร้างตัวอย่างทดลองขึ้นมาเพื่อนำไปศึกษาและ พัฒนาให้มีศักยภาพเหนือกว่า AI ในอนาคต โดยมีคำอธิบายเกี่ยวกับแผนงานพร้อมรายละเอียดต่างๆ ในนิตยสาร Frontiers in Science

ปัญญาชีวะ (Organoid Intelligence - OI)  คืออะไร

ปัญญาชีวะ (Organoid Intelligence - OI) เป็นเซลล์สมองที่ถูกเพาะเลี้ยงขึ้นมาในห้องปฏิบัติการ แม้ว่าจะไม่ใช่สมองจริง ๆ แต่มันมีโครงสร้างและการทำงานสำคัญที่คล้ายกัน เช่น เซลล์ประสาทและเซลล์สมองส่วนอื่นๆ ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานในการรับรู้ เช่น การเรียนรู้และความจำ

นอกจากนั้น ด้วยการเพาะเลี้ยงในลักษณะ 3 มิติ ทำให้เพิ่มความหนาแน่นของเซลล์ที่เพาะเลี้ยงถึง 1,000 เท่า นั่นหมายความว่าเซลล์ประสาทจะเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้นิ

“ขณะที่คอมพิวเตอร์ที่มีซิลิคอนเป็นพื้นฐาน จะมีความสามารถในเรื่องการคำนวณ แต่สมอง จะเรียนรู้ได้ดีกว่า"

โดยยกตัวอย่างศาสตราจารย์ Thomas Hartung จากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ยกตัวอย่างจาก AlphaGo (AI ที่เอาชนะผู้เล่น Go อันดับหนึ่งของโลกในปี 2017) ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลจาก 160,000 เกม ซึ่งถ้าเป็นมนุษย์เราจะต้องเล่นมันถึงห้าชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลากว่า 175 ปีเพื่อเรียนรู้เกมมากขนาดนี้ 

เขายังให้รายละเอียดอีกว่า “สมองมีการจัดเก็บข้อมูลที่น่าอัศจรรย์ ซึ่งมีความจุกว่า 2,500 TB (เทราไบต์) เรากำลังเข้าถึงขีดจำกัดทางกายภาพของคอมพิวเตอร์แบบซิลิกอน แต่เนื่องจากเราไม่สามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ จำนวนมากลงในชิปขนาดเล็กได้ แต่สมองกลับมีสายใยที่แตกต่างออกไป สมองมีเซลล์ประสาทประมาณ 100 พันล้านเซลล์ที่เชื่อมโยงผ่านจุดเชื่อมต่อกว่า 1,015 จุดมันเป็นความแตกต่างด้านพลังงานอย่าง มหาศาลเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีในปัจจุบันของเรา”

แนวทางการรักษาแห่งอนาคต

ถ้าหากคอมพิวเตอร์ชีวภาพนี้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานได้จริง เทคโนโลยีนี้อาจถูกนำไปรักษา โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสมอง เช่น เราสามารถเปรียบเทียบการก่อตัวของหน่วยความจำในปัญญาชีวะที่ได้จากคนที่มีสุขภาพดีและจากผู้ป่วยอัลไซเมอร์และซ่อมแซม ส่วนที่ขาดไป อีกทั้งยังสามารถใช้ OI เพื่อทดสอบว่าสารบางอย่าง เช่น ยาฆ่าแมลง จะทำให้เกิดปัญหาด้านความจำหรือการเรียนรู้หรือไม่

แม้ว่า OI (Organoid Intelligence)  จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ผลการศึกษาที่เผยแพร่โดย  Dr. Brett Kagan จาก Cortical Labs โดยทีมงานของเขาแสดงให้เห็นว่าการเพาะเลี้ยงเซลล์สมอง แบบปกติสามารถเรียนรู้ที่จะเล่นวิดีโอเกม Pong ได้

อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ชุดนี้ก็ยังมีความกังวลว่า หากเทคโนโลยีปัญญาชีวะมีความรู้สึกนึกคิด แบบมนุษย์ขึ้นมา แบบที่พวกเรากังวลว่า AI จะระลึกได้ว่าตัวเองมีตัวตนและมีความคิด เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรมมากำหนดขอบเขตในการพัฒนาและวิจัยอย่างเหมาะสม 

อ้างอิง : scitechdaily

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดตำรา ESG สำหรับ Startup ไปกับ AIS พลิกโฉมแนวคิดต่ออนาคตธุรกิจความยั่งยืน ที่ไม่เป็นเพียงแค่กระแส

ทำไมบริษัทมากมายต้องให้ความสำคัญกับ ESG ? โดยเฉพาะกลุ่ม Startup และผู้ประกอบการ Tech SME ซึ่งบทความนี้ Techsauce ชวนคุยกับ ดร.ศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการด้าน AIS StartUp...

Responsive image

OpenAI เปิดตัว ChatGPT-4o แรงกว่า ฉลาดกว่า AI ที่เข้าใกล้ความสามารถของมนุษย์ไปอีกขั้น

OpenAI บริษัทผู้สร้าง ChatGPT ประกาศเปิดตัวโมเดลใหม่ล่าสุด ChatGPT-4o ที่เร็วกว่า ฉลาดกว่าเดิม มีความสามารถในการรับรู้และโต้ตอบอย่างเป็นเหตุเป็นผล และเข้าใจอารมณ์มนุษย์...

Responsive image

‘KBTG Techtopia: A BLAST FROM THE FUTURE' ชวนท่องโลกเทคโนโลยีสุดล้ำ ไปกับรถไฟสายพิเศษ

เผยความพิเศษของ 'KBTG Techtopia: A BLAST FROM THE FUTURE' 1 Day Event แห่งปี 2024 กับการโชว์เทคสุดล้ำ, Speakers มากกว่า 50 คน มาแชร์ความรู้และเทรนด์ใหม่ๆ ผ่าน 3 เวทีใหญ่ และเวิร์กช...