สรุปงบ Q2-ครึ่งปีแรก ปี 65 ของ 7 ธนาคารใหญ่ในประเทศไทย | Techsauce

สรุปงบ Q2-ครึ่งปีแรก ปี 65 ของ 7 ธนาคารใหญ่ในประเทศไทย

ผ่านไปแล้วครึ่งปีสำหรับปี 2565 ช่วงเวลานี้คือการประกาศผลประกอบการงวดครึ่งปีแรก และไตรมาส 2 แน่นอนว่ากลุ่มแรกที่ต้องออกมาโชว์ผลงานก่อนใครก็คงหนีไม่พ้น กลุ่มธนาคารพาณิชย์นั่นเอง วันนี้ Techsauce จึงขอรวบรวมผลประกอบการของ 7 ธนาคารใหญ่ว่าจะเป็นอย่างไรกันบ้าง

KBank แจ้งผลประกอบการงวดครึ่งปีแรก ปี 65 กำไร 22,005  ล้านบาท

ผลการดำเนินงานสำหรับงวดแรกปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดแรกปี 2564 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 22,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 2,484 ล้านบาท หรือ 12.72% หลัก ๆ เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 5,913 ล้านบาท หรือ 10.22% จากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อซึ่งเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อใหม่ตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร และการให้สินเชื่อเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าดำเนินธุรกิจได้ตามปกติสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจจากการผ่อนคลายมาตรการทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 4,671 ล้านบาท หรือ 20.28% 

ส่วนใหญ่เกิดจากการปรับมูลค่ายุติธรรม (Mark to market) ตามภาวะตลาดของสินทรัพย์ทางการเงินซึ่งเป็นการลงทุนตามธุรกิจปกติของบริษัทย่อย รวมทั้งรายได้สุทธิจากการรับประกันภัย และค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุนที่ลดลง สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 1,860 ล้านบาท หรือ 5.53% หลัก ๆ จากค่าใช้จ่ายทางการตลาด และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน นอกจากนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) ในระดับที่ใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยยังคงใช้หลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่องในการพิจารณาปัจจัยเชิงเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างรอบคอบ

ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี 2565 จำนวน 10,794 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.36% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และลดลงจากไตรมาสก่อน 417 ล้านบาท หรือ 3.72% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 261 ล้านบาท หรือ 0.82% ส่วนใหญ่จากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อซึ่งเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) อยู่ที่ระดับ 3.21% 

นอกจากนี้ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจำนวน 637 ล้านบาท หรือ 7.17% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การปรับมูลค่ายุติธรรม (Mark to market) ของสินทรัพย์ทางการเงิน ค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุน และค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ลดลงตามภาวะตลาด สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 680 ล้านบาท หรือ 3.90% หลัก ๆ จากค่าใช้จ่ายทางการตลาด และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ์ 

ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) ในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 43.53% นอกจากนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนจำนวน 516 ล้านบาท หรือ 5.53% สอดคล้องกับการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ และปัจจัยเชิงเศรษฐกิจต่าง ๆ 

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,187,779 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2564 จำนวน 84,380 ล้านบาท หรือ 2.06% ส่วนใหญ่เป็นการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ สำหรับเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 อยู่ที่ระดับ 3.80% โดยธนาคารได้เริ่มดำเนินการเชิงรุกผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น 

และยังมีเป้าหมายเพื่อช่วยคืนลูกหนี้ที่มีสถานะทางการเงินที่ดีสามารถกลับเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินได้ในอนาคต สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 อยู่ที่ 18.37% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 16.39%

SCBX อวดกำไรสุทธิ Q2/65 กว่าหมื่นล้าน

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ของปี 2565 จำนวน 10,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองมีจำนวน 22,764 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลของการขยายตัวของฐานรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ สำหรับครึ่งปีแรกของปี 2565 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิจำนวน 20,095 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ในไตรมาส 2 ของปี 2565 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 26,068 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้และการมุ่งเน้นการเติบโตของสินเชื่อที่มีคุณภาพด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 12,634 ล้านบาท ลดลง 2.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงผลกระทบของสภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจการบริหารความมั่งคั่งและการลดลงของรายได้จากการลงทุน ทั้งนี้ รายได้จากธุรกรรมทางการเงินปรับตัวดีขึ้นภายหลังการเปิดประเทศ ส่งผลให้รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยโดยรวมลดลงเพียงเล็กน้อย  

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวน 15,938 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากกิจกรรมทางธุรกิจโดยรวมที่เพิ่มขึ้น แต่ที่สำคัญอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ 41.2% ในไตรมาส 2 ของปี 2565

ธนาคารได้ตั้งเงินสำรองในไตรมาส 2 ของปี 2565 จำนวน 10,250 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกและอัตราเงินเฟ้อระดับสูง

อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565 อยู่ที่ 3.58% ปรับตัวลดลงจาก 3.70% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 ในขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพยังอยู่ในระดับสูงที่ 153.3% (เพิ่มขึ้นจาก 143.9% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565) และเงินกองทุนตามกฎหมายยังคงอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18.7%

 BAY กำไรครึ่งปีแรก 1.5 หมื่นล้านบาท โต 18.6%

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) รายงานผลประกอบการครึ่งแรกของปี 65 กำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติในช่วงครึ่งแรกของปี 65 จำนวน 15,252 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.6% หรือจำนวน 2,390 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 64 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลดลงของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ

หากรวมรายการพิเศษจากการบันทึกกำไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นของ บมจ.เงินติดล้อ (TIDLOR) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 กำไรสุทธิลดลง 27.5% หรือจำนวน 5,796 ล้านบาท ส่วนกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี 2565 อยู่ที่ 7,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 416 ล้านบาท หรือ +5.6% จากไตรมาก่อน และลดลง 6,709 ล้านบาท หรือ -46.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการลดลงของกำไรในการดำเนินงาน และบันทึกกำไรพิเศษจากเงินลงทุนขายหุ้นเงินติดล้อในปีก่อนหน้า ขณะเดียวกันมีการปรับตัวดีขึ้นของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

ขณะที่เงินให้สินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 3.1% หรือจำนวน 58,344 ล้านบาท จากสิ้นปี 64 จากการเติบโตของสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ 5.0% และ 5.2% ตามลำดับ โดยเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศ

ส่วนเงินรับฝาก เพิ่มขึ้น 2.2% หรือจำนวน 39,873 ล้านบาท จากสิ้นปี 64 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเติบโตของเงินรับฝากประเภทออมทรัพย์

ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 3.36% จาก 3.08% ในช่วงครึ่งแรกของปี 64 โดยเป็นผลมาจากการเติบโตของเงินให้สินเชื่อและการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินเชิงรุก โดยเฉพาะกลยุทธ์การระดมเงินรับฝากประเภทออมทรัพย์และจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (CASA)

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากการดำเนินงานตามปกติ ลดลงจำนวน 616 ล้านบาท หรือ 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 64 หากรวมรายการพิเศษจากการบันทึกกำไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นของเงินติดล้อในปีก่อนหน้า รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 11,343 ล้านบาท หรือ 40.8%

ทั้งนี้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ จากการดำเนินงานตามปกติปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 42.9% จาก 43.4% ในครึ่งแรกของปี 64 หากไม่รวมรายการพิเศษจากการบันทึกกำไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นของเงินติดล้อ

ในส่วนของอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 2.11% เมื่อเทียบกับ 2.20% ณ สิ้นปี 64

อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ ปรับตัวดีขึ้นอยู่ในระดับสูงที่ 189.2% จาก 184.2% ณ สิ้นปี 64 จากนโยบายการตั้งสำรองด้วยความรอบคอบระมัดระวังของกรุงศรีที่ยึดถือแนวปฏิบัติการตั้งเงินสำรองรวมในระดับสูง และอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (ของธนาคาร) อยู่ที่ 17.59% เทียบกับ 18.53% ณ สิ้นปี 64

ณ วันที่ 30 มิ.ย.65 BAY ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจการเงินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับห้าในระบบเศรษฐกิจไทยจากมูลค่าสินทรัพย์ สินเชื่อและเงินรับฝาก และเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ (D-SIB) มีสินเชื่อรวม 1.95 ล้านล้านบาท เงินรับฝาก 1.82 ล้านล้านบาท และสินทรัพย์รวม 2.6 ล้านล้านบาท ขณะที่เงินกองทุนของธนาคารอยู่ที่ 292.34 พันล้านบาท หรือเทียบเท่า 17.59% ของสินทรัพย์เสี่ยง โดยเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นของเจ้าของคิดเป็น 12.82%

CIMBT ฟันกำไรครึ่งปีโต 121.6% รวม 2,115.5 ล้านบาท

ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 มีกำไรสุทธิจำนวน 2,115.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,160.7 ล้านบาท หรือ 121.6% เมื่อเปรียบเทียบผลกำไรสุทธิของงวดเดียวกันปี 2564 สาเหตุหลักเกิดจากการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้นส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 7.4% และผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงร้ 63.7% ในขณะที่รายได้จากการดำเนินงานลดลง 1.3%

ทั้งนี้ ธนาคารมีรายได้จากการดำเนินงาน สำหรับงวดหกเดือนปี 2565 มีจำนวน 7,105.7 ล้านบาท ลดลงจำนวน 94.9 ล้านบาท หรือ 1.3% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2564 เนื่องจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจำนวน 417.3 ล้านบาท หรือ 8.2% เป็นผลจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อและธุรกิจเช่าซื้อ ส่วนกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี 2565 อยู่ที่ 1,054.46 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.03 บาท เพิ่มขึ้น 71.94% จากงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 613.45 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.02 บาท

ในขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 178.9 ล้านบาท หรือ 26.7% สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของ ค่าธรรมเนียมจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ส่วนรายได้อื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 143.5 ล้านบาท หรือ 9.9% ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนและรายได้อื่น สุทธิกับการเพิ่มขึ้นของขาดทุนจากเงินลงทุน

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับงวดหกเดือนปี 2565 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2564 ลดลงจำนวน 229.7 ล้านบาทหรือ 7.4% เนื่องจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้น ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 อยู่ที่ 52.8% ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2564 อยู่ที่ 56.3%

อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin – NIM) สำหรับงวดหกเดือนปี 2565 อยู่ที่ 2.8% ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2564 อยู่ที่ 3.2% เป็นผลจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อและธุรกิจเช่าซื้อ

วันที่ 30 มิถุนายน 2565 เงินให้สินเชื่อสุทธิจากรายได้รอตัดบัญชี (รวมเงินให้สินเชื่อซึ่งค้ำประกันโดยธนาคารอื่นและเงินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน) ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 220,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9% เมื่อเทียบกับเงินให้สินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 กลุ่มธนาคารมีเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภท) จำนวน 282,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.1% จากสิ้นปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 239,500 ล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (the Modified Loan to Deposit Ratio) ของกลุ่มธนาคารลดลงเป็น 77.8% จาก 88.5% ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564

สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) อยู่ที่ 7,400 ล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้นอยู่ที่ 3.3% ลดลงเมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 อยู่ที่ 3.7% สาเหตุหลักจากการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพในงวดหกเดือนปี 2565 การบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ การปรับปรุงการบริหารคุณภาพสินทรัพย์และกระบวนการในการเก็บหนี้

อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 อยู่ที่ 114.3% ลดลงจากสิ้นปี 2564 ซึ่งอยู่ที่ 117.5% ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มธนาคารอยู่ที่จำนวน 7,700 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสำรองส่วนเกินตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 1,500 ล้านบาท

ด้านเงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคาร ณ สิ้นวันที่ 30 มิถุนายน 2565 มีจำนวน 53.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยง 21.6% โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 15.7%

TTB โชว์กำไร 3,438.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.6%

ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB รายงานผลดำเนินงานไตรมาส 2/65 มีกำไรสุทธิ 3,438.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,534.10 ล้านบาท ยังคงมีแนวโน้มเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง จากรายได้ที่ปรับตัวดีขึ้น และคุณภาพสินทรัพย์ที่อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่เข้มงวด และความมีวินัยด้านค่าใช้จ่าย

  ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 12,414 ล้านบาท ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) แต่ลดลง 2.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจำนวน 3,475 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิโดยมีราย

  ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย (NIM)อยู่ที่ 2.83% ลดลง 8 bps จาก 2.91% ในไตรมาส 1/65 และ 15 bps จาก 2.98% ในไตรมาส 2/64 ปัจจัยหลักมาจากอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ลดลง เนื่องจากธนาคารนำสภาพคล่องส่วนเกินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนต่ำชั่วคราว ก่อนที่จะปรับไปยังสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าอย่างรอบคอบ ขณะที่ต้นทุนทางการเงินปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ าจากการเติบโตของเงินฝากสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้างต้นทุนทางการเงินให้เหมาะสมเพื่อสร้างฐานเงินทุนระยะยาวในภาวะแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น

  ในไตรมาส 2/65 อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้อยู่ที่ 45% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 44% ในไตรมาส 1/65 มาจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายพนักงานของ ttb consumer และค่าใช้จ่ายทางการตลาดและค่าใช้จ่ายซอฟต์แวร์จากการเปิ ดตัว ttb touch เวอร์ชั่นใหม่ ตามแผนการลงทุนด้านดิจิทัล

  ในไตรมาสนี้ ธนาคารตั้งสำรองฯ จำนวน 4,382 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อที่ 127 เบสิสพอยท์ ซึ่งลดลง 20.2% จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน

  ส่วนงวด 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิ 6,633.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  24.80% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 5,316.06 ล้านบาท โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 3.2% จากช่วงเดียวกันของปี ก่อน อยู่ที่ 24,823 ล้านบาท มีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 9.5% YoY อยู่ที่6,840 ล้านบาทใน ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิและกำไรสุทธิจากเงินลงทุน

  สำหรับรอบ 6 เดือน อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้อยู่ที่ 45% ลดลงจาก 47% ในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า การรับรู้ประโยชน์ด้านต้นทุนช่วยคงระดับอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ให้อยู่ในกรอบเป้ าหมายท่ามกลางแรงกดดันด้านรายได้และค่าใช้จ่ายพนักงานที่สูงขึ้นของ ttb consumer อย่างไรก็ดี อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ในปี 65 คาดว่าจะอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 45-47% แม้ว่าจะมีแผนการลงทุนด้านดิจิทัล

   การตั้งสำรองเพื่อรองรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) อยู่ที่จำนวน 9,190 ล้านบาท ลดลง 16.2% YoY อย่างไรก็ดี สำรองฯ ของธนาคารคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงในปี 65 ตามเป้าหมายทางการเงินแต่ต่ำกว่าปี ก่อนหน้า

  ณ สิ้นเดือนมิ.ย.65 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับสุทธิตามงบการเงินรวมจำนวนทั้งสิ้น 1,345 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.1% จากสิ้นเดือนมี.ค.65 และ 1.6% จากสิ้นปี 64 อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL ratio) ตามงบการเงินรวมอยู่ที่ 2.63% เทียบกับ 2.73% ณ สิ้นเดือนมี.ค.65 และ 2.81% ณ สิ้นเดือน ธ.ค.64 ธนาคารดำรงเงินกองทุนในระดับแข็งแกร่งมาโดยตลอด โดยอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยง (CAR) ตามงบการเงินรวมอยู่ที่ 19.9% และเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Tier 1) และเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็ นส่วนของเจ้าของต่อสินทรัพย์เสี่ยง (CET 1)อยู่ที่ 15.8% และ14.8% ตามลำดับ ซึ่งเป็ นระดับที่สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ

KTB เผยกำไร 8,358.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39%

ธนาคารกรุงไทย หรือ KTB รายงานผลดำเนินงานไตรมาส 2/65 มีกำไรสุทธิ 8,358.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 6,011.03 ล้านบาท

ส่วนงวด 6 เดือน มีกำไรสุทธิ 17,138.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 11,589.47 ล้านบาท

โดยในช่วง 6 เดือนแรก ปี 65 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 17,139 ล้านบาท เพิ่มขึ้ 48% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีสาเหตุหลักจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ขยายตัว 4.9% จากการเติบโตของสินเชื่อที่มีคุณภาพ ทั้งสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อรายย่อย รวมถึงการบริหารต้นทุนทางการเงินอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (NIM) เท่ากับ 2.50% ประกอบกับบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้ดี รวมถึงค่าใช้จ่ายตามฤดูกาล ค่าใช้จ่ายโดยรวมลดลง 0.7% ส่งผลให้ Cost to Income ratio เท่ากับ 41.86% ลดลงจาก 43.33% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลง 31.0% แต่ยังคงรักษาระดับของ Coverage ratio ในระดับสูงที่ 174.3% เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ

สำหรับไตรมาส 2/65 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/64 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 8,358 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39% มีสาเหตุหลักจากรายได้รวมที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 ทั้งการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจากการเติบโตของสินเชื่อ และการขยายตัวของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ ประกอบกับการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในภาพรวม ส่งผลให้ Cost to Income ratio เท่ากับ 42.48% ซึ่งโดยรวมอยู่ในระดับคงที่จากไตรมาส 2/64

ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 5,669 ล้านบาท ลดลง 30.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการตั้งสำรองไว้ในระดับสูง โดยธนาคารยังยึดหลักการทำธุรกิจด้วยความระมัดระวัง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจจะมีผลกระทบกับคุณภาพของสินทรัพย์ 

ประกอบกับติดตามภาพรวมของเงินให้สินเชื่อและคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิด โดยมีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม (NPLs Ratio-Gross) 3.32% ลดลงเมื่อเทียบสิ้นปี 64 ที่เท่ากับ 3.50% และยังคงรักษาระดับของ Coverage ratio ในระดับสูงที่ 174.3% เทียบกับ 168.8% เมื่อสิ้นปี 64

เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/65 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร ลดลง 4.8% เนื่องจากรายได้จากการดำเนินงานอื่นลดลง ส่วนใหญ่เกิดจากการปรับมูลค่ายุติธรรม (mark to market) ของสินทรัพย์ทางการเงินในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาด ถึงแม้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิขยายตัวได้ดีจากการขยายตัวของรายได้ดอกเบี้ยของเงินให้สินเชื่อ ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงระดับการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่ยึดหลักระมัดระวัง โดยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา

ธนาคาร (งบเฉพาะธนาคาร) มีเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ 328,287 ล้านบาท (ร้อยละ 15.98 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง) และเงินกองทุนทั้งสิ้นเท่ากับ 413,559 ล้านบาท ( 20.13% ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง) ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) โดยในเดือนเม.ย. 65 ธนาคารได้ออกตราสารหนี้ด้อยสิทธิ ที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 จำนวน 18,080 ล้านบาท ซึ่งช่วยเพิ่มอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 2 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงให้แข็งแกร่งมากขึ้น รองรับการเติบโตในอนาคต

BBL โชว์ ผลประกอบการไตรมาส 2/65 มีกำไรสุทธิ 6,961.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.5%

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าผลประกอบการไตรมาส 2/65 มีกำไรสุทธิ 6,961.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.5% จากงวดเดียวกันปี 64 ที่มีกำไร 6,356.76 ล้านบาท

โดยไตรมาสนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 23,526 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.5% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินให้สินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อกิจการต่างประเทศ ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง เป็นผลจากกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน (FVTPL) และกำไรสุทธิจากเงินลงทุน 

สำหรับรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลงจากธุรกิจหลักทรัพย์ ขณะที่มีรายได้ค่าธรรมเนียมจากการอำนวยสินเชื่อเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณเงินให้สินเชื่อที่ขยายตัว   ส่วนงวด 6 เดือนปี 65 มีกำไร 14,079.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% จากงวดเดียวกันปี 64 ที่มีกำไร 13,279.86 ล้านบาท

โดยครึ่งปีแรก 65 ธนาคารฯ มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 13.9% จากการเพิ่มขึ้น ของปริมาณเงินให้สินเชื่อ ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 2.18% สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 19.8% ส่วนใหญ่เกิดจากการปรับมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาด และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลงจากธุรกิจหลักทรัพย์   ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมจาก การอำนวยสินเชื่อเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณเงินให้สินเชื่อที่ขยายตัว 

สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 2.8% จากค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่าย ต่อรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 50.4%   ทั้งนี้ ธนาคารตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 14,843 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ธนาคารยังคงยึดหลักความระมัดระวังในการตั้งสำรองโดยพิจารณาถึงความผันผวนของเศรษฐกิจโลก รวมถึงผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงอยู่

  ณ สิ้นเดือนมิ.ย.65 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อ 2,652,872 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.5% จากสิ้นปี 64 โดยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่และสินเชื่อกิจการต่างสำหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อรวมยังคงอยู่ ในระดับที่บริหารจัดการได้ ที่ 3.4% ทั้งนี้ จากการที่ธนาคารยึดหลักการตั้งสารองด้วยความระมัดระวังและรอบคอบมาอย่างต่อเนื่องทำให้อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 232.5%

  ธนาคารมีเงินรับฝาก ณ สิ้นเดือนมิ.ย.65 จำนวน 3,147,149 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกับสิ้นปี ก่อน อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ 84.3% ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารและบริษัทย่อยอยู่ 18.9% 15.4% และ 14.6% ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...