500 Global ปิดรอบระดมทุน กองทุน Early Stage สำหรับสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ด้วยมูลค่ามากกว่า 143 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 5 พันล้านบาท)
500 Global เป็นธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ที่มีสำนักงานใหญ่ในซานฟรานซิสโก ปัจจุบันมีสินทรัพย์ภายใต้การบริการถึง 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และให้การสนับสนุนบริษัทมากกว่า 2,800ในกว่า 80 ประเทศ โดยจะเน้นลงทุนกับบริษัทเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว
ซึ่งในภูมิภาคอาเซียน 500 Global ได้ให้การสนับสนุนบริษัทมากกว่า 340 แห่ง มีบริษัทใหญ่ๆอย่าง Grab, Carsome และ eFishery3 เป็นต้น
กองทุนใหม่ของ 500 Global มีชื่อว่า 500 Southeast Asia III หรือ 500 SEA III ซึ่งมีหน่วยงานจัดการ กองทุน ในฐานะคู่ค้ารวมถึงกองทุนสวัสดิการของรัฐ และ กองทุนเงินบำนาญภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงกองทุนของมหาวิทยาลัย กับบริษัทในเครือของ 500 Global ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์
กองทุนใหม่ของ 500 Global โฟกัสการลงทุนใน “ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี AI” เพื่อไปพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในพื้นที่ชนบท สร้างเมืองที่ยั่งยืน สร้างผลผลิตให้มนุษย์และเครื่องจักร และเพื่อสุขภาพรวมถึงความมั่นคงทางการเงิน
โดยตั้งเป้าที่จะสนับสนุนสตาร์ทอัพระดับ pre-seed, seed และ Series A รวม 100 ราย และจะให้เงินทุนครั้งแรกที่ราวๆ 250,000 ถึง 500,000 ดอลลาร์ ทั่วทั้งอาเซียนซึ่งมี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
ภูมิภาคอาเซียนคาดว่าจะเป็นหนึ่งในหมุดหมาย ของการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของเมือง แรงหนุนจากการค้า ห่วงโซ่อุปทานที่หลากหลาย อสังหาริมทรัพย์ และการผลักดันในเรื่องความยั่งยืน ซึ่งเป็นจุดหมายสำหรับสตาร์ทอัพใหม่ๆ
ตามรายงานของ Cento Ventures ในครึ่งแรกของปี 2021 นักลงทุนจากบริษัทผู้ลงทุน (VCs) ลงทุนในสตาร์ทอัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น 393 ราย และในปี 2023 เงินทุนของสตาร์ทอัพ ในภูมิภาคนี้อาจเกิน 14 พันล้านเหรียญ ตามรายงานของ Golden Gate Ventures
นอกจาก 500 Global แล้ว นักลงทุนรายอื่นๆในภูมิภาคนี้ก็จะมี
Bain & Company ตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลของแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียนเริ่มมีโครงการสนับสนุนให้บริษัทเทคโนโลยีเติบโตแต่ก็เข้มงวดในเรื่องกฎระเบียบพร้อมกับเพิ่มภาษีเช่นกัน
อินโดนีเซียผ่านกฎหมายกำหนดให้บริษัทเทคโนโลยีที่ให้บริการออนไลน์ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายในท้องถิ่น แม้ว่าการซื้อ-ขายจะเกิดขึ้นในต่างประเทศก็ตาม ขณะเดียวกันประเทศสิงคโปร์ได้ออก ใบอนุญาตธนาคารดิจิทัล เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์และมาเลเซีย
ที่มา : Techcrunch
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด