April Fool's Day 1 เมษายน วันโกหก โพสต์ผิดชีวิตเปลี่ยน ปล่อย-แชร์ข่าวปลอม เสี่ยง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ | Techsauce

April Fool's Day 1 เมษายน วันโกหก โพสต์ผิดชีวิตเปลี่ยน ปล่อย-แชร์ข่าวปลอม เสี่ยง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

ทำไมการที่จะ “โพสต์” หรือ “แชร์” ข่าวนี้ไปให้คนอื่นรับรู้ จะมีความผิด ก็มันเป็นข่าวที่ถูกส่งต่อๆกันมานี่นา ? แชร์บ้างจะเป็นอะไรไป และยิ่งเป็นวัน April Fool’s Day หรือ เมษาหน้าโง่ หากจะโพสต์โกหกบ้างก็คงไม่เป็นไร 

April Fool's Day 1 เมษายน วันโกหก โพสต์ผิดชีวิตเปลี่ยน ปล่อย-แชร์ข่าวปลอม เสี่ยง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

แต่รู้หรือไม่ว่าแม้จะเป็นวันอื่นๆ หรือ วันที่ 1 เมษายน "April Fool's Day" วันโกหก ที่ถือเป็นวัฒนธรรมร่วมของคนทั่วโลก ที่เล่นแกล้งกันในวันนี้ของทุกปีก็ตาม  

แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถโพสต์ หรือ แชร์ข่าว ที่ส่งผลต่อความเสียหายกับบุคคลอื่นๆ หรือ สร้างความตื่นตระหนกได้ เพราะการโพสต์อะไรที่เป็นเท็จ หรือ ไม่เป็นความจริง อาจจะทำให้ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรืออาจโดนโทษหนักถึงขั้นจำคุกเลยทีเดียว 

สร้างหรือแชร์ข่าวปลอม มีความผิดตามกฎหมาย

โดยการนำข้อมูลปลอม ข่าวปลอม ไม่ว่าจะเป็นการปลอมทั้งหมด หรือแค่บางส่วน หรือข้อมูลอันเป็นเท็จ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การแชร์ หรือส่งต่อข้อมูลอันเป็นเท็จเหล่านั้น ล้วนมีความผิด ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้

ตัวอย่างของการกระทำ ที่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 

  • โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง เช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริง เป็นต้น มีความผิดตามมาตรา 14(1)

  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย มีความผิดตามมาตรา 14(2)

  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย มีความผิดตามมาตรา 14(3)

  • โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้ มีความผิดตามมาตรา 14(4)

  • เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด เช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีนี้ก็ถือว่ามีความผิด มีความผิดตามมาตรา 14(5)

หากการกระทำในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

แต่หากการกระทำในลักษณะดังกล่าวข้างต้นส่งผลต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือองค์กร หน่วยงาน เสียชื่อเสียง ในลักษณะที่เป็นการหมิ่นประมาท กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” หรือ “หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 แทน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ในกรณีอย่างหลังสามารถยอมความกันได้)

รวมทั้งก่อนหน้านี้ทางด้าน “กระทรวงยุติธรรม” ก็ได้เคยโพสต์ให้ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับ Fake News หรือการสร้างข่าวปลอม โดยผู้ที่ผลิตข่าวปลอม บิดเบือน และนำเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย หรือสังคมออนไลน์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นกัน

ส่วนผู้ส่งต่อข้อมูลเท็จนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลเท็จ ถือว่ามีความผิดเท่ากับผู้กระทำผิดข้างต้น และมีอัตราโทษเช่นเดียวกัน

หากข้อมูลนั้นทำให้บุคคล องค์กร หน่วยงาน เสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ยังอาจได้รับโทษในความผิดฐานหมิ่นประมาท มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

โดย First Draft News องค์กรสากล ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อต่อสู้กับข่าวปลอม ได้แบ่งข่าวปลอม หรือ Fake News ออกเป็น 7 ประเภท คือ

1. Satire/Parody ข่าวเสียดสี หรือ ล้อเลียน

2. False Connection ข่าวที่เชื่อมโยงมั่วๆ

3. Misleading Content ข่าวที่ทำให้เข้าใจผิด

4. False Context ข่าวที่อยู่ผิดที่ผิดทาง ผิดบริบท

5. Imposter Content อ้างแหล่งที่มามั่ว

6. Anipulated Content ตัดต่อ ดัดแปลง เพื่อการลวงผู้รับสาร

7. Fabricated Content ข่าวปลอม 100%

ล่าสุดที่ถือเป็นประเด็นฮอตฮิตในช่วงสถานการณ์โควิด นั่นคือการสร้างความตื่นตระหนกให้แก่สังคม ผ่านการโพสต์และแชร์ข้อมูลอันเป็นเท็จ ซึ่ง "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" ก็ได้ออกมาเตือนถึงการห้ามโพสต์ แชร์ ข้อมูลเท็จสร้างความตื่นตระหนกแก่สังคม เกี่ยวกับสถานการณ์โรคโควิด-19 โดยอ้างว่าเป็นวัน “April Fool’s Day” ซึ่งส่อรับโทษหนัก ทั้งผิด พ.ร.บ.คอมฯ โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับแล้ว ยังจะมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ 2548 โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย 

ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ระมัดระวังในการสร้างเรื่องโกหกในช่วงเทศกาล April Fool's Day  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างข่าวเท็จในเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ การก่อการร้าย หรือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด19 หรือเรื่องอื่นที่อาจทำให้เกิดความตื่นตระหนกให้กับประชาชนหรือสร้างความสับสนในสังคม

และยังขอความร่วมมือในการใช้วิจารณญาณ  โดยไม่โพสต์-แชร์  ข้อความโกหก หรือพบเห็นบุคคลใด สร้างข่าวปลอมใน วันแห่งการโกหก April Fool's Day จนทำให้เกิดความสับสนในสังคม ซึ่งหากพบเห็นสามารถแจ้งเบาะแสไปยังสายด่วน 191 และสายด่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ดังนั้นแม้ว่า April Fool's Day หรือ "วันเมษาหน้าโง่" ที่ตรงกับวันที่ 1 เมษายนของทุกปี ซึ่งมีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศทั่วโลก โดยผู้คนจะเล่นมุกตลก "โกหก" หรือเล่าเรื่องหลอกลวงต่อกัน และออกมาเฉลยในวันต่อมา จะเริ่มมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16-19 ในแถบประเทศทางยุโรป เช่น กรีก ฝรั่งเศส ก็ตาม แต่คนไทยก็รับเอาวัฒนธรรมนี้เข้ามาและร่วมสนุกด้วยเช่นกัน

กระนั้นทุกๆอย่างก็ต้องอยู่ในขอบเขตที่ไม่เป็นอันตรายแก่คนอื่น ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ไม่เกี่ยวกับความเป็นความตาย หรือ สร้างความตื่นตระหนกแก่สังคม  ก็จะทำให้กลอุบายที่สร้างขึ้นมานั้นกลับกลายเป็นความสนุก ขบขัน และสร้างเสียงหัวเราะให้กับทุกคน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของวันแห่งการ “โกหก” แห่งปีนั่นเอง

อ้างอิง : Anti-Fake News Center Thailand

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ตลาดชิปจีนส่อแววหดตัว เหตุลดนำเข้าอุปกรณ์ผลิตชิป หวังเดินหน้าพึ่งพาการผลิตให้เพียงพอในประเทศ

ตลาดอุปกรณ์ผลิตชิปของจีนมีแนวโน้มที่จะหดตัวในปีหน้า สืบเนื่องจากการเร่งสั่งซื้ออุปกรณ์ล่วงหน้าจำนวนมากในช่วงที่มีความตึงเครียดกับสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น...

Responsive image

CPFC จับมือ IKEA และ Decathlon เปิดร้านสะดวกซื้อรูปแบบใหม่ สาขาแรกที่เชียงใหม่ เปิดบริการมีนาคม 2568

6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัท ซีพี ฟิวเจอร์ ซิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ CPFC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในเครือซีพี กรุ๊ป ได้แก่ CP AXTRA, CP ALL และ TRUE พร้อมจับมือกับแบ...

Responsive image

สรุปกลยุทธ์ ttb ปี 2567 เดินหน้า Transformation จัดเต็มจนปัง มุ่งสู่ยั่งยืน

ttb ทรานสฟอร์มองค์กรด้วยแนวคิด Data-driven Organization โดยนำ Data และ AI มาใช้ในการพัฒนาองค์กร พัฒนาโซลูชันทางการเงิน และการให้บริการแบบเฉพาะบุคคล ผลลัพธ์และความคืบหน้าเป็นอย่างไร...