10 ขั้นตอนสู่ Corporate Innovation ในองค์กร | Techsauce

10 ขั้นตอนสู่ Corporate Innovation ในองค์กร

ปัจจุบัน นวัตกรรมองค์กรมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว จะเห็นได้ว่าแม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ก็ยังร่วมมือกับ Startup เปิด Innovation Lab ร่วมกับ Accelerator ต่างๆ ซึ่งใครๆ ก็อยากทำให้ Startup เติบโตเร็ว และมีการปฏิรูปใหม่ๆ อยู่เสมอ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า การจะทำเลียนแบบเป็นสิ่งที่ยาก เพราะในบริษัทมักมีกฏระเบียบมากมาย มีระบบการจัดการที่ซับซ้อน ซึ่งคุณก็รู้ว่า เหตุผลก็คือ กังวลด้านกำไรกันทั้งนั้น

shutterstock_173113388-1_1600x904

การที่จะนำนวัตกรรมใหม่ๆ ใส่ไปในองค์กรที่ขนาดใหญ่ โครงสร้างซับซ้อนนั้น ต้องอาศัยกลยุทธ์ที่ดี และความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะได้ผล ซึ่งต้องอาศัยการลองทำ

การหา Business value จากการทำ Innovation lab มันไม่ง่าย องค์กรที่สำเร็จด้านนวัตกรรมต้องมีความตั้งใจจริงในการวางแผน และทำตามอย่างเคร่งครัด

ผู้เขียนได้ร่างกลยุทธ์เกี่ยวกับการร่วมมือในบริษัทในการปฏิรูปด้านนวัตกรรมองค์กร โดยเป็น 10 ขั้นตอนขององค์กรที่ควรเตรียมพร้อมเพื่อที่จะเริ่มการสร้างนวัตกรรมองค์กรที่ดี

ซึ่งการทำตามขั้นตอนที่กล่าวมานี้จะทำให้หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมจะมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถสร้างกลยุทธ์ที่ดี และผลักดันให้แล็บนวัตกรรมกลายเป็นสิ่งที่มีค่าและกลายเป็นผู้นำในที่สุด

1. จ้างผู้อำนวยการแล็บ จากภายนอกบริษัท

สิ่งที่ควรทำอย่างแรกคือ พยายามทำไอเดียให้เกิดขึ้นจริงให้ได้ ซึ่งหากไม่ทำแบบนั้นแล็บของคุณจะเต็มไปด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีแต่ไอเดีย หรือกลายเป็นเพียงแค่ห้องเก็บไอเดียที่ไม่เคยใช้ได้จริง สิ่งนี้จำเป็นต้องมีคนนอกองค์กรเข้ามาช่วยทำให้เกิดแรงผลักดัน

2. จ้างทีมที่แตกต่าง

องค์กรที่มีอายุเก่ามากๆ สัก 100 ปี จะต้องเรียนรู้ว่า Startup ทำยังไงถึงสามารถจ้าง Talent ไปทำงานด้วยได้ จากนั้นก็หาให้ได้ว่าสิ่งใดที่ Startup ไม่สามารถให้ได้ ซึ่งเป็นโอกาสของบริษัทใหญ่ในการให้ Offer ที่แตกต่าง เช่น การระบุถึง "โอกาสที่จะเข้ามาขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลง บริษัทมูลค่าหลายพันล้านเหรียญ" , "โบนัส และเงินเดือนที่น่าดึงดูดใจ" เป็นต้น

3. ประเมินความพร้อมด้านนวัตกรรมในองค์กร

การประเมินเป็นหนึ่งในหลักการที่จำเป็นสำหรับกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมที่ดี โดยการประเมินความพร้อมด้านนวัตกรรมในองค์กร องค์กรควรกำหนดตัวแปรที่ใช้วัดความสำเร็จของนวัตกรรมที่สร้างขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ควรรมองหาแผนกในองค์กรที่น่าจะเป็นแผนกแรกที่เริ่มใช้นวัตกรรมใหม่อันนี้ และแผนกที่อาจจะต้องรอเวลาที่เหมาะสมเสียก่อน

4. ตั้งคณะกรรมการด้านนวัตกรรม

การที่จะทำให้ทีมงานทำงานในแต่ละวันนั้น ควรตั้งคณะกรรมการด้านนวัตกรรมเพื่อที่จะควบคุมดูแลภาพรวมทั้งหมดและทำให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินการขององค์กรเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น คุณจะต้องจัดการทุกอย่าง ตั้งแต่ด้านการจัดการและกลยุทธ์ รวมถึงการช่วยเหลือในการแปลงสภาพนวัตกรรมให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์จริงๆ และทำให้เป็นตัวอย่าง ซึ่งคณะกรรมการนวัตกรรมควรมีความสามารถในการจัดหาทรัพยากร เครื่องมือที่จำเป็นที่จะทำให้องค์กรสามารถเติบโตได้เร็ว อีกทั้งยังสามารถลดระบบพิธีการหรือระบบบริษัทที่ซับซ้อนลงที่อาจจะกระทบโครงการนวัตกรรมได้

