คุยกับ บีไอจี ทำไม 'ไฮโดรเจน' จึงกลายเป็น The Next Big Thing แห่งวงการพลังงาน | Techsauce

คุยกับ บีไอจี ทำไม 'ไฮโดรเจน' จึงกลายเป็น The Next Big Thing แห่งวงการพลังงาน

ในวันที่หลายคนพูดว่าธุรกิจพลังงานกำลังถูก Disrupt คำถามคือ แล้วอะไรจะมา Disrupt ธุรกิจนี้? มีการถกเถียง พูดคุยกันในเรื่องของพลังงานต่างๆ พลังงานหนึ่งที่อาจถูกหยิบยกมาพูดไม่บ่อยครั้งคือ Hydrogen ธุรกิจที่อาจกลายเป็นม้ามืดที่จะมา Disrupt วงการพลังงาน ด้วยการหาวัตถุดิบที่ไม่หมดลงไปง่ายๆ การเป็นพลังงานที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม และสามารถกักเก็บได้ง่าย


Techsauce พูดคุยกับคุณปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด หรือ บีไอจี ผู้นำนวัตกรรมก๊าซอุตสาหกรรมครบวงจรของประเทศไทย กับธุรกิจก๊าซอุตสาหกรรม และอาจกลายเป็นตัว Disrupt พลังงานในอนาคต

รู้จัก บีไอจี กับธุรกิจที่มาจากอากาศและกลับสู่อากาศ

เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมก๊าซ (Industrial Gas) อาจฟังดูไกลตัว แต่หากพูดถึง Oxygen ที่ใช้ในโรงพยาบาล หรือ Nitrogen ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม อย่างเมนูกาแฟ Nitro Cold Brew แน่นอนว่าเหล่านี้ ใกล้ตัวพวกเรามากกว่าที่เราคิด และเป็นสิ่งที่อยู่ในอากาศ  

ดังนั้น บีไอจี หรือ บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จึงเป็นธุรกิจที่นำวัตถุดิบมาจากอากาศ พอใช้เสร็จแล้วก็กลับไปสู่อากาศ

โดย บีไอจี เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการมากว่า 30 ปี มีบริษัทแม่คือ Air Products and Chemicals, Inc. จากประเทศสหรัฐอเมริการ่วมทุนกับผู้ลงทุนไทย นำโดยเครือธนาคารกรุงเทพ ซึ่งได้สร้างโรงแยกอากาศขึ้นมาที่มาบตาพุด จากวันนั้นมาถึงวันนี้อุตสาหกรรมก๊าซก็ได้สนับสนุนอุตสาหกรรมหลักๆ ในไทย  เช่น Oxygen ก็เข้าไปในอุตสาหกรรมตั้งแต่โรงพยาบาล  อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมกระจกที่ใช้พลังงานจำนวนมาก เพราะ Oxygen สามารถเผาไหม้ได้หมดจด ก็ไปลดการใช้เชื้อเพลิงอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเหล็ก

นวัตกรรมที่ช่วยด้านสังคม 

นอกจากการสนับสนุนด้านอุตสาหกรรม นวัตกรรมของ บีไอจี ยังช่วยสนับสนุนด้านสังคม โดยได้นำ Oxygen พร้อมผู้เชี่ยวชาญ ไปช่วยทีมหมูป่าอะคาเดมี่ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง ทุกๆ หน้าร้อน ก็มีการนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปร่วมกับกรมฝนหลวง ทำฝนเทียมทุกๆ หน้าร้อน

ในส่วน Nitrogen ซึ่งมีความเย็นก็เอาไปช่วยพี่ตูนที่วิ่งจากภาคใต้ขึ้นมา โดยความเย็น Nitrogen สามารถช่วยบำบัดการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ ทำให้นักวิ่งไม่ต้องไปแช่ในถังน้ำแข็งเป็นเวลานาน 

เพราะฉะนั้นนอกจากภาคพลังงานแล้วเนี่ย ภาคสังคมเราก็นำนวัตกรรมเหล่านี้มาใช้ด้วย มันก็เลยเป็นที่มาที่ไปว่าจากนี้ไปปณิธานหรือ Purpose ของ บีไอจี มองว่า เราจะนำนวัตกรรมที่ไร้ขีดจำกัดจากอากาศมาช่วยทำให้โลกของเรามันมี Productivity อย่างไรได้บ้าง

มันมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพคือ Energy Efficiently ดีอย่างไร และสุดท้ายทำให้โลกเรายั่งยืนมากกว่านี้

Hydrogen จะเป็นเทคโนโลยีที่จะ Disrupt วงการพลังงานหรือไม่

ต้องบอกว่าเมื่อพูดถึงพลังงานวันนี้สิ่งที่เรากังวลมีอยู่ 2 เรื่อง

  1. พลังงานที่เราได้มาจะหมดไปไหม เช่น พลังงานจากซากพืชซากสัตว์ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน สามารถหมดไปแน่นอน

  2. การผลิตพลังงานขึ้นมา มีเทคโนโลยีในการผลิตที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อนหรือไม่

เมื่อดูที่ Hydrogen ต้องบอกว่าเป็นธาตุที่เราพบเจออยู่ไม่เฉพาะแค่ในโลก แต่อยู่ในระดับจักรวาล โลกเรามี 75 เปอร์เซ็นต์เลย คือเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้น Hydrogen ที่มีอยู่ในธรรมชาติเต็มไปหมดเลยเนี่ย ข้อดีของเขาก็คือเราหาได้ทั่วๆ ไป โดยการไปแยกออกมา

วิธีการผลิต Hydrogen คือ

  1. แยกจาก Carbon ก็ด้วยการเอาก๊าซธรรมชาติมาเผา เรามาเผาก๊าซธรรมชาติแล้วแตกตัว ก็จะได้ Hydrogen ออกมา แต่วิธีนี้มีผลกระทบอยู่บ้างก็คือในเรื่อง CO2

  2.  Hydrogen จากการแยกน้ำด้วยกระแสไฟฟ้า วิธีนี้ไฟฟ้าเราได้มาจาก Solar Cells หรือว่ากังหันลมซึ่งจะเป็น Green Hydrogen

Hydrogen ใช้งานได้ไม่ก่อมลพิษ

ในส่วนของการไปใช้งาน ไม่ว่าจะใช้งานรูปแบบไหน จะไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ในอดีตที่ผ่านมาเราใช้ Hydrogen ในเรื่องของพลังงานเชื้อเพลิง เอาไปให้ความร้อนกับเรื่องของกระสวยอวกาศหรือในอุตสาหกรรมต่างๆ อันนี้ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดมลพิษ

และนำไปผลิตให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งสิ่งที่ได้ออกมาก็คือน้ำ ไม่เกิดมลพิษแต่อย่างใด แล้วก็สามารถหมุนวน เอากลับไปแยกเป็น Hydrogen ใหม่ได้

เราเลยมองว่า Hydrogen นี่แหละน่าจะมา Disrupt วงการพลังงาน ไปพร้อมๆ กับในแง่ของการเอาไปใช้เรื่องของไฟฟ้านะครับ Fuel Cell หรือเซลล์เชื้อเพลิงซึ่งเป็นตัวหลักในการทำให้ Hydrogen เขาแตกออกมาเป็น Electron แล้วไปได้ไฟฟ้าออกมาก็เป็นการนำนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์

และสุดท้าย Hydrogen ในแง่ของการ Disrupt พลังงาน คือ Hydrogen เป็น Energy Storage เวลาเราผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาจาก Solar Cells ถ้าผลิตเกินเราก็ต้องเก็บไว้ใน Battery ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่ 

ในขณะที่ Hydrogen สามารถที่จะปล่อยประจุไฟฟ้าได้ ถ้าไปเจอกับ Fuel Cell ก็จะสามารถเป็นตัวเก็บพลังงาน เพราะฉะนั้นเราจะแก้ปัญหา Pain Point ของเรื่อง Energy Storage ได้ด้วยการใช้ Hydrogen นี่เอง 

สรุปแล้ว Hydrogen หาได้ง่าย ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ แล้วก็ตัวเขาเองเป็นตัวเก็บพลังงานด้วยเนี่ยจะทำให้วงการพลังงานจากนี้ไปจะถูก Disrupt ค่อนข้างสูง เพราะมี Innovation อยู่ในทุกๆ จุด

COVID -19 มีผลกระทบกับธุรกิจพลังงานอย่างไร

เรามองเห็นค่อนข้างชัดว่า ต่อไปนี้การใช้พลังงานเราจะเน้นไปในทางการอนุรักษ์พลังงานมากขึ้น เพราะว่าผมว่าอุตสาหกรรมหลายๆ อย่างมันอาจจะไปต่อไม่ได้

อุตสาหกรรมของประเทศไทยเน้น Mass Production คือผลิตใหญ่ๆ เยอะๆ ให้ต้นทุนถูกแล้วเราก็ไปขายราคาถูก การผลิตใหญ่ๆ เยอะๆ มันใช้พลังงานสูงมาก

ในเชิงของพลังงานมันก็เลยต้องมีการทำยังไงก็ได้ให้พลังงานมันใช้แล้วมันคุ้มค่ามากขึ้น ก็เป็นเทรนด์ที่มาพร้อมกับเรื่องของ Hydrogen ถ้าเราสามารถใช้ Hydrogen แล้วลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ สามารถใช้พลังงานได้อย่างยั่งยืน แล้วก็ตัวมันเองก็เป็น Energy Storage เพราะฉะนั้นการใช้พลังงานซึ่งเป็นต้นทุนของอุตสาหกรรมใหญ่เลยก็จะมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งตราบใดที่ COVID-19 ยังอยู่ต่อไป ผมเชื่อว่าความยั่งยืนมันจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ที่อุตสาหกรรมต้องมาเน้นย้ำ

Hydrogen ควรถูกหยิบยกมาพูดอย่างจริงจัง

เรามักชอบพูดคุยเรื่อง PM 2.5 เวลาหนึ่ง สักพักเรื่องนี้ก็เงียบไป จนกระทั้งฝุ่นมาอีกครั้ง แล้วเราค่อยพูดคุยว่าจะทำอย่างไร ผมคิดว่า เราน่าจะต้องพูดคุยกันอย่างจริงจัง

เช่น เราสามารถใช้พลังงาน Hydrogen อย่างไรได้บ้าง ที่ต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ยุโรป เกาหลี ญี่ปุ่น เขาไม่มี Hydrogen เป็นของตัวเองมากนัก เขาต้องผลิตขึ้นมาแล้วก็นำมาใช้แล้วก็ต้นทุนเขาก็ไม่ได้ถูก

ส่วนในประเทศไทย เรามี Hydrogen ที่ต้นทุนค่อนข้างจะดี เพราะว่าเรามีนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมาบตาพุด ทุกครั้งที่เราผลิตพลาสติกจะได้ Hydrogen ออกมาอยู่แล้ว

ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา บีไอจีก็ไปรับ Hydrogen ที่ออกมาจากโรงงานปิโตรเคมี แล้วมา Clean up ให้มันบริสุทธิ์สูงขึ้นไปอีก แล้วก็นำไปจำหน่ายให้กับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้น Hydrogen มีทั้งต้นทุนที่ถูกแล้วก็ปริมาณที่เยอะ

บ้านเราต้องกลับมาคิดเรื่องของ PM2.5 อย่างจริงจังแล้วเรามีข้อได้เปรียบอะไรบ้างในบ้านเราซึ่งตัว Hydrogen เอง ผมก็ยังบอกว่ามันคือข้อได้เปรียบที่เรามีอยู่นะครับ

โอกาสของประเทศไทย

ผมคิดว่าไทยได้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในหลายๆ มุม และยังเหลืออีกมุมหนึ่งคือมุม Hydrogen ที่เราสามารถเอาเข้ามาใช้ได้แล้วก็ผมคิดว่าในอนาคตวันนี้ถ้าเราดูบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็น Exxon, Chevron อะไรต่างๆ ทุกคนมุ่งไปที่ Hydrogen หมด

เพราะฉะนั้น เทรนด์ของเรื่อง Hydrogen ในแง่ของการที่เขามาใช้ประโยชน์ในแง่ของการอนุรักษ์พลังงาน ในแง่ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มันเป็นสิ่งที่ต้องมาแน่นอน

ความท้าทายที่สุดของการทำ Transformation

การทำ Transformation ที่ท้าทายที่สุดคือการตั้งโจทย์ ตั้งโจทย์ก่อนว่าเราจะ Transform ไปทำไม เรื่องอะไร อย่างไร 

ในการ Transform อันแรกที่ผมคิดว่ายากมากๆ ก็คือการตั้งโจทย์ทำไมเราจะ Transform เราจะ Transform เรื่องอะไร อันที่สอง ที่ผมว่ายากไปแพ้กันคือ Mindset ของการ Transform ส่วนใหญ่องค์กรที่ใหญ่อย่างที่คุณพูดก็จะติดกับเรื่องของตัวเลข เรื่องของกำไร เรื่องของอะไรต่างๆ

เพราะฉะนั้นการที่จะไปเข้าอกเข้าใจลูกค้าจะค่อนข้างยากเหมือนกัน วันนี้ถ้าเราเข้าใจลูกค้าว่าลูกค้ากำลังเดินทางไปไหนแล้ว เราสามารถที่ไปเป็นเพื่อนร่วมทางได้น่าจะเป็นจุดที่ดี แทนที่จะรอเมื่อลูกค้าเรียกเรา เราไปอยู่ตรงข้างๆ แล้วคอยบอกทิศทางเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาไปด้วยกัน 

อันที่ 3 ที่ผมว่าน่าจะเป็นยากที่สุดเลยคือ Transform คน แล้วในบรรดาคนที่ผมว่า Transform ยากที่สุดเลยก็คือผู้บริหาร เพราะพอประสบความสำเร็จมาก่อนเราจะหลงติดกับดักอยู่ 2 ที่ คือ Ego กับ Blindspot 

3 เรื่องหลักสำหรับผู้บริหาร คือ 

  1. การไม่รู้ว่าจริงๆ เราไม่รู้ หลายๆ ครั้งผู้บริหารทำอะไรไปโดยที่จริงๆ แล้วไม่รู้

  2. เราไม่คุ้นเคยกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย วันนี้เราเจอสิ่งที่ไม่คุ้นเคยแต่เราไม่พยายามทำความคุ้นเคยกับมัน 

  3. เราคิดว่าเราไม่ปกติกับสิ่งที่มันปกติ คือเราไม่คิดว่าจริงๆ สิ่งนี้มันไม่ปกติหรอกเราน่าจะต้องทำความรู้จักมันให้เยอะกว่านั้น

เพราะฉะนั้น เราต้องกลับมานั่งพูดคุยกันว่า ทำอย่างไรเราจะรู้ว่าเราไม่รู้? ทำอย่างไรเราจะคุ้นเคยกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย? ทำอย่างไรเราจะคิดว่ามันไม่ปกติกับสิ่งคิดว่าปกติ? แล้วเราขยับไปที่ละเล็กทีละน้อย 

สรุป

ไม่ว่าจะธุรกิจไหน สิ่งสำคัญคือต้องเดินไปข้างๆ กับลูกค้า มีการพัฒนา หรือ Transform อย่างมีจุดหมาย พร้อม Mindset แห่งการไม่รู้ เพื่อเปิดรับสิ่งใหม่ ดังเช่นธุรกิจของ บีไอจี ที่อาจเป็นม้ามืดในวงการพลังงานของประเทศไทย

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกบทบาท CVC กับการลงทุนใน Startups ยุคใหม่ กับ Nicolas Sauvage หัวเรือใหญ่ TDK Ventures

เจาะลึกบทบาทของ CVC ในการขับเคลื่อนธุรกิจยุคใหม่ พร้อมเผยกลยุทธ์การเฟ้นหาและสนับสนุน Startups รวมถึงแบ่งปันวิสัยทัศน์เชิงลึกรวมถึงกลยุทธ์การลงทุนใน Startups ที่น่าจับตามอง โดย Nico...

Responsive image

คุยกับ ‘สินนท์ ว่องกุศลกิจ’ ผู้นำทัพการเปลี่ยนแปลงกลุ่มบริษัทบ้านปู และอนาคตของธุรกิจพลังงานสู่ทศวรรษที่ 5

รู้จัก ‘สินนท์ ว่องกุศลกิจ’ ผู้นำทัพการเปลี่ยนแปลงกลุ่มบริษัทบ้านปู และอนาคตของธุรกิจพลังงานสู่ทศวรรษที่ 5...

Responsive image

คุยกับ Andrew Ng ผู้ทรงอิทธิพล AI ระดับโลก | Exec Insight EP.75

พบกับบทสัมภาษณ์พิเศษจาก Andrew Ng โดย Techsauce...