Telehealth หาหมอแบบออนไลน์ หายไว จ่ายน้อย | Techsauce

Telehealth หาหมอแบบออนไลน์ หายไว จ่ายน้อย

Telehealth หรือการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการดูแลสุขภาพของประชาชน ทำให้ประชาชนนั้นสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพร่างกายได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล และช่วยลดปัญหาความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลอีกเช่นกัน ซึ่ง Telehealth นั้นได้สนับสนุนการให้บริการทางสุขภาพที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาจากแพทย์กับคนไข้ การให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ในที่ห่างไกล และการให้ความรู้เรื่องยาเภสัชกรสู่ประชาชน

จากการสำรวจล่าสุดพบว่า COVID-19 ได้ทำให้พฤติกรรมการใช้บริการทางการแพทย์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเท่าตัว จากการใช้งาน 11% ในปี 2019 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 76% ในช่วงการระบาดของ COVID-19 และการให้บริการ Telehealth นั้นเพิ่มขึ้น 57% เป็น 64% 

ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การ มหาชน) หรือ NIA ได้มี 4 Startup ทางการแพทย์มาแนะนำในรายการ “Startup Marketplace is LIVE Now” เพื่ออำนวยความสะดวกในการรักษาที่ดีและสุขภาพที่ดีขึ้นของทุกคน

4 Startup ทางการแพทย์ หาหมอแบบออนไลน์ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง

1.Chiiwii

Chiiwii แอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผ่านวีดี โอคอล เสียงและแชท โดยสามารถทำนัดล่วงหน้าได้ จ่ายเงินผ่านแอป และสามารถใช้สวัสดิการองค์กรหรือตัดประกันสุขภาพได้ มีระบบจัดส่งยาตามคำสั่งแพทย์ไปถึงที่บ้าน และการบันทึกข้อมูลสุขภาพอย่างปลอดภัยบนคลาวด์

Chiiwii จะช่วยแก้ Pain Point ได้อย่างไร?

บริการของ Chiiwii นั้นจะให้ลูกค้านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ ในราคาที่เหมาะสม ประหยัดเวลาและสะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทางในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพเบื้องต้น หรือกลุ่มโรคเรื้อรัง และจะช่วยในเรื่องของ Cost Effective Time Management ในการจัดสรรทรัพยากรของโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งบริการของ Chiiwii นั้นมี Specialist ที่ครบและหลากหลายและมีหมอครอบคลุมเกือบทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นสหวิชาชีพ หรือแพทย์ทางเลือก

2. Doctor A to Z

Doctor A to Z เป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีให้กับกลุ่มผู้ประกอบกิจการธุรกิจสุขภาพ ปรับเปลี่ยนและขยายธุรกิจในด้านออนไลน์ ด้วยโครงสร้างเทคโนโลยีที่ทันสมัย ครอบคลุมทั้งส่วน Technology และ Service Provider โดยบริการของ Doctor A to Z นั้นจะสามารถช่วยผู้ประกอบการ

  1. ลดต้นทุนการพัฒนามากกว่า 90 %
  2. ลดระยะเวลาในการพัฒนา 90 %
  3. ช่วยลดภาระงาน มากกว่า 80 %

นอกจากนี้ Doctor A to Z ยังมีรูปแบบการดูแลพนักงานและการบริหารจัดการต้นทุนด้านสุขภาพที่สามารถยืดหยุ่นให้กับองค์กรต่าง ๆ โดยให้บริการผ่านระบบ Virtual Care และ บริการ Doctor on Site ที่จะช่วยดูแลพนักงานได้ครบ 360 องศา

โดยบริการของ Doctor A to Z จะมีอยู่ 3 ส่วนหลักคือ 

  1. Hospital on Cloud: บริการระบบ Virtual Healthcare (App & Web) ในรูปแบบ White Labelling ให้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจและบริการสุขภาพ เช่น โรงพยาบาลหรือ บริษัทประกัน
  2. Online Healthcare Services: บริการสุขภาพ ออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ปรึกษาแพทย์ออนไลน์, บริการการจัดการด้านยา หรือเเพ็คเกจสุขภาพออนไลน์จากเครือข่ายโรงพยาบาล
  3. Medical Tourism: บริการช่องทางเข้าถึงบริการสุขภาพในประเทศไทยสู่เครือข่ายโรงพยาบาลชั้นนำ

Doctor A to Z จะช่วยแก้ Pain Point ได้อย่างไร?

  1. ลดระยะเวลาการรอคอยหมอ 
  2. มีช่องทางที่จะปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญได้สะดวก 
  3. ลดความแออัดในโรงพยาบาลรัฐ
  4. เข้าถึงบริการสุขภาพอื่นๆ ครอบคลุม 360 องศา

3. HealthSmile X LabMove

HealthSmile X LabMove เป็นการให้บริการเจาะเลือดนอกโรงพยาบาล เช่น ที่บ้าน คลินิกเทคนิคการแพทย์ ศูนย์บริการสุขภาพ หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน โดยนักเทคนิคการแพทย์ผู้มีใบประกอบวิชาชีพ สามารถทำการจองวันเวลานัดเจาะเลือดผ่านแอปพลิเคชัน LabMove ซึ่งให้บริการตามมาตรฐานและการรับรองของโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญา ลดความแออัด ลดความเสี่ยง ลดเวลาในการไปโรงพยาบาล 2-3 เท่า เป็นทางเลือกให้คนไข้และญาติเลือกใช้บริการในรูปแบบ New Normal

โดยในฝั่งของ HealthSmile จะเป็นการให้บริการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงและความต้องการของผู้รับบริการ โดยมีระบบที่จะช่วยเลือกรายการตรวจสุขภาพที่เฉพาะเจาะจงกับแต่ละคน สามารถเพิ่ม-ลด-ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้รับบริการ โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำผ่านทาง Online เพื่อให้การตรวจสุขภาพแต่ละครั้งมีความเฉพาะเจาะจง สะดวก และมั่นใจได้

และในฝั่งของ LabMove เป็นบริการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการในการเจาะเลือดตรวจสุขภาพที่บ้าน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การเข้าถึงบริการตรวจเลือดได้ง่ายขึ้น เพื่อรองรับ Megatrend ด้าน Telemedicine ที่จะมีมากขึ้นในอนาคต

HealthSmile X LabMove จะช่วยแก้ Pain Point ได้อย่างไร?

  1. ประหยัดเงินและประหยัดเวลา เนื่องจากผู้รับบริการสุขภาพ ย่อมไม่อยากเดินทางมาโรงพยาบาลหลายครั้ง และไม่อยากอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน
  2. ลดความแออัดและช่วยป้องกันความเสี่ยงของการติดเชื้อโรคต่าง ๆ จากในโรงพยาบาล
  3. สะดวก เตรียมตัวง่าย ๆ ได้ที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องรีบมารอคิวเจาะเลือดที่สถานพยาบาลแต่เช้า โดยสามารถเลือกวันและเวลาที่ตนเองสะดวกได้ง่าย ๆ
  4. แก้ปัญหาความลำบากในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ หรือคนไข้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยช่วยลดขั้นตอนให้เหลือแค่การมารอพบแพทย์หน้าห้องตรวจตามเวลานัด โดยจะได้พบแพทย์เป็นคิวต้น ๆ ใช้เวลาตรวจไม่นานไปจ่ายเงินและรับยาในช่วงที่คนไข้น้อย ๆ

4. PharmaSafe 

PharmaSafe เป็น TeleMedication Care Platform เป็นระบบติดตามการรักษาและแนะนำการใช้ยาผู้ป่วยที่บ้าน พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มคุณภาพการรักษาต่อเนื่อง และลดปัญหาการใช้ยาผิด (Medication Errors) ของผู้ป่วย ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้น ๆ ของการรักษาพยาบาลทั่วโลก

ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ แอปมือถือที่เป็นผู้ช่วยแนะนำการใช้ยาให้กับผู้ป่วย โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจ่ายยาของโรงพยาบาล แสดงข้อมูลยาของผู้ป่วยอัตโนมัติ สามารถเตือนเวลาทานยาตามที่แพทย์สั่งและเตือนความเสี่ยงของการใช้ยาอัตโนมัติ โดยข้อมูลและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยที่บ้านนี้จะถูกส่งไปยังส่วนที่ 2 คือ Dashboard รายงานผลสุขภาพ ซึ่งทางแพทย์สามารถติดตามการรักษาได้แบบ Real-Time โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อช่วง COVID-19

PharmaSafe จะช่วยแก้ Pain Point ได้อย่างไร?

โดยบริการจาก PharmaSafe จะช่วยแก้ Pain Point ในฝั่งผู้ป่วยในเรื่องของการใช้ยาถูกชนิด ถูกวิธีและถูกเวลา สามารถมั่นใจว่าได้รับยาที่ถูกต้อง มีข้อมูลครบถ้วน มีข้อมูลยาติดตัวตลอดเวลาเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน และยังช่วยป้องกันความเสี่ยงก่อนเกิดอันตรายจากยา และในฝั่งของสถานพยาบาลบริการของ PharmaSafe จะช่วยเพิ่ม Patient Engagement ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยในการช่วยดูแลความปลอดภัยในการใช้ยา เพิ่มคุณภาพการรักษาและให้บริการด้านยาทางไกล และยังเป็นระบบอัตโนมัติและส่งเสริมแนวทาง Self-care และ Prevention ลดภาระบุคลากรในระยะยาว             

ติดตาม Startup ไทยที่มีโซลูชันและบริการดี ๆ ได้ใน “Startup Marketplace is Live Now” รายการที่จะช่วยสร้างช่องทางการตลาดให้กับ Startup ไทย ในช่วงสถานการณ์วิกฤต โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และข้อมูล ข่าวสาร ได้ที่

FB Page: Startup Thailand

FB Group: Startup Thailand Marketplace

บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...