“สร้างความยั่งยืนอย่างไร ให้อยู่ในใจคน” โดยคุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP | Techsauce

“สร้างความยั่งยืนอย่างไร ให้อยู่ในใจคน” โดยคุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP

จากการเข้ามาของโรคโควิด-19 กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศก็ต้องดำเนินต่อไปและปัญหาใหญ่ที่สุดที่ต้องเจอร่วมกันนั้นก็คือเรื่องของสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ร่วมพูดคุยกับคุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP ที่จะมาพูดถึงการสร้างความยั่งยืนผ่านความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนและการส่งต่อโลกที่น่าอยู่ให้กับคนรุ่นต่อไป

การกระทำของเราส่งผลต่อบางสิ่งบางอย่างที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งไม่ได้ทําได้เพียงแค่คนใดคนหนึ่งแต่ต้องทำร่วมกันทุกคน กลุ่มธุรกิจ TCP ได้มองถึงความยั่งยืนและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาตลอดระยะเวลากว่า 66 ปี โดยแบ่งออกเป็น 4 มิติ เรื่องแรก Product Excellence ซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานที่สำคัญที่สุด เรื่องต่อมาคือ Circular Economy, Low Carbon Economy,  และ Water Sustainability  เพื่อจะตอบโจทย์ว่าจะเดินทางไปพร้อมกับการสร้างความยั่งยืนให้กับโลก สังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรและจะเริ่มต้นเดินหน้าทำธุรกิจไปพร้อมกับความยั่งยืนในทุก ๆ ขั้นตอนของการทำธุรกิจอย่างไรได้บ้าง

เป้าหมายเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ยากและท้าทายแต่สิ่งสำคัญที่สุดคือวิธีคิดที่จะไปสู่จุดหมายนี้ให้ได้ ทุกวันนี้โจทย์และบริบทที่เปลี่ยนไปทำให้การบรรลุเป้าหมายที่ยั่งยืนมีความยากลำบากมากขึ้นไม่เพียงแต่เฉพาะประเทศไทย แต่ยังรวมถึงทั้งโลก ซึ่งการจะเดินทางไปถึงเป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกันนั้นประกอบด้วยสามสิ่ง นั่นก็คือ 1. ความร่วมมือ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ภาควิชาการ การสนับสนุนด้านข้อกฎหมายหรือการเจรจาระดับประเทศจากภาครัฐ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการวิจัยในประเทศให้มากขึ้น ข้อที่ 2. คือเรื่องของการแบ่งปันองค์ความรู้ด้านความยั่งยืนรวมทั้งทรัพยากร โดยสามารถแบ่งปันบทเรียนที่ดีให้กับองค์กรอื่น ๆ ได้ ซึ่งหากมีความร่วมมือกันและการแบ่งปันองค์ความรู้ รวมถึงทรัพยากรที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมก็จะทำให้การเติบโตไปด้วยกันสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อทำงานร่วมกันจะสร้างประโยชน์ มีการลดต้นทุนร่วมกันตลอดทั้งซัพพลายเชนได้ ถือเป็นประโยชน์กับทั้งธุรกิจและสิ่งแวดล้อม

การเริ่มปรับตัวและกำหนดเป้าหมายที่ทำได้จริง และลงมือปฏิบัติ ถือเป็นความท้าทายที่ยากจะสำเร็จได้ เมื่อต้องการจะบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน การให้ความรู้ประกอบกับการทำให้เห็นจริงจึงอาจจะเป็นอีกหนทาง ที่จะทำให้คนทั่วไปและพนักงานภายในเกิดการตระหนักถึงการทำเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การนำแนวคิดเรื่องของความยั่งยืนฝังเข้าไปในแผนงานธุรกิจและทำให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการทำงานของพนักงานทุกคน ถือเป็นหัวใจหลักของการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ นอกจากนี้ยังได้มีการเปิดรับแนวคิดและการทำงานร่วมกับ Startup รุ่นใหม่ที่ทำธุรกิจด้านความยั่งยืนด้วย

“สิ่งที่สำคัญสำหรับคนรุ่นใหม่ก็คือ  Skill  ในการเรียนรู้”

กลุ่มธุรกิจ TCP เชื่อว่าการเข้าถึงการศึกษาคือคำตอบของการแก้ปัญหาด้านความยากจนและความเหลื่อมล้ำ การทำให้คนทั้งโลกสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน ซึ่งเกี่ยวพันถึงเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะแก้ได้ต้องอาศัยเทคโนโลยี ส่วนอีกปัญหาที่ทางกลุ่มธุรกิจ TCP ให้ความสำคัญมากก็คือเรื่องของการจัดการขยะพลาสติก จากสถิติระบุว่าปีที่แล้วมีปริมาณพลาสติกไหลเข้าสู่มหาสมุทร 17 ล้านตัน ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภค กลุ่มธุรกิจ TCP จึงได้เริ่มทำงานร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature – IUCN) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน 

ในเรื่องของ Product Excellence ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์จนถึงขั้นตอนการผลิตกลุ่มธุรกิจ  TCP ตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2567 บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดจะสามารถรีไซเคิลได้ 100% รวมทั้งตั้งเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) จากทุกกระบวนการทำงานทั้งธุรกิจในประเทศไทยและต่างประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2593 และอีกเรื่องสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยตั้งเป้าคืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติและชุมชนให้มากกว่าน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต (Net Water Positive) ภายในปีพ.ศ. 2573 

สุดท้าย คุณสราวุฒิ ฝากถึงทุกคนอยากให้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม โดยขอให้มองเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องทำร่วมกันในทุกวัน และทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการก่อให้เกิดขยะ การแยกขยะ รวมถึงการเดินทางด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งล้วนมีผลต่อสร้างมลพิษทางอากาศ การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน และการเลือกซื้อสินค้าที่มีการสนับสนุนด้านความยั่งยืน เพราะทุกอย่างที่เราทำล้วนมีผลตอ่การสร้างความยั่งยืนในอนาคต และเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องส่งต่อโลกใบนี้ให้กับคนในอนาคต และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกันทำจึงจะสำเร็จได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ท่องเที่ยวไทยมีดี แต่ SME ยังไม่พร้อม ?

ธุรกิจท่องเที่ยวจะปรับตัวยังไง เมื่อเจอความท้าทายรุมล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ การรับมือธุรกิจจีนที่เข้ามารุกตลาด และการสร้างบริการท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์นักเดินทาง...

Responsive image

ทำไม CATL ถึงเป็นแบตรถ EV ที่ทั่วโลกต้องใช้

CATL จากผู้ที่เคยบอกว่าสร้างแบต EV ไม่ได้ สู่ราชาแบตเตอรี่ EV เบอร์ 1 ของโลก แถมยังเป็นแบตเตอรี่ที่ Tesla, BMW, Mercedes-Benz เลือกใช้ พวกเขาทำได้อย่างไร ?...

Responsive image

นวัตกรรมที่เริ่มจาก ‘การให้โอกาส’ เผยกลยุทธ์สร้างคนฉบับ BANPU

‘การให้โอกาส’ เผยกลยุทธ์สร้างคนฉบับ BANPU...