หลายคนเชื่อว่ายุคของ Metaverse ใกล้จะมาถึงแล้ว และหาก Metaverse สามารถให้สิ่งที่ผู้คนต้องการได้จริง ๆ ก็เป็นสิ่งที่ควรคิดว่า Metaverse คืออะไรและควรเดินหน้าเข้าสู่โลกเสมือนแห่งอนาคตหรือไม่ หลายแบรนด์อาจกำลังชั่งใจอยู่และไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นในการเข้าสู่ Metaverse อย่างไร และแม้ว่าจะดูเป็นเรื่องน่ากลัว แต่การลองลุยกับอะไรใหม่ ๆ ก็คุ้มค่าที่จะลอง
Metaverse เป็นประสบการณ์ดิจิทัลบนอินเทอร์เน็ตที่เป็นสภาพแวดล้อมจำลอง สามมิติ และเป็นโลกเสมือนที่ไม่ได้เกิดขึ้นบนโลกจริง ๆ โดยประสบการณ์จาก Metaverse ได้มอบโอกาสสำคัญหลายอย่างให้กับเรา ไม่ว่าจะเป็น เล่น ทำงาน เชื่อมต่อ หรือซื้อสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งทำให้เราสนุกขึ้นและของที่ซื้ออาจจะมีในโลกจริง ๆ หรือในโลกเสมือนก็ได้
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าหลายบริษัทเดินหน้าเข้าสู่ Metaverse แล้ว โดยเฉพาะธุรกิจการบันเทิงและเกมที่เป็นผู้นำในเรื่องนี้
ในสภาพแวดล้อมจำลองของ Metaverse ไม่ได้มีแค่ธุรกิจที่ให้บริการลูกค้าโดยตรงเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ แต่ Metaverse ยังสามารถทำอย่างอื่นได้อีก เช่น การฝึกซ้อมผ่าตัดในอนาคตไปจนถึงการสาธิตผลิตภัณฑ์สำหรับการค้าปลีก และยังมีแอปพลิเคชันธุรกิจอีกมากมาย เช่น
การหาจุดยืนให้กับตัวเองและการสร้างสมดุลระหว่างความเสี่ยงและโอกาส แต่การที่จะสร้างความสมดุลได้ต้องมีความเข้าใจก่อน และถ้าหากบริษัทที่มีความรวดเร็วในการคว้าโอกาสก็จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจและเป็น Test Case ได้ ยกตัวอย่างเช่น
กรณีของการเล่นเกม จะเห็นได้ว่าแบรนด์ดังอย่าง Nike ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรสินค้าเสมือนจริง รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมการค้าปลีกเสมือนเพื่อขายสินค้าเหล่านั้น เห็นได้จากการเข้าซื้อบริษัท RTFKT เป็นบริษัทขายรองเท้าผ้าใบเสมือนใน Metaverse
ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าดีลการเข้าซื้อกิจการ หรือการประกาศกลยุทธ์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เข้าสู่โลก Metaverse แสดงให้เห็นถึง การใช้งาน Metaverse ในเชิงพาณิชย์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากพฤติกรรมใหม่ที่คนนิยมซื้อสินค้าและบริการโดยตรงจากโซเชียล หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘Social Commerce’ โดย Social commerce ในสหรัฐฯกำลังใหญ่กว่า E-commerce มากขึ้นต่อเนื่อง ตามรอยการเติบโตเช่นกันกับจีน
นอกจากนี้ Social commerce ก็สามารถเกิดขึ้นในโลกเสมือนได้เช่นกัน เช่น การสร้างโชว์รูม แฟชั่นโชว์ ห้องลองเสื้อผ้า ใน Metaverse ซึ่งไม่ได้ขายแค่สินค้าที่จับต้องได้เท่านั้น แต่ขายสินค้าเสมือนจริงที่จับต้องไม่ได้ด้วย เช่น Sotheby’s ประกาศขายศิลปะเสมือนใน Decentraland
อย่างไรก็ตาม จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้ สะท้อนให้เห็นว่า แบรนด์จะต้องเปิดโอกาสให้ตนเองได้ทดลองและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพราะ Metaverse อาจกลายมาเป็นวิธีการใหม่ ๆ ที่ผู้คนจะใช้ในการเชื่อมต่อ สื่อสาร และทำธุรกรรมกัน ดังนั้นการนั่งมอง Metaverse อยู่เฉย ๆ อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดี
ก่อนอื่นจะต้องลองสังเกตดูว่าผู้บริโภคของแบรนด์ใช้เวลาใน Metaverse นานเท่าไหร่ และประเมินให้ดีว่าเราจะปรับตัวเข้าสู่ Metaverse ได้เร็วขนาดไหน ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ที่โฟกัสกลุ่มคนอายุน้อยก็ต้องมีความรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องดูว่าเป้าหมายของแบรนด์คือใคร และดูว่าเทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันหรือผู้ที่มีแนวโน้มจะมาเป็นลูกค้าในอนาคตคืออะไรบ้าง
ถ้าบริษัทคู่แข่งที่อยู่ในระดับเดียวกันเริ่มมีความเคลื่อนไหวใน Metaverse แบรนด์ก็ควรเริ่มการพูดคุยกัน เช่น การหยิบมาพูดในงานประชุมผู้นำเพื่อจะได้มีบทสนทนาไปทั่วทั้งผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้ทุกคนเริ่มคิดถึงว่า Metaverse กำลังมา หรือแม้แต่แนวคิดที่เข้าใจยาก ๆ อย่าง NFT หรือ Blockchain เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องนำเสนอตัวอย่างหรือสิ่งที่สามารถจับต้องได้ในทุก ๆ การประชุม
แบรนด์ต้องประเมินได้ว่า Metaverse ให้โอกาสกับบริษัทมากขนาดไหน ไม่ใช่แค่โอกาสในการทำสิ่งใหม่ ๆ แต่ต้องเป็นสิ่งที่จะทำให้บริษัทสามารถไปถึงเป้าหมายระยะยาวได้ เช่น อาจจะลองดูว่าสิ่งไหนที่สามารถทำให้บริษัทเกิดความยั่งยืนได้บ้าง เพราะตอนนี้ความยั่งยืนกำลังเป็นเรื่องสำคัญ CMO แทบทุกคนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสร้างความยั่งยืน ดังนั้นให้ลองดูว่าแอปพลิเคชันไหนจะสามารถให้บริการกับลูกค้าด้วยวิธีที่ยั่งยืนได้มากขึ้น
ในขั้นตอนนี้อาจจะต้องมีการปรึกษาและให้โจทย์ทีมเอเจนซีลองสร้างมุมมองต่าง ๆ ออกมาว่าแบรนด์ควรไปอยู่ใน Metaverse อย่างไร และควรเข้าไปตอนไหนถึงจะเหมาะสม วิธีก็คือดูว่าลูกค้าของแบรนด์เป็นใคร แล้วแบรนด์ควรประเมินลูกค้าอย่างไรว่า เขาคาดหวังอะไรจากโลก Metaverse เมื่อรู้ถึงสิ่งเหล่านี้แล้วก็จะทำให้ก้าวเข้าสู่ Metaverse ได้สะดวกขึ้น
เมื่ออยู่ใน Metaverse แล้ว ก็ให้มองดูความเป็นจริงว่า Metaverse มีทั้งความเสี่ยงและโอกาส สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องจัดการให้ดี รวมถึงต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า Metaverse เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ และไม่มีมาตรฐานใด ๆ อีกทั้งยังไม่มีกฎตายตัวใน Metaverse
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุด ผู้ที่อยู่ในบทบาทแบรนด์มาเก็ตติ้งหรือผู้นำ ควรเริ่มคิดถึงวิธีการปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์และการเล่าเรื่อง โดยควรใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการคิดและพัฒนาประสบการณ์ Customer journey ตั้งแต่การมีส่วนร่วม การทำธุรกรรม และการบริการลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดี ซึ่งจะทำให้มีโอกาสย้ายจากโลกหนึ่งไปสู่โลกเสมือนได้อย่างไร้รอยต่อ
บทความนี้แปลและเรียบเรียงมาจาก Harvard Business Review
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด