สรุปองค์ความรู้โลกเทคโนโลยีจาก AIS ACADEMY for THAIs: Intelligent Nation Series | Techsauce

สรุปองค์ความรู้โลกเทคโนโลยีจาก AIS ACADEMY for THAIs: Intelligent Nation Series

ถึงวันนี้ หลายคนต่างรู้กันดีแล้วว่า Digital Disruption คือการก่อร่างของเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาทำลายล้างวิธีการ ความคิด พฤติกรรม หรือสิ่งที่เราเคยทำอยู่ก่อนหน้าหรือในปัจจุบันให้เปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามร่องรอยของสิ่งที่มาทำลายนั้น คือ “โอกาส” ของการริเริ่มทำสิ่งใหม่ที่ท้าทายมากขึ้น และตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้มากยิ่งขึ้น

ในงาน AIS ACADEMY for THAIs: Intelligent Nation Series ที่ผ่านมา มีหลายมุมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวงการ ทั้งระดับประเทศและระดับโลก มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และนำแง่มุมจากประสบการณ์ในการเผชิญหน้ากับความท้าทายของเทคโนโลยี ซึ่งบทเรียนต่างๆ ที่ได้เรียนรู้จากการลงมือทำ ถือเป็นแต้มต่อที่ช่วยผลักดันให้หลายธุรกิจสามารถก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี และพลิกเกมจนสามารถประสบความสำเร็จได้ในที่สุด มาจนวันนี้ Digital Transformation คงไม่ใช่หน้าที่ของใครคนหนึ่ง แต่การขับเคลื่อนประเทศจะต้องใช้ “แรง” จากทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยกัน เช่นเดียวกับในครั้งนี้ AIS ขันอาสาขอเป็นตัวกลางเชื่อมโยงทุกคนทุกฝ่าย และคนไทยทุกคน มาพัฒนาองค์ความรู้บนโลกเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเสริมทักษะและสร้างวัฒนธรรมของการแบ่งปันร่วมกัน คนรุ่นใหม่ อาจไม่ได้ถูกแบ่งตามจำนวนตัวเลขตามปีเกิดของแต่ละคน หากแต่เป็นคนที่รู้จักและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล พร้อมมีศักยภาพในการดึงเอาความสามารถของเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ในฐานะหัวเรือ AIS ACADEMY ได้กล่าวถึงครั้งที่ 2 ของงานสัมมนา AIS ACADEMY for THAIs ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ถือเป็นเกียรติและความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับ AIS ACADEMY ที่ได้มีโอกาสรับใช้สังคมไทยอีกครั้ง ภายใต้บริบทความเชื่อที่ว่าการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทยและการคิดเผื่อ AIS มีความเชื่อว่า การเติบโตเพียงลำพัง ไม่ใช่การเติบโตที่แท้จริงและยั่งยืน แต่องค์ความรู้ใหม่ๆ จากบทเรียนของมืออาชีพ จะเป็นตัวจุดประกายและช่วยยกระดับความรู้ของคนไทยให้มีความแข็งแกร่งและเข้าใจเรื่อง Digital Disruption ได้ดียิ่งขึ้น”

อีกประเด็นที่ คุณกานติมา ได้กล่าวไว้บนเวทีครั้งนี้ว่า Digital Transformation กลายเป็นคำที่คุ้นหูและได้ยินบ่อยครั้งตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นเรื่องใกล้ตัว แต่โจทย์ที่ยากกว่านั้น คือความเข้าใจของคนที่แตกต่างกันออกไป AIS จึงเชื่อว่า องค์ความรู้เรื่อง Digital Disruption จะเป็นส่วนช่วยเสริมความแข็งแกร่ง และเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันให้ทัดเทียมกับนานาประเทศได้ เพราะโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โลกที่แคบลง โลกที่สื่อสารกันด้วยเทคโนโลยี เริ่มทำให้บริบทของการดูแลลูกค้า บริบทของการตอบสนองผู้บริโภคมีความแตกต่างออกไป

นับต่อจากนี้ AIS ACADEMY จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางและชักชวนพันธมิตรทางธุรกิจและประชาชนคนไทย มาช่วยยกระดับความรู้ทางเทคโนโลยีในวงกว้างมากขึ้น โดย AIS หวังว่า แรงกระเพื่อมที่เกิดขึ้นจากการจัดงานครั้งนี้ จะช่วยส่งไม้ต่อไปยังภาคส่วนต่างๆ ของสังคมไทยให้เกิดการตื่นตัว มีทักษะความสามารถทางเทคโนโลยีที่พร้อมจะเติบโตไปด้วยกัน บนเวทีสัมมนาครั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจากคุณปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ซึ่งได้นำประสบการณ์อันล้ำค่าจากการทำงานระดับโลก มาบอกเล่าให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ไว้อย่างน่าสนใจในหลายประเด็น เริ่มด้วยประโยคที่บอกว่า “Disruption is the new normal” เป็นการเริ่มต้นใหผู้ร่วมสัมมนาตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีที่ไม่ว่าจะยังไง เราก็จะต้องเผชิญหน้าและปรับตัวอยู่เสมอ จากนั้น คุณปฐมา ได้ฉายภาพให้เราได้เห็นถึงปรากฎการณ์ทางเทคโนโลยีในกระแสโลกที่ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการและรูปแบบชีวิตแบบเดิมไป ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ UBER, Airbnb และ Facebook ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นธุรกิจที่ไม่ได้เป็นเจ้าของรถ ที่พัก หรือคอนเทนต์ของตัวเอง แต่ได้ใช้ประโยชน์ของการพัฒนาเทคโนโลยี สร้างแพลตฟอร์มที่ทรงประสิทธิภาพ จนสร้างรายได้อย่างมหาศาลไปทั่วโลก ขณะเดียวกัน หากมองกลับมาที่การบริหารจัดการภายในองค์กร ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงบนโลกเทคโนโลยี คุณปฐมา มองว่า

สิ่งที่น่ากังวลภายในองค์กรมีอยู่ 3 เรื่อง

1. ปัจจัยทางการตลาด

2. เทคโนโลยี

3. ทักษะ

สำหรับการปรับตัวในสถานการณ์ Digital Disruption ในแง่มุมของภาคธุรกิจ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

1. กลุ่ม Dancing with Disruption คือ กลุ่มที่ไม่ยอมหยุดนิ่ง รับรู้และยอมรับการเกิด Digital Disruption และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงานให้สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้น

2. กลุ่ม Trust in the journey คือ กลุ่มที่รับฟัง Feedback จากผู้ใช้งานหรือลูกค้า มาเป็นเสียงสะท้อนในการปรับปรุงแก้ไข พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้า

3. กลุ่ม Orchestrating the future คือ กลุ่มที่คำนึงถึง Business Model ใหม่ๆ และมีการเตรียมแผนพร้อมรับมือสำหรับอนาคต

4. กลุ่ม Innovation in motion คือ กลุ่มที่นำเอา Innovation หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ที่สอดรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ปิดท้าย คุณปฐมา มองถึงการสร้างวัฒนธรรมภายในองค์กร ว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะนำไปสู่การออกแบบนวัตกรรมหรือสินค้าใหม่ๆ พร้อมส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ของพนักงานจากรุ่นสู่รุ่น มาถึง แนวคิดการทำงานของธุรกิจระดับโลกอย่าง Netflix หนึ่งในธุรกิจบันเทิงที่ประสบความสำเร็จอย่างมากอยู่ในขณะนี้ โดย Mr. Mitch Lowe Co-founding Executive of Netflix เผยถึงเบื้องหลังความสำเร็จในวันนี้ว่า ความสำเร็จนั้นไม่ได้มาเพียงแค่ชั่วข้ามคืน แต่เกิดจากการลองผิดลองถูก เรียนรู้ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ย้อนกลับไป 20 ปีก่อน Netflix พยายามหาหนทางแก้ไข Pain Point ของผู้บริโภค ในการทำให้การรับชมภาพยนตร์สามารถเกิดขึ้นได้ที่บ้าน และเชื่อว่า ความบันเทิงกำลังจะเปลี่ยนไปสู่รูปแบบดิจิทัล สามารถรับชมได้ผ่านทางหน้าจอที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น หน้าจอ Laptop และจอโทรศัพท์มือถือ จนในที่สุด เทคโนโลยีได้ถูกพัฒนาขึ้นจน Netflix สามารถ Launched Streaming ได้เป็นครั้งแรกในปี 2008

ซึ่งหลังจากนั้น Netflix ยังคงพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการรับชมอย่างต่อเนื่องแบบไม่สะดุด และสามารถเลือกรับชมตอนต่อไปได้ในทันที ถือเป็นความแตกต่างที่สร้างคุณค่าและได้รับเสียงตอบรับจากผู้ชมที่เข้าชมผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลายในทั่วทุกมุมโลก ปัจจุบัน Netflix มีผู้ติดตามอยู่ใน 130 ประเทศทั่วโลก

Mitch พูดถึงกุญแจสู่ความสำเร็จ 3 อย่าง

1. บุคลากร (People) เป็นทรัพยากรที่สำคัญ จะต้องเป็นผู้ขวนขวายความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อจะเป็นหนทางในการเพิ่มขีดความสามารถของตัวเอง

2. วัฒนธรรม (Culture) ที่จะส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ ซึ่งเกิดจากความชัดเจนในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายขององค์กร บุคลากรจะมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกัน

3. ความเป็นผู้นำ (Leadership) กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆ

สุดท้าย มีข้อคิดจากการลงมือทำของ Netflix ไว้ว่า “อย่ากลัวที่จะตัดสินใจผิด เพราะส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในการสร้างนวัตกรรม คือการทำผิด” เพราะเราไม่มีทางที่จะทำอะไรผิดหมด เราจะต้องลองอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ ดังนั้น องค์กร จะต้องสร้างวัฒนธรรมที่ให้คนกล้าลองทำในสิ่งที่ผิดพลาดได้ สำหรับ ในงานเสวนา หัวข้อ “เดินธุรกิจอย่างไรเมื่อโลกไร้พรมแดน” ได้มีตัวแทนจากภาคธุรกิจและภาครัฐ มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจและนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย

คุณชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่มบริษัทเซ็นทรัลกรุ๊ป สะท้อนความคิดเห็นในมุมมองนักธุรกิจว่า

พื้นฐานของการเคลื่อนของเทคโนโลยี ประกอบไปด้วย 3 Ex

1. Exponential คือ การเติบโตอย่างก้าวกระโดด

2. Exclusivity การมีทรัพย์สินทางปัญญา หรือนวัตกรรมที่ถูกคิดค้นภายในองค์กร

3. Execution การบริหารจัดการให้สำเร็จ ขณะเดียวกัน Business Model จะต้องปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภค Data โดยเฉพาะ Moving Data เป็นเรื่องที่ธุรกิจควรให้ความสำคัญ และนำมาใช้ประโยชน์”

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ให้ทัศนะในบทบาทของภาครัฐว่า “สิ่งสำคัญคือ การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง Digital Literacy ให้แก่ประชาชนในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม ควรสร้างมาตรฐานด้าน Cyber Security ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หน่วยงานภาครัฐ มุ่งที่จะสร้างแพลตฟอร์ม เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น พร้อมประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนในการนำข้อมูลที่เปิดเผยได้ ไปใช้ประโยขน์แก่สังคมโดยรวม”

คุณมารุต ชุ่มขุนทด CEO & Founder Class Café แสดงมุมมองในฐานะ Startup ว่า “ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นเรื่องธรรมชาติ เราต้องกล้าที่จะแข่งขัน เอาเทคโนโลยีมาเป็นอาวุธ Big Data จะทำให้รู้จักลูกค้าที่เข้ามาในร้านกาแฟมากขึ้น แต่เทคโนโลยีมีต้นทุนด้านราคา เราจึงต้องหาพันธมิตรมาช่วยในการจัดการ แต่สิ่งที่สำคัญคือ ความกล้าที่จะคิดใหม่ เพราะความผิดหวัง เป็นหนทางหนึ่งสู่ความสำเร็จในอนาคต”

คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT และเครือข่าย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวในฐานะตัวแทนภาคเอกชนที่มุ่งมั่นในการให้บริการดิจิทัลว่า “AIS ให้ความสำคัญกับพนักงาน จึงได้มีการปรับสภาพเเวดล้อมต่างๆ เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง อีกทั้ง มีการใช้ Learning Platform ต่างๆ ที่จะช่วยเพิ่มทักษะทางดิจิทัลให้กับพนักงานด้วย ส่วนการทำงานเพื่อรับมือกับ Digital Disruption นั้น องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์เดียวกัน มีเเพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อข้อมูลทุกอย่างเข้าหากัน มีการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน ส่งเสริมการทำงานให้สนุก และทำงานประจำให้เป็น Automation และโฟกัส เรื่อง Creativity”

ปิดท้ายงานสัมมนา Mr.Jonas Kjellberg Co-Creator of Skype, Digital Transformation Speaker ได้มาถ่ายทอดกระบวนการทำงานที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานในยุคการเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยี โดยเล่าว่า “ปัญหาหลักของการเป็นผู้นำ คือความยากในการสร้างยอดขาย เพราะหากไม่มีลูกค้า ก็จะไม่มีเงินทุนในการสร้างกำไรและการเติบโต เราต้องคิดใหม่ หาวิธีการ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ โดยดูว่าเทคโนโลยีจะมาช่วยเราอย่างไรได้บ้าง”

คุณ Jonas มองเห็นแนวโน้มว่า อัตราการใช้โทรศัพท์ทางไกลลดลงอย่างต่อเนื่อง และคาดการณ์ว่าจะลดลงเหลือศูนย์ ดังนั้น จึงแนะนำให้คนโทรใช้งานฟรี พวกเขาต้องคิดนอกกรอบในการกำหนดกลยุทธ์ในปัจจุบัน เพื่อค้นหาวิธีการใหม่ๆ ในการทำกำไร โดยไม่เรียกเก็บเงินจากผู้ใช้เพื่อโทรออก ก่อนอื่นพวกเขาตระหนักว่าเราสามารถลดค่าใช้จ่ายโดยใช้อินเทอร์เน็ต (ซึ่งลูกค้าพร้อมจะจ่าย) แทนที่จะใช้โทรศัพท์ ซึ่งมีราคาแพง ประการที่สอง เมื่อผู้ใช้คลิกปุ่ม "แนะนำ" หลังจากใช้ Skype โปรแกรมจะเปิดอีเมลของผู้ใช้งานและส่งอีเมลไปยังผู้ติดต่อในรายชื่อผู้ติดต่อทั้งหมดว่า "ขณะนี้ฉันกำลังใช้ Skype และมันฟรี" นอกจากนี้ Jonas ได้ให้คำแนะนำว่า "การคิดค้น โดยไม่เลียนแบบมันเป็นเรื่องยากจริงๆ แต่คุณต้องคิดใหม่ ในเกมของคุณ" สิ่งที่คุณจะต้องถามในการทำธุรกิจของคุณคือ "คุณขายอะไร – ให้ใคร - และอย่างไร แต่ที่สำคัญกว่านั้น ทำไมคุณถึงทำเช่นนั้น"

บทสรุปมี 3 ประเด็น คือ

  • เราต้องคิดนอกกรอบ เพื่อค้นหาวิธีการใหม่ๆ ในการทำกำไร คุณต้องคิดใหม่ในเกมของคุณ
  • เราต้องค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจปัจจุบัน เพื่อประสิทธิภาพที่มากขึ้น โดยเลือกใช้เทคโนโลยีที่มี ให้เหมาะสม และทำให้เกิดสินค้าใหม่ๆ โดยเราต้องรู้ status ของคู่แข่ง
  • เราต้องรู้จัก และเข้าใจลูกค้าว่าต้องการอะไร คุณขายอะไร ให้กับใคร และอย่างไร แต่ที่สำคัญ กว่านั้นคือ ทำไมคุณถึงทำเช่นนั้น?

“จากงาน ACADEMY for THAIs: Intelligent Nation Series ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณความตื่นตัวของคนไทยที่รับรู้ตรงกันว่าวันนี้ เทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเรา ขณะเดียวกัน เทคโนโลยียังเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยต่อเติมโอกาสต่างๆ ได้อย่างมากมาย สามารถสร้าง Productivity สร้างทักษะความรู้ใหม่ๆ จนเกิดเป็น Creativity ตลอดจนการสร้างสรรค์วัฒนธรรม ที่ส่งผลให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจจนกลายเป็น Ecosystem ที่แข็งแกร่งและเติบโตได้อย่างยั่งยืน” คุณกานติมา กล่าวสรุป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

นาทีประวัติศาสต์! นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกไทยกับยุโรป ความสำเร็จรัฐบาลแพทองธาร สร้างโอกาสยุคทองการค้า-ลงทุน ทำเงินเข้าประเทศ

ไทยร่วมลงนามความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) กับ “เอฟตา” หรือ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Associations : EFTA)...

Responsive image

สรุปภาพรวมงาน WEF 2025 ปีนี้มีเรื่องอะไรน่าสนใจบ้าง ?

อ่านสรุปประเด็นสำคัญจากงานประชุม World Economic Forum 2025 (Davos) รวมถึงการหารือเกี่ยวกับความเสี่ยงระดับโลก อนาคตของงาน ปัญญาประดิษฐ์ การลดคาร์บอน และบทบาทของประเทศไทยบนเวทีโลก...

Responsive image

ทรัมป์สั่งพักงานเจ้าหน้าที่ DEI ในรัฐบาลสหรัฐ เดินหน้ายุบหน่วยงานถาวร

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม (DEI) หยุดปฏิบัติงานชั่วคราวโดยยังได้รับเงิน...