Techsauce ได้พูดคุยกับคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG ในประเด็นความยั่งยืน และ ESG SCG เดินหน้าธุรกิจอย่างไร ในวันที่ทุกองค์กรต้องตระหนักเรื่องของความยั่งยืน แต่ในขณะเดียวกัน ธุรกิจก็กำลังเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน
สถานการณ์เศรษฐกิจที่กำลังเจออยู่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมากหากเปรียบเทียบแล้วที่เราพึ่งผ่านโควิดมาก็เปรียบเหมือนกับคนที่พึ่งหายไข้ นับว่าเป็นความท้าทายมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินเฟ้อ ต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น เรื่องการเมืองระหว่างประเทศอีก ซึ่งยังมองไม่ออกว่าจะจบในรูปแบบไหน หรือจะมีทีท่าเป็นอย่างไร บอกไม่ได้เลย โดยปัญหาเหล่านี้จะแก้ได้อย่างไรถ้าคนยังมีภาระเรื่องของเงินกู้ ที่กระทบอย่างหนักแล้วมาเจอภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอีก ถึงแม้ผลกระทบสำหรับประเทศไทยจะดูไกล แต่ใกล้ตัวที่สุดก็อาจจะเป็นเรื่องของน้ำมัน พลังงาน ที่มีราคาที่สูงขึ้น ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอาหาร ผลกระทบก็อาจจะไม่มากแต่ก็มีราคาที่สูงขึ้น ค่าครองชีพต่างๆเหล่านี้ก็สูงขึ้น ในแง่ธุรกิจอย่าง SCG ที่เรามีหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาคการก่อสร้าง Chemical ซึ่งบอกได้ว่า Chemical อยู่ในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุปโภค บริโภค รถยนต์ การก่อสร้าง สินค้าพวกพลาสติกเอง อยู่ในนั้นหมดแล้ว สำหรับ Packaging นับว่าเป็นตัวชี้วัดที่ดีในภาวะเศรษฐกิจเลย อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องยอมรับคือประเทศไทยพึ่งเปิดประเทศได้ไม่นาน ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากเพราะการท่องเที่ยวที่ปิดไป เพราะการท่องเที่ยวเป็น Sector ที่ใหญ่มากของประเทศไทย เกือบ 20% พอ 20% นี้หายไป มูลค่าก็ดาวน์ลงถึงแม้จะกลับมาเปิดได้ แต่ก็ไม่ถึงกับเหมือนช่วงก่อนโควิด
“ในแง่ของภาพรวม โดยเฉพาะเศรษฐกิจใหญ่ๆในโลก ทั้งอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งจีน มีแนวโน้มที่ค่อนข้างเหนื่อย ทั้งเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มันดูแล้วมัน มันผลกระทบมันมากขึ้นทุกวันนะ เราเจอมาแล้วโควิด มาเจอเงินเฟ้อ มาเจอต้นทุนพลังงาน มาเจอต้นทุนการเงิน ถ้ามาเจอเรื่องของภูมิอากาศอีก เหนื่อยอีกนะ”
คุณรุ่งโรจน์สรุปภาพรวมความผันผวนของเศรษฐกิจและความท้าทายรอบด้านที่เดินทั่วโลก ซึ่งในประเด็นต่อไป SCG จะมีทิศทางอย่างในการปรับตัวหรือรับมืออย่างไรบ้างเมื่อผลกระทบที่เกิดขึ้นมันมาถึง
คุณรุ่งโรจน์ได้กล่าวถึงทิศทางของ SCG โดยแยกเป็นสามธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจซีเมนต์วัสดุก่อสร้าง ธุรกิจ Chemical และ ธุรกิจ Packaging
คุณรุ่งโรจน์มองว่าซีเมนต์วัสดุก่อสร้างมันต้องไปพร้อมกันเพราะว่าโครงการส่วนใหญ่ ล้วนเป็นเงินกู้ ถ้าดอกเบี้ยขึ้น ตัวเจ้าของโครงการก็จะเหนื่อย แต่งานแบบนี้ก็ไม่มีใครซื้อเป็นเงินสด ส่วนใหญ่ก็เป็นการกู้เงินมาทั้งนั้น เมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้นความสามารถที่จะผ่อนก็น้อยลง ต้องผ่อนเยอะ นับว่าเป็นพายุหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือเรื่องดอกเบี้ยและเศรษฐกิจถดถอย เพราะดอกเบี้ยล้วนมีผลอย่างมากกับภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ยกตัวอย่าง บ้าน คอนโด ทีนี้ในฐานะของ SCG เองที่เป็นผู้ผลิตมีอยู่สองเรื่องก็คือ 1.ต้นทุนพลังงาน 2.ต้นทุนของวัตถุดิบ โดยวัตถุดิบอาจจะทำอะไรมากไม่ได้เพราะเป็นราคาแบบนี้อยู่แล้ว ส่วนพลังงาน เราสามารถที่จะพัฒนาปรับปรุงได้ แต่เดิมก็พัฒนาไปเยอะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพลังงานทางเลือก หรืออะไรก็ตามที่เราต้องไปอีกสเต็ปหนึ่ง ถึงแม้เราจะคิดว่าราคาน้ำมันขนาดนี้ ราคาไฟฟ้าขนาดนี้ เราก็ลงทุนได้ระดับหนึ่ง แม้ตอนนี้จะขึ้นไปไม่รู้อีกกี่เท่า เพราะฉะนั้นเมื่อมีการปรับขึ้นตรงนี้หลายๆโครงก็ต้องปรับตัวตาม ดังนั้นพลังงานจึงเป็นเรื่องแรก เรื่องที่สองที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ต้นทุน ที่นับเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องเจอ เห็นได้ชัดว่าเมื่อโควิดมาพฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป เพราะพฤติกรรมของเราจะเปลี่ยนเป็นการเลือกสิ่งที่เราต้องการขั้นพื้นฐานจริงๆ เพราะคนมักจะเลือกซื้อบ้านเพราะอยากได้ความสบาย ความเป็นอยู่ที่ดีเพราะฉะนั้นในเรื่องของการพัฒนาสินค้า ก็ต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย ยกตัวอย่างเรามีระบบเรื่องของการปรับอากาศที่จะลดอุณหภูมิลงได้ 1.5-2% เรียกว่าใช้ไฟน้อยมาก เราดูเทคโนโลยีการถ่ายเทอากาศ เอามาใช้วางแผนในการก่อสร้าง สรุปแล้วสองเรื่องที่ SCG ให้ความสำคัญคือเรื่องพลังงานและสองต้องตอบโจทย์ได้จริง แล้วธุรกิจจะไปรอด
Packaging เป็นอีกหนึ่งธุรกิจของ SCG ที่คุณรุ่งโรจน์มองว่าในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดค่อนข้างไปได้ดี แต่พอมาเจอภาวะเงินเฟ้อก็มีความแตกต่างออกไป เพราะธุรกิจเองก็ได้รับผลกระทบเท่ากันหมด บรรจุภัณฑ์ก็มีต้นทุนที่สูงขึ้น Demand บางส่วนได้รับผลกระทบ ต้นทุนบางอย่างแพงขึ้น กลุ่มผู้บริโภคบางกลุ่มมีความ Concern กับเรื่องของบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนค่อนข้างมาก แต่คุณรุ่งโรจน์ก็มองเห็นโอกาสว่าถ้าจับกลุ่มตลาดในเรื่องของ Sustainable packaging ใช้แล้วใช้ซ้ำนำมา Reuse ได้อีก พร้อมกับที่ SCG มีฐานในต่างประเทศพอสมควร ทั้งเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ที่มีประชากรมากกว่าประเทศไทย ซึ่งจะสามารถใช้ฐานที่มีอยู่ในการเข้าไปจับตลาดได้ จึงทำให้สามารถพัฒนาธุรกิจของเราได้ สำหรับ Packaging เองก็ได้รับผลกระทบแต่โอกาสจะมีมากกว่าตัวอื่นถ้าทำได้ดี
เมื่อพูดถึงธุรกิจสุดท้ายอย่าง Chemical ที่คุณรุ่งโรจน์มองว่าเป็นธุรกิจใหญ่ โดยได้ผู้ถึงผลกระทบที่ได้รับสองส่วน 1.ต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นถึง 70%-80% เพราะมันเชื่อมโยงกับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 20%-30% ทำให้รับผลกระทบโดยตรง แต่คุณรุ่งโรจน์กล่าวว่า SCG มีความยากในแง่ของต้นทุนในแง่ของคอนเวอร์ชัน คือประสิทธิภาพการใช้พลังงาน อาจจะมีการปรับปรุงได้บ้างแต่ไม่มาก และทำไปเยอะแล้วสำหรับตัวหลักที่ใช้ 2.วัตถุดิบ ราคาของวัตถุดิบของ Chemical เป็นราคาตลาดโลกซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนเช่น ซึ่งคุณรุ่งโรจน์คิดเป็น 10%-30% ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งนี้ เพราะความขัดแย้งทำให้ราคาน้ำมันเพิ่ม และราคาวัตถุดิบก็เพิ่มตาม เป็นราคาตลาดโลกที่ทุกคนหนีไม่ได้ แต่ SCG ก็มีทิศทางที่จะต่อสู้กับภาวะนี้โดยมองในเรื่องของ Green Trend ที่จะมาอย่างแน่นอน โดยสิ่งที่ทำคือสิ่งที่เรียกว่า Green Polymer มีการเจริญเติบโตอย่างมาก แล้วก็ลูกค้ายอมรับ เพราะฉะนั้นที่จะเป็น ที่เราให้ความสําคัญอย่างหนึ่งและก็ตั้งเป้าไว้ว่าอีกประมาณสัก7-8ปี ว่า 20&-25% ของสินค้าน่าจะเป็นสิ่งที่เราเรียกกันว่ากรีนโพลิเมอร์ต้องเข้าไปลงทุน. ต้องเข้าไปทํา R&D เพราะฉะนั้น Chemical เนี่ย จะมีสองเรื่อง เรื่องแรกคือสู้.ทําตัวให้เบาอันที่สองคือกรีนโพลิเมอร์ เรามีโครงการอีกในเมืองไทยเรียบร้อยแล้ว เวียดนามจะเสร็จกลางปีหน้า เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นสิ่งที่ เราคิดว่าฐานเราดี อันที่สองก็คือว่า Move ให้ได้สักประมาณหนึ่งในสี่เป็นกรีนโพลิเมอร์ให้ได้ถ้าทําอย่างงี้ได้ SCG ก็จะเจริญเติบโตก้าวหน้าออกไปได้
ESG เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คนกลุ่มหนึ่งกำลังให้ความสนใจ E คือ Environment ไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษอย่างเดียว แต่คุณรุ่งโรจน์มองแล้วว่าในเรื่องของสิ่งแวดล้อมได้มองไปถึงเรื่องภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ในเรื่องของ S คือ Social ที่เรามองในเรื่องของ Wealth ของคนแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากเรื่องของเงินเฟ้อที่ทำให้ต้นทุนทางการเงินนั้นสูงขึ้น
“ลองนึกภาพคนชนชั้นกลางที่ของแพงขึ้นก็ยังพอสู้ไหว แล้วคนหาเช้ากินค่ำล่ะ ของแพงขึ้นจะทำอย่างไร ตรงนี้ก็เป็นปัญหาใหญ่ไม่แพ้เรื่องสิ่งแวดล้อม”
สุดท้ายในเรื่องของตัว G คือ Governance ที่คนขาดความเชื่อถือในระบบว่ามีบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาลที่ดี เพราะฉะนั้นสามสิ่งนี้คือเทรนด์ที่คนให้ความสนใจ แต่แน่นอนว่ากลุ่มบริษัทก็ให้ความสนใจในสามประเด็นนี้ แต่ถ้าเป็นคนระดับล่างละ เขาอาจจะให้ความสนใจเรื่องเศรษฐกิจเช่นกันเพราะนั่นคือปากท้องของเขา ดังนั้น ESG จะเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นแน่นอนและหนีไม่พ้น แต่จะทำอย่างไรมากกว่าที่จะทำให้ทิศทางของ ESG มีประสิทธิภาพ และผ่านโจทย์ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยไปได้
จากประสบการร์ของ SCG คุณรุ่งโรจน์กล่าวว่า เราพยายามจะทำให้ทุกคนเห็นภาพเดียวกันก่อนว่าโลกในตอนนี้ไม่ได้ดูเฉพาะเรื่องของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ต้องดูเรื่องความยั่งยืนด้วย อย่างการเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลักแต่ก่อนอาจจะบอกได้ว่ายั่งยืนคือกำไรอย่างยั่งยืน แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้วเพราะอย่างน้อยต้องทำให้ไม่เกิดปัญหา เพราะเราจะคิดแบบเดิมไม่ได้แล้วแล้วเพราะเราต้องทำให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ รวมทั้งเรื่องการพัฒนาสินค้าที่มีความยั่งยืนก็ต้องทำ เพราะมันเป็นเรื่องของตลาดเพราะโลกยุคใหม่คือ Low carbon economy ถ้าทำได้จะทำให้ธุรกิจไม่ต้องไปแบ่งหัวคิดว่า อันนี้เรื่องยั่งยืน อันนี้เรื่องการช่วยเหลือสังคม เราพยายาม Intergrate เข้ามาอยู่แบบเดียวกัน
ยกตัวอย่างธุรกิจ Chemical ที่เราพูดถึงเรื่อง Green แล้วค่อนข้างชัดถ้าเราเอาที่รีไซเคิลมาใช้ ใช้เม็ดที่พลาสติกที่เกิดขึ้นจากการรีไซเคิลอย่างชัดเจน และอย่างตอนนี้เราทำผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า SMX เป็นเม็ดพลาสติกในการใช้ recycle material ได้สูงขึ้น การใช้ SMX จะทำให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์การรีไซเคิลด้วยจาก 70 อาจเป็น 90 ได้ นับว่าเป็นโมเดลธุรกิจที่เอา ESG เข้าไปอยู่ตรงนั้น ทีนี้พอย้อนกลับมาเรื่อง Chemical เราจัดหาหลาย sector เป็นอย่างมากซึ่งหนึ่งใน sector ที่เราทำอยู่คือ Automotive ซึ่งเราเห็นเทรนด์ของ EV มาแล้วว่ามาแน่ ในเมื่อมาถึงจุดนี้ SCG ที่เป็น Supply Material เดิมให้กับประเภทรถยนต์ก็ต้องปรับตัว เครื่องยนต์หายไป มาเป็นอีวีแทน อะไรหลายๆอย่างก็จะหายไปแต่สิ่งที่ต้องเข้ามาคือแบตเตอรี่ การออกแบบ ทำอย่างไรให้เบาลง เรื่องของ Packaging อย่าง Case ของแบตเตอรี่ที่ต้องเบาลงแต่มีความแข็งแรงทนทานรวมถึงการชาร์จที่พัฒนาไปแล้วในระดับหนึ่งอันที่สองก็คือว่า ในเชิงธุรกิจรถบรรทุก หรือรถที่ใช้ในโลจิสติกส์ค่อนข้างมีรูทของการขนส่งที่ชัดเจนแน่นอน คือเรารู้อยู่แล้วว่าวันไหนเราจะต้องไปเพราะฉะนั้น เนี่ย เรื่องของการที่ทําชาร์จจิ้งสามารถที่จะวางแผนได้ แต่สิ่งที่วางแผนไม่ได้ก็คือว่าเวท น้ําหนัก น้ําหนักบรรทุกหายไป เพราะว่าต้องไปบรรทุกตัวแบตเตอรี่ด้วยทํายังไงที่จะ Reengineer ได้ ตัวรถให้มีน้ําหนักที่เบาลง เพื่ออย่างน้อยให้เราสามารถที่จะคงน้ําหนักบรรทุก ให้ใกล้เคียงกับเดิมให้มากที่สุดได้ อันนี้เป็นความท้าทายภาคธุรกิจก็ต้องไปคิดตรงนี้ ทํายังไงให้ตรงนี้เกิดขึ้นให้ได้
คุณรุ่งโรจน์กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้บริหาร สิ่งหนึ่งที่เราต้องคิดเสมอคือปัจจุบันสิ่งที่เป็นความท้าทายของธุรกิจเราคืออะไรบ้าง เรารู้เราเห็นพายุวิกฤติมาแล้วว่ามีลักษณะแบบไหน เช่นมีลักษณะต้นทุนที่แพง พลังงานที่แพง จะฟันฝ่าตรงนี้ไปได้อย่างไร อย่างที่สองนอกจากพายุแล้วเราเห็นความท้าทายตรงนี้อย่างไร เพราะพายุเป็นสิ่งที่ใกล้ที่เราต้องเจอเร็วๆนี้ แต่อย่างหนึ่งที่เราต้องถามตัวเองอยู่เสมอคือธุรกิจไม่ได้อยู่ในระยะสั้นอย่างเดียว ด้วยโจทย์ของ SCG ที่มีเรื่อง ESG เราจะไม่ได้พัฒนาเฉพาะแค่ว่า ลูกค้าต้องการเห็นการพัฒนาไปในทาง ESG อย่างเดียว แต่ทุกคนต้องไปในทาง ESG direction ด้วย สิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเรื่องวิกฤติ คือต้องบริหารจัดการเวลาให้ถูก เราเพิ่มเวลาในการทำงานไม่ได้แต่เราลดเรื่องที่เราจะดูได้ เพราะคุณรุ่งโรจน์กล่าวว่า
“ผมใช้เวลาปัจจุบันในสองเรื่อง เรื่องแรกคือวิกฤตจัดการยังไง เรื่องที่สองคือระยะยาวของ ESG ทํายังไงผมใช้เวลาแค่นี้ ก่อนหน้านี้อาจจะมีความสําคัญในเรื่องอื่นอื่นด้วยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเจริญเติบโตยังไง? ตลาดนี้จะดูสินค้ายังไง? อะไรต่างต่างยังไง แต่ปัจจุบัน เนี่ยเราพยายามที่จะลดตรงนี้ออกมาเพื่อให้เหลือเรื่องที่สําคัญจริงจริงสองเรื่องคือ ฝ่าวิกฤติยังไง? อันที่สองต้องตั้งหลัก”
คำแนะนำจากคุณรุ่งโรจน์คือ
“ถ้าเรากำลังคุยถึงความท้าทายในลักษณะนี้ที่เราไม่เคยเจอกันมาก่อน ทั้งเศรษฐกิจที่ถดถอย ต้นทุนการเงินที่สูงขึ้นและยังไม่ฟื้นจากโควิด รวมทั้งเรื่อง ESG มันเป็นเรื่องที่เราจะรีเวิร์สแนวคิดอุตสาหกรรมเดิมอย่างไรให้พัฒนาไปพร้อมกับความยั่งยืนได้ นับเป็นเรื่องใหม่ทั้งคู่ ซึ่งเรื่องใหม่ในลักษณะแบบนี้ต้องว่าความล้มเหลว คือการไม่ทำ สิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นคือการทำแล้วปรับแล้วความล้มเหลวถือเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจให้ไปต่อได้ ส่วนอีกอย่างหนึ่งคือถ้ามีอะไรไม่ตรงกับที่เราคิดให้ถือว่าเป็น Journey ของเราในการไปถึงจุดที่จะพัฒนาธุรกิจของเราได้ แล้วจะมีกำลังใจ”
ในขณะที่หลายธุรกิจกําลังเผชิญกับสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ อยากมีอะไรฝากบอกผู้อ่านบ้าง
จากประสบการณ์การทำงานกว่า 40 ปี เราผ่านวิกฤติมาค่อนข้างเยอะ แต่ก็ยังไม่เคยเจอลักษณะแบบนี้ เพราะเป็นสิ่งที่แตกต่างไปจริงๆ เป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติและมีมิติหลายอย่างที่ความไม่แน่นอนสูง เพราะเรายังไม่รู้มันจะเจอหนักขนาดไหน แล้วจะลากยาวขนาดไหน เพราะฉะนั้นในฐานะผู้นำองค์กรเราต้องทำใจว่าเป็นสิ่งที่เราต้องเจอ แต่เราต้องสู้และต้องปรับ ถ้าไม่ทำแล้วถอย คือจบเลย
คุณรุ่งโรจน์กล่าวทิ้งท้าย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด