AirAsia ซื้อหุ้น 50% ของ Touristly สตาร์ทอัพรับจัดทริปทั่วเอเชียแปซิฟิก ด้วยมูลค่า 2.6 ล้านดอลลาร์ | Techsauce

AirAsia ซื้อหุ้น 50% ของ Touristly สตาร์ทอัพรับจัดทริปทั่วเอเชียแปซิฟิก ด้วยมูลค่า 2.6 ล้านดอลลาร์

Touristly-Team

ทีมงานของ Touristly เซลฟี่กับ Fernandes (คนกลางที่อยู่บนสุด) ส่วนทางซ้ายของ Fernandes ไล่ลงมา ก็คือ Kris Khaira, CTO ของ Touristly, Ikhlas Kamarudin (CSO), Ken Tan (COO) และ Aaron Sarma (CEO) คนล่างสุด

  • Tony Fernandes กรุ๊ปซีอีโอของ AirAsia เห็นว่าดีลนี้ทำให้ AirAsia ใกล้ได้เป็น One-stop Digital Airline (สายการบินดิจิทัลครบวงจร) เข้าไปอีกสเต็ป
  • โอกาสสร้างรายได้ของ Touristly ก็คือผู้โดยสาร AirAsia ทั้ง 60 ล้านคน ซึ่งเดินทางอยู่ในเครือข่ายภูมิภาค

ในดีลสำคัญครั้งนี้ สตาร์ทอัพด้านการวางแผนการท่องเที่ยว Touristly Travel Sdn Bhd หรือ Touristly  ให้ AirAsia Bhd เข้าซื้อหุ้น 50% ด้วยมูลค่ารวม 2.6 ล้านดอลลาร์ ประกอบด้วยการให้ Touristly เข้ามาทำนิตยสารดิจิทัล Travel 3Sixty ซึ่งมีมูลค่า 1.5 ล้านดอลลาร์ ผ่านทาง AirAsia Investments Ltd และยังขยายเงินกู้แปลงสภาพให้ 1.1 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและพัฒนาต่อ โดย Tony Fernandes กรุ๊ปซีอีโอของ AirAsia จะขึ้นเป็นประธานคณะกรรมการเมื่อเสร็จสิ้นดีลนี้ ขณะที่ Jeffrey Saw และ CK Wong ซึ่งเป็น Angel Investors ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นอยู่

ด้านการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากที่บริษัท Tune Labs ซึ่งเป็นเจ้าของ AirAsia เช่นกัน เข้าซื้อหุ้น Touristly ก่อน 9.54% และไม่เปิดเผยมูลค่าการซื้อ นั่นหมายความว่า อำนาจการควบคุมส่วนใหญ่ของผู้ก่อตั้งและซีอีโอบริษัท Touristly, Aaron Sarma นั้นลดหายไป  

Sarma พูดกับแหล่งข่าว DNA ว่า "ทั้งสองฝ่ายเข้าใจความจำเป็นของ Touristly ที่จะต้องมีอิสระในการดำเนินธุรกิจตามแผนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ"

อีกด้านของการมีหุ้นส่วน Sarma รู้สึกตื่นเต้นตรงที่ข้อตกลงนี้เป็นการนำลูกค้าของ AirAsia ซึ่งมีอยู่ปีละ 60 ล้านคน มาเสนอบนโต๊ะเพื่อให้ Touristly หาหนทางสร้างรายได้

"เกือบเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่แพลตฟอร์มของเราจะได้ส่งมอบคุณค่าผ่านโอกาสในการให้บริการนักท่องเที่ยวปีละกว่า 60 ล้านคน  นี่เป็น Traffic คุณภาพสูงซึ่งมีความตั้งใจที่จะซื้ออยู่แล้ว โดยดีลนี้น่าจะทำให้เราเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด จากการช่วยให้เราเข้าถึงเครือข่ายภูมิภาคขนาดใหญ่ของ  AirAsia ผ่านทางสำนักงานที่ตั้งอยู่ในเมืองสำคัญๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะช่วยให้ Touristly ขยายธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" Sarma กล่าว

Touristly-website

ดีลนี้ AirAsia ก็หาโอกาสในการสร้างรายได้ด้วย เห็นได้จากการแถลงข่าวต่อ Bursa Malaysia ว่า การประกาศซื้อกิจการนี้ บริษัทคาดว่าจะสามารถเข้าถึงฐานลูกค้าที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มรายได้เสริม

ด้วยภาพลักษณ์และฐานข้อมูลลูกค้าของ AirAsia ซึ่งมาเข้าคู่กับเทคโนโลยี  Touristly แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวนี้สามารถนำเสนอสิ่งที่แมตช์กับไลฟ์สไตล์และแรงบันดาลใจในการเดินทางของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เช่น ความต้องการการท่องเที่ยวแบบ Adventure

Fernandes กล่าวเสริมว่า "เราเห็นศักยภาพมากมายของ Touristly ซึ่งจะช่วยเติมเต็มข้อเสนอการเดินทางที่ AirAsia มีอยู่ โดยลูกค้าของเราจะสามารถเลือกทำกิจกรรมที่มีอยู่นับพันจากการซื้อเที่ยวบินได้ และทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายที่จะเป็นสายการบินดิจิทัลครบวงจรอย่างแท้จริง”

หลังจากทั้งสองพาร์ทเนอร์ได้เห็นผลของการทำงานร่วมกันในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา Sarma กล่าวว่า พวกเขาได้เห็นอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อขาย On-ground Activities ให้แก่ลูกค้า AirAsia โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 813 ริงกิตต่อหนึ่งผู้โดยสาร ถือเป็นส่วนแบ่งที่ได้จากการควักกระเป๋าของลูกค้าเอง ซึ่ง Fernandes ไม่เคยประสบความสำเร็จแบบนี้มาก่อน แม้ว่าเขาจะพยายามแล้ว เช่น พอร์ทัลการท่องเที่ยวออนไลน์ AirAsiaGo ที่บริหารโดย AirAsiaExpedia ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Expedia Inc และ AirAsia ซึ่ง AirAsia ก็ขายหุ้นไป 25% จาก 50% แล้วลงทุนกับ Touristly และดูเหมือนว่าจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า การที่บริษัทเป็นพาร์ทเนอร์กับ Touristly นั้น เห็นอนาคตที่ดีกว่าการสร้างรายได้ร่วมกับ Expedia ในการทำ On-ground Activities

และในงานแถลงข่าวของ Bursa  AirAsia ยังบอกถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าซื้อกิจการ Touristly 50% ไว้ว่า:

  • AirAsia จะสามารถมอบข้อเสนอด้านการท่องเที่ยวที่ครบวงจรให้แก่ลูกค้าได้

ปัจจุบัน AirAsia นำเสนอแพ็คการท่องเที่ยวที่ครบครัน เช่น จองโรงแรมและจองรถผ่านทางแพลตฟอร์ม AirAsiaGo ได้ แต่ยังมีส่วนที่ขาดหายไปคือการเสนอขาย On-ground Activity ซึ่งมีโอกาสขายได้มากขึ้น เพราะมีนักเดินทางที่มีอิสระในการวางแผนการเดินทางของตัวเองมากกว่านักเดินทางที่จะพึ่งพาผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในการวางแผนการเดินทางตลอดทริป

Touristly สร้างแพลตฟอร์มด้วยเทคโนโลยี API ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยให้ลูกค้าสร้างและซื้อแผนการเดินทาง On-ground ของ AirAsia ได้อย่างไร้รอยต่อ โดยลูกค้าสามารถรวมและดูข้อมูลเหล่านี้ได้ในกำหนดการเดียวเพื่อการวางแผนการเดินทางที่ง่ายขึ้น ซึ่งการทำให้ฟีเจอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้นนี้ยังช่วยเพิ่มความสนใจและพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ตลอดจนนำไปสู่การแปลงที่ดีขึ้นได้

  • ดีลนี้เป็นการผนึกกำลังอย่างแข็งแกร่ง

Touristly มีความร่วมมือกับแอร์เอเชียในแง่ของแพลตฟอร์มและการครอบคลุมจุดหมายปลายทางกว่า 120 แห่งที่ AirAsia ดำเนินการอยู่ ส่วน Touristly เองนั้น ทำธุรกิจครอบคลุมจุดหมายปลายทาง 70 แห่งและอยู่ในช่วงเติบโต นอกจากนี้ ดีลนี้ยังให้ลูกค้ารับคะแนนสะสม AirAsia BIG Points ได้เมื่อซื้อข้อเสนอต่างๆ บนแพลตฟอร์ม Touristly และในปี 2017/2018 สามารถใช้ AirAsia BIG Points แทนเงินเพื่อแลกกับข้อเสนอต่างๆ บนแพลตฟอร์ม Touristly รวมถึงใช้ชำระเงินได้เพียงคลิกเดียวกับ AirAsia BigPay

เสริมจาก Techsauce

เมื่อเดือนที่แล้ว Techsauce ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ Tony Fernandes ถึงวิสัยทัศน์ของ Digital Airline และแนวทางที่จะมุ่งไปในปีนี้

นอกจากการจัดงาน Hackathon ของตนเองแล้ว AirAsia ยังมาร่วมเป็น Speakers ในงาน Techsauce Global Summit 2017  ผู้ที่สนใจอยากรับฟังกลยุทธ์เชิงธุรกิจและเชิงเทคโนโลยีของ AirAsia เพิ่มเติม สามารถจองตั๋วเข้างาน Techsauce Global Summit ได้ที่นี่

 

ที่มาของข่าวและภาพ DigitalNewsAsia

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...