ZERO TO ONE by SCG กับการทำ Digital Transformation ที่เน้นการเติบโตจากภายในองค์กร | Techsauce

ZERO TO ONE by SCG กับการทำ Digital Transformation ที่เน้นการเติบโตจากภายในองค์กร

เมื่อคลื่นยักษ์อย่าง Disruption ถาโถมเข้ามาในทุกอุตสาหกรรม หลายองค์กรต่างตื่นตัว และมุ่งให้ความสำคัญกับการหา Solution ที่จะเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้ เราได้เห็นการพูดถึงเรื่องของการทำ Digital Transformation ซึ่งแต่ละองค์กรก็มีวิธีที่แตกต่างกันไป ในส่วนขององค์กรใหญ่อย่าง SCG ล่าสุดก็ได้เผยกลยุทธ์ในการทำ Digital Transformation ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ZERO TO ONE by SCG

ในบทความนี้ Techsauce นั่งคุยกับ คุณวสันต์ ภักดีสัตยพงษ์ Head of DeepTech Innovation and Head of ZERO TO ONE by SCG เพื่อเจาะลึกถึงกระบวนการทำ Internal Startup ที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมจากภายใน ด้วย Startup Studio “ZERO TO ONE by SCG”

จุดเริ่มต้นของ ZERO TO ONE by SCG

คุณวสันต์เล่าว่า ZERO TO ONE by SCG เป็น Startup Studio ที่เกิดขึ้นเพื่อค้นหา New Business หนึ่งในกลยุทธ์ Digital Transformation ของ SCG ซึ่งรับผิดชอบโดย ดร.จาชชัว แพส (อ่านบทสัมภาษณ์ของ ดร.จาชชัว แพส ได้ที่นี่) โดยก่อนที่จะตัดสินใจใช้ชื่อนี้ ทางทีมต้องศึกษาและสำรวจความเป็นไปได้อย่างจริงจังถึง 6 เดือน ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังอยู่นับปีกว่าจะตกผลึกเป็นในรูปแบบของ Startup Studio

บทบาทของคุณวสันต์จะมุ่งเป้าไปที่ Internal Development เพื่อก่อร่างสร้าง New Business โดยเน้นการนำ Digital Technology มาต่อยอด โดยเน้นว่าการทำ Digital Transformation ไม่ได้เป็นแค่การนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่เป็นการมองว่าเมื่อต้องทำธุรกิจ จะนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างไรให้ Scale ได้อย่างรวดเร็วที่สุด ดังนั้น การสร้าง New Business จึงเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และปรับใช้ Process ใหม่ๆ ด้วย

ยกตัวอย่างของ SCG เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่เชี่ยวชาญเรื่อง Operational Efficiency ซึ่งทำให้การบริหารงานและดำเนินธุรกิจราบรื่นมาตลอด แต่หากนำ Operation Efficiency ไปใช้กับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นย่อมเกิดปัญหา เพราะวิธีการนี้เหมาะกับธุรกิจที่ Mature แล้ว ดังนั้น หาก SCG และทีม Digital Transformation ต้องการพัฒนา New Business ก็ต้องตระหนักในเรื่องนี้ โดยต้อง Set Structure ทีมและสร้างพื้นที่ให้ Process ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ โดย Process ที่ SCG มอง คือการนำวิธีการการทำงานแบบ Startup มาใช้

คุณวสันต์กล่าวว่า Startup มักมีคนร่วมงานไม่เยอะ แต่มีความสามารถตอบโจท์ลูกค้าในระดับที่สูง ทำงานอย่างรวดเร็ว ทั้งยังใช้ทรัพยากรน้อย โดยเฉพาะทรัพยากรที่สำคัญที่สุดอย่าง “เวลา” อีกทั้ง Startup ยังรับฟังลูกค้าและทำตามความต้องการอย่างชัดเจน ทำให้ Startup สอดแทรกเข้ามาอยู่ในอุตสาหกรรมได้อย่างที่เห็นกันทุกวันนี้

ด้วยเหตุนี้ คุณวสันต์จึงมองไปถึงการสร้างธุรกิจใหม่ด้วยวิธีการทำงานแบบ Startup โดยเริ่มจากศูนย์ (ZERO) ด้วยการมองหาพื้นที่ที่มี Growth Potential หรือมีปัญหาไหนที่ยังไม่ได้แก้ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้หากเราสามารถสร้างสิ่งใหม่ด้วยเทคโนโลยีก็มีโอกาสไปได้ไกลกว่าเดิม เมื่อเราสามารถระบุได้แล้วว่าเราจะทำในพื้นที่ใดและปัญหาใด จึงค่อย Recruite ผู้เข้าร่วมโครงการผ่านการ Assign บุคลากรในบาง Business Unit เข้ามาช่วย

ดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง ก็พบปัญหาว่า แม้จะมีผู้เข้าร่วมพัฒนา แต่ถ้าผู้เข้าร่วมกลับขาด Passion ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ ปัญหานี้ถือเป็นบทเรียนที่ทำให้คุณวสันต์เปลี่ยนวิธีมาเริ่มโปรแกรมบ่มเพาะ Internal Startup อย่างจริงจังในชื่อ HATCH WALK FLY โดยเป็นการเปิดกว้างให้บุคลากรทุก Business Unit รวมทีมกันมา โดยไม่จำเป็นว่าต้องมาจาก Unit เดียวกัน สิ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการต้องทำคือ “โน้มน้าว” ให้ทีมของคุณวสันต์เชื่อว่าพวกเขามี Passion มากพอ และทำไมพวกเขาถึงเหมาะกับ “ปัญหา” นั้นๆ

ถ้ามีน้องคนไหนที่คิดต่าง เขาก็ต้อง convince พวกเราให้ได้ว่าทำไมเข้าถึงคิดว่าความต่างนี้ เขาจะทำมันได้ ซึ่งถ้าเขาพิสูจน์ว่ามันทำได้ เราก็ยอมให้เขาทดลองทำ

หากเปรียบเทียบกับ Startup นอกองค์กร จะพบว่า Startup นอกองค์กรสามารถวิ่งได้เร็วกว่ามาก เนื่องจากพวกเขามีหน้าที่รับผิดชอบในรูปแบบที่ต่างกันเมื่อเทียบกับคนในองค์กรของเรา ดังนั้น SCG จึงต้องสนับสนุนทรัพยากรบางอย่างเพื่อให้ Internal Startup สามารถวิ่งได้เร็วและไกลกว่า ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย Supplier และลูกค้า ซึ่ง Startup ที่เกิดในนี้จะใช้สิ่งที่ SCG มีเพื่อให้วิ่งได้เร็วทัดเทียมกับภายนอก

กระบวนการ Digital Transformation ที่เริ่มต้นจากภายใน

ในการสร้าง New Business คุณวสันต์ย้ำว่า Process ที่ใช่และ Tools ที่เหมาะสมนั้นคือสิ่งจำเป็น ทั้งนี้ในช่วงเริ่มต้น จะบ่มเพาะให้ Startup เข้าใจความต้องการของลูกค้าจริงๆ อย่าไปยึดติดหรือหลงรัก Solution ของตัวเอง สิ่งที่แต่ละคนคิดอาจไม่ดีที่สุดและจะได้รู้ในวันที่ต้องทำการ Test นอกจากนี้ ยังต้องฝึกความเป็น Entreprenuer ด้วยการตัดสินใจเอง วางแผนเอง โดยทีมจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมและช่วยวาง Guideline ให้ ซึ่ง Startup ต้องบอกให้ได้ว่า OKR ของเขาคือะไร Objective และ Key Resource เป็นอย่างไร สิ่งนี้สำคัญ เพราะเป็นการสอนให้รู้จัก Test and Learn ถ้าเราออกไปหาลูกค้าโดยที่ไม่เปิดใจรับฟังและเข้าใจเขาจริงๆ จะทำให้จุดเริ่มต้นผิด สิ่งที่ทำต่อก็จะเสียเปล่า กว่าจะพบว่ามันไม่ใช่ ก็พัฒนาไปไกลแล้ว

เราบอกกับน้องๆ เสมอว่าอย่า Fall in Love กับ Solution เขาต้องพร้อมจะ Let go มันตลอดเวลา สิ่งที่เขาควรจะยึดไว้คือปัญหาที่ลูกค้ามี ถ้าปัญหามันใหญ่พอเราต้องหาวิธีได้ ไม่จำเป็นว่าสิ่งที่เขาคิดจะดีที่สุด เขาจะไม่รู้เลยจนกว่าจะได้ Test

อีกอย่างคือการให้อำนาจ Startup มีสิทธิ์ตัดสินใจดำเนินการต่างๆ ด้วยตัวเองอย่างที่เขาไม่เคยสัมผัสตอนเป็นพนักงานมาก่อน คุณวสันต์มองว่าสำหรับบริษัทที่ Mature แล้ว การให้สิทธิ์ตัดสินใจกับคนระดับบนเท่านั้นจะช่วยควบคุมเรื่องทุจริต แต่รูปแบบนี้ไม่เหมาะกับ Startup ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เพราะจะทำให้ทุกอย่างช้าไปหมด

เมื่อ Set ทุกอย่างให้เป็นการ Test and Learn สิ่งสำคัญที่ตามมาคือ Environment ของการประเมิน จากเดิมถ้าหากบุคลากรทำงานผิดพลาด Perfomance ไม่ได้ในระดับที่วางเอาไว้ ก็ไม่มีโอกาสได้รับการประเมินที่ดี ซึ่งขัดขวางการเกิด Innovation สิ่งที่คุณวสันต์และทีมทำคือทำให้เกิด Process และ Culture ของ Test and Learn ส่งเสริมให้กล้าคิดกล้าลอง ถ้า Startup สามารถอธิบายได้ว่ากำลังจะทำอะไร ก็จะได้รับความมั่นใจให้ลงมือทำและได้เห็นภาพที่ชัดเจนไปด้วย กระบวนการนี้จะเป็นประสบการณ์ที่สำคัญแม้ว่าบุคลากรที่มาทำจะไม่ได้ผ่านเข้าสู่รอบลึกๆ แต่ก็จะนำ Process ตรงนี้ไปประยุกต์ใช้กับงานเดิมใน SCG ต่อไป

“ทำงานเข้มข้นแบบ VC” สิ่งที่ ZERO TO ONE ได้เรียนรู้

คุณวสันต์มองว่า ZERO TO ONE by SCG ได้เรียนรู้เหมือนกับ Startup Ecosystem ภายนอกที่ Startup จะพบปัญหาคล้ายๆ กัน หลายครั้งที่ Startup ทำ Common Mistake รวมถึงเจอความท้าทายคล้ายๆ กัน ซึ่ง ZERO TO ONE ก็จะรวบรวมบทเรียนตรงนี้มาถ่ายทอดให้กับรุ่นต่อไปเพื่อไม่ให้ผิดพลาดซ้ำอีก การไม่ผิดพลาดในจุดเดิมจะช่วยลดเวลาในการเรียนรู้เพื่อเติบโตให้สั้นลง

นอกจากนี้ การทำงานหลายอย่างที่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ คนคือสิ่งที่สำคัญที่สุด สำคัญกว่าไอเดียหรือแนวคิดใดๆ ซึ่งการจะทำตรงนี้ให้สำเร็จ ทีม ZERO TO ONE by SCG ก็ต้องมีวินัยในการวัดผล เหมือนกับที่ VC มีวินัยในมาตรฐานของเขาเพื่อวัดผล Startup ทีม ZERO TO ONE ก็ต้องมองในสิ่งที่ควรจะเป็นจริงๆ มอง Business Model ของเขาว่าบกพร่องตรงไหนอย่างไร ต้องทำอย่างไรถึงจะดีขึ้น ถ้าคิดว่าถ้า ZERO TO ONE by SCG เป็นเจ้าของเงินจะอยากให้เงินเขาไหม คุณวสันต์ยังกล่าวว่าไม่ช้าหรือเร็ว Internal Startup ที่คิดจะ Scale ก็ต้องเจอความเข้มข้นแบบนี้ ดังนั้น แม้ ZERO TO ONE by SCG จะ Compromise ในเบื้องต้นเพื่อให้ดำเนินการได้รวดเร็ว แต่ก็ต้องมีวินัยในการตรวจสอบที่เข้มข้นควบคู่ไปด้วย

พี่คิดว่า innovation มันมีต้นทุน แต่การที่เราจะสร้าง innovation ให้มัน optimize ได้ มันก็ควรจะต้องมีวินัยที่ VC เขาใช้กัน

ZERO TO ONE กับเป้าหมายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ZERO TO ONE ในฐานะ Startup Studio ก็ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อรองรับการเติบโตของ Startup ในขั้นต่อๆ ไปด้วย โดยเมื่อ Startup ได้รับการบ่มเพาะถึงขั้น FLY ซึ่งเทียบเท่ากับระดับ Seed ทางทีม Addventures by SCG ก็จะเข้ามาช่วยดูความเหมาะสมของการเติบโตตาม Criteria โดย ZERO TO ONE by SCG จะช่วยดูแลและสนับสนุนจน Startup ขึ้นไปถึง Series A คุณวสันต์มองว่า อยากให้ Startup ใน ZERO TO ONE by SCG ได้รับเงินจากนักลงทุนภายนอกด้วย เพราะอยากให้มีส่วนร่วมกับ Ecosystem ของไทยและต่างประเทศจริงๆ อีกทั้งเป็นการดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาร่วมส่งเสริมการเติบโตของ Startup ที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้

ในตอนนี้ คุณวสันต์มองว่ายังเป็นขั้นทดลองอยู่ การที่จะผลักช้างตัวใหญ่ให้เคลื่อนไปข้างหน้าต้องออกแรงเต็มที่ แล้วค่อยมาตั้ง Balance กันใหม่ โดยเฉพาะขั้นที่ Startup จะเข้าสู่ขั้น FLY เราจะให้ Pitch กับ Digital Council ซึ่งเป็นระดับ Top Management ของ SCG ใช้มาตรฐานเดียวกับ Startup ภายนอกที่ต้องการรับเงินระดมทุนจากเรา ถือเป็นการสร้างสถานการณ์การ Raise Fund ให้เกิดขึ้นจริงๆ

ไม่เพียงการร่วมมือกับหน่วยงานภายใน SCG เท่านั้น ZERO TO ONE by SCG ยังมองหาความร่วมมือจากภายนอกองค์กรเพื่อ Contribute ความรู้และทรัพยากรที่มีเพื่อให้ Startup Ecosystem ของไทยโตขึ้น ซึ่งคุณวสันต์กล่าวว่าการมองหาความร่วมมือจากภายนอกองค์กรยังอยู่ในขั้นทดลอง จะเน้นบริษัทที่เกี่ยวข้องและอยู่ใน Value Chain ของ SCG โดยเป้าหมายสำคัญคือส่งเสริมประโยชน์ของทั้ง 2 Party ด้วยบรรยากาศความร่วมมือแบบ Co-Develop บนรูปแบบการทำงานแบบ Startup

คุณวสันต์ทิ้งท้ายเกี่ยวกับการทำ Digital Transformation ว่า Open Innovation หรือการเปิดรับนวัตกรรมจากภายนอกเพียงอย่างเดียวอาจเหมาะกับแผนในระยะสั้นและระยะกลาง แต่การปรับเปลี่ยน Culture ภายในและ Co-Create กับ Partner ที่เหมาะสมจะช่วยตอบโจทย์กับเป้าหมายระยะยาวได้มากกว่า

เราอยากเป็นคนที่เป็นกลไกหลักที่ผลักดันให้เกิด innovation อย่างต่อเนื่อง เราจะทำให้เขามั่นใจว่าถ้าเขามาอยู่กับเรา เราเสี่ยงด้วย แต่ถ้ารอด เราก็ได้ประโยชน์ร่วมกัน

บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...