5. ปรับตัวเข้าสู่ Ecosystem

พยายามเข้าไปเกี่ยวข้องกับอีเวนต์นอกบริษัท คุณควรเป็นที่รู้จักใน Ecosystem การสปอนเซอร์อีเวนต์ที่เหล่านักสร้างสรรค์นวัตกรรมรวมตัวกัน ร่วมมือกับองค์กรอื่นเพื่อที่จะได้ความชำนาญมากขึ้น ร่วมมือกับ Startup ดึงตัวคุณเองไปในที่ๆ คนอื่นไม่คาดหวังว่าคุณจะอยู่ตรงนั้น และเรียนรู้ประสบการณ์นั้นให้ดี

6. สร้างภาษาที่เป็นสากล

เมื่อใดก็ตามที่ทีมนวัตกรรมคุยกันเกี่ยวกับการบริหารที่องค์กรใหญ่ๆ คำพูดหรือประโยคบางอย่างอาจมีหลายความหมาย ทีมนวัตกรรมอาจจะสร้างแอปพลิเคชั่นขึ้นก็ได้ แค่มันอาจจะเป็นแค่ Prototype เพื่อการทดลอง ทีมบริหารมักไม่มีประสบการณ์กับ Prototype และคิดว่า Prototype คือตัวที่เสร็จแล้วเพราะมันดูดี ดังนั้น คุณควรทำให้ฝ่ายอื่นมั่นใจว่า ในขั้นตอนการทำงานวนซ้ำของเรา มี Common Language ที่สร้างไว้สำหรับจำกัดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น

7. เริ่มสร้างขั้นตอนการวนซ้ำ (Repeatable process)

บริษัทใหญ่ๆ เชื่อมั่นในระบบขั้นตอนวนซ้ำ และฝ่ายนวัตกรรมก็ควรทำงานแบบวนซ้ำเช่นเดียวกัน เหมือนกับจิตรกรที่อาศัยการสร้างสรรค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในขั้นตอนเดิมๆ ซึ่งบริษัทควรทำเช่นนี้เช่นเดียวกัน มิฉะนั้นแล้วบริษัทของคุณก็จะเสี่ยงกับการทำงานแบบครั้งเดียวที่อาจจะผิดพลาดได้ ขั้นตอนควรก่อให้เกิดไอเดียและแนวทางที่จะทำ Prototype เพื่อเอาไปทดสอบ และท้ายที่สุดควรจะหาทุนไว้สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการในอนาคต

8. ลองสิ่งใหม่ๆ แม้ว่ามันอาจจะไม่เพอร์เฟกต์

นวัตกรรมจะไม่เกิดขึ้นเพราะคุณมีคนที่ฉลาดที่สุด แต่มันจะเกิดขึ้นเพราะคุณทดลองมัน ทดสอบกับลูกค้า และเชื่อฟังข้อมูล โดยการสร้าง MVP (Minimum Viable Product) แล็บนวัตกรรมสามารถทดสอบผลิตภัณฑ์ รับคำติชมและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ไปพร้อมๆ กัน MVP จะมี Feature ที่น้อยแต่จะแก้ปัญหาที่ลูกค้าต้อการจริงๆ ซึ่งลดต้นทุนและความเสี่ยงไปได้มาก

9. รับฟังไอเดียมากๆ จากทุกๆ ที่

ไอเดียจะมาจากที่ใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ผู้ถือผลประโยชน์ หุ้นส่วน ผู้บริหาร แม้กระทั่งพนักงาน

สิ่งสำคัญคือจำเป็นต้องมีแผนที่จะประเมินค่าไอเดีย และประเมินทีมที่ทำ Prototype ซึ่งหากไอเดียของคุณเป็นไอเดียที่ดี แต่ไม่มีที่ไป ก็เท่ากับว่าคุณกำลังฆ่าไอเดียคุณเองเช่นเดียวกัน

10. เล่าสิ่งดีๆ ออกมาเพื่อให้คนอื่นสนใจนวัตกรรมของเรา

การเริ่มต้นด้านนวัตกรรมที่พิสูจน์ถึงสิ่งที่พยายามในการหาเงินทุน คุณอาจจะพบวิธีรักษามะเร็ง แต่ถ้าคุณไม่ยอมบอกวิธีกับใคร ก็จะไม่มีใครสนับสนุนความพยายามของเรา สื่อสารเกี่ยวกับนวัตกรรมขององค์กรที่ดีทั้งภายในและภายนอก แชร์ผลลัพธ์จากแล็บที่จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ และอธิบายว่าเป้าหมายของคุณจะไปรวมอยู่กับเป้าหมายบริษัทอย่างไร

นวัตกรรมองค์กรที่สำเร็จนั้นจำเป็นจะต้องวางแผนอย่างละเอียดอ่อน โดยให้สมดุลระหว่างการวางแผนที่รอบคอบและการปรับตัวที่ดี การวางแผนและเตรียมตัวนั้นสำคัญ แต่การบริหารและความสามารถในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญกว่า เพราะมันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี ใส่ใจกับมัน ให้เวลาและให้ความตั้งใจมากๆ เพื่อที่จะสร้างทีมที่ดี และให้ผลลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว

ที่มา: venturebeat

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...