AIS เผยปี 63 มีรายได้ 172,890 ล้านบาท กำไรสุทธิ 28,423 ล้านบาท ทุ่มงบ 25,000-30,000 ล้านบาท ขยาย 5G ต่อเนื่อง | Techsauce

AIS เผยปี 63 มีรายได้ 172,890 ล้านบาท กำไรสุทธิ 28,423 ล้านบาท ทุ่มงบ 25,000-30,000 ล้านบาท ขยาย 5G ต่อเนื่อง

AIS รายงานผลประกอบการปี 2563 มีรายได้รวมอยู่ที่ 172,890 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.4 เทียบกับปีก่อน และมีกำไรสุทธิไม่รวมผลจาก TFRS 16 อยู่ที่ 28,423 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.9 เทียบกับปีก่อน  เป็นผลจากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่สูงขึ้นจากการเข้ารับใบอนุญาตคลื่นความถี่เพิ่มเติมและการลงทุนโครงข่าย ขณะที่กำไรสุทธิหากรวมผลจาก TFRS 16 แล้วจะอยู่ที่ 27,434 ล้านบาท ส่วนปี 2564 นั้น AIS ได้เตรียมงบประมาณสำหรับการลงทุนรวมทั้งสิ้น 25,000 - 30,000 ล้านบาท รองรับขยายเครือข่าย 5G/4G เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่แข็งแกร่ง

คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า จากวิกฤต COVID-19 ช่วงต้นปี 63 ที่ผ่านมา ทำให้ทุกภาคส่วนได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาด ฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจ และเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศชาติให้เติบโตอย่างยั่งยืน เรายังเชื่อมั่นว่า โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล โดยเฉพาะเทคโนโลยี 5G ซึ่งปัจจุบันเอไอเอส ถือครองคลื่นความถี่ ทั้ง 4G และ 5G มากที่สุด ครอบคลุมมากที่สุดในไทยจำนวน1420MHz และภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะได้รับใบอนุญาตคลื่น 26GHz ครบทั้ง 3 ย่านความถี่ สูง กลาง และต่ำจะมีส่วนช่วยเสริมประสิทธิภาพของการขยายเครือข่าย 5G เพื่อรองรับการใช้งานของลูกค้าคนไทยและผลักดันส่งเสริมให้เกิดการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม หลังจากช่วงที่ผ่านมา เราได้ร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ใน ecosystem หลายราย เพื่อทดลองทดสอบการใช้งานในพื้นที่จริงมาแล้วอย่างต่อเนื่อง

ภาพรวมการดำเนินงานในปี2563

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค รวมถึงการลดลงของกลุ่มนักท่องเที่ยวได้ส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยฐานลูกค้าระบบเติมเงินมีจำนวนลดลง 1.7 ล้านเลขหมาย หรือลดลงร้อยละ 5 เทียบกับปีก่อน ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของจำนวนลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยว ประกอบกับกระแสการย้ายบริการจากระบบเติมเงินไปยังระบบรายเดือนที่ยังมีต่อเนื่องอันเป็นผลจากแคมเปญส่วนลดเครื่องโทรศัพท์ ในขณะที่กระแสการย้ายบริการดังกล่าวเป็นปัจจัยหนุนให้ลูกค้าระบบรายเดือนเติบโตสูงถึงร้อยละ 12 เทียบกับปีก่อน โดยเพิ่มเป็นร้อยละ 25 ของฐานลูกค้ารวม จากร้อยละ 22 ในไตรมาส 4/2562 แม้จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ณ สิ้นปี 2563 จะลดลงมาอยู่ที่ 41.4 ล้านเลขหมาย หรือลดลงร้อยละ 1.4 จากปีก่อน แต่เอไอเอสยังคงรักษาความเป็นผู้นำในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดเชิงผู้ใช้บริการและเชิงรายได้อับดับ 1 ทั้งนี้จากผลกระทบของกำลังซื้อที่อ่อนตัวของผู้บริโภคได้กดดัน ARPU เฉลี่ยลดลงเป็น 234 บาท โดยลดลงร้อยละ 7.0 เทียบกับปีก่อน

การเติบโตของผู้ใช้บริการเอไอเอสไฟเบอร์ได้รับแรงหนุนจากความต้องการเชื่อมต่อภายในบ้านที่สูงในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ในปี 2563 มีจำนวนผู้ใช้บริการสุทธิเพิ่มขึ้น 299,300 รายรวมเป็นจำนวนผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 1,336,900 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 เทียบกับปีก่อน ซึ่งเติบโตอย่างมีนัยสำคัญเหนืออัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ยร้อยละ 10-12 โดยประมาณ อย่างไรก็ตาม ด้วยการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงตลอดทั้งปีโดยผู้ให้บริการต่างนำเสนอส่วนลดและแพ็กเกจในระดับราคาต่ำส่งผลให้ ARPU ลดลงเป็น 476 บาท จาก 533 บาทในไตรมาส 4/2562

สภาวะตลาดและการแข่งขันในปีที่ผ่านมา 

ปี 2563 นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการวางโครงข่ายและการให้บริการ 5G ในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มแรกที่ได้เริ่มเปิดให้บริการพร้อมกับประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ โดยผู้ให้บริการโทรคมนาคมเริ่มเปิดตัวบริการ 5G ในพื้นที่สำคัญของแต่ละจังหวัด โดยเน้นขยายครอบคลุมพื้นที่ซึ่งมีการใช้งานหนาแน่นเป็นหลักเพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มแรกที่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ทั้งนี้ เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่รองรับ 5G ยังมีจำนวนจำกัดและมีราคาเริ่มต้นสูงกว่า 10,000 บาทจึงส่งผลให้อัตรการใช้งาน 5G ในปี 2563 ยังอยู่ในระดับที่จำกัด

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่อ่อนตัวลง ผู้ให้บริการจึงยังคงเสนอแพ็กเกจดาต้าแบบใช้งานไม่จำกัด (Unlimited data)ให้กับทั้งลูกค้าระบบเติมเงินและระบบรายเดือนเพื่อเป็นกลยุทธ์ในการดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่มองหาบริการที่คุ้มค่า ซึ่งแพ็กเกจดาต้าแบบใช้งานไม่จำกัดได้รับความนิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้ใช้งานที่ระมัดระวังในการใช้จ่าย ซึ่งถือเป็นอุปสรรคของผู้ให้บริการในการสร้างรายได้จากการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ผู้ให้บริการสามารถเพิ่มราคาแพ็กเกจดาต้าแบบใช้งานไม่จำกัด เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ ARPU แต่ยังมีการลดราคาด้วยแพ็กเกจขนาดเล็กด้วยความเร็วที่ต่ำลงในบางพื้นที่เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อน้อยในภาวะที่ก าลังการใช้จ่ายของผู้บริโภคอ่อนตัวความต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตภายในบ้านเร่งตัวสูงขึ้น จากกระแสการทำงานจากที่บ้าน (Work from home) และเรียนจากที่บ้าน (Learn from home)ผลักดันให้อัตราส่วนครัวเรือนที่มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 จากร้อยละ 47 ในปี 2562

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในตลาดมีความรุนแรงขึ้นเนื่องจากผู้ให้บริการยังคงใช้กลยุทธ์ด้านราคาเพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่และเพื่อตอบสนองต่อสภาวะกำลังซื้อของผู้บริโภคในระดับต่ำโดยนำเสนอแพ็กเกจราคาต่ำเริ่มต้นที่ 399 บาท/เดือน สำหรับความเร็วมาตรฐาน 100 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งลดลงจากราคา 599 บาท/เดือนในปีก่อน ดังนั้น ARPU ของอุตสาหกรรมจึงลดต่ำลง ในขณะที่ผู้ให้บริการที่มีบริการที่หลากหลายได้เน้นน าเสนอแพ็กเกจที่รวมหลายบริการ (Convergence) รวมถึงการเสนอบริการเสริมอื่นๆ เช่น การเพิ่มความเร็วเน็ต การอัพเกรดอุปกรณ์ให้กับลูกค้า และคอนเทนต์ เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มรายได้

สรุปงบการเงินในปี 2563 

ในปี 2563 เอไอเอสมีรายได้รวม 172,890 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.4 เทียบกับปีก่อน จากรายได้จากการให้บริการหลักที่ลดลงซึ่งเป็นผลของโควิด-19 และการแข่งขันที่สูง ขณะที่ EBITDA ไม่รวมผลจาก TFRS 16  เท่ากับ 76,619 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.7 เทียบกับปีก่อน เป็นผลจากรายได้ที่อ่อนตัวชดเชยด้วยการควบคุมต้นทุนที่ดี ด้านอัตรากำไร EBITDA อยู่ที่ร้อยละ 44.3 เทียบกับร้อยละ 43.5 ในปีก่อนหน้า 

ส่วนกำไรสุทธิไม่รวมผลจาก TFRS 16 เท่ากับ 28,423 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.9 เทียบกับปีก่อน เป็นผลจากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่สูงขึ้นจากการเข้ารับใบอนุญาตคลื่นความถี่เพิ่มเติมและการลงทุนโครงข่ายส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิลดลงจากร้อยละ 17.2 ในปี 2562 เป็นร้อยละ 16.4 ในปี 2563 ขณะที่ รกำไรสุทธิ รวมผลจาก TFRS 16 อยู่ที่27,434 ล้านบาท ลดลง 989 ล้านบาท เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิที่ไม่รวมผลจาก TFRS 16 ทั้งนี้ อัตรากำไรสุทธิ รวมผลจาก TFRS 16 อยู่ที่ร้อยละ 15.9

ด้านการขาดทุนจากอตัราแลกเปลี่ยนสุทธิอยู่ที่ 2 ล้านบาท สวนทางกับปีก่อนหน้า ที่มีผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิเท่ากับ 308 ล้านบาท เป็นผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้เอไอเอสมีนโยบายลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อให้ครอบคลุมส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายการลงทุนค้างจ่าย (CAPEX payable) 

ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2564 ยังผันผวนจาก COVID-19 ระลอกใหม่ 

การเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2564 ยังคงมีความไม่แน่นอนจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ที่เริ่มในช่วงปลายปี 2563 ในขณะที่ภาคธุรกิจยังคงไม่ฟื้นตัวสู่ระดับเดิมในช่วงก่อนการระบาด โดยคาดว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังมีแนวโน้มที่อ่อนตัวจากผลกระทบของการระบาดที่ยังคงยืดเยื้อและส่งผลต่อระดับรายได้ของทั้งภาคธุรกิจและการจ้างงานที่ลดลง รวมถึงระดับหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและการส่งออกซึ่งเป็นกลไลขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยยังขึ้นอยู่กับการเข้าถึงวัคซีนของทั้งคนไทยและในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยกดดันต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมและการเติบโตของรายได้จากการให้บริการหลักของบริษัท อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าระดับการแข่งขันในตลาดยังคงอยู่ในระดับสูงด้วยการใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่มองหาสินค้าและบริการที่มีความคุ้มค่าเพื่อชดเชยกำลังซื้อที่อ่อนลง เอไอเอสจึงมุ่งเน้นในการสร้างความแตกต่างด้วยสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่ม

อีกทั้งยังยกระดับประสิทธิภาพการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า รวมทั้งการนำกระบวนการดิจิทัลมาปรับใช้ทั้งสำหรับกระบวนการภายในและสร้างช่องทางออนไลน์ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในระดับที่เหมาะสมและขยายการเติบโตในธุรกิจใหม่

  •  การฟื้นตวัของธุรกิจโทรศพั ท์เคลื่อนที่ เอไอเอสมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำบริการ 5G โดยเน้นสร้างประสบการณ์การใช้งาน 5G ที่เหนือกว่าเพื่อจับตลาดกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดเชิงรายได้อีกทั้งเรายังมุ่งเสริมความแข็งแกร่งของโปรแกรมการรักษาฐานลูกค้าและใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อรักษาฐานรายได้ในภาวะที่มีการแข่งขันด้านราคาที่สูง
  •  คงการเติบโตของธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านในระดับที่สูงกว่าอุตสาหกรรม ด้วยกระแสความต้องการอินเทอร์เน็ตบ้านที่เพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 เอไอเอสไฟเบอร์วางแผนในการขยายความครอบคลุมของบริการในพื้นที่รอบนอกของเมืองหลักที่มีแนวโน้มการเติบโตที่สูง โดยอาศัยการต่อยอดจากฐานลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และตั้งเป้าหมายลูกค้าจำนวน 1.6 ล้านคนภายในปี 2564 ทั้งนี้ด้วยการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงท่ามกลางกำลังซื้อที่อ่อนตัว เอไอเอสไฟเบอร์จึงมุ่งเน้นนำเสนอบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยแพ็กเกจแบบรวมบริการที่หลากหลายเพื่อเพิ่มรายได้ต่อครัวเรือน(ARPH: Average Revenue per Household) และเพื่อสร้างระดับราคาที่เหนือกว่าคู่แข่งในตลาด
  •  คาดการณ์อัตราการเติบโตของธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรในระดับสองหลัก ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นของภาคธุรกิจต่างๆ ที่เร่งปรับเปลี่ยนการดำเนินงานด้วยกระบวนการดิจิทัลเพื่อเข้าสู่ New normal เอไอเอสจึงคาดว่าธุรกิจลูกค้าองค์กรจะสามารถเติบโตได้สูงด้วยความแข็งแกร่งของโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้าน ICT อีกทั้งด้วยโซลูชั่น 5G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่และเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ

ลงทุนอย่างต่อเนื่องในโครงข่าย 5G และ 4G เพื่อรักษาศักยภาพของผู้นำ

เอไอเอสคงแผนการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมศักยภาพของความเป็นผู้นำในระยะยาว โดยวางงบการลงทุนสำหรับปี 2564 ประมาณ 25,000-30,000 ล้านบาท ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างโครงข่ายเพื่อความเป็นผู้นำในบริการ 5G ยกระดับคุณภาพบริการ 4G ขยายบริการธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน และลงทุนในแพลทฟอร์มสำหรับธุรกิจดิจิทัลและบริการลูกค้าองค์กร โดยวางแผนขยายโครงข่าย 5G บนคลื่นความถี่ทั้งย่านต่ำและกลาง เพื่อให้บริการด้วยคุณภาพที่เหนือกว่าผู้ให้บริการรายอื่นโดยเน้นในพื้นที่ซึ่งมีอัตราการใช้งานมือถือ 5G ที่สูง ทั้งนี้เอไอเอสมุ่งเน้นคุณภาพของบริการ 5G เพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า ประกอบกับการขยายโครงข่ายที่ครอบคลุมตามการเติบโตของการใช้งานมือถือ 5G 

“จากบทเรียนในวิกฤตที่ผ่านมา ทำให้เราเชื่อว่า ภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด คือการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รอบตัว จะช่วยผลักดันให้เราเจอแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ในวันนี้ เทคโนโลยีดิจิทัล ไม่ได้อยู่ไกลตัวเราอีกต่อไป อยู่ที่ว่าใครจะปรับใช้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร สำหรับเอไอเอส วันนี้เรามีทั้ง Core Business และการเติบโตในกลุ่มธุรกิจใหม่ หรือ New Business อาทิ ธุรกิจวิดีโอ, ประกันภัย, ดิจิทัลเพย์เมนท์ และบริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ เป็นต้น ที่มีความท้าทายและโอกาสอย่างมหาศาล แต่สิ่งสำคัญคือความสำเร็จข้างหน้าร่วมกัน โดยเอไอเอสเดินหน้าจัดสรรงบลงทุนในปี 2564 จำนวน 25,000 - 30,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลสำหรับประเทศไทยอย่างไม่หยุดยั้ง และพร้อมที่จะเป็นแกนกลาง สนับสนุนทุกภาคส่วน จากความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ใน Digital Ecosystem เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศชาติให้ก้าวผ่านทุกความท้าทายไปด้วยกันอย่างยั่งยืน”คุณสมชัย กล่าวสรุป


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OR ตั้ง OR Health & Wellness พร้อมเปิดสาขาแรกมิถุนายนนี้

OR จัดตั้งบริษัท OR Health & Wellness เดินหน้ารุกตลาดสุขภาพและความงาม พร้อมลุยเปิดสาขาแรกเดือน มิ.ย. นี้...

Responsive image

ขันเงินรุกธุรกิจ Ticketing Platform ทุ่ม 52 ล้านบาทเข้าซื้อหุ้น EVP ภายใต้ Eventpop ที่ 51% ดันธุรกิจบันเทิงโฉมใหม่

ขันเงิน เนื้อนวล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด Zalekta ทุ่ม 52 ล้านบาท ส่งบริษัทลูก MVD เข้าถือหุ้น บริษัท อีวีพี คอร์ปอเรชั่น ภายใต้แบรนด์ Eventpop รุกธุรกิจ Ticketing Platform ปู...

Responsive image

Bitcoin Halving จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล โดย Binance TH by Gulf Binance

Bitcoin Halving คืออะไร ทำไมชุมชนหรือคอมมูนิตีสินทรัพย์ดิจิทัลตั้งตารอปรากฏการณ์นี้? มาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันจากการให้ข้อมูลของ คุณนิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร G...