Real Sector ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยมี Innovation เป็นเครื่องยนต์หลักที่จะผลักดันให้เดินหน้าได้อย่างเต็มสรรพกำลัง ตลอดจนบริหารต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับเป็นตัวแปรสำคัญที่จะสร้างสรรค์ธุรกิจและแหล่งรายได้ใหม่ ๆ ให้กับองค์กรธุรกิจด้วย
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะมีการส่งเสริมในด้านภาคเศรษฐกิจการเงินและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย
อย่างไรก็ตามการที่บริษัทจะรักษาความสามารถในการแข่งขันได้ จำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและรวมถึงการนำนวัตกรรม (Innovation) ที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนในการผลิตและให้บริการ รวมถึงการใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างธุรกิจหรือรายได้ใหม่ ๆ ให้แก่บริษัท
ดังนั้นการนำ Innovation ใหม่ ๆ มาใช้ร่วมกับกระบวนการผลิตและบริการที่มีอยู่เดิม หรือ แม้กระทั่งนำมาใช้แทนกระบวนการเดิมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป
Innovation สร้างแต้มต่อเช่นไร
อย่างไรก็ตาม ก่อนการนำนวัตกรรมมาใช้จำเป็นที่จะต้องพิจารณาในปัจจัยหลายด้านดังเช่น
1. กระบวนการ (Process) กระบวนการในที่นี้หมายถึงทุกกระบวนการ เช่น กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ และการสื่อสารภายในองค์กร เป็นต้น ก่อนที่จะนำนวัตกรรมมาใช้ภายใน บริษัทจำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์กระบวนการที่มีอยู่เดิม ทำการพัฒนาปรับปรุงกระบวน และกำหนดวิธีการควบคุมที่ชัดเจนและวัดผลได้
2. ค่าใช้จ่าย (Cost and Expense) เนื่องจากสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน บริษัทต้องต่อสู้ทั้งในเรื่องของคุณภาพและราคาในตลาดที่มีการแข่งขันที่สูง การนำนวัตกรรมมใช้นั้นทำให้บริษัทสามารถผลิตสินค้าและบริการออกมาได้ในระยะเวลาที่สั้นลง แต่นวัตกรรมมาพร้อมค่าใช้จ่ายซึ่งจะกระทบกับกำไรของบริษัทโดยตรง ดังนั้น การใช้นวัตกรรมจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบของราคาในภาพรวม
3. พนักงาน (Human capital) พนักงานเป็นตัวแปลที่สำคัญในความสำเร็จของการนำนวัตกรรมมาใช้ภายในบริษัท ซึ่งมีองค์ประกอบของ ทักษะความรู้ ความสามารถในการพัฒนา และทัศนคติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง
ในปัจจุบันมีสารพัดนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาโดย Startup มีจำนวนมากและออกมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่ได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับบรรดาธุรกิจหน้าใหม่มากขึ้น ซึ่งนอกจากในแง่ความร่วมมือกับหน่วยงานภายในองค์กรเองแล้ว ยังมีการตั้งบริษัทร่วมลงทุน (Venture Capital) เพื่อใช้ในการหานวัตกรรมมาช่วยสนับสนุนธุรกิจหลัก มองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และรวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามา disrupt ตัวธุรกิจหลัก ผ่านการลงทุน โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์และบริการ (Product and service) : ผลิตภัณฑ์และบริการที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยแก้ปัญหา (Pain point) ในเรื่องอะไร แล้วหากนำมาใช้แล้วจะมีผลกระทบ (Impact) อย่างมีนัยยะสำคัญ มากน้อยขนาดไหน
2. ขนาดของตลาด (Market Size) และ ความสามารถในการเติบโต (Potential to grow) : ถึงแม้ว่าความสำคัญหลักคือการนำผลิตภัณฑ์มาใช้เพื่อแก้ปัญหา Pain point แต่ในเมื่อเป็นการลงทุน ทุกคนต้องการเห็นการเติบโตของธุรกิจ ตลอดจนผลกำไรหรือการออกจากการลงทุน (Exit) ในอนาคต
ดังนั้นส่วนหนึ่งที่จะต้องพิจารณาคือขนาดของตลาดต้องมีขนาดใหญ่หรือตลาดมีการอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว และ ความเป็นไปได้ในการที่ธุรกิจของ Startup จะเติบโตได้ในอนาคต
3. ทีมผู้ก่อตั้ง (Founder Team) : จำเป็นที่จะต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในเชิงลึก (Domain expert) และควรมีองค์ประกอบ (Combination) ของทีมที่เหมาะสม ไม่ใช่มีทักษะเหมือน ๆ กันเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น เช่น ในทีมผู้ก่อตั้งเป็นนักพัฒนาทั้งหมด โดยไม่มีคนที่สามารถทำหน้าที่ดูแลการบริหารจัดการ การขาย การตลาด และการบริหารบุคคลากร เลย
4. แผนธุรกิจ (Business and Revenue Model) : ความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจที่นำเสนอมีความเป็นไปได้และความน่าเชื่อถือมากน้อยขนาดไหน
ด้วยเล็งเห็นถึงบทบาทของภาค Real Sector ที่จำเป็นต้องมีแรงสนับสนุนด้วย Innovation อย่างแท้จริง แนวทางการดำเนินธุรกิจในส่วนของ บริษัท มูนช้อต เวนเจอร์ แคปปิตอล จำกัด (มูนช็อต) ซึ่งเป็นบริษัทด้านธุรกิจ Venture Capital ที่ถือกำเนิดจากความร่วมมือของบริษัทในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้าง การขนส่ง พลังงานและ การเงิน จึงมีมุมมองและมุ่งมั่นกับการค้นหา Innovation มาเพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจเดิม
รวมถึงการแสวงหาธุรกิจใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งอาจจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม โดยจัดตั้งขึ้นเป็นรูปแบบของการถือหุ้นในบริษัท ซึ่งจะช่วยให้มูนช็อตมีพันธมิตรที่แข็งแกร่ง พร้อมช่วยให้ Startup ที่บริษัทลงทุนมีเครือข่ายที่แข็งแรงที่จะช่วยสนับสนุนธุรกิจของบริษัทเกิดใหม่เหล่านี้เดินต่อได้
ทั้งนี้ มูนช็อตจึงให้น้ำหนักกับการลงทุนใน Startup ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในด้าน Deep Tech เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Data Analytic IoT, Robotic และ Material Technology เป็นต้น ตลอดจนให้ความสนใจกับการลงทุนในฝั่ง Industrial Tech เช่น ทางด้านอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) การก่อสร้าง (Construction) เป็นต้น โดยเน้นการลงทุนในช่วงระหว่าง Late Seed ถึง Series B
การที่ Startup จะเติบโต จะต้องอาศัยความแข็งแกร่งของพาทเนอร์ ที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ทำให้ขอบเขตการลงทุนกว้างขึ้น สามารถกำหนดแผนกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างคล่องตัว
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด