aCommerce เผยผลประกอบการ Q1/65 รายได้รวม 2,591.5 ล้านบาท โตแกร่ง 39.8% รับอานิสงส์การค้าออนไลน์บูม | Techsauce

aCommerce เผยผลประกอบการ Q1/65 รายได้รวม 2,591.5 ล้านบาท โตแกร่ง 39.8% รับอานิสงส์การค้าออนไลน์บูม

aCommerce โชว์ศักยภาพธุรกิจให้บริการขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรขยายตัวโดดเด่น โดย Q1/65 ทำรายได้รวม 2,591.5 ล้านบาท เติบโตแข็งแกร่ง 39.8% รับการค้าออนไลน์บูม

aCommerce เผยผลประกอบการ Q1/65 รายได้รวม 2,591.5 ล้านบาท โตแกร่ง 39.8% รับอานิสงส์การค้าออนไลน์บูม

‘บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ (บริษัทฯ) หรือ ACOM โชว์ผลงานไตรมาส 1/2565 แข็งแกร่ง ทำรายได้รวม 2,591.5 ล้านบาท เติบโตโดดเด่น 39.8% จากการขยายฐานลูกค้าใหม่และยอดขายสินค้าจากลูกค้ารายเดิมที่เพิ่มขึ้นรับอีคอมเมิร์ซบูม ตอกย้ำศักยภาพผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง 

คุณวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)(บริษัทฯ) หรือ ACOM เปิดเผยว่า บริษัทฯ สามารถทำรายได้ในช่วงไตรมาส 1/2565 เติบโตในระดับที่ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในฐานะเป็นผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ที่สามารถเติบโตไปพร้อมกับการขยายตัวของภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในระดับภูมิภาค 

โดยข้อมูลจาก Euromonitor คาดว่ามูลค่าธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับจากปี 2563 - 2568 จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ร้อยละ 19.8 ต่อปี จากยอดขายสินค้ารวม (GMV) ที่5.23 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็น 1.29 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 เนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมาและการปรับตัวของผู้ขายสินค้า 

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในไตรมาส 1/2565 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 2,591.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 1,853.7 ล้านบาท โดยบริษัทฯ สามารถบริหาร Operating EBITDA Margin ให้มีอัตราขาดทุนลดลงจากร้อยละ -2.8 สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564 เป็นร้อยละ -2.7 สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2565 อันเป็นผลมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความสามารถในการขยายขนาดทั้งในกิจกรรมทางตรงและทางอ้อม 

ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารเมื่อคิดตามร้อยละของรายได้นั้นลดลง ถึงแม้ว่าบริษัทฯ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ ขณะที่ผลขาดทุนสุทธิในไตรมาส 1 ปี 2565 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ 115.9 ล้านบาท จาก 214.6 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ของบริษัทฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และการปรับปรุงประสิทธิภาพต้นทุนการดำเนินงานทั้งทางตรงและฝ่ายสนับสนุน การลดลงของผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 

สำหรับปัจจัยการเติบโตมาจากการขยายฐานลูกค้าแบรนด์ไทยและแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ณ สิ้นไตรมาส 1/2565 ที่เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 171 ราย เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีลูกค้า 114 ราย และยอดขายสินค้าของลูกค้ารายเดิมที่เพิ่มขึ้น โดยยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ในไตรมาส 1/2565 อยู่ที่ 2,931.0 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 2,009.4 ล้านบาท 

ทั้งนี้ ยอดขายของบริษัทฯ มีความสัมพันธ์ตรงกับการเติบโตของการบริโภคและการจับจ่ายออนไลน์ในอาเซียน (ASEAN Consumer’s Spending) ที่มีอัตราการเติบโตที่สูงจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยบริษัทฯ มียอดขายสินค้าในหลากหลายประเภท ในช่องทางออนไลน์ที่หลากหลายใน 5 ประเทศและมีระบบเชื่อมต่อกับช่องทางออฟไลน์ของแบรนด์ต่าง ๆ อีกด้วย  

“เรามีความมั่นใจในศักยภาพธุรกิจและการเติบโตของบริษัทฯ สะท้อนให้เห็นจากรายได้รวม ณ ไตรมาส 1/2565ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และรายได้รวมในปี 2562 – 2564 ก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจาก 4,601.5 ล้านบาท เป็น 8,948.5 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ย 39.5% ต่อปี และเรามีความมุ่งมั่นที่จะขยายฐานลูกค้า พื้นที่ให้บริการและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำเสนอบริการใหม่ๆ เพื่อนำบริษัทฯ เติบโตอย่างมีศักยภาพ เช่น EcommerceIQ Market Insight ที่ปัจจุบันบริษัทฯ มีลูกค้ามากกว่า 21 รายแล้วถึงแม้จะเพิ่งเปิดตัวไป"

ทั้งนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการออกผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ประเภทใหม่ เช่น Logistics Management Channel Management และ Order Management เป็นต้น ซึ่งจะสามารถทำให้บริษัทฯ ได้รับค่าบริการประมาณร้อยละ 3 - 5 ของ EMV บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเติบโต พัฒนาและขยายธุรกิจ EcommerceIQ SaaS ให้มีสัดส่วนรายได้รวมที่เพิ่มขึ้นในอนาคต 

นอกจากนี้ ภายหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะขยายการเติบโตทางธุรกิจในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อเป็นการสนับสนุนแบรนด์ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรของบริษัทฯ ในระดับภูมิภาคที่บริษัทฯ ได้ให้บริการอยู่ในปัจจุบันที่ต้องการให้บริษัทฯ ให้บริการในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รวมถึงแบรนด์ในกลุ่มของ DKSH ที่ดำเนินการในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยที่บริษัทฯ คาดหวังว่าจะมีผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรเพิ่มมากขึ้นในระหว่างการดำเนินการดังกล่าว

คุณวีระพงษ์ กล่าวต่อว่า บริษัทฯ ให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร ครอบคลุมการออกแบบและพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) บริหารร้านค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ (Brand Store Operations) ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) ให้บริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) รับชำระเงินและจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) วิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึก (Data Analytics and Insights) รวมถึงมีศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ สื่อสารกับลูกค้า   

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ และเพิ่มฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ได้แก่

1) มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซ ครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์ รายการสินค้าและการให้บริการมากกว่า 1 ประเทศ 

2) ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ เช่น บริการจัดการคำสั่งซื้อที่ซับซ้อน และการเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูล เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้บริการสามารถสร้างสรรค์แคมเปญที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

3) ขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 

4) มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านฟีเจอร์ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพื่อขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น ทั้งบริษัทข้ามชาติและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นน้อยมาก 

5) การเข้าซื้อกิจการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อขยายตลาดใหม่ เช่น เวียดนามและขยายธุรกิจที่มีในมาเลเซีย เป็นต้น  ทั้งนี้ การขยายไปยังตลาดเวียดนาม บริษัทฯ มีสัญญาร่วมมือทางกลยุทธกับทาง DKSH เรียบร้อยแล้ว 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...