Skillset ที่ต้องมีภายใต้การทำงานในโลกดิจิทัล และ Upskill อย่างไรให้พร้อมสู่ยุคใหม่ | Techsauce

Skillset ที่ต้องมีภายใต้การทำงานในโลกดิจิทัล และ Upskill อย่างไรให้พร้อมสู่ยุคใหม่

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โลกของเรานั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาของเทคโนโลยีหรือแม้แต่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้เราต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างทันที เมื่อการเข้ามาของเทคโนโลยีพร้อมกับการระบาดที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้คนนั้นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตเข้าสู่ New Normal มากขึ้น ทำให้พนักงานหลายๆ คนต้องย้อนกลับมาดูว่าพวกเขานั้นทักษะอะไรที่พร้อมสำหรับการทำงานภายใต้ยุคดิจิทัลเทคโนโลยีเช่นนี้ และจะ Upskill ตัวเองอย่างไรเพื่อไม่ให้ตกเทรนด์

Techsauce ได้รับเกียรติพูดคุยเรื่องของ Skillset ที่ต้องมีใน Digital Workforce และจะ Upskill อย่างไร? กับ คุณธนดร พร้อมมูล Product Specialist Collaboration ASEAN Thailand และคุณธีระวุฒิ มณฑา Success Programs Manager จาก Cisco ในรายการ Digital Workplace: A New Blueprint for Building an Agile Organization

พื้นฐานสำคัญที่องค์กรควรมีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

ในส่วนของ Blueprint for Future of Work สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของ People หรือพนักงาน โดยจะมี 3 ส่วนที่เราจะต้องคำนึง

  1. Workstyle เรื่องของรูปแบบการทำงานของคนในแต่ละ Generation ว่าพนักงานในแต่ละช่วงอายุนั้นใช้เครื่องมืออะไรประกอบกับการทำงาน 
  2. Workspace พื้นที่ทำงานของพนักงานเหล่านั้น ซึ่งต้องคำนึงถึงพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำงาน
  3. Workflow ในการทำ Agile หรือการติดต่อสื่อสารกันในองค์กร สิ่งสำคัญคือองค์กรนั้นต้องมีช่องทางในการเข้าถึงการติดต่อสื่อสารอย่างไรและแบบใด ซึ่งในอดีตการติดต่อสื่อสารอย่างเช่นการประชุมนั้นจะต้องทำในห้องประชุมจริงๆ แต่ในปัจจุบันเราสามารถที่จะประชุมผ่านทาง Virtual ซึ่งได้ประสิทธิภาพในการประชุมเท่ากับการประชุมในอดีต

ในส่วนของปัจจัยอย่างเรื่อง AI, Insight หรือ Security นั้นก็สามารถที่จะพัฒนาได้ต่อหลังจากที่องค์กรนั้นมีทั้ง 3 ส่วนทางด้านบนแล้ว

ทางองค์กรนั้นก็สามารถจะหาเครื่องมือมาใช้ในการทำงานร่วมกันภายในองค์กร ซึ่งในปัจจุบันนั้นก็มีตัวเลือกที่หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมแชท การสื่อสารด้วยเสียงหรือผ่านวิดีโอ นอกจากการนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ภายในองค์กร แต่ละภาคส่วนหรือแผนกก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานต่างๆ ได้ อย่างเช่น แผนก HR สามารถที่จะนำการทำ Video Conference มาใช้ในการสัมภาษณ์งาน ซึ่งทำให้การคัดเลือกบุคลากรนั้นรวดเร็วยิ่งขึ้น หรือ แผนกจัดซื้อก็สามารถที่จะใช้อุปกรณ์นี้ในการสื่อสารกับ Supplier ซึ่งก็เข้ามาช่วยในการเร่งการทำงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน

‘ต่าง Generation ต่าง Skillset’ องค์กรควรทำอย่างไรในการปรับพนักงานสู่ยุคดิจิทัล

ความท้าทายอย่างแรกในการ Upskill และ Reskill ของพนักงานนั้นคือ ‘ความพร้อมของตัวพนักงานเอง’ ว่าพวกเขานั้นพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนสู่สิ่งใหม่หรือไม่ ซึ่งทาง Cisco ก็นั้นก็ได้ใช้วิธี Reverse Mentoring หรือการนำคนสอง Generation มาเป็นบัดดี้กัน ซึ่งวิธีนี้จะทำให้คนทั้งสองวัยนั้นสามารถที่จะเรียนรู้ความคิด วิธีคิด หรือทักษะจากฝ่ายตรงกันข้ามได้อย่างมากขึ้น

Adoption หรือการนำไปใช้ก็ค่อนข้างเป็นเรื่องสำคัญในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล หากองค์กรนั้นมีการนำเทคโนโลยีไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พนักงานมี Learning Curve และสามารถที่จะปรับนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ได้ ก็จะทำให้การใช้เทคโนโลยีนั้นแพร่หลายในองค์กรและทำให้เกิดการใช้งานในระยะยาวมากขึ้น แต่ถ้าหากองค์กรมีการนำเทคโนโลยีไปใช้ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพพอ การใช้งานนั้นก็จะกระจุกตัวและหยุดอยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

Soft Skill-Hard Skill ทักษะอะไรที่ควรมี

Hard Skill นั้นเป็นทักษะที่มีอายุขัย ดังนั้นเราสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนา Hard Skill ต่างๆ เสริมเพิ่มเติมจากทักษะที่เรามีอยู่แล้ว ซึ่งในยุคเช่นนี้เราสามารถทำได้อย่างง่ายดาย ด้วยอุปกรณ์ที่ครบครันและแหล่งความรู้ที่กว้างขวาง 

แต่สำหรับ Soft Skill นั้นถือว่าเป็นทักษะที่ไม่มีวันหมดอายุและจะอยู่ติดตัวเราไปตลอด ทำให้เป็นสิ่งที่เรานั้นควรจะพัฒนา ซึ่ง Soft Skill ที่ค่อนข้างสำคัญในการทำงานในยุคนี้ก็คือ

  • การสื่อสาร จะต้องสื่อสารและประสานงานทั้งภายในและภายนอกได้ 
  • การใช้เครื่องมือ เนื่องจากทุกวันนี้นั้นมีการใช้เครื่องมือมากขึ้น พนักงานจะต้องใช้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์ที่สุดและจะต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับตัวบุคคล แผนกหรือเนื้องาน เพื่อที่จะต่อยอดให้เกิดผลประโยชน์ที่ดีมากขึ้น



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มองศึก Virtual Bank ไทย เทียบชั้นผู้เล่นบนเวทีโลกได้หรือไม่

หลังจาก ธปท. เปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจจัดตั้ง Virtual Bank ยื่นขอเข้ามา ส่งผลให้ธุรกิจการเงินในไทยกลับมาคึกคักมากขึ้น...

Responsive image

Google Workspace อัปเกรดครั้งใหญ่ ! ดึงพลัง AI พลิกโฉมการทำงาน

Google Workspace บริการชุดแอปพลิเคชันผ่านระบบคลาวด์ ได้รับการยกเครื่องครั้งใหญ่ด้วยการผสานความสามารถของ Generative AI ในหลากหลายแอปพลิเคชันยอดนิยม เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องที่...

Responsive image

จาก ลี เซียงลุง สู่ ลอว์เรนซ์ หว่อง ว่าที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4

ลี เซียนลุง ได้สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในวันที่ 16 เมษายน 2024 ก่อนจะส่งไม้ต่อให้ ลอว์เรนซ์ หว่อง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ก้าวขึ้นสู่การเป็นนายกรั...