Spatial Omics ความก้าวหน้าของนวัตกรรมทางการแพทย์ที่จะทำให้การรักษามะเร็งและโรคอื่นๆง่ายขึ้น เทคโนโลยีนี้ผสมผสานเทคนิคการสร้างภาพขั้นสูงเพื่อสร้างแผนผังกระบวนการทางชีววิทยาในระดับโมเลกุล
หากจะทำความเข้าใจ Spatial Omics ต้องทำความเข้าใจคำว่า Omics ก่อน
คำว่า Omics มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินคำว่า "omne" หมายถึง องค์ประกอบโดยรวม ซึ่งเมื่อถูกนำมาใช้ในทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต นั่นคือการศึกษาสิ่งมีชีวิตทั้งระบบ
โดยศึกษาและวิจัยตั้งแต่ระดับ สารพันธุกรรม (DNA) ,กระบวนการคัดลอกรหัสสารพันธุกรรม (RNA),การแปลรหัสพันธุกรรมออกมาเป็นโปรตีน และยังมีการศึกษาไปจนถึงระดับสารชีวเคมี สารชีวโมเลกุล และสารเมตาบอไลท์ (Metabolite) ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
Spatial Omics เป็นเทคโนโลยีที่สามารถวิเคราะห์เซลล์หรือสิ่งมีชีวิตได้ถึงระดับโมเลกุล นั่นคือส่วนที่ เล็กที่สุดของสสาร พร้อมกับระบุตำแหน่งของเซลล์ภายในเนื้อเยื่อไปจนถึงโครงสร้างของเซลล์ในร่างกาย ดังนั้นเทคโนโลยีนี้จึงเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการทำความเข้าใจกลไกการทำงานของเซลล์ต่างๆ และในร่างกายมนุษย์
เทคโนโลยีนี้กำลังจะเป็นแนวทางใหม่สำหรับการนำไปใช้รักษาโรคต่างๆ อย่างเช่นโรคมะเร็งที่เชื้อมะเร็ง
มีความหลากหลายและซับซ้อนซึ่งส่งผลต่อการดื้อยาทำให้ไม่สามารถรักษาได้ตรงจุด ซึ่งในปัจจุบันมีนักวิจัยกลุ่มหนึ่งค้นพบวิธีการใหม่ในการรักษามะเร็งด้วยการใช้เทคโนโลยีนี้ระบุตำแหน่งในเซลล์มะเร็งและเซลล์ภูมิคุ้มกันทำให้สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาพัฒนายาให้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ในการรักษาโรคได้ดีขึ้นอีกทั้งยังช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง
การใช้เทคโนโลยี Spatial Omics จึงจะเป็นการต่อยอดรูปแบบการรักษาแบบใหม่ในอนาคต
ปัจจุบันบริษัทที่นำเทคโนโลยี Spatial Omics ไปใช้ก็เช่น
มูลค่าตลาดของ Spatial Omics มีมูลค่าตลาดรวม 232.6 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 587.2 ล้านดอลลาร์ในปี 2030
บริษัทภาครัฐและเอกชนต่างเริ่มมองหาโซลูชันใหม่ๆแบบ Spatial Omics ซึ่งคาดว่าตลาดจะมีมูลค่าถึง
1.7 พันล้านดอลลาร์โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 27.3% ในช่วงปี 2022-2028 การเติบโตของตลาดนี้เป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการรวมถึงการเพิ่มขึ้นของ การวิจัยและพัฒนา ในสาขาชีววิทยาและการแพทย์ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับยาและการรักษาใหม่ๆ
แน่นอนว่าเทคโนโลยี Spatial Omics จะมีการเติบโตในอนาคต แต่ก็ยังคงติดปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับการพัฒนาเช่นกัน
อ้างอิง: grandviewresearch, intelligence.weforum, molecular-machines, owkin
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด