ปรับเข็มทิศให้กับ 'กลยุทธ์การเงิน' ภายใต้วิกฤติ COVID-19 กับ 'สุวภา ยิ่งเจริญ' | Techsauce

ปรับเข็มทิศให้กับ 'กลยุทธ์การเงิน' ภายใต้วิกฤติ COVID-19 กับ 'สุวภา ยิ่งเจริญ'


การเกิดขึ้นของการระบาด COVID-19 นั้นส่งผลต่อธุรกิจทุกภาคส่วน ทำให้สถานการณ์ของบริษัทนั้นแย่ลงเรื่อย ๆ บางบริษัทอาจจะเริ่มมีปัญหาเรื่อง Cash Flow และ Runway ทางการเงินได้เริ่มสั้นลงเรื่อย ๆ และแน่นอนว่าภายใต้วิกฤติเช่นนี้ เรื่องของ “สภาพคล่อง” และ “การเงิน” เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทาง Techsauce จึงได้รับเกียรติจากคุณสุวภา เจริญยิ่ง อุปนายก สมาคมนักวางแผนการเงินไทย ที่จะมาพูดคุยในหัวข้อ “กลยุทธ์การเงินสู้วิกฤติ COVID-19” ที่จะมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินในสภาวะเช่นนี้

“เดินหน้า” หรือ “ถอยหลัง”

ภายใต้วิกฤติทางเศรษฐกิจที่หลาย ๆ บริษัทนั้นเผชิญกับปัญหาทางการเงิน และเริ่มจะทนต่อไม่ไหวแล้ว ทางคุณสุวภานั้นเผยว่าเวลาถ้าเราเผชิญปัญหานั้นมีอยู่ 2 ทางหลักคือ “นั่งลงร้องไห้หรือสู้กับปัญหา” ถามตัวเองว่าเรานั้นได้วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนแล้วหรือยังว่าปัญหาที่เผชิญนั้นคุ้มค่าที่จะสู้หรือไม่ รวมถึงต้องย้อนกลับไปดูความพร้อมของบริษัทในเรื่องของคน งาน และเงินอีกว่ามีความพร้อมแค่ไหน และจงสำรวจว่าธุรกิจที่เรานั้นทำอยู่นั้นมีอนาคตไหม

สิ่งที่เราเผชิญตอนนี้ถือว่าเป็นโชคนี้ของบริษัทเล็ก ๆ ด้วยความที่เราสามารถจะปรับเปลี่ยนได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่เหมือนกับบริษัทใหญ่ ๆ ที่เราอาจจะเห็นตัวอย่างว่ากลุ่มบริษัทใหญ่ ๆ นั้นเผชิญปัญหารุนแรงมาก และไม่เกิน 2 ไตรมาสที่จะถึงนี้จะเจอกับปัญหาที่ใหญ่กว่าเดิม ซึ่งในตอนนี้ไม่สามารถบอกได้ว่าควรจะทำอย่างไร แต่อยากที่จะบอกเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ ให้หันกลับมาดู สำรวจ และวิเคราะห์ตัวบริษัทของตัวเองใน 3 คำถามดังนี้

บริษัทของเรามีอนาคตไหม? ถ้ามี เราจะต้องไปหาคำตอบในคำถามที่สองเราจะสู้ตอนไหน? เราก็ต้องหาคำตอบว่าเราจะสู้ตอนนี้ หรือว่าจะพับเก็บไว้ก่อนและกลับมาสู้อีกทีต้นปีหน้า เราจะสู้ด้วย Budget เท่าไหร่? ซึ่งอย่างแรกแนะนำให้คุยกับทางธนาคาร หรือการทำ Equity Financing

อย่างไรก็ตามแต่การทำงานในช่วงนี้จะต้องมีความละเอียดมาก ถามตัวเองว่าจริง ๆ แล้วเราต้องการเงินหรือป่าว ลูกค้ายังจะซื้อสินค้าเราอยู่ไหม หรือถ้าเราปรับเปลี่ยนราคาลูกค้าจะเป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อถ้าเราสำรวจคำถามเหล่านี้ สิ่งที่เราจะได้ก็คือ “Data” ซึ่งต่อมาเราก็ต้องปรับเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้มาเป็น “Information” และเมื่อเรารวบรวมข้อมูลมากเพียงพอ เราก็จะมีองค์ความรู้หรือ “Knowledge” ที่จะทำให้เรานั้นสามารถทำกระบวนการสุดท้ายได้ก็คือ “Decision-making” เมื่อเราได้ข้อมูลเหล่านี้ครบถ้วนแล้วเราก็สามารถที่จะตัดสินใจว่าบริษัทนั้นควรจะเดินหน้าต่อหรือว่าพักก่อน ซึ่งคำว่าพักในที่นี้คืออาจจะเป็นการที่เราไปโฟกัสกับการพัฒนาธุรกิจของเราให้ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อถึงเวลาที่พร้อมจริง ๆ เราสามารถที่จะกลับเข้าไปได้

New Normal ในทุกวิกฤติ

New Normal นั้นเกิดขึ้นมาตลอดแต่ทุกครั้งที่เปลี่ยนมันจะต้องใช้เวลา แต่ในรอบนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก อย่างในตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งตอนปี 2540 นั้นเกิดแค่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น และเศรษฐกิจก็สามารถจะกลับมาได้หลังจากนั้น เนื่องจากยังมีประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ มีหน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ เช่น เกษตรกร แต่สำหรับรอบนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นตรงกันข้าม เพราะวิกฤติที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลพร้อมกันทั้งโลก 

ในอดีตที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นว่า GDP อาจจะติดลบ แต่ว่าเรายังมีภาคของฝั่งเกษตรที่ GDP นั้นยังเป็นผลบวกอยู่ แต่สำหรับครั้งนี้ GDP นั้นติดลบและในฝั่งของภาคเกษตรนั้นก็ติดลบเช่นกัน โดยจากตัวเลขที่ Bloomberg นั้นได้เผยออกมา ก็คาดว่าประเทศไทยนั้นจะมีตัวเลข GDP ที่ติดลบมากที่สุดในภูมิภาคนี้เช่นกันในปีนี้

“ถึงแม้ว่าตัวเลข GDP นั้นติดลบ ผู้คนนั้นยังต้องกินต้องใช้ ธุรกิจเราจะเป็นอย่างไร เราจะอยู่บนแพลตฟอร์มนี้ได้อย่างไร ซึ่งนี่เป็นโจทย์ที่ท้าทายมาก”

เข็มทิศในเรื่องงบการเงิน

อย่างแรกที่ต้องดูคือเรื่องงบแสดงฐานะทางการเงินหรือว่างบดุล ที่จะบ่งบอกว่าเรานั้นมีทรัพย์สินอะไรบ้าง ทรัพย์สินคือสิ่งที่บริษัทเอาเงินไปใช้เพื่อก่อให้เกิดทรัพย์สิน เช่น ผลิตภัณฑ์หรือบริการต่าง ๆ งบนี้ยังบอกอีกว่ทางบริษัทได้ไปเอาเงินจากทางตรงไหนมาเพื่อมาซื้อทรัพย์สิน แสดงให้เห็นถึง “หนี้สินกับทุน” ของบริษัท ซึ่งนี่จะทำให้เราเห็นว่าเราได้ใช้ทรัพย์สินของเราได้คุ้มค่าหรือไม่

งบต่อไปที่ควรจะดูคือเรื่องของงบกำไรขาดทุน ที่จะบอกเราว่ายอดขายของบริษัทนั้นมีอยู่ที่เท่าไหร่และมาจากอะไรบ้าง มีต้นทุนอะไรบ้าง เช่น ต้นทุนทางตรงหรือ  “Fixed Cost” เช่นค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน หรือดอกเบี้ย ที่ต้องจ่ายเป็นประจำอยู่แล้ว อีกฝากหนึ่งคือเรื่องของ “Variable Cost” หรือต้นทุนแปรผัน ที่จะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับรายได้ในแต่ละช่วงเวลา

เมื่อเราได้ดูงบเหล่านี้ทั้งหมดเราจะสามารถรู้ได้ว่า

  • บริษัทมีทรัพย์สินอะไรบ้าง
  • บริษัทมีหนี้สินเท่าไร
  • บริษัทมีทุนอย่างไร
  • บริษัทมีรายได้เท่าไร
  • บริษัทมีต้นทุนอะไรบ้าง

ซึ่งทั้ง 5 ตัวนี้เป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการจะต้องรู้ เพื่อที่จะทำการปรับเปลี่ยนและหาทางแก้ไขสำหรับบริษัทได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 

นอกจากนี้ทางเจ้าของกิจการก็ควรที่จะบริหารงบการเงินให้เกิดความสมดุลกันได้ เช่น สำหรับธุรกิจรีเทล หากผลิตต้นทุน 1 บาท จะต้องขาย 4 บาท ทางบริษัทควรจะมีต้นทุน 25% ของยอดขาย เพื่อที่บริษัทจะมีค่าเงินเดือนพนักงานอีก 20-25% และค่าเช่าร้าน ค่ามาร์เก็ตติ้งอีก 25% รวมเป็น 75% ทางบริษัทก็จะได้กำไร 25% แต่ถ้าทางบริษัทไม่มีการบริการงบการเงินอย่างละเอียดก็จะทำให้การขายนั้นไม่เกิดกำไรและไม่เกิดผลใด ๆ 

เมื่อ “Imagination” กลายมาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักธุรกิจ

คุณสุวภาเผยว่า “ในอดีต CEO ที่เก่งกาจอาจจะต้องเก่งเรื่องการคำนวน แต่ตอนนี้ CEO ที่เก่งกาจจะต้องเป็นคนที่เข้าใจลูกน้อง เป็นผู้ที่นำเกมได้ สร้าง Corporate Culture เก่ง และเป็นคนที่ต้องใช้สมองทั้งสองฝั่ง”

โดยสมองฝั่งซ้ายคือเรื่องตระกะหรือเรื่องการคำนวน ส่วนฝั่งขวาคือเรื่องของ Imagination ซึ่งจะต้องอ่านใจลูกค้าและพนักงานให้ขาดว่าพวกเขาต้องการอะไร จะต้องสร้างบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป ทำอย่างไรให้พนักงานรู้สึกว่าพวกเขานั้นเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท และสร้างผลิตภัณฑ์ที่โดนใจลูกค้าและยืนระยะอย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ Imagination ในสมองซีกขวาจะต้องถูกนำมาใช้

ซึ่งคุณสุวภาก็ได้ฝากทิ้งท้ายสำหรับผู้ประกอบการหลายรายที่ตอนนี้ต่างเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ “Mindset เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่จำเป็นว่าจะเป็นช่วงวิกฤติ เมื่อคุณเลือกที่จะเป็นผู้ประกอบการและได้ลงสนามแล้ว การเป็น Entrepreneur นั้นจะต้องมีความรับผิดชอบมาก สิ่งหนึ่งที่ต้องมีก็คือใจ เมื่อลงสนามแล้วใจของคุณต้องมาให้หมด ในสถานการณ์เช่นนี้ การรีรอไม่ใช่ตัวเลือกที่ดี แต่บางครั้งการกระโจนเข้าไปโดยไม่รู้อะไรเลยก็ไม่ใช่เช่นกัน สิ่งที่ต้องทำคือ รู้ให้เร็ว ตัดสินใจให้เร็ว ลงมือทำ ทำแล้วไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ต้องกลับมาดู แก้ไขและทำต่อไป ถ้าเราได้ทำอย่างดีที่สุดแล้ว สิ่งดี ๆ ก็จะกลับมา”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกบทบาท CVC กับการลงทุนใน Startups ยุคใหม่ กับ Nicolas Sauvage หัวเรือใหญ่ TDK Ventures

เจาะลึกบทบาทของ CVC ในการขับเคลื่อนธุรกิจยุคใหม่ พร้อมเผยกลยุทธ์การเฟ้นหาและสนับสนุน Startups รวมถึงแบ่งปันวิสัยทัศน์เชิงลึกรวมถึงกลยุทธ์การลงทุนใน Startups ที่น่าจับตามอง โดย Nico...

Responsive image

คุยกับ ‘สินนท์ ว่องกุศลกิจ’ ผู้นำทัพการเปลี่ยนแปลงกลุ่มบริษัทบ้านปู และอนาคตของธุรกิจพลังงานสู่ทศวรรษที่ 5

รู้จัก ‘สินนท์ ว่องกุศลกิจ’ ผู้นำทัพการเปลี่ยนแปลงกลุ่มบริษัทบ้านปู และอนาคตของธุรกิจพลังงานสู่ทศวรรษที่ 5...

Responsive image

คุยกับ Andrew Ng ผู้ทรงอิทธิพล AI ระดับโลก | Exec Insight EP.75

พบกับบทสัมภาษณ์พิเศษจาก Andrew Ng โดย Techsauce...