รู้จัก 4 แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ สะดวกสบาย ตอบโจทย์คนยุคดิจิทัล | Techsauce

รู้จัก 4 แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ สะดวกสบาย ตอบโจทย์คนยุคดิจิทัล

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ เราทุกคนนั้นเริ่มที่จะคุ้นชินกับสิ่งที่เรียกว่า New Normal หรือวิถีปกติใหม่ COVID-19 นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ได้เข้ามาเปลี่ยนชีวิตของทุกคนไปอย่างสิ้นเชิง จากมาตรการลดระยะห่างทางสังคมและกักตัวอยู่บ้าน ทำให้ผู้คนนั้นไม่สามารถออกไปซื้อของตามห้างสรรพสินค้าหรือที่อื่น ๆ ได้แบบตามเดิม ทำให้ผู้คนนั้นหันเข้าหาโลกดิจิทัลมากขึ้น รวมทั้งคนที่ไม่เคยเปิดใจใช้แพลตฟอร์มออนไลน์มาก่อน ก็ได้เริ่มใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้มากขึ้น และหลังจากสถานการณ์ภายในประเทศเริ่มดีขึ้น ผู้คนก็ยังเลือกที่ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เช่นเดิม เพราะว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้นั้นได้ให้ความสะดวกสบาย รวดเร็ว และปลอดภัยในการซื้อของต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าแฟชั่น สินค้าตกแต่งบ้าน หรืออาหาร

ทำให้วันนี้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) จะพาทุกคนมารู้จัก 4 Startups ไทย ที่ตอบโจทย์การช้อปปิ้งออนไลน์ให้เราสะดวกในการจับจ่ายใช้สอยได้ดียิ่งขึ้น

4 แพลตฟอร์มออนไลน์จาก Startup ไทย เสริมประสบการณ์การช้อปปิ้งให้ดียิ่งขึ้น

1. ChomCHOB

ChomCHOB หรือชมชอบ เป็นแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนแต้ม ทั้งแต้มจากบัตรเครดิตและบัตรสมาชิกต่าง ๆ รวมทุกสกุลแต้มมาไว้ที่ชมชอบ เพื่อทำการแลกสินค้าหรือบริการบนแพลตฟอร์มกว่า 500,000 รายการ

ซึ่งในตอนนี้ชมชอบก็ได้เข้าสู่ปีที่ 5 ด้วยฐานลูกค้ากว่า 2 ล้านคน และยังมีพาร์ทเนอร์กว่า 1,000 ราย และในปัจจุบันชมชอบยังเป็นแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนแต้มอันดับหนึ่งของไทย ทางชมชอบนั้นก็มีความมุ่งมั่นในการตอบโจทย์ความต้องการใช้แต้มของลูกค้าเสมอมา ทางชมชอบนั้นสามารถช่วยให้ลูกค้านำแต้มมาชำระค่าสาธารณูปโภค ชำระเบี้ยประกัน ชำระค่าโทรศัพท์ โอนแต้มไปยัง E-wallet ต่าง ๆ ได้ และล่าสุดเรามีแคมเปญการออมแต้มให้ผลตอบแทนแก่ลูกค้าที่ไม่รู้ว่าจะใช้แต้มกับอะไรดีก็เอาแต้มมาออมได้ 

ซึ่งลูกค้าของชมชอบส่วนมากนั้นคือผู้ที่ถือบัตรเครดิตและบัตรสมาชิกต่าง ๆ ที่เมื่อใช้ชมชอบแล้วจะสามารถจะรวมแต้มที่กระจัดกระจายมาไว้ที่เดียว จึงทำให้แต้มมีมูลค่ามากขึ้น และนำมาแลกสินค้าและบริการได้หลากหลายขึ้น

ChomCHOB จะแก้ Pain Point อย่างไร?

บริการของ ChomCHOB จะช่วยแก้ Pain Point ในภาคธุรกิจ ในการช่วยเจ้าของแต้มระบายแต้ม ช่วยให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้นในการใช้แต้ม และช่วยเจ้าของสินค้าให้มียอดขายมากขึ้น จากการใช้แต้มมาซื้อของ ซึ่งในปัจจุบันแต้มบัตรต่าง ๆ ในระบบมีมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท ด้วยมูลค่าแต้มจำนวนนี้ สามารถเพิ่มโอกาสการสร้างยอดธุรกิจของภาคธุรกิจได้จำนวนมาก

2. Devers Technologies

Devers เป็น Cloud Kitchen Food Delivery Platform โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาทั้ง Ecosystem ของ Cloud Kitchen Food Delivery ซึ่งทาง Devers นั้นมีครัวกลาง พัฒนาสูตรอาหาร มีการอบรมไรเดอร์ด้านการขับขี่และมารยาท มีการพัฒนา Devers Application รวมถึงเก็บข้อมูล Transaction เพื่อนำไปใช้สร้างกลยุทธ์ในอนาคต

ซึ่งสินค้าของ Devers ในปัจจุบันที่พึ่งเปิดตัวไปก็มีเมนู Street Bowl 14 เมนู และที่จะเปิดตัวในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้คือเมนูยำ ตามด้วย Plant- based Menu ซึ่งในเดือนถัด ๆ มาก็มีแผนที่จะเริ่มเตรียมเมนูใหม่ ๆ เรื่อย ๆ เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเช้า หรือเครื่องดื่มเช่น กาแฟ ชา เเละน้ำผลไม้ Cold Press

นอกจากนี้ไฮไลท์ทีที่ทาง Devers กำลังพัฒนาคือเมนู ChefX คือเมนูที่มีการร่วมมือกับเชฟที่มีชื่อเสียงหรือ Celebrity Chef ออกเมนูอาหารที่มีเฉพาะกับ Devers เท่านั้น เพื่อให้ลูกค้าที่อยากทดลองทานอาหารจากเชฟท่านนั้น ๆ ได้ทานเมนูที่อยากทานในคุณภาพระดับเชฟ พร้อมราคาที่จับต้องได้ และหาซื้อได้ง่ายสะดวกรวดเร็ว

Devers จะแก้ Pain Point อย่างไร?

เนื่องจาก Devers มีความต้องการที่จะพัฒนาทั้ง Ecosystem ของ Cloud Kitchen Food Delivery ดังนั้น Pain Point ที่มองเห็นจะไม่ใช่แค่ในมุมของ End User แต่เป็น Pain Point ที่ได้พบจากทั้ง ระบบไม่ว่าจะเป็นเรื่องของไรเดอร์หรือครัว และ Pain Point ที่ขาดไม่ได้คือปัญหาจากลูกค้า ที่เวลาดูรายการแข่งอาหาร ก็จะเห็นเมนูที่เชฟทำมาแข่งแต่ไม่สามารถหาเมนูเหล่านั้นทานได้ในตลาด หรือเป็นราคาที่ไม่สามารถจับต้องได้ Devers ได้เล็งเห็นความต้องการส่วนนี้จึงทำให้เกิดเป็นเมนู ChefX ที่ Devers กำลังพัฒนาอยู่ในปัจจุบัน

3. Homeprise

Homeprise หรือโฮมไพร์ส เป็นแพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านและบริการออกแบบ ตกแต่งภายในพร้อมขนส่งติดตั้งครบวงจร โดยเข้าถึงได้ผ่านเว็บไซต์ Homeprise และแอปพลิเคชัน Homeprise นอกจากนี้ยังมีบริการนัดหมายเจ้าหน้าที่ไปถึงที่บ้าน มีสินค้าจากแบรนด์ของแต่งบ้านมากกว่า 80 แบรนด์ มีพันธมิตรผู้รับเหมางานตกแต่ง พันธมิตรดีไซเนอร์กว่า 300 ท่าน มีผลงานตกแต่งและติดตั้งไปแล้วกว่า 1,000 ห้อง ทั้งคอนโด บ้านแนวราบ และบ้านตัวอย่างของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

Homeprise จะแก้ Pain Point อย่างไร?

การแต่งบ้านให้สวยและใช้งานได้ดี นั้นต้องการมากกว่าแค่การเอาเฟอร์นิเจอร์หลาย ๆ ชิ้นไปวาง แต่ต้องดูความลงตัวกลมกลืนของภาพรวมเพื่อความสวยงาม และฟังก์ชันใช้งานที่เข้ากับพื้นที่ห้องจริง ๆ ซึ่งหากคนซื้อไม่มีประสบการณ์มากพอ อาจซื้อสินค้าผิดขนาด ผิดฟังก์ชัน ต้องเสียเงินแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้เกิดปัญหาแต่งบ้านแล้วงบประมาณบานปลาย หรือหลายครั้งมีการโดนผู้รับเหมาโกงโดนทิ้งงาน 

ซึ่ง Homeprise ช่วยแก้ไข Pain Point นี้ได้ ด้วยการมีเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ 3D-Interactive ผ่านแอปพลิเคชันของ Homeprise รวมถึงการมี Interior Design Package แพ็กเกจที่จัดของตกแต่งสำหรับห้องต่าง ๆ ไว้ แล้วสามารถนำไปวางตกแต่งก็สวยได้ทันที หรือหากเจ้าของบ้านต้องการคนออกแบบเฉพาะ แต่ไม่รู้จักดีไซเนอร์ ก็สามารถเข้ามาเลือกจาก Designer Hub ของโฮมไพร์ส ซึ่งเป็นดีไซเนอร์มืออาชีพที่ผ่านการคัดกรองว่าจะไม่ทิ้งงาน มีค่าออกแบบชัดเจน สามารถดูผลงานก่อนว่าจ้าง และติดต่อว่าจ้างได้เลยในแพลตฟอร์ม Designer Hub ของโฮมไพร์ส

4. Hungry Hub

Hungry Hub “Restaurant Reservation With Exclusive Dining Deals” แพลตฟอร์มจองร้านอาหาร พร้อมรับข้อเสนอพิเศษ และรับโปรโมชั่นสุดพิเศษที่มอบให้เฉพาะลูกค้าที่จองผ่านระบบ Hungry Hub เท่านั้น ทำให้ลูกค้าไม่ต้องกังวลกับปัญหางบบานปลาย ทานอาหารไม่อิ่มอีกต่อไป มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะอิ่มอร่อยกับเมนูคุณภาพในบรรยากาศดี ๆ ด้วยแพ็กเกจ ที่ตอบโจทย์ดังนี้

  1. All You Can Eat: ให้ลูกค้าได้อิ่มอร่อยได้ไม่อั้นในเวลา 2 ชั่วโมง 
  2. Party Pack : ชุดอาหารสุดคุ้มแสนอร่อยที่คัดสรรและออกแบบมาสำหรับแชร์กันระหว่างเพื่อนฝูงและครอบครัวในร้านชั้นนำพร้อมราคาสุดพิเศษ
  3. Buffet Plus: นอกจากจะอร่อยไม่อั้นที่ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ชั้นนำแล้วยังจะได้รับสิทธิพิเศษที่มอบให้สำหรับลูกค้า Hungry Hub เท่านั้น
  4. Hungry Lunch: อิ่มอร่อยไปกับหลากหลายร้านอาหารที่คัดสรรแต่เมนูเด็ดมาเสิร์ฟเป็นชุดมื้อกลางวันสุดคุ้ม 

Hungry Hub จะแก้ Pain Point อย่างไร?

Hungry Hub จะช่วยตอบโจทย์การคุมงบประมาณในการรับประทานอาหาร รู้ว่าจะได้กินอะไรบ้างในราคาเท่าไหร่ ด้วยเป้าหมายของ Hungry Hub คือ ต้องการให้ลูกค้าทราบราคาสุทธิที่ต้องจ่ายในมื้อนั้นก่อนเดินเข้าร้านอาหาร หมดปัญหาเรื่องงบที่บานปลาย และยังต้องการช่วยให้ร้านอาหารมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน

ติดตาม Startup ไทยที่มีโซลูชันและบริการดีcๆ ได้ใน “Startup Marketplace is Live Now” รายการที่จะช่วยสร้างช่องทางการตลาดให้กับ Startup ไทยในช่วงสถานการณ์วิกฤต โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่ง ชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และข้อมูลข่าวสาร ได้ที่

FB Page: Startup Thailand

FB Group: Startup Thailand Marketplace

บทความนี้เป็น Advertorial



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...