แรงบันดาลใจด้านการเรียนรู้เทคโนโลยีของคนรุ่นใหม่จะเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนา tech ecosystem ในประเทศไทย | Techsauce

แรงบันดาลใจด้านการเรียนรู้เทคโนโลยีของคนรุ่นใหม่จะเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนา tech ecosystem ในประเทศไทย

โดย ดร.จอห์น มิลลาร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเชิงกลุยทธ์ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

อนันดาได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา tech ecosystem มาเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้วในประเทศไทย โดยจะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทยมีการเติบโตของระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

อีกทั้งในด้านบุคคลกรที่จะเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาประเทศ ในปีหนึ่งประเทศไทยสามารถผลิตบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากระดับมหาวิทยาลัยออกมากว่า 115,000 คน และในตลาดแรงงานเรามีคนทำงานประมาณ 20 ล้านคนทั้งประเทศ และมีประชากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีกว่า 1 ล้านคน ในแต่ละปีเรามีการเกิดขึ้นของ startup เป็นจำนวนมาก แต่ unicorn กลับเป็นศูนย์

โดยผมได้ย้อนกลับไปมองเมืองที่เขาประสบความสำเร็จในการสร้าง tech ecosystem และได้มีธุรกิจ startup ที่เป็น unicorn เจ๋ง ๆ มากมาย อย่างเช่น Silicon Valley และ Cambridge ปรากฎว่ากุญแจสำคัญที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้ ก็คือ การศึกษา...

แต่สำหรับประเทศไทยตอนนี้สิ่งที่เห็น คือ กลุ่มที่ให้การสนับสนุน tech ecosystem ให้ความสำคัญที่ปลายทาง นั่นคือ การทำหน้าที่เป็น CVC (Corporate Venture Capital) ที่ให้เงินลงทุนกับ startup และเข้าไปลงมือลงแรงกับการพัฒนาธุรกิจเพื่อที่จะทำให้สามารถสร้างผลตอบแทนกลับคืนสู่บริษัทเพียงอย่างเดียว

แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญในการที่จะเข้าไปช่วยพัฒนาต้นทาง นั่นคือ การศึกษา ที่ถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญมากนัก ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว หากทั้งระบบไม่ได้มีความแข็งแรงที่จะเอื้อต่อการเติบโตมากพอ ก็อาจจะส่งผลให้ธุรกิจไม่สามารถไปต่อได้

นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าการลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยี หลายคนมักจะเดินทางไปหาสิ่งใหม่ ๆ จากต่างประเทศเพื่อนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย  นั่นก็เป็นเพราะว่า ในประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์มากพอ ...

ในทางกลับกันถ้าเกิดว่าเราสามารถที่จะสร้าง tech ecosystem ที่สามารถผลิตนวัตกรรมต่างๆที่ตอบโจทย์ได้เอง ก็จะไม่มีใครต้องเดินทางไปหาเทคโนโลยีในต่างประเทศอีก

ดังนั้น เราจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องกลับมาลงทุนในด้านการศึกษา เพราะเมื่อใดก็ตามที่รากฐานของระบบมีความแข็งแรง จะส่งผลให้การต่อยอด หรือการขยายสิ่งต่าง ๆ สามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว และก้าวกระโดด

โดยอาจจะมาเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยก่อน ที่เราจะไปกระตุ้นให้หลักสูตรการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม และเทคโนโลยี ซึ่งตรงนี้นี่เอง จะทำให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว พวกเขาสามารถที่จะมีไอเดียต่างๆ ในการที่จะสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโลกของการทำงาน และสิ่งเหล่านี้จะสามารถช่วยสนับสนุนให้ tech ecosystem กว้างขึ้นตามไปด้วย และท้ายที่สุดก็จะช่วยให้ธุรกิจสามารถ spin off ได้ 

และที่สำคัญหากมหาวิทยาลัยไม่มีบทบาทต่อการพัฒนาบุคคลกรที่จะสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆให้เกิดขึ้นในอนาคตได้  ก็อาจจะส่งผลให้การพัฒนาของบริษัทต่าง ๆ ไม่เท่าทันต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป และผู้ประกอบการหน้าใหม่ก็อาจจะไม่มี เพราะไม่มี solution ที่จะมาตอบโจทย์ลูกค้าได้

tech-ecosystem-ananda

ผมจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนของการให้ความสำคัญของการพัฒนา tech ecosystem แบบนี้ว่า การดำเนินงานในการขับเคลื่อนองค์กรใดองค์กรหนึ่ง มันก็ไม่ต่างอะไรกับการทำงานของร่างการมนุษย์ โดย 30% มันคือการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ซึ่งเปรียบเหมือนสมองและระบบประสาท และอีก 70% ที่เหลือคือส่วนอื่นๆที่ทำหน้าที่ให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น งานด้านการตลาด บัญชี กฎหมาย ซึ่งเปรียบเหมือนกับหลอดเลือด ระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ ที่จะมาช่วยให้ร่างกายยังดำรงชีวิตอยู่ได้ปกติ

แต่ในทางกลับกัน สมมติว่า สมองและระบบประสาท ซึ่งมีสัดส่วนเพียง 30% ไม่สามารถทำงานได้ ก็จะส่งผลต่อระบบอื่นๆที่เหลืออีก 70% ที่แม้ว่าร่างกายยังคงมีชีวิตอยู่ แต่ก็ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหว หรือแม้กระทั่งขับถ่ายของเสียให้เป็นปกติ โดยเป็นเหมือนกับผู้ป่วยติดเตียง 

และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ว่า ... ทำไมอนันดา ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ถึงได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการให้การสนับสนุนการพัฒนา tech ecosystem ในประเทศไทย มากกว่าจะวางตัวเองให้เป็นเพียงแค่ CVC ที่เข้ามาลงทุนใน startup แล้วลงมือลงแรงปั้นให้เติบโต เพื่อที่จะสร้างผลตอบแทนให้กับอนันดาเพียงอย่างเดียว

‘การศึกษา’ รากฐานของการพัฒนาประเทศ

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าอนันดาให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างมาก โดยที่ผ่านมาเรามีโครงการต่าง ๆ มากมายที่ได้ให้การสนับสนุนภาคการศึกษา และเราก็ได้เห็นว่า ผลจากสิ่งที่เราทำสามารถสร้างสิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้นได้มากขนาดไหน และเรายังคิดต่อไปอีกว่าในอนาคตจะเกิดผล อย่างไรกับสังคมไทยต่อไป

เมื่อเทียบกับทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยแล้ว อนันดาถือว่าเป็นเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ หน่วยงานหนึ่ง เท่านั้น ดังนั้นเวลาเราจะลงทุนในสิ่งใด เราต้องดูให้แน่ใจแล้วว่าสิ่งที่เราทำนั้น สามารถส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างได้ ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนอีกจำนวนมากคิดที่จะทำแบบเรา ซึ่งเราอาจจะสื่อสารกับคนเพียงแค่ 300 คน แต่สามารถที่จะจุดประกายความคิดให้คนอีก 3,000 คนได้ 

tech-ecosystem-ananda

อย่างการที่อนันดาได้เป็นผู้ให้การสนับสนุน Drone Academy และการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก World Robot Games ตรงนี้จากการที่อนันดามีความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน และเมื่อเรากระโดดเข้าไปให้การสนับสนุน จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เด็กไทยเข้าสู่การแข่งขันเหล่านี้มากขึ้น 

ที่ผ่านมาหลายคนคงจะได้เห็นข่าวที่เด็กไทยอายุเพียงแค่ 13 ขวบ สามารถชนะการแข่งขันโดรนระดับนานาชาติที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเรื่องราวนี้เมื่อเป็นที่ประจักษ์แด่สาธารณชนแล้ว กลายเป็นสิ่งที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กไทยคนอื่น ๆ ที่มองว่า ตนก็สามารถทำเช่นได้เหมือนกัน

นอกจากนี้ในสเตปต่อไป เด็ก ๆ ก็จะคิดว่า ถ้าต้องการที่จะเก่งเรื่องโดรนมากกว่านี้ และมีชื่อเสียงทางด้านนี้ มันมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้สาขาวิชาวิศวกรรมกรบิน วิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การเขียน coding และ AI ให้ดีขึ้นด้วย ซึ่งในอนาคตสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก

อีกทั้งอนันดามีความเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การให้การสนับสนุนเช่นนี้จะทำให้คนรุ่นใหม่มีความสนใจ และมีความกระตือรือร้นในเรื่องเทคโนโลยีมากขึ้น และในอนาคตจะกลายเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศไทยให้สามารถเติบโตได้ในทุกด้าน

tech-ecosystem-ananda

นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่อนันดาทำ ก็คือ เราได้จัดงานที่รวม 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ได้แก่ University of Cambridge, University of California, Berkeley และ Stanford University ทำโครงการ How Cambridge Berkeley Stanford do Tech Transfer ซึ่งเป็นงานประชุมสัมนาเชิงเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย และเป็นสร้างโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่ในการเข้าถึงองค์ความรู้ระดับโลกที่จะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต

ดังนั้นสิ่งที่อนันดาคิดเสมอในการทำโครงการต่าง ๆ คือ เราต้องการที่จะสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจด้านเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการสร้าง tech ecosystem ในประเทศไทยให้แข็งแรง 

รากฐานของการศึกษาที่แข็งแรง และตอบโจทย์สังคมยุคดิจิทัล จะสามารถสร้าง tech ecosystem ของประเทศไทยให้สมบูรณ์และพร้อมต่อการพัฒนาต่อยอด เพื่อนำพาประเทศสู่ความเจริญได้ในอนาคต

Tech Ecosystem  พื้นที่สร้างโอกาสให้ Startup

จากการที่เราพยายามที่จะผลักดันให้มีการพัฒนา tech ecosystem ในประเทศไทยให้มีความแข็งแรง ด้วยการย้อนกลับไปให้ความสำคัญที่จุดเริ่มต้นอย่าง การศึกษา นั้น เพราะในอนาคตจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้กับ startup  และบริษัทขนาดเล็ก มีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นเป็นบริษัทขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่จะเป็นกำลังให้การพัฒนาประเทศไทยสู่ความมั่งคั่งในอนาคตได้ ด้วยธุรกิจที่มีความหลากหลายในการขับเคลื่อน มากกว่าที่จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ผูกขาดแต่เพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมได้อย่างชัดเจน 

โดยหนึ่งในสถิติของการเกิดงานใหม่ ๆ ในระบบเศรษฐกิจที่ผมเห็น คือ งานใหม่กว่า 40-80% มักเกิดขึ้นในบริษัทขนาดเล็กทั้งนั้น เพราะสำหรับบริษัทขนาดใหญ่แล้ว เขาไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างตำแหน่งงานใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอีกแล้ว ดังนั้นเราเชื่อว่าในอนาคตมันมีโอกาสสำหรับ startup และบริษัทขนาดเล็ก ที่ธุรกิจได้มีการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่จะเติบโตขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการศึกษาที่เป็นรากฐานในการหล่อหลอมนั่นเอง

นอกจากนี้ผลสำรวจจาก World Bank ที่บอกว่ากว่า  72% ของงานในประเทศไทยเสียงต่อการถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ ผมมองว่าในอนาคตหากเกิดขึ้นจริงไม่ได้เป็นผลดีกับประเทศไทย ถ้าเกิดว่า 72% จะตกงาน และโดยทั่วไปแล้วอย่างที่บอกไปว่าบริษัทใหญ่จะไม่สร้างงานใหม่มากมาย ดังนั้น tech ecosystem มีความสำคัญมากที่จะทำให้บริษัทขนาดเล็ก สามารถเติบโตมาเป็นบริษัทขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกทิศทางประกันภัยในยุคดิจิทัล | Exec Insight EP.74

Techsauce ได้พูดคุยกับ ดร.สุทธิพล อดีตเลขาธิการคปภ. ถึงการปรับตัวของธุรกิจประกันภัยในการนำเทคโนโลยีมาใช้...

Responsive image

นวัตกรรม อีกหนึ่งความหวังในการเติบโตของประเทศไทย | Exec Insight EP.73

Techsauce ได้รับโอกาสพิเศษในการพูดคุยกับ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA พูดคุยถึงแนวทางและภารกิจหลักในการผลักดันนวัตกรรม รวมถึงการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการขยายเข้าไปใน...

Responsive image

ไปรษณีย์ไทย 140 ปี สู้สมรภูมิโลจิสติกส์อย่างไร ?

จากบริษัทที่เริ่มต้นจากการสื่อสารเมื่อ 140 ปีก่อน สู่บริษัทโลจิสติกส์ และเตรียมต่อยอดสู่ Tech Company ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมหาศาล ไปรษณีย์ไทย สู้ศึกโลจิสติกส์อย่างไร สงครามราคาจะ...