จากการระบาดของไวรัส COVID-19 เมื่อต้นปีและได้ดำเนินต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันนั้นได้ส่งผลกระทบต่อหลาย ๆ อุตสาหกรรมอย่างมาก แต่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดก็คงหนีไม่พ้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจำนวนมากขาดความมั่นใจในการกลับมาเที่ยวในรูปแบบเดิม ๆ และพวกเขาจำนวนมากนั้นก็ได้ปรับตัวเองเข้าสู่การท่องเที่ยววิถีใหม่หรือ New Normal
จากแนวโน้มนักท่องเที่ยวในปัจจุบันจะพบว่านักท่องเที่ยวนั้นจะเดินทางแบบกลุ่มเล็ก ๆ และเดินทางแบบ Road Trip หลีกเลี่ยงการเดินทางที่จะต้องพบปะคนจำนวนมาก รวมถึงการหันเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากกังวลเรื่องความเสี่ยงจากการระบาดของไวรัส ทำให้ประเด็นในเรื่องของความปลอดภัยและความสะดวกสบายนั้นกลายเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น
ทำให้ในปัจจุบันนี้มีหลากหลายแพลตฟอร์มและธุรกิจที่ได้ช่วยให้การท่องเที่ยวนั้นรวดเร็ว สะดวกและปลอดภัย ซึ่งทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จึงจะพาทุกคนไปรู้จักกับ Startup สายการท่องเที่ยวของไทยที่พร้อมสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย
Golfdigg แพลตฟอร์มให้บริการจองสนามกอล์ฟออนไลน์ที่ได้เข้ามาเปลี่ยนอุตสาหกรรมกอล์ฟจากระบบออฟไลน์สู่ระบบที่ทันสมัย เพื่อให้นักกอล์ฟจากทั่วโลกสามารถจองสนามกอล์ฟได้ตลอด 24 ชั่วโมง มากกว่า 170 สนามใน 40 จังหวัดทั่วประเทศไทย โดยสามารถจองได้ล่วงหน้านานถึง 6 เดือน พร้อมด้วยราคาพิเศษและโปรโมชั่นมากมาย นอกจากนี้ Golfdigg นั้นยังมีระบบ e-Coupon ที่จะเหมาะกับนักกอล์ฟที่ต้องการซื้อจำนวนมากๆ เช่น 5 ใบ 10 หรือ 20 ใบ และตั๋วเข้าชมการแข่งขันกอล์ฟและแพ็คเกจตีกอล์ฟพร้อมที่พัก สปา คอร์สเรียนและอุปกรณ์กอล์ฟเช่นเดียวกัน ในส่วนของฝั่งสนามกอล์ฟ ทาง Golfdigg นั้นมีทั้ง Online Solution ที่ช่วยบริหารจัดการภายในสนาม กอล์ฟให้ง่ายและสะดวกมากขึ้น รวมถึงมี Marketing Solution ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับสนามกอล์ฟ
Golfdigg จะช่วยแก้ Pain Point อย่างไร?
จากแต่ก่อนที่นักกอล์ฟอาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหาสนามกอล์ฟที่ต้องการหลาย ๆ เว็บไซต์ โซลูชันของ Golfdigg นั้นได้เข้ามาช่วยให้นักกอล์ฟนั้นสามารถค้นหาสนามกอล์ฟ และหาเวลาที่ต้องการ พร้อมหาโปรโมชั่นที่โดนใจ แล้วทำการจองผ่านทาง Online โดยจองเสร็จได้ภายใน 1 นาทีเท่านั้น ทำให้นักกอล์ฟนั้นสามารถประหยัดเวลาและยังสะดวกสบายอย่างมาก
Local Alike นั้นเป็นกิจการเพื่อสังคมที่มองเห็นศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น จึงมุ่งพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุมชน (Community Based Tourism) เพื่อช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ เติบโต และพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งในตอนนี้ Local Alike นั้นมีธุรกิจอยู่ใน 3 กลุ่มด้วยกัน
Local Alike จะช่วยแก้ Pain Point ได้อย่างไร ?
การท่องเที่ยวไทยนั้นถือว่ามีมูลค่าสูงและเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอันดับต้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามแต่ การกระจายรายได้ในเรื่องการท่องเที่ยวของไทยนั้นยังไม่สามารถเข้าถึงชุมชนได้เพียงพอ Local Alike จึงเกิดเป็น Community-based Tourism หรือการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อที่จะช่วยเป็นหนึ่งตัวช่วยในการกระจายรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น
MuvMi นั้นเป็นบริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าวิ่งเฉพาะย่าน และสามารถเรียกผ่านแอปพลิเคชัน เป็นการให้บริการแบบ Sharing โดยจะรับผู้โดยสารที่เดินทางไปในเส้นทางเดียวขึ้นรถไปด้วยกัน ซึ่งค่าบริการนั้นจะคิดตามระยะทางเริ่มต้นที่ 10 บาท โดยในปัจจุบันเปิดให้บริการใน 5 พื้นที่ ได้แก่ จุฬาฯ-สามย่าน, อารีย์-สะพานควาย, พหลโยธิน-ลาดพร้าว, รัตนโกสินทร์ และ อโศก-นานา
Muvmi จะช่วยแก้ Pain Point ได้อย่างไร?
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันนี้การเดินทางในกรุงเทพนั้นยังไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกพื้นที่ โดยเฉพาะตรอกซอกซอยเล็ก ๆ ที่ขนส่งคมนาคมหลักนั้นไม่สามารถเข้าถึง ดังนั้น Muvmi นั้นจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาด้านการเชื่อมต่อขนส่งมวลชน จาก BTS หรือ MRT ไปยังที่ทำงาน สถานศึกษา และที่พักที่ไม่อยู่ในระยะเดินจากสถานี นอกจากนี้ด้วยรูปแบบของบริการที่เป็นแบบ Sharing ก็จะช่วยให้ค่าบริการต่อคนนั้นลดลง เมื่อเรียกใช้บริการด้วยจำนวนคนที่มากขึ้นต่อครั้ง
Take Me Tour แพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างนักท่องเที่ยว คนพาเที่ยวและคนในท้องถิ่นที่ทำให้พวกเขานั้นสามารถเข้าถึง เรียนรู้ประสบการณ์และวิถีชีวิตของไทยได้อย่างไร้รอยต่อ หรือ Local Experience อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่ให้คนในท้องถิ่นที่อยากจะพาเพื่อนชาวต่างชาติเที่ยวก็สามารถสร้างทริปตัวเองได้บนแพลตฟอร์มอีกด้วย ซึ่งในส่วนของด้านนักท่องเที่ยวต่างชาติก็สามารถที่จะเข้ามาเลือกทริปและจองออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์ได้เช่นเดียวกัน โดยบริการของ Take Me Tour นั้นจะมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน คือ
Take Me Tour จะช่วยแก้ Pain Point ได้อย่างไร?
Take Me Tour นั้นจะช่วยเป็นตัวกลางในการจัดการจองที่อำนวยความสะดวกสบายให้กับลูกค้า แบบ One-stop Service เช่น การจองรถเช่าพร้อมตากล้องที่ได้รวมมาเป็นแพคเดียวกัน เพื่อให้ลูกค้าสามารถจ่ายได้ในราคาที่คุ้มค่าที่สุด และถูกกว่าราคาทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้บริการของ Take Me Tour นั้นยังได้ช่วยชุมชนและเกษตรกร สร้างช่องทางเพิ่มรายได้จากกิจกรรมและผลิตภัณฑ์ที่มีมาต่อยอดให้เกิดรายได้ และยังเป็นขวัญกำลังใจกับชุมชนในช่วงการระบาดของ COVID-19 นี้อีกด้วย
โดยทุกท่านสามารถติดตามสตาร์ทอัพไทยที่มีโซลูชั่นและบริการดี ๆ ได้ใน “Startup Marketplace is Live Now” รายการที่จะช่วยสร้างช่องทางการตลาดให้กับสตาร์ทอัพไทย ในช่วงสถานการณ์วิกฤต โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และข้อมูลข่าวสาร ได้ที่
FB Page: Startup Thailand
FB Group: Startup Thailand Marketplace
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด