“นวัตกรรมทำคนเดียวไม่ได้ นวัตกรรมต้องทำร่วมกัน” มาร่วมพิสูจน์แนวทาง และภารกิจหลักจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ (NIA) กับการผลักดันนวัตกรรม รวมถึงการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการขยายเข้าไปในตลาด Southeast Asia
Techsauce ได้รับโอกาสพิเศษในการพูดคุยกับ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ผู้นำทางด้านการขับเคลื่อนนวัตกรรมของประเทศไทย มาดูกันว่า ภารกิจหลักจากสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กับการผลักดันนวัตกรรม รวมถึงการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการขยายเข้าไปในตลาด Southeast Asia
NIA กล่าวถึง ‘ผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม’ บ่อยครั้ง เพื่อสื่อถึง สตาร์ทอัพ หรือ วิสาหกิจเริ่มต้น ซึ่งเป็น Economic Warriors หรือ นักรบสายพันธุ์ใหม่ในด้านเศรษฐกิจ เพราะหากธุรกิจมีการเติบโตมาก ก็จะยิ่งมีอิมแพ็กต่อเศรษฐกิจและสังคมมาก
NIA เป็นองค์การมหาชนที่กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 15 สำหรับความเคลื่อนไหวในช่วงแรก สนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ ด้วยการให้ทุนเพียงอย่างเดียว ต่อมาเห็นว่าการให้ทุนเพียงอย่างเดียวไม่ครบตามวัตถุประสงค์หรือขอบเขตการจัดตั้ง NIA ดังที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การวางนโยบายขับเคลื่อนนวัตกรรม การพัฒนาผู้ประกอบการ การสร้างกลไกทางการเงินเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ การสร้างความตระหนักและการรับรู้เรื่องนวัตกรรม การใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ฯลฯ จึงหันมามาทำสิ่งที่นอกเหนือจากการให้เงินทุน (Non-financial) ไม่ว่าจะเป็น การจัดอีเวนต์ การสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งโดยจัดทำ Startup Thailand League ซึ่งเป็นการส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพให้ขับเคลื่อนต่อไปได้
นอกเหนือจากการสร้างสตาร์ทอัพที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายแล้ว อีกขาที่ NIA ต้องการส่งเสริม คือ ทำให้เอสเอ็มอีมีศักยภาพและสามารถสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้ แต่หากเอสเอ็มอีสร้างไม่ได้ อาจแนะให้เอสเอ็มอีใช้นวัตกรรมหรือบริการของสตาร์ทอัพ เพื่อทำให้ธุรกิจนั้นเติบโตได้ดีขึ้น หรือเป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมได้
เนื่องจากประเทศไทยมีเอสเอ็มอีที่ใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจอยู่น้อย และที่ผ่านมา ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยขับเคลื่อนด้วย บริษัทขนาดใหญ่ (Large Enterprise) แต่หากจะให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้โตมากกว่าที่เป็นอยู่ บริษัทขนาดใหญ่อาจเข้ามาเป็นพี่เลี้ยง (Brotherhood) เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน พัฒนาสินค้าหรือบริการที่มีความเชื่อมโยงกับนวัตกรรมและสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นได้
ด้วยความที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ภายใต้กระทรวง อว. ร่วมทำงานกับบริษัทเอกชนมามาก เมื่อสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจึงนำผลงานวิจัยที่มีอยู่อย่างหลากหลายมาช่วยส่งเสริมให้งานวิจัยในมหาวิทยาลัยสามารถทำได้จริงและ ‘แยกออกมาเป็นธุรกิจ (Spin off)’ ที่สร้างรายได้ให้ได้ และจะกระตุ้นให้มีการทำ Research Utilization มากยิ่งขึ้น
ขอบเขตของอุตสาหกรรมที่ NIA สนับสนุน มี 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ 1) ด้านเกษตรและอาหาร (Agriculture & Food) ที่รวม Food Tech และครอบคลุมถึงเกษตรสมัยใหม่ เช่น เรื่อง Food For The Future เพื่อแก้ปัญหาเรื่องอาหารขาดแคลนในอนาคต 2) ด้านการแพทย์และสุขภาพ (Medical & Healthcare) หลังจากเปิดประเทศก็มีต่างชาติมาใช้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนจำนวนมาก หากนำนวัตกรรมเข้าไปตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้มากก็จะยิ่งสร้างอิมแพ็กในเวทีโลกได้มาก 3) ด้านการท่องเที่ยว (Tourism) จากเดิมที่มีนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวจำนวนมากก็นำมาปรับใช้กับภาคการท่องเที่ยว ร่วมกับการสร้างนวัตกรรมขึ้นใหม่ นอกจากนี้ NIA ยังร่วมมือกับ ททท. และทีเส็บ จัดอีเวนต์หรืองานส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ 4) ด้านการ และ 5) ด้าน
NIA มีภารกิจที่จะทำงานร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ ในการ ‘ให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้านนวัตกรรม’ เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่บ่งบอกว่า ‘นวัตกรรม’ ต้องร่วมกันทำ
ในอนาคต NIA จะประกาศกลไกการให้ทุนในรูปแบบใหม่ เพื่อรองรับสิ่งที่จะมาส่งเสริมการใช้นวัตกรรมหรือทำให้นวัตกรรมเข้าใกล้ตลาด มีการซื้อขายและใช้งานมากยิ่งขึ้น (Commercialization)
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